สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้ผู้เขียนจะขอเสนอเมนูอาหารดั้งเดิมโบราณ ของชาวเหนือ ที่ทุกคนรู้จักแน่นอนครับ แต่ไม่รู้ที่มา ... นั่นคือแกงโฮะ
แกงโฮะ ในทุกวันนี้รู้จักกันว่า เป็นการถนอมอาหารของชาวเหนือแบบหนึ่งในอดีต คือเป็นการนำเอาแกง และอาหารต่างๆ ที่กินเหลือแล้ว มาผัดผสมกันในกระทะ ใส่แกงฮังเลลงไป ผัดให้น้ำแกงแห้งดี ก็ตักรับประทานได้ ...บางตำรับ ก็ว่ามีการนำเอาแกงเหลือ อาหารเหลือ ใส่รวมลงไปในไห ฝังดินไว้ 2-3สัปดาห์ ค่อยขุดขึ้นมา ผัดในกระทะ เป็นแกงโฮะ แบบเปรี้ยวๆหน่อย(เหมือนจิ้นเน่า อาหารยอดนิยมทางเหนือ) น่าจะเป็นถนอมอาหารแบบหนึ่ง ในช่วงสงครามโบราณ อาหารหายาก อาหารเหลือหลายๆอย่าง สามารถนำมาปรุงใหม่ได้
....แกงโฮะ ใครๆก็รู้จักและเคยทานกัน แต่น้อยคนจะรู้ที่มา ของแกงโฮะนี้ วันนี้ผู้เขียนจะมาเฉลย ประวัติและความเป็นมาของแกงโฮะ กันครับ
ติดตามกระทู้อื่นๆ น่าสนใจได้ทาง
https://lampangfood.blogspot.com
หน้าตาแกงฮังเล หรือ พม่าเรียกว่า ฮินเล เป็นแกงหลักที่ใช้ผสมลงในแกงโฮะ ...ในภาษาพม่า ฮินแปลว่า แกง เล แปลว่า เนื้อสัตว์ ก็มั่นใจได้เลยครับ ว่าแกงฮังเล เป็นแกงได้รับมาจากพม่าโดยตรงแน่นอน ...แล้วมาเกี่ยวอะไรกับแกงโฮะละครับ คงจะเกี่ยวแน่นอน เพราะแกงฮังเลทางสิบสองปันนา ก็มีแต่เค้าจะใส่พวกผัก มะเขือ หน่อไม้ดอง ลงไปด้วย หน้าตาแกงฮังเลเค้าจะเหมือนกับแกงโฮะในบ้านเรา แบบเหมือนกันเป๊ะเลย เรียกว่า แกงฮังเลเชียงแสน
คาดว่าได้รับอิทธิพลมาจาก ชาวโยนกเชียงแสนในอดีต หลายท่านอาจจะงง ว่าชาวโยนกเป็นใคร ว่าเกี่ยวกับแกงโฮะยังไง ผมขอเล่าย้อนหลังยาวๆเลยละกัน
ในอดีตกาล จะมีอาณาจักรโบราณ หลายเมือง อยู่ทางทิศใต้ของประเทศจีนปัจจุบัน เป็นอาณาจักรต้นตระกูล และบรรพบุรุษของชาวไต (ไทใหญ่
ไทน้อย ลาว) คือ สหรัฐหนองแส หรือ อาณาจักรน่านเจ้า เมื่อราวพ.ศ. 350 ซึ่งถูกก่อตั้งขึ้นหลังจาก อาณาจักรอ้ายไตล่มสลาย เพราะ การรุกรานของแคว้นจิ๋น ของจิ๋นซีฮ่องเต้ ปฐมกษัตริย์แห่งดินแดนจีน (Qin = Chin = China)
.... เจ้าเสือลูกหลาว ผู้นำชาวไตได้ขับไล่กองทัพจีนออกไปจากดินแดนชาวไต และได้มีการรวบรวมเมืองชาวไต 6 เมืองรวมเป็นอาณาจักรเดียวกัน โดยเมืองหนองแส เป็นเมืองหลวงหลัก ปัจจุบันคือเมืองเชียงรุ้ง ในสิบสองปันนา มีความรุ่งเรืองเรื่ิอยมา ....ต่อมา พระเจ้าเทวกาล เจ้าผู้ครองเมืองนครไทยเทศ(เมืองหนองแส) ได้ให้ราชบุตรที่ มีกว่า 40 องค์ แยกย้ายกันไปสร้างบ้านแปงเมือง และเผยแพร่พระพุทธศาสนาแบบมหายาน ...เจ้าสิงหนวัติกุมาร ผู้เป็นโอรสองค์ที่สอง ได้อพยพชาวไต มาจาก นครไทยเทศ ล่องเรือลงมาในแม่น้ำโขง
