หอการค้าไทยชี้เอสเอ็มอีส่อสภาพคล่องแย่ลง ผู้ประกอบการเริ่มปรับตัวด้วยการยอมหั่นกำไร เพื่อประคองตัวให้รอด หากเศรษฐกิจครึ่งปีหลังไม่ฟื้นตัว ไม่มีรัฐบาลใหม่เข้ามา จะเห็นการปลดคนงาน เริ่มเบี้ยวหนี้แบงก์
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้กลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยหรือเอสเอ็มอี ประสบปัญหาการขายของที่ลำบากขึ้น ยอดขายที่ลดลง เพราะกำลังซื้อภายในประเทศตกต่ำ และในขณะเดียวกันต้นทุนในการบริการก็มีมูลค่าสูง ไม่สามารถลดได้ ส่งผลให้สภาพคล่องลดลง ซึ่งจากการสำรวจของมหาลัยหอการค้าจะพบว่ากลุ่มนักธุรกิจเอสเอ็มอีอยู่ในสภาวะที่ต้องปรับตัว ยอมลดกำไรตนเองลงเพื่อความอยู่รอด ท่ามกลางภาวะตรึงตัวแต่ยังประคับประคองตัวได้
“เอสเอ็มอีจะยอมทนเพียง 6 เดือนเท่านั้น หรือนับตั้งแต่เดือนมกราคมเป็นต้นมา ซึ่งแสดงให้เห็นว่าในครึ่งปีแรกเอสเอ็มอี ยังมีภาวะที่แข็งแกร่ง หากในครึ่งปีหลังหากเศรษฐกิจไทยฟื้นเอสเอ็มอีก็จะไม่มีปัญหา แต่ถ้าเศรษฐกิจไทยทรุดตัวลง ก็อาจจะทำให้เอสเอ็มอีมีปัญหามากขึ้น เช่น การขาดสภาพคล่องรุนแรง มีการปลดคนงาน และอาจชำระหนี้ไม่ตรงตามกำหนด”
อีกทั้งจะเห็นได้จากข่าวสารทั่วไปขณะนี้สถาบันทางการเงินเริ่มระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ และจับตามองการชำระหนี้ของเอสเอ็มอีอย่างใกล