ทำไมการต้มเนื้อให้เปื่อยจึงใช้ไฟอ่อน ใช้เวลานานๆ

จริงถ้าใช้ไฟแรงๆ น่าจะใช้เวลาน้อยกว่ามั้ยครับ
หรือที่ต้องต้มไฟอ่อน เวลานาน มันทำให้รสชาติดีกว่าครับ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 23
ผมทำกับข้าวไม่เป็น นะ แต่...ชอบอ่าน ค้นคว้า เอา

หลักการทางวิทยาศาสตร์
มีอยู่เกี่ยวกับการตุ๋นเนื้อให้เปื่อย ... มันเกี่ยวข้องกับโครงสร้างโปรตีน และcollagen ในเนื้อสัตว์
คือ... ถ้าเอาเนื้อแดงมาตุ๋น มันจะไม่นุ่ม เพราะว่า... มันไม่มีcollagen เท่าเนื้อติดมัน หมูสามชั้น

เนื้อเหนียวๆ จะมีพังพืด เป็นไขมันจับอยู่มาก ซึ่งเจ้าไขมันนี่มันมี collagen อยู่เยอะ
แบบสาวๆ หน้าอวบ เต่งตึง ก็มีcollagen เยอะเหมือนกัน ... เอ่อ นอกเรื่องไปซะแล้ว

ดังนั้น เมื่อเราใช้ความร้อนใส่เข้าไปที่ Collagen มันจะสลายตัว กลายเป็น gelatin
gelatin คืออะไร อ่านในนี้เองนะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

ซึ่งโดยปกติแล้วอุณหภูมิที่เหมาะสมในการแปลงเจ้าโปรตีนcollagen ให้เป็น gelatin
อยู่ที่ประมาณ 75 - 85 องศาเซลเซียส... เชฟ จึงต้องพกเทอร์โมมิเตอร์สำหรับปรุงอาหาร...ด้วย

รูปร่างหน้าตาของcollagen ก็เป็นเส้นโปรตีน 3 เส้นพันกันแบบนี้
ยืมรูปมาจาก pinkbeauty

พออุ่นพวกนี้นานๆ จะค่อยคลายเส้นที่พันกัน จนแยกออกจากกันแต่ละเส้น
ทำให้ละลายน้ำได้ดี ง่ายขึ้นในรูปของ gelatin นี่เอง

การให้ร่างกายนำ gelatin มาใช้ให้เกิด ไขมันนุ่มๆ หรือ collagen
ก็มีหลัก ง่ายๆ คือ ต้องทานคู่กับ วิตามิน ซี เพื่อให้ gelatin
ถูกร่างกายดูดซึมง่ายแล้วไปปรากฎตามใต้ผิวหนัง ...ครับ

หรือทานข้าวขาหมู ราดด้วยน้ำมะนาว อย่าใช้น้ำส้มสายชู ... จะดีงาม
ผม....โชคร้ายหน่อย มันมารวมตัวกัน อยู่เหนือ 6แพค หน้าท้อง... พอดี
ตอนนี้มันรวมเป็นแพคเดียวกัน ห้อยอยู่น่าเกียจดีแท้ 555

ใจไม่แข็งพอ อย่าเปิดดูนะ ... จะบอกให้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

ผิดพลาดประการใด โปรดชี้แนะ ผู้น้อย ด้วยนะ...ครับ
ความคิดเห็นที่ 12
ไฟแรงแค่ไหนอุณหภูมิน้ำมันก็ไม่ได้ร้อนขึ้นเหมือนที่คห.ด้านบนว่าไว้ครับ แถมมันเปลืองแก๊สเปล่าๆ
นี่คือเหตุผลทางวิทยาศาสตร์
ส่วนเหตุผลด้านการทำครัวก็คือ การเปิดไฟแรงฟองน้ำเดือดจะผุดแรงเกินจนทำให้น้ำสต๊อกที่ต้มเนื้อขุ่น
และเศษเนื้อบางส่วนจะยุ่ยออกมาปนกับน้ำสต๊อกด้วยทำให้ดูไม่น่ากิน พวกเครื่องเทศก็จะเละอยู่ที่ก้นหม้อ
แต่การเปิดไฟอ่อนๆเคี่ยวนานน้ำสต๊อกจะดูใสและน่ากิน เนื้อก็จะไม่ยุ่ย รสชาติก็จะกลมกล่อมกว่าครัย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่