มาตั้งอาณาจักรโยนกนาคพันธุ์ ณ บริเวณ อำเภอเมืองเชียงแสน จังหวัดเชียงรายปัจจุบันนี้ มีเมืองเชียงแสนเป็นราชธานี ต่อมากลายเป็นอาณาจักรใหญ่รอบคลุมดินแดนกว้างขวาง ทางทิศตะวันออกตั้งแต่แคว้นตังเกี๋ยของเวียดนามปัจจุบัน ไปจดแม่น้ำสาละวินเขตรัฐฉานในประเทศพม่า ทางเหนือจากบริเวณเมืองหนองแส มณฑลยูนนานของจีนลงมาถึงที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนบน ทำให้นครในดินแดนแถบนี้ รับเอาพระพุทธศาสนาแบบมหายาน และวัฒนธรรมอาหารการกินมาด้วย เช่น ใบเมี่ยง ใบชา ถั่วเน่า ผักกาด รวมทั้ง มะแขว่น (พืชตระกูลเดียวกับ หม่าล่าของจีน) เป็นต้น รวมทั้งการทอผ้าซิ่นด้วย
ปล... ตามประวัติสร้างเมืองเขลางค์นคร ราวพศ.1223 พระนางจามเทวี เดินทางมาสร้างเมืองเขลางค์นคร เพื่อให้เป็นบ้านพี่เมืองน้องกับนครหริภุญไชย พร้อมกับเผยแพร่พุทธศาสนาแบบหินยาน( ชาวละโว้ หรือ มอญ โบราณ รับจากอาณาจักรทวารวดี) ....พระนางได้เสด็จมาแวะสักการะ พระธาตุลำปางหลวง ซึ่งว่ากันตามประวัติศาสตร์แสดงว่า ก็ได้มี พระธาตุลำปางหลวง มาตั้งแต่ก่อนสมัยสร้างเมืองเขลางค์ หลายร้อยปีแล้ว ว่าแต่ใครล่ะเป็นผู้สร้าง และบริเวณแถบนั้น ก็เป็นเมืองชาวลัวะเดิมอยู่ทั้งนั้น ชาวลัวะ ก็ยังคงนับถือผีปู่ผีย่า คงไม่ได้เป็นผู้สร้างแน่แท้ ผู้เขียนขอสันนิษฐานว่า เป็นชาวโยนกเชียงแสน ในยุครุ่งเรือง อาณาเขตกว้างใหญ่ ได้เข้าสร้างบ้านแปงเมือง และสร้างวัดแบบมหายาน อยู่กันนานมาแล้ว ก่อนที่พระนางจามเทวี จะเข้ามาสร้างเมืองเขลางค์และเผยแพร่พุทธศาสนาแบบหินยานที่พระนางนับถือ ...วัดเก่าแก่ในภาคเหนือ จึงมีอายุไม่แพ้ วัดในสมัยอาณาจักรทวารวดี (ทวารวดีนับถือหินยาน โดยรับการเผยแพร่จากพระเจ้าอโศกแห่งอินเดีย) เพียงแต่ วัดทางภาคเหนือ ยุคเก่า จะเป็น มหายาน เพราะได้รับอิทธิพล จากทางจีนตอนใต้ ซึ่งพุทธแบบ มหายาน เจริญรุ่งเรืองมาก จากการเข้ามาเผยแพร่ของภิกษุอินเดีย 2 รูป คือ พระกาศยปมาตังคะ และพระธรรมรักษ์ ในสมัยของพระจักรพรรดิเม่งเต้แห่งราชวงศ์ฮั่น
ติดตามกระทู้อื่นๆ น่าสนใจได้ทาง
https://lampangfood.blogspot.com
