“วิรไท สันติประภพ” ผู้ว่าการแบงก์ชาติ ไขข้อข้องใจสัญญาณเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวส่งออกดีขึ้น แต่กลุ่ม “ฐานราก-เอสเอ็มอี” ยังน่าห่วง หนี้เสียเพิ่ม-กำลังซื้อทรุด ชี้ปัญหา “หนี้ครัวเรือน” ค้ำคอตัวการใหญ่ฉุดบริโภค เดินแผนสกัดก่อหนี้ใหม่-ตัดวงจรหนี้เก่า พร้อมเตรียมเดินสายถก 4 แบงก์ปิดความเสี่ยงจากปัญหา “วัฒนธรรมองค์กร” ที่ให้ความสำคัญกับผลตอบแทน
ก้าวเข้าสู่ครึ่งหลังของปี 2560 แม้ภาพรวมเศรษฐกิจไทยจะส่งสัญญาณฟื้นตัว แต่ในสภาพความเป็นจริงที่ประชาชนทั่วไปสัมผัสอาจแตกต่าง “ประชาชาติธุรกิจ” ได้มีโอกาสสัมภาษณ์พิเศษนายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ถึงข้อเท็จจริงและแนวทางการสร้างเสถียรภาพทางการเงินของประเทศไทยในยุคที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
สร้างวัฒนธรรมแบงก์
นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้ ธปท.มีนโยบายที่จะส่งเสริมให้ธนาคารพาณิชย์มีวิธีป้องกันปิดความเสี่ยงที่เกิดจากวัฒนธรรมองค์กร ที่มีพฤติกรรมรับความเสี่ยงมากขึ้น อาทิ การให้ความสำคัญกับผลตอบแทนระยะสั้นมากเกินควร การไม่มีระบบการคานอำนาจที่ดี และโดยเฉพาะการแสวงหาผลตอบแทนแบบไม่คำนึงถึงความเสี่ยง (search for yield) ซึ่งหากทุกธนาคารมีพฤติกรรมลักษณะนี้ก็อาจจะเป็นอันตรายต่อระบบการเงินของประเทศได้
“ธปท.คงไม่ไปกำหนดว่าแต่ละแบงก์ต้องมีวัฒนธรรมองค์กรอย่างไร เพราะทุกวัฒนธรรมมีทั้งข้อดีและข้อเสีย แต่จะสร้างความเข้าใจว่าแต่ละวัฒนธรรมองค์กรมีความเสี่ยงอย่างไร และต้องบริหารจัดการปิดความเสี่ยงเพื่อให้แบงก์มีความยั่งยืนอย่างไร โดยเฉพาะในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นทุกวันนี้ และเร็ว ๆ นี้จะนำร่องเดินสายเข้าไปพูดคุยกับ 4 แบงก์ ซึ่งจะมีแถลงเรื่องนี้อย่างเป็นทางการในวันที่ 15 ส.ค.นี้
“บางสถาบันการเงินอาจจะเป็น Groupthink ที่ทุกคนเห็นตรงกันหมด กระบวนการคานระหว่างฝ่ายบริหารความเสี่ยง และฝ่ายธุรกิจก็ไม่เกิด หรือบางสถาบันการเงินอาจจะมีคนเคาะคนเดียว กระบวนการตรวจสอบถ่วงดุลก็ไม่เกิด เราก็ต้องทำให้สถาบันการเงินมีวัฒนธรรมองค์กรที่จะปิดประเด็นที่เป็นจุดเปราะบางที่นำไปสู่การรับความเสี่ยงมากเกินควร” นายวิรไทกล่าว
แม้ว่าบทเรียนจากวิกฤตปี 2540 จะทำให้ช่วง 20 ปีที่ผ่านมาแบงก์ไทยเข้มแข็งมาก แต่ขณะนี้คนที่ผ่านวิกฤตครั้งนั้นมากำลังจะเกษียณหมดใน 3-4 ปีนี้ ดังนั้นช่วงเปลี่ยนผ่านนายแบงก์สู่คนรุ่นใหม่จึงต้องให้ความสำคัญ เพื่อไม่ให้เกิดพฤติกรรมรับความเสี่ยงมากเกินไป
