[CR] ลาบควายขม ใส่เพลี้ย แบบคนเมืองเหนือ (มะแลงนี้ ขอจดลาบควาย สักกำเต๊อะ แปลว่า มื้อเย็นนี้ ขอทานลาบควาย สักทีน่ะ)


ควายไม่มีโรค เป็นลาบอันประเสริฐ ...วลีนี้ ใช้ได้ตลอดกาล เวลาท่านมาร้านลาบแถวภาคเหนือ วันนี้ ผู้เขียนก็รู้สึก ครึ้มอกครึ้มใจ อยากกินแบบลาบเมืองๆ สไตล์บ่าวบ้าน ไค่ยากลาบ เลยพามารีวิวร้านลาบก๋าสะลอง ใกล้มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง เป็นร้านลาบดังประจำถิ่นที้นี้ ความจริงก็มีอีกร้าน ลาบเดือนเพ็ญ ก็อร่อยฝีมือดีไม่แพ้กัน ไว้วันหลัง จะมารีวิวเพิ่มเติมกัน

ติดตามกระทู้อื่นๆ น่าสนใจได้ทาง
https://lampangfood.blogspot.com


ดูหน้าตา ผักกับลาบก่อน กินคนเดียวจะหมดมั้ยนี่ สั่งลาบควายขม ใส่เพลี้ย แบบคั่วสุกครับ หน้าตาดูดีเลยครับ ลาบเมืองลำปางหนา ... วัฒนธรรมอาหารชาวลำปาง รับอิทธิพลมาจากหลายชาติพันธุ์ตั้งแต่อดีตกาล  ๑) ชาวลัวะ : ชาวป่าโบราณที่ครองลำปางมาตั้งแต่ยุคหินใหม่-เวียงเจ็ดริน (10,000ปีที่แล้ว) นิยมกินข้าวนึ่ง ลาบดิบ ส้าจิ้น แกงหอยใส่ข้าวคั่ว ยำผักหน่อไม้ใส่น้ำปู๋ ตำเตา ปรุงอาหารประเภทแอ๊บ,ห่อนึ่งด้วยใบตอง  ๒) ชาวไทยวน : สม้ยโยนก-หิรัญเงินยาง รับมาจากเชียงแสน-ติดลาว นิยมข้าวนึ่ง จัดอาหารเป็นขันโตก ปรุงเนื้อสัตว์ด้วยน้ำพริก เช่นลาบ หลู้ ยำไก่ น้ำพริกหนุ่ม ไส้อั่ว จิ้นส้ม หมูยอ แกงอ่อม แกงผักกาดใส่ไก่ วิธีการปรุงไม่ยุ่งยากมากนัก ใกล้เคียงอาหารอีสาน


๓) ชาวไทใหญ่ หรือ เงี๊ยว ที่มีอิทธิพลมากสุด รับมาจากเชียงรุ้ง-พม่า สมัยตั้งอาณาจักรล้านนา นิยมกินข้าวเจ้า ดูจากข้าวกั้นจิ้น ปรุงอาหารใส่เครื่องหลากหลาย หอมแดง มะเขือเทศ ข่า ตะไคร้ เช่น ตำบ่าเขือ ตำขนุน ยำบ่าถั่วบ่าเขือ ยำหนัง แกงขนุน แกงหยวก น้ำพริกอ่อง ขนมจีนน้ำเงี้ยว แกงกะด้าง แกงผักใส่ถั่วเน่า  ๔) ชาวม่าน พม่ายึดครองลำปางมาหลายร้อยปี อาหารก็ได้รับอิทธิพลมา ใส่เครื่องเทศแบบอินเดีย เช่นฮังเล คั่วตับหมู แกงโฮ๊ะ   ๕) ไทลื้อ รับมาจากเมืองสิบสองปันนา อ้างอิงจากประวัติศาสตร์เรื่องจริง ยุคพระเจ้ากาวิละได้มีกุศโลบายให้ชาวไทลื้อโกนหัว ถ้าใครโกนหัวจะได้อยู่ที่สิบสองปันนาดังเดิม ใครไม่ยอมโกนก็ต้องไปอยู่ล้านนา ปรากฏว่าคนโกนหัวมีเยอะกว่า ด้วยเหตุเพราะอยากอยู่ที่ถิ่นฐานเดิม พระเจ้ากาวิละเลือกเอาเฉพาะพวกที่โกนหัวมาอยู่ล้านนาแทน ด้วยเหตุว่าเป็นพวกหัวอ่อน เชื่อฟังคำง่าย ปกครองไม่ยาก นิยมข้าวนึ่ง อาหารปรุงจากผักเป็นหลัก เช่นน้ำผัก น้ำเหมี่ยง แกงแค ผักกาดจอ ส้าผัก ยำผักดอง ไม่มีเครื่องปรุงมากนักคล้ายอาหารยูนนาน