ช่วงนี้ชาวโยนกเชียงแสน ก็ได้รับแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม จากหลากหลายเมือง หลังจากได้ขยายอาณาเขตอย่างกว้างขวางในตอนนั้น แล้วรับวัฒนธรรมอาหารการกินแบบชาวปยู(ต้นกำเนิดชาวพม่า) เป็นแกงใส่เครื่องเทศ ซึ่งปยูน่าจะได้รับอิทธิพลมาจาก แคว้นเบงกอลและโอริสสา (อินเดียโบราณที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาพุทธแบบมหายานในพม่าตอนเหนือ)อีกทีนึง แกงเนื้อสัตว์ใส่เครื่องแกงพม่าแบบมีน้ำมันเยอะๆ ชาวโยนกเชียงแสนอาจไม่คุ้นเคย และรู้สึกเลี่ยน จึงต้องเพิ่มผัก มะเขือ หน่อไม้ดอง ลงไปเพื่อตัดความเลี่ยน จึงเกิดแกงฮังเลแบบเชียงแสนขึ้น และแพร่หลายไปในเมืองหนองแส (เชียงรุ้ง,สิบสองปันนา ) อาณาจักรน่านเจ้า นครบ้านพี่เมืองน้องในขณะนั้น
ต่อมา อาณาจักรโยนก ก็ต้องสู้รบ จากการรุกรานทั้งขอมดำ ชาวลัวะ(เจ้าถิ่นดั้งเดิม) และ ปยู (บรรพบุรุษชาวพม่า) มีการตกเป็นเมืองขึ้น แล้วมีการขับไล่ออกไป อยู่หลายครั้งหลายครา นับหลายร้อยปี จนถึงยุคล่มสลาย ... ในสมัยพระเจ้ามหาชัยชนะ อาณาจักรโยนกเชียงแสน ได้ประสบเหตุภัยพิบัติรุนแรง เกิดแผ่นดินไหวหลายครั้งอย่างหนักจนแผ่นดินยุบตัว และได้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน เนื่องมาจากพนังกั้นน้ำ หรือเขื่อนเหนือน้ำพังทลายลง เกิดสึนามิถล่มเมือง
เมืองทั้งเมืองจมอยู่ใต้บาดาล จนทำให้ที่ตั้งเมืองกลายเป็นหนองน้ำใหญ่ บริเวณตรงที่เรียกว่าเวียงหนองล่ม
ติดตามกระทู้อื่นๆ น่าสนใจได้ทาง
https://lampangfood.blogspot.com
สภาพหลังถูกสึนามิ น้ำท่วมถล่มเมืองโยนกเชียงแสนจนย่อยยับ จนเป็นเหตุให้บรรดาราชวงศ์กษัตริย์และขุนนางของโยนกนาคนครเสียชีวิตด้วยเหตุน้ำท่วมเมืองทั้งหมด พวกชาวบ้านที่เหลือรอดชีวิตได้ประชุมปรึกษากันเลือกตั้งให้คนกลุ่มหนึ่งที่มิใช่เชื้อสายราชวงศ์ขึ้นดูแลพวกตน เรียกว่า ขุนแต่งเมือง และเรียกชุมชนแห่งนั้นว่า “เวียงปรึกษา”เป็นเวลาต่อไปอีก 94 ปี จนถูกบุกรุกยึดครองเป็นเมืองขึ้นของพม่าไป ต่อมาชาวเชียงแสนก็ถูกกองทัพพม่า เทครัว อพยพย้ายถิ่นฐานลงมายังหัวเมืองนครต่างๆในภาคเหนือเรานี้ จนเป็นพลเมืองหลัก และเป็นบรรพบุรุษชาวเหนือในปัจจุบัน
ตอนต้นพุทธศตวรรษที่ 18 พญามังราย(หรือพ่อขุนเม็งราย) ผู้สืบเชื้อสายมาจากผู้ครองเมืองเงินยางเชียงแสน ได้ทรงทำการรวบรวมอาณาจักรล้านนาไทยที่กระจัดกระจายให้เป็นปึกแผ่นขึ้นมาใหม่ และทำการสร้างเมืองเชียงรายเมื่อ พ.ศ. 1805 ครั้งนั้นพระองค์ทรงยกทัพเข้ายึดเอาอาณาจักรหริภุญชัยจากพวกขอมดำละโว้ ผู้สืบเชื้อสายของพระนางจามเทวี ได้ใน พ.ศ. 1835 แล้วทำการตั้งอาณาจักรใหม่ขึ้นมา เรียกชื่อว่า อาณาจักรล้านนา
ติดตามกระทู้อื่นๆ น่าสนใจได้ทาง
https://lampangfood.blogspot.com