แบงก์ไทยพร้อมรับแข่งขัน
สำหรับในการปรับตัวของสถาบันการเงินไทยกับการเปลี่ยนแปลง ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า สถาบันการเงินไทยมีการปรับตัวได้ดี แบงก์ใหญ่ค่อนข้างเข้าใจ เท่าทัน ตามเทคโนโลยีทัน ในหลายประเทศที่ฟินเทคโตเร็ว เช่นในอังกฤษ บริการ P2P เติบโตมาก ก็เพราะการขอสินเชื่อเอสเอ็มอีใช้เวลา 2 เดือนอนุมัติ ขณะที่เมืองไทยที่บ่นกัน ใช้ 2-3 อาทิตย์ หรือที่ประเทศจีน การทำธุรกรรมในธนาคาร 1 อย่างใช้เวลาอย่างน้อย 1 ชม. ปัญหาการใช้บริการเลยเปิดโอกาสให้ฟินเทคเกิดขึ้นเยอะ
แต่ของไทยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แบงก์มีการแข่งขัน ดูง่าย ๆ แบงก์ฝรั่งที่เข้ามาก็สู้แบงก์ไทยไม่ได้สักราย และขณะนี้แบงก์ไทยก็เริ่มทดลองบริการใหม่ ๆ
โดยปัจจุบัน ธปท.ได้อนุมัติการเข้าร่วมทดสอบแซนด์บอกซ์ 4 ราย เป็นของแบงก์ 3 ราย นอนแบงก์ 1 ราย โดยแบงก์กสิกรฯขอทำ LG บล็อกเชน ไทยพาณิชย์ทำเรื่องโอนเงินสำหรับรายย่อย ธนาคารกรุงศรีฯทำเรื่องโอนเงินสำหรับ Whole Sale และบัตรเครดิตกรุงไทยทำเรื่อง E-KYC โดยใช้ม่านตาในการยืนยันตัวตน จากที่แบงก์สมัครเข้าร่วมแซนด์บอกซ์ก็สะท้อนได้ว่าธนาคารใหญ่ ๆ อยู่ระหว่างการปรับตัว
ส่วนกรณีที่ธนาคารต้องการขยายออกนอกธุรกิจการเงิน เช่น การเข้าสู่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ นายวิรไทกล่าวว่า เรื่องนี้อยู่ระหว่างการพิจารณา ฝ่ายฟินเทคของ ธปท. ก็มีหน้าที่ให้คำแนะนำ กฎเกณฑ์กติกาว่าจะต้องคอมพลายยังไง ว่าจะปรับใช้กับกฎเกณฑ์อย่างไร จะมีกระบวนการดูแลผู้บริโภค และความเสี่ยงอย่างไร
“ฐานราก-เอสเอ็มอี” เปราะบาง
ขณะที่ภาพภาวะเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน นายวิรไทกล่าวว่า ภาพรวมเศรษฐกิจไทยขณะนี้มีการฟื้นตัวขึ้น ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับเศรษฐกิจโลก โดยแรงขับเคลื่อนหลักมาจากการส่งออกที่เติบโตดีขึ้นมาก ซึ่งยังมีแนวโน้มเติบโตได้ต่อเนื่องในครึ่งปีหลัง ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวช่วงครึ่งปีแรกก็ขยายตัวได้ดี รวมถึงเม็ดเงินจากภาครัฐเข้าไปมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยยังกระจุกตัวอยู่มาก โดยประชาชนกลุ่มฐานรากและธุรกิจเอสเอ็มอียังมีความยากลำบาก หากครึ่งปีหลังภาคการท่องเที่ยวยังขยายตัวได้ดีก็น่าจะส่งผลดีกับในวงกว้างได้