๖) ชาวมอญ อาศัยอยู่บริเวณอ.ป่าซาง อ.เวียงหนองล่อง อ.สันป่าตอง อ.แจ้ห่ม อ.เถิน  เป็นชาติพันธุ์ที่ตามพระนางจามเทวีจากกรุงละโว้  มาเผยแพร่พุทธศาสนานิกายเถรวาท และปกครองเมืองหริภุญชัย และ นครเขลางค์  สมัยนั้นจัดว่าชาวมอญ มีอารยธรรมที่เจริญสูงกว่าพวกลัวะ มีอักษรมอญไว้เขียนจารึกกันแล้ว และยังมีสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมศาสตร์ชั้นสูงในการสร้างปราสาทหิน กู่ยอดเจดีย์ ซึ่งชาวมอญรับอิทธิพลสืบทอดมาจากชาวอารยัน (อินเดียตอนเหนือ)  พวกนี้สืบเชื้อสายมาจากชาวเมโสโปรเตเมีย สร้างปิรามิดเก่ง และ เก่งคณิตศาสตร์มาก ชาวอารยันได้อพยพมาก่อตั้งอาณาจักรฟูนัน และเป็นปฐมกษัตริย์แห่งขอมโบราณ จะเห็นได้ว่าที่อินเดีย มีปราสาทหินแบบนี้เยอะมากและเก่ากว่าของไทยหลายพันปี จนได้รับเป็นมรดกโลกหลายแห่ง ทำให้ชาวลัวะที่มีอารยธรรมด้อยกว่า เป็นพลเมืองชนชั้นสองไป ต้องอาศัยอยู่นอกเมือง อาหารชาวมอญนำมาด้วยคือ แกงขี้เหล็ก แกงบอน แกงใส่ใบส้มป่อย แกงผักปลัง แกงใส่ใบกระเจี๊ยบ 

๗) ชาวยอง ชาวลำพูนในปัจจุบัน 80เปอร์เซนต์ สืบเชื้อสายมาจากชาวยอง ชาติพันธุ์ที่มีต้นกำเนิดอยู่ที่เมืองยอง ปัจจุบันก็คือจีนตอนใต้ติดชายแดนพม่า มาในยุคเก็บผักใส่ส้า เก็บข้าใส่เมือง ยุคที่การเมืองในล้านนาเปลี่ยนแปลง กองทัพพม่าถูกขับไล่ เจ้ากาวิละแห่งราชวงค์ทิพย์จักร ได้นำล้านนาเข้าเป็นประเทศราชแห่งสยาม ... ขณะนั้น เชียงใหม่ ลำพูน กลายเป็นเมืองร้าง ย่อยยับจากการสู้รบ ชาวบ้านพากันหลบหนีเข้าป่าไปหมด จึงต้องนำเอาชาวยอง เทครัวเข้ามาสร้างบ้านสร้างเมืองขึ้นมาใหม่ จนกลายเป็นพลเมืองหลักของลำพูนไปแล้ว อาหารโปรดชาวยอง ก็คือ หน่อไม้ดอง ที่เรียกตามภาษายองว่า หน่อโอ่ ทานกันเล่น ไว้จิ้มพริกกับเกลือ อร่อยเด็ดเหมือนเฟรนส์ฟรายกันเลยทีเดียว