แกงโฮะ มาจากไหนกัน ประวัติศาสตร์และความเป็นมา จะใช่ แกงฮังเลของชาวโยนกเชียงแสน หรือไม่ ลองมาค้นหาคำตอบดูครับ
สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้ผู้เขียนจะขอเสนอเมนูอาหารดั้งเดิมโบราณ ของชาวเหนือ ที่ทุกคนรู้จักแน่นอนครับ แต่ไม่รู้ที่มา ... นั่นคือแกงโฮะ
แกงโฮะ ในทุกวันนี้รู้จักกันว่า เป็นการถนอมอาหารของชาวเหนือแบบหนึ่งในอดีต คือเป็นการนำเอาแกง และอาหารต่างๆ ที่กินเหลือแล้ว มาผัดผสมกันในกระทะ ใส่แกงฮังเลลงไป ผัดให้น้ำแกงแห้งดี ก็ตักรับประทานได้ ...บางตำรับ ก็ว่ามีการนำเอาแกงเหลือ อาหารเหลือ ใส่รวมลงไปในไห ฝังดินไว้ 2-3สัปดาห์ ค่อยขุดขึ้นมา ผัดในกระทะ เป็นแกงโฮะ แบบเปรี้ยวๆหน่อย(เหมือนจิ้นเน่า อาหารยอดนิยมทางเหนือ) น่าจะเป็นถนอมอาหารแบบหนึ่ง ในช่วงสงครามโบราณ อาหารหายาก อาหารเหลือหลายๆอย่าง สามารถนำมาปรุงใหม่ได้
....แกงโฮะ ใครๆก็รู้จักและเคยทานกัน แต่น้อยคนจะรู้ที่มา ของแกงโฮะนี้ วันนี้ผู้เขียนจะมาเฉลย ประวัติและความเป็นมาของแกงโฮะ กันครับ
ติดตามกระทู้อื่นๆ น่าสนใจได้ทาง
https://lampangfood.blogspot.com
หน้าตาแกงฮังเล หรือ พม่าเรียกว่า ฮินเล เป็นแกงหลักที่ใช้ผสมลงในแกงโฮะ ...ในภาษาพม่า ฮินแปลว่า แกง เล แปลว่า เนื้อสัตว์ ก็มั่นใจได้เลยครับ ว่าแกงฮังเล เป็นแกงได้รับมาจากพม่าโดยตรงแน่นอน ...แล้วมาเกี่ยวอะไรกับแกงโฮะละครับ คงจะเกี่ยวแน่นอน เพราะแกงฮังเลทางสิบสองปันนา ก็มีแต่เค้าจะใส่พวกผัก มะเขือ หน่อไม้ดอง ลงไปด้วย หน้าตาแกงฮังเลเค้าจะเหมือนกับแกงโฮะในบ้านเรา แบบเหมือนกันเป๊ะเลย เรียกว่า แกงฮังเลเชียงแสน
คาดว่าได้รับอิทธิพลมาจาก ชาวโยนกเชียงแสนในอดีต หลายท่านอาจจะงง ว่าชาวโยนกเป็นใคร ว่าเกี่ยวกับแกงโฮะยังไง ผมขอเล่าย้อนหลังยาวๆเลยละกัน
ในอดีตกาล จะมีอาณาจักรโบราณ หลายเมือง อยู่ทางทิศใต้ของประเทศจีนปัจจุบัน เป็นอาณาจักรต้นตระกูล และบรรพบุรุษของชาวไต (ไทใหญ่
ไทน้อย ลาว) คือ สหรัฐหนองแส หรือ อาณาจักรน่านเจ้า เมื่อราวพ.ศ. 350 ซึ่งถูกก่อตั้งขึ้นหลังจาก อาณาจักรอ้ายไตล่มสลาย เพราะ การรุกรานของแคว้นจิ๋น ของจิ๋นซีฮ่องเต้ ปฐมกษัตริย์แห่งดินแดนจีน (Qin = Chin = China)
.... เจ้าเสือลูกหลาว ผู้นำชาวไตได้ขับไล่กองทัพจีนออกไปจากดินแดนชาวไต และได้มีการรวบรวมเมืองชาวไต 6 เมืองรวมเป็นอาณาจักรเดียวกัน โดยเมืองหนองแส เป็นเมืองหลวงหลัก ปัจจุบันคือเมืองเชียงรุ้ง ในสิบสองปันนา มีความรุ่งเรืองเรื่ิอยมา ....ต่อมา พระเจ้าเทวกาล เจ้าผู้ครองเมืองนครไทยเทศ(เมืองหนองแส) ได้ให้ราชบุตรที่ มีกว่า 40 องค์ แยกย้ายกันไปสร้างบ้านแปงเมือง และเผยแพร่พระพุทธศาสนาแบบมหายาน ...เจ้าสิงหนวัติกุมาร ผู้เป็นโอรสองค์ที่สอง ได้อพยพชาวไต มาจาก นครไทยเทศ ล่องเรือลงมาในแม่น้ำโขง
มาตั้งอาณาจักรโยนกนาคพันธุ์ ณ บริเวณ อำเภอเมืองเชียงแสน จังหวัดเชียงรายปัจจุบันนี้ มีเมืองเชียงแสนเป็นราชธานี ต่อมากลายเป็นอาณาจักรใหญ่รอบคลุมดินแดนกว้างขวาง ทางทิศตะวันออกตั้งแต่แคว้นตังเกี๋ยของเวียดนามปัจจุบัน ไปจดแม่น้ำสาละวินเขตรัฐฉานในประเทศพม่า ทางเหนือจากบริเวณเมืองหนองแส มณฑลยูนนานของจีนลงมาถึงที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนบน ทำให้นครในดินแดนแถบนี้ รับเอาพระพุทธศาสนาแบบมหายาน และวัฒนธรรมอาหารการกินมาด้วย เช่น ใบเมี่ยง ใบชา ถั่วเน่า ผักกาด รวมทั้ง มะแขว่น (พืชตระกูลเดียวกับ หม่าล่าของจีน) เป็นต้น รวมทั้งการทอผ้าซิ่นด้วย
ปล... ตามประวัติสร้างเมืองเขลางค์นคร ราวพศ.1223 พระนางจามเทวี เดินทางมาสร้างเมืองเขลางค์นคร เพื่อให้เป็นบ้านพี่เมืองน้องกับนครหริภุญไชย พร้อมกับเผยแพร่พุทธศาสนาแบบหินยาน( ชาวละโว้ หรือ มอญ โบราณ รับจากอาณาจักรทวารวดี) ....พระนางได้เสด็จมาแวะสักการะ พระธาตุลำปางหลวง ซึ่งว่ากันตามประวัติศาสตร์แสดงว่า ก็ได้มี พระธาตุลำปางหลวง มาตั้งแต่ก่อนสมัยสร้างเมืองเขลางค์ หลายร้อยปีแล้ว ว่าแต่ใครล่ะเป็นผู้สร้าง และบริเวณแถบนั้น ก็เป็นเมืองชาวลัวะเดิมอยู่ทั้งนั้น ชาวลัวะ ก็ยังคงนับถือผีปู่ผีย่า คงไม่ได้เป็นผู้สร้างแน่แท้ ผู้เขียนขอสันนิษฐานว่า เป็นชาวโยนกเชียงแสน ในยุครุ่งเรือง อาณาเขตกว้างใหญ่ ได้เข้าสร้างบ้านแปงเมือง และสร้างวัดแบบมหายาน อยู่กันนานมาแล้ว ก่อนที่พระนางจามเทวี จะเข้ามาสร้างเมืองเขลางค์และเผยแพร่พุทธศาสนาแบบหินยานที่พระนางนับถือ ...วัดเก่าแก่ในภาคเหนือ จึงมีอายุไม่แพ้ วัดในสมัยอาณาจักรทวารวดี (ทวารวดีนับถือหินยาน โดยรับการเผยแพร่จากพระเจ้าอโศกแห่งอินเดีย) เพียงแต่ วัดทางภาคเหนือ ยุคเก่า จะเป็น มหายาน เพราะได้รับอิทธิพล จากทางจีนตอนใต้ ซึ่งพุทธแบบ มหายาน เจริญรุ่งเรืองมาก จากการเข้ามาเผยแพร่ของภิกษุอินเดีย 2 รูป คือ พระกาศยปมาตังคะ และพระธรรมรักษ์ ในสมัยของพระจักรพรรดิเม่งเต้แห่งราชวงศ์ฮั่น
ติดตามกระทู้อื่นๆ น่าสนใจได้ทาง
https://lampangfood.blogspot.com
ช่วงนี้ชาวโยนกเชียงแสน ก็ได้รับแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม จากหลากหลายเมือง หลังจากได้ขยายอาณาเขตอย่างกว้างขวางในตอนนั้น แล้วรับวัฒนธรรมอาหารการกินแบบชาวปยู(ต้นกำเนิดชาวพม่า) เป็นแกงใส่เครื่องเทศ ซึ่งปยูน่าจะได้รับอิทธิพลมาจาก แคว้นเบงกอลและโอริสสา (อินเดียโบราณที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาพุทธแบบมหายานในพม่าตอนเหนือ)อีกทีนึง แกงเนื้อสัตว์ใส่เครื่องแกงพม่าแบบมีน้ำมันเยอะๆ ชาวโยนกเชียงแสนอาจไม่คุ้นเคย และรู้สึกเลี่ยน จึงต้องเพิ่มผัก มะเขือ หน่อไม้ดอง ลงไปเพื่อตัดความเลี่ยน จึงเกิดแกงฮังเลแบบเชียงแสนขึ้น และแพร่หลายไปในเมืองหนองแส (เชียงรุ้ง,สิบสองปันนา ) อาณาจักรน่านเจ้า นครบ้านพี่เมืองน้องในขณะนั้น
ต่อมา อาณาจักรโยนก ก็ต้องสู้รบ จากการรุกรานทั้งขอมดำ ชาวลัวะ(เจ้าถิ่นดั้งเดิม) และ ปยู (บรรพบุรุษชาวพม่า) มีการตกเป็นเมืองขึ้น แล้วมีการขับไล่ออกไป อยู่หลายครั้งหลายครา นับหลายร้อยปี จนถึงยุคล่มสลาย ... ในสมัยพระเจ้ามหาชัยชนะ อาณาจักรโยนกเชียงแสน ได้ประสบเหตุภัยพิบัติรุนแรง เกิดแผ่นดินไหวหลายครั้งอย่างหนักจนแผ่นดินยุบตัว และได้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน เนื่องมาจากพนังกั้นน้ำ หรือเขื่อนเหนือน้ำพังทลายลง เกิดสึนามิถล่มเมือง
เมืองทั้งเมืองจมอยู่ใต้บาดาล จนทำให้ที่ตั้งเมืองกลายเป็นหนองน้ำใหญ่ บริเวณตรงที่เรียกว่าเวียงหนองล่ม
ติดตามกระทู้อื่นๆ น่าสนใจได้ทาง
https://lampangfood.blogspot.com
สภาพหลังถูกสึนามิ น้ำท่วมถล่มเมืองโยนกเชียงแสนจนย่อยยับ จนเป็นเหตุให้บรรดาราชวงศ์กษัตริย์และขุนนางของโยนกนาคนครเสียชีวิตด้วยเหตุน้ำท่วมเมืองทั้งหมด พวกชาวบ้านที่เหลือรอดชีวิตได้ประชุมปรึกษากันเลือกตั้งให้คนกลุ่มหนึ่งที่มิใช่เชื้อสายราชวงศ์ขึ้นดูแลพวกตน เรียกว่า ขุนแต่งเมือง และเรียกชุมชนแห่งนั้นว่า “เวียงปรึกษา”เป็นเวลาต่อไปอีก 94 ปี จนถูกบุกรุกยึดครองเป็นเมืองขึ้นของพม่าไป ต่อมาชาวเชียงแสนก็ถูกกองทัพพม่า เทครัว อพยพย้ายถิ่นฐานลงมายังหัวเมืองนครต่างๆในภาคเหนือเรานี้ จนเป็นพลเมืองหลัก และเป็นบรรพบุรุษชาวเหนือในปัจจุบัน
ตอนต้นพุทธศตวรรษที่ 18 พญามังราย(หรือพ่อขุนเม็งราย) ผู้สืบเชื้อสายมาจากผู้ครองเมืองเงินยางเชียงแสน ได้ทรงทำการรวบรวมอาณาจักรล้านนาไทยที่กระจัดกระจายให้เป็นปึกแผ่นขึ้นมาใหม่ และทำการสร้างเมืองเชียงรายเมื่อ พ.ศ. 1805 ครั้งนั้นพระองค์ทรงยกทัพเข้ายึดเอาอาณาจักรหริภุญชัยจากพวกขอมดำละโว้ ผู้สืบเชื้อสายของพระนางจามเทวี ได้ใน พ.ศ. 1835 แล้วทำการตั้งอาณาจักรใหม่ขึ้นมา เรียกชื่อว่า อาณาจักรล้านนา
ติดตามกระทู้อื่นๆ น่าสนใจได้ทาง
https://lampangfood.blogspot.com