“ปีที่แล้วเราเจอภัยแล้ง ภาคต่างจังหวัด ภาคเกษตร ได้รับผลกระทบแรงมาก คนที่พึ่งกำลังซื้อจากต่างจังหวัดก็จะได้รับผลกระทบแรง อีกตัวหนึ่งที่เรายังเห็นไม่ชัด คือ การส่งออกที่ดีขึ้นยังไม่นำไปสู่การจ้างงานเพิ่มมากขึ้นในภาคอุตสาหกรรม ค่าล่วงเวลา (โอที) ก็ยังไม่มี ดังนั้นอำนาจซื้อของคนก็ยังไม่ชัดเจน ส่วนตัวฉุดรั้งใหญ่อีกตัว ก็คือ หนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ระดับสูง ซึ่งโตสูงขึ้นมากในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา” นายวิรไทกล่าว
“หนี้ครัวเรือน” ฉุดการบริโภค
ผู้ว่าการแบงก์ชาติกล่าวว่า การที่ ธปท.ออกมาเตือนปัญหาหนี้ครัวเรือน และมีมาตรการต่าง ๆ ออกมา เนื่องจากเห็นถึงความเปราะบาง โดยจากฐานข้อมูลรายบุคคลพบว่า คนไทยเป็นหนี้เร็วขึ้น มากขึ้น และนานขึ้น แม้ใกล้เกษียณหนี้ก็ยังไม่ลด ตัวอย่างที่น่ากังวล คือ 1 ใน 5 ของคนที่อยู่ช่วงอายุ 29-30 ปี หรือวัยสร้างเนื้อสร้างตัว กลายเป็นหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ซึ่งตรงนี้ยังไม่รวมหนี้นอกระบบ หนี้กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) และหนี้สหกรณ์ออมทรัพย์ด้วยซ้ำ
“ถ้ารวมพวกหนี้ กยศ.เข้าไปด้วย จะยิ่งเห็นชัดเลยว่า คนระดับอายุน้อยกำลังมีปัญหา ฉะนั้นเมื่อรัฐบาลกระตุ้นใส่เงินอะไรเข้าไปก็ไปชำระหนี้หมด ไม่ได้ไปหมุนในระบบเศรษฐกิจ นี่เป็นปัญหาระดับประเทศว่า การกระตุ้นการบริโภคทำได้ยากขึ้น เพราะมีปัญหาหนี้ครัวเรือน” นายวิรไทกล่าว
ปัญหาหนี้ครัวเรือนของไทยนับว่าเป็นเรื่องที่น่ากังวลมาก เพราะหากเทียบกับประเทศอื่น ๆ ที่หนี้สูงกว่าไทย จะเป็นประเทศที่มีรายได้ต่อหัวสูงกว่าไทย หรือเป็นประเทศที่ร่ำรวยกว่านั่นเอง แต่หากเทียบประเทศที่มีรายได้ต่อหัวใกล้เคียงกันกับของไทย ต้องถือว่าหนี้ครัวเรือนของไทยอยู่อันดับต้น ๆ ของโลกเลยทีเดียว
ห่วงเอสเอ็มอีแข่งขันไม่ได้
นายวิรไทกล่าวว่า กลุ่มเอสเอ็มอีเป็นอีกกลุ่มที่น่ากังวล โดยเฉพาะเรื่อง “ความสามารถในการแข่งขันที่น่ากังวลกว่าด้านการเงิน” แต่อาการของเอสเอ็มอีที่มีปัญหามักจะสะท้อนผ่านด้านการเงิน เช่น ขอสินเชื่อไม่ได้ หรือเอ็นพีแอลสูงขึ้น เป็นต้น คือวัดไข้แล้วเห็นอาการ
“เอสเอ็มอีดีที่ยังมีศักยภาพ เขาก็ยังได้วงเงิน ดอกเบี้ยก็ถูกลง แต่มีเอสเอ็มอีบางส่วนที่เข้าไม่ถึงบริการทางการเงิน เพราะโยงกับเรื่องความสามารถในการแข่งขัน ยกตัวอย่าง แนวโน้มเอ็นพีแอลของเอสเอ็มอี เทียบกับธุรกิจขนาดใหญ่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน บางอุตสาหกรรมไปคนละทาง คือขณะที่เอสเอ็มอีเอ็นพีแอลสูงขึ้น แต่ธุรกิจขนาดใหญ่เอ็นพีแอลกลับลดลง เห็นได้ชัดก็กลุ่มพาณิชยกรรม ที่ค้าปลีกรายใหญ่ ๆ กระจายไปทั่วประเทศ นี่ยังไม่รวมว่าพวกนี้จะถูกแทนที่ด้วยอีคอมเมิร์ซด้วย หรือพวกรับเหมาก่อสร้างที่สู้รายใหญ่ที่มีเทคโนโลยีทันสมัยไม่ได้” ผู้ว่าการ ธปท.กล่าว
คุมก่อหนี้ใหม่-ตัดวงจรหนี้เก่า
สำหรับการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนนั้น นายวิรไทกล่าวว่า คงไม่มีสูตรสำเร็จ แต่ก็ต้องทำ 3 อย่าง คือ
1.สร้างทักษะความรู้ ความเข้าใจด้านการเงิน เพราะความสามารถในการบริหารจัดการเงินของคนไทยค่อนข้างต่ำมาก ซึ่งจะต้องเร่งสร้างทักษะชีวิตเรื่องนี้ให้กับคนไทยทุกระดับ
2.สถาบันการเงินต้องเข้าใจถึงความยั่งยืนในเรื่องการทำธุรกิจแบบมีความรับผิดชอบด้วย ซึ่งการที่ ธปท.ออกกฎเกณฑ์ใหม่มาคุมเรื่องบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคล ก็เป็นการตอบโจทย์นี้
และ 3.ต้องช่วยผู้ที่ติดอยู่ในวงจรหนี้ให้หลุดพ้นจากวงจรหนี้ดังกล่าว อย่างที่ ธปท.ให้บริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท (SAM) ทำเรื่องคลินิกแก้หนี้ เป็นการนำร่องแก้ปัญหาให้แก่ลูกหนี้รายย่อยที่มีเจ้าหนี้หลายราย ซึ่งล่าสุดมีลูกค้าผ่านคุณสมบัติแล้วกว่า 200 ราย และมีการทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ไปได้ราว 150 รายแล้ว
“อย่างไรก็ตามไม่มีอะไรที่กดปุ่มปุ๊บ แล้วหนี้ลดทันที ต้องใช้เวลา 5 ปี 10 ปี” นายวิรไทกล่าว
แม้ที่ผ่านมา สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP จะดูเหมือนลดลง แต่หากดูข้อมูลเครดิตบูโรจะพบว่า ภาระหนี้ที่ประชาชนต้องจ่ายยังคงมีอยู่ แม้ว่าตัวสถาบันการเงินจะตัดหนี้สูญออกจากบัญชีไปแล้ว และยังรวมถึงการที่หนี้ กยศ. และหนี้สหกรณ์ออมทรัพย์ ที่ไม่นับรวมอยู่ในหนี้ครัวเรือนอีกด้วย
“ภาวะหนี้ครัวเรือนเป็นแบบนี้จะไปหวังให้การบริโภคโต หรืออัดฉีดให้โตแบบกระโดดคงไม่ได้” ผู้ว่าการ ธปท.กล่าว
อย่างไรก็ดี ในส่วนหนี้ครัวเรือน เป็นการกู้ของบุคคลธรรมดาเพื่อนำเงินไปประกอบธุรกิจ คาดว่ามีสัดส่วนอยู่ราว 20%
นายวิรไทกล่าวว่า การให้ความช่วยเหลือเอสเอ็มอี ต้องกลับมาให้ความสำคัญกับเรื่องการสร้างความสามารถในการแข่งขันให้แก่ผู้ประกอบการอย่างจริงจัง ซึ่งจะต้องครอบคลุมหลายมิติ และมิติที่สำคัญมากคือ ด้านการใช้เทคโนโลยี
JJNY : เสดตะกิดดี๊ดี...ซี้จุกสูญ ธปท.ชำแหละเศรษฐกิจไทย หนี้ฉุดอำนาจซื้อ - SMEไข้หนัก
ก้าวเข้าสู่ครึ่งหลังของปี 2560 แม้ภาพรวมเศรษฐกิจไทยจะส่งสัญญาณฟื้นตัว แต่ในสภาพความเป็นจริงที่ประชาชนทั่วไปสัมผัสอาจแตกต่าง “ประชาชาติธุรกิจ” ได้มีโอกาสสัมภาษณ์พิเศษนายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ถึงข้อเท็จจริงและแนวทางการสร้างเสถียรภาพทางการเงินของประเทศไทยในยุคที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
สร้างวัฒนธรรมแบงก์
นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้ ธปท.มีนโยบายที่จะส่งเสริมให้ธนาคารพาณิชย์มีวิธีป้องกันปิดความเสี่ยงที่เกิดจากวัฒนธรรมองค์กร ที่มีพฤติกรรมรับความเสี่ยงมากขึ้น อาทิ การให้ความสำคัญกับผลตอบแทนระยะสั้นมากเกินควร การไม่มีระบบการคานอำนาจที่ดี และโดยเฉพาะการแสวงหาผลตอบแทนแบบไม่คำนึงถึงความเสี่ยง (search for yield) ซึ่งหากทุกธนาคารมีพฤติกรรมลักษณะนี้ก็อาจจะเป็นอันตรายต่อระบบการเงินของประเทศได้
“ธปท.คงไม่ไปกำหนดว่าแต่ละแบงก์ต้องมีวัฒนธรรมองค์กรอย่างไร เพราะทุกวัฒนธรรมมีทั้งข้อดีและข้อเสีย แต่จะสร้างความเข้าใจว่าแต่ละวัฒนธรรมองค์กรมีความเสี่ยงอย่างไร และต้องบริหารจัดการปิดความเสี่ยงเพื่อให้แบงก์มีความยั่งยืนอย่างไร โดยเฉพาะในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นทุกวันนี้ และเร็ว ๆ นี้จะนำร่องเดินสายเข้าไปพูดคุยกับ 4 แบงก์ ซึ่งจะมีแถลงเรื่องนี้อย่างเป็นทางการในวันที่ 15 ส.ค.นี้
“บางสถาบันการเงินอาจจะเป็น Groupthink ที่ทุกคนเห็นตรงกันหมด กระบวนการคานระหว่างฝ่ายบริหารความเสี่ยง และฝ่ายธุรกิจก็ไม่เกิด หรือบางสถาบันการเงินอาจจะมีคนเคาะคนเดียว กระบวนการตรวจสอบถ่วงดุลก็ไม่เกิด เราก็ต้องทำให้สถาบันการเงินมีวัฒนธรรมองค์กรที่จะปิดประเด็นที่เป็นจุดเปราะบางที่นำไปสู่การรับความเสี่ยงมากเกินควร” นายวิรไทกล่าว
แม้ว่าบทเรียนจากวิกฤตปี 2540 จะทำให้ช่วง 20 ปีที่ผ่านมาแบงก์ไทยเข้มแข็งมาก แต่ขณะนี้คนที่ผ่านวิกฤตครั้งนั้นมากำลังจะเกษียณหมดใน 3-4 ปีนี้ ดังนั้นช่วงเปลี่ยนผ่านนายแบงก์สู่คนรุ่นใหม่จึงต้องให้ความสำคัญ เพื่อไม่ให้เกิดพฤติกรรมรับความเสี่ยงมากเกินไป
แบงก์ไทยพร้อมรับแข่งขัน
สำหรับในการปรับตัวของสถาบันการเงินไทยกับการเปลี่ยนแปลง ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า สถาบันการเงินไทยมีการปรับตัวได้ดี แบงก์ใหญ่ค่อนข้างเข้าใจ เท่าทัน ตามเทคโนโลยีทัน ในหลายประเทศที่ฟินเทคโตเร็ว เช่นในอังกฤษ บริการ P2P เติบโตมาก ก็เพราะการขอสินเชื่อเอสเอ็มอีใช้เวลา 2 เดือนอนุมัติ ขณะที่เมืองไทยที่บ่นกัน ใช้ 2-3 อาทิตย์ หรือที่ประเทศจีน การทำธุรกรรมในธนาคาร 1 อย่างใช้เวลาอย่างน้อย 1 ชม. ปัญหาการใช้บริการเลยเปิดโอกาสให้ฟินเทคเกิดขึ้นเยอะ
แต่ของไทยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แบงก์มีการแข่งขัน ดูง่าย ๆ แบงก์ฝรั่งที่เข้ามาก็สู้แบงก์ไทยไม่ได้สักราย และขณะนี้แบงก์ไทยก็เริ่มทดลองบริการใหม่ ๆ
โดยปัจจุบัน ธปท.ได้อนุมัติการเข้าร่วมทดสอบแซนด์บอกซ์ 4 ราย เป็นของแบงก์ 3 ราย นอนแบงก์ 1 ราย โดยแบงก์กสิกรฯขอทำ LG บล็อกเชน ไทยพาณิชย์ทำเรื่องโอนเงินสำหรับรายย่อย ธนาคารกรุงศรีฯทำเรื่องโอนเงินสำหรับ Whole Sale และบัตรเครดิตกรุงไทยทำเรื่อง E-KYC โดยใช้ม่านตาในการยืนยันตัวตน จากที่แบงก์สมัครเข้าร่วมแซนด์บอกซ์ก็สะท้อนได้ว่าธนาคารใหญ่ ๆ อยู่ระหว่างการปรับตัว
ส่วนกรณีที่ธนาคารต้องการขยายออกนอกธุรกิจการเงิน เช่น การเข้าสู่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ นายวิรไทกล่าวว่า เรื่องนี้อยู่ระหว่างการพิจารณา ฝ่ายฟินเทคของ ธปท. ก็มีหน้าที่ให้คำแนะนำ กฎเกณฑ์กติกาว่าจะต้องคอมพลายยังไง ว่าจะปรับใช้กับกฎเกณฑ์อย่างไร จะมีกระบวนการดูแลผู้บริโภค และความเสี่ยงอย่างไร
“ฐานราก-เอสเอ็มอี” เปราะบาง
ขณะที่ภาพภาวะเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน นายวิรไทกล่าวว่า ภาพรวมเศรษฐกิจไทยขณะนี้มีการฟื้นตัวขึ้น ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับเศรษฐกิจโลก โดยแรงขับเคลื่อนหลักมาจากการส่งออกที่เติบโตดีขึ้นมาก ซึ่งยังมีแนวโน้มเติบโตได้ต่อเนื่องในครึ่งปีหลัง ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวช่วงครึ่งปีแรกก็ขยายตัวได้ดี รวมถึงเม็ดเงินจากภาครัฐเข้าไปมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยยังกระจุกตัวอยู่มาก โดยประชาชนกลุ่มฐานรากและธุรกิจเอสเอ็มอียังมีความยากลำบาก หากครึ่งปีหลังภาคการท่องเที่ยวยังขยายตัวได้ดีก็น่าจะส่งผลดีกับในวงกว้างได้
“ปีที่แล้วเราเจอภัยแล้ง ภาคต่างจังหวัด ภาคเกษตร ได้รับผลกระทบแรงมาก คนที่พึ่งกำลังซื้อจากต่างจังหวัดก็จะได้รับผลกระทบแรง อีกตัวหนึ่งที่เรายังเห็นไม่ชัด คือ การส่งออกที่ดีขึ้นยังไม่นำไปสู่การจ้างงานเพิ่มมากขึ้นในภาคอุตสาหกรรม ค่าล่วงเวลา (โอที) ก็ยังไม่มี ดังนั้นอำนาจซื้อของคนก็ยังไม่ชัดเจน ส่วนตัวฉุดรั้งใหญ่อีกตัว ก็คือ หนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ระดับสูง ซึ่งโตสูงขึ้นมากในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา” นายวิรไทกล่าว
“หนี้ครัวเรือน” ฉุดการบริโภค
ผู้ว่าการแบงก์ชาติกล่าวว่า การที่ ธปท.ออกมาเตือนปัญหาหนี้ครัวเรือน และมีมาตรการต่าง ๆ ออกมา เนื่องจากเห็นถึงความเปราะบาง โดยจากฐานข้อมูลรายบุคคลพบว่า คนไทยเป็นหนี้เร็วขึ้น มากขึ้น และนานขึ้น แม้ใกล้เกษียณหนี้ก็ยังไม่ลด ตัวอย่างที่น่ากังวล คือ 1 ใน 5 ของคนที่อยู่ช่วงอายุ 29-30 ปี หรือวัยสร้างเนื้อสร้างตัว กลายเป็นหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ซึ่งตรงนี้ยังไม่รวมหนี้นอกระบบ หนี้กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) และหนี้สหกรณ์ออมทรัพย์ด้วยซ้ำ
“ถ้ารวมพวกหนี้ กยศ.เข้าไปด้วย จะยิ่งเห็นชัดเลยว่า คนระดับอายุน้อยกำลังมีปัญหา ฉะนั้นเมื่อรัฐบาลกระตุ้นใส่เงินอะไรเข้าไปก็ไปชำระหนี้หมด ไม่ได้ไปหมุนในระบบเศรษฐกิจ นี่เป็นปัญหาระดับประเทศว่า การกระตุ้นการบริโภคทำได้ยากขึ้น เพราะมีปัญหาหนี้ครัวเรือน” นายวิรไทกล่าว
ปัญหาหนี้ครัวเรือนของไทยนับว่าเป็นเรื่องที่น่ากังวลมาก เพราะหากเทียบกับประเทศอื่น ๆ ที่หนี้สูงกว่าไทย จะเป็นประเทศที่มีรายได้ต่อหัวสูงกว่าไทย หรือเป็นประเทศที่ร่ำรวยกว่านั่นเอง แต่หากเทียบประเทศที่มีรายได้ต่อหัวใกล้เคียงกันกับของไทย ต้องถือว่าหนี้ครัวเรือนของไทยอยู่อันดับต้น ๆ ของโลกเลยทีเดียว
ห่วงเอสเอ็มอีแข่งขันไม่ได้
นายวิรไทกล่าวว่า กลุ่มเอสเอ็มอีเป็นอีกกลุ่มที่น่ากังวล โดยเฉพาะเรื่อง “ความสามารถในการแข่งขันที่น่ากังวลกว่าด้านการเงิน” แต่อาการของเอสเอ็มอีที่มีปัญหามักจะสะท้อนผ่านด้านการเงิน เช่น ขอสินเชื่อไม่ได้ หรือเอ็นพีแอลสูงขึ้น เป็นต้น คือวัดไข้แล้วเห็นอาการ
“เอสเอ็มอีดีที่ยังมีศักยภาพ เขาก็ยังได้วงเงิน ดอกเบี้ยก็ถูกลง แต่มีเอสเอ็มอีบางส่วนที่เข้าไม่ถึงบริการทางการเงิน เพราะโยงกับเรื่องความสามารถในการแข่งขัน ยกตัวอย่าง แนวโน้มเอ็นพีแอลของเอสเอ็มอี เทียบกับธุรกิจขนาดใหญ่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน บางอุตสาหกรรมไปคนละทาง คือขณะที่เอสเอ็มอีเอ็นพีแอลสูงขึ้น แต่ธุรกิจขนาดใหญ่เอ็นพีแอลกลับลดลง เห็นได้ชัดก็กลุ่มพาณิชยกรรม ที่ค้าปลีกรายใหญ่ ๆ กระจายไปทั่วประเทศ นี่ยังไม่รวมว่าพวกนี้จะถูกแทนที่ด้วยอีคอมเมิร์ซด้วย หรือพวกรับเหมาก่อสร้างที่สู้รายใหญ่ที่มีเทคโนโลยีทันสมัยไม่ได้” ผู้ว่าการ ธปท.กล่าว
คุมก่อหนี้ใหม่-ตัดวงจรหนี้เก่า
สำหรับการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนนั้น นายวิรไทกล่าวว่า คงไม่มีสูตรสำเร็จ แต่ก็ต้องทำ 3 อย่าง คือ
1.สร้างทักษะความรู้ ความเข้าใจด้านการเงิน เพราะความสามารถในการบริหารจัดการเงินของคนไทยค่อนข้างต่ำมาก ซึ่งจะต้องเร่งสร้างทักษะชีวิตเรื่องนี้ให้กับคนไทยทุกระดับ
2.สถาบันการเงินต้องเข้าใจถึงความยั่งยืนในเรื่องการทำธุรกิจแบบมีความรับผิดชอบด้วย ซึ่งการที่ ธปท.ออกกฎเกณฑ์ใหม่มาคุมเรื่องบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคล ก็เป็นการตอบโจทย์นี้
และ 3.ต้องช่วยผู้ที่ติดอยู่ในวงจรหนี้ให้หลุดพ้นจากวงจรหนี้ดังกล่าว อย่างที่ ธปท.ให้บริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท (SAM) ทำเรื่องคลินิกแก้หนี้ เป็นการนำร่องแก้ปัญหาให้แก่ลูกหนี้รายย่อยที่มีเจ้าหนี้หลายราย ซึ่งล่าสุดมีลูกค้าผ่านคุณสมบัติแล้วกว่า 200 ราย และมีการทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ไปได้ราว 150 รายแล้ว
“อย่างไรก็ตามไม่มีอะไรที่กดปุ่มปุ๊บ แล้วหนี้ลดทันที ต้องใช้เวลา 5 ปี 10 ปี” นายวิรไทกล่าว
แม้ที่ผ่านมา สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP จะดูเหมือนลดลง แต่หากดูข้อมูลเครดิตบูโรจะพบว่า ภาระหนี้ที่ประชาชนต้องจ่ายยังคงมีอยู่ แม้ว่าตัวสถาบันการเงินจะตัดหนี้สูญออกจากบัญชีไปแล้ว และยังรวมถึงการที่หนี้ กยศ. และหนี้สหกรณ์ออมทรัพย์ ที่ไม่นับรวมอยู่ในหนี้ครัวเรือนอีกด้วย
“ภาวะหนี้ครัวเรือนเป็นแบบนี้จะไปหวังให้การบริโภคโต หรืออัดฉีดให้โตแบบกระโดดคงไม่ได้” ผู้ว่าการ ธปท.กล่าว
อย่างไรก็ดี ในส่วนหนี้ครัวเรือน เป็นการกู้ของบุคคลธรรมดาเพื่อนำเงินไปประกอบธุรกิจ คาดว่ามีสัดส่วนอยู่ราว 20%
นายวิรไทกล่าวว่า การให้ความช่วยเหลือเอสเอ็มอี ต้องกลับมาให้ความสำคัญกับเรื่องการสร้างความสามารถในการแข่งขันให้แก่ผู้ประกอบการอย่างจริงจัง ซึ่งจะต้องครอบคลุมหลายมิติ และมิติที่สำคัญมากคือ ด้านการใช้เทคโนโลยี