ติดตามกระทู้อื่นๆ น่าสนใจได้ทาง
https://lampangfood.blogspot.com


ชาวไทใหญ่ เป็นกลุ่มมีอิทธิพลต่ออาหารเหนือมากที่สุด คาดการณ์ว่าในยุคที่ล้านนาอยู่ภายใต้การปกครองของพม่ากว่า200ปี ได้เทครัวอพยพชาวไทใหญ่จำนวนมาก ลงมาตั้งถิ่นฐานใหม่ในหัวเมืองนครต่างๆ ทั่วล้านนา ... เมืองแม่ฮ่องสอน มีจำนวนประชากรไทใหญ่มากที่สุด เนื่องจากความต้องการแรงงานจำนวนมากในการทำอุตสาหกรรมป่าไม้ ในยุคนั้นไม้สักทอง คือ ทรัพยากรที่สร้างรายได้มหาศาลให้กับบรรดาเจ้าเมืองในล้านนา รวมทั้งใช้ไม้สักทอง เป็นเครื่องมือในการเจรจาต่อรองทางการเมืองทั้งกับอังกฤษและสยาม ในยุคล่าอาณานิคมเมืองขึ้น 

แม่ฮ่องสอน เป็นเมืองเพิ่งจะสร้างขึ้น อายุยังไม่ถึง200ปี ด้วยเหตุว่าบริษัทของอังกฤษได้ทำสัมปทานป่าไม้ในฝั่งพม่า มานานหลายปี จนไม้สักในฝั่งพม่าเริ่มหายาก จึงมีการติดต่อมายังเจ้าเมืองเชียงใหม่ เพื่อขอเปิดป่า ทำสัมปทานป่าไม้ แถบลุ่มแม่น้ำยวม ซึ่งยังอุดมสมบูรณ์เต็มไปด้วยไม้สักทอง ซึ่งสมัยนั้นมีการจ่ายค่าตัดไม้ โดยนับจากตอไม้  คิดตอละ 1 รูปี รายได้ทั้งหมดเป็นของเจ้าเมืองล้านนาทั้งหมด ไม่ต้องแบ่งใคร เหตุผลที่ล้านนาใช้เงินรูปีอินเดีย เป็นเงินสกุลหลัก เพราะคู่ค้าสำคัญในยุคนั้นก็คือพม่า และอังกฤษ  ต่างก็ใช้เงินสกุลรูปีกันหมด (พม่ายุคนั้นอยู่ในบริติชอินเดีย)  เงินพดด้วงของสยามจึงไม่นิยมใช้กันในล้านนา  ... ศูนย์กลางทางการเงินของพม่าในสมัยนั้น ก็คือ เมืองมะละแหม่ง เพราะสินค้าจากล้านนาทุกอย่าง รวมทั้งไม้สักทอง ต้องอาศัยล่องเรือไปตามแม่น้ำสาละวิน ขนส่งไปยังเมืองมะละแหม่ง เมืองท่าเรือส่งออกสำคัญของพม่า  มีการใช้เรือขนาดใหญ่บรรทุกไม้สักทองเหล่านี้ไปยังกรุงลอนดอน

ติดตามกระทู้อื่นๆ น่าสนใจได้ทาง
https://lampangfood.blogspot.com
ชื่อสินค้า:   ลาบควายขม
คะแนน:     
**CR - Consumer Review : ผู้เขียนรีวิวนี้เป็นผู้ซื้อสินค้าหรือเสียค่าบริการเอง ไม่มีผู้สนับสนุนให้สินค้าหรือบริการฟรี และผู้เขียนรีวิวไม่ได้รับสิ่งตอบแทนในการเขียนรีวิว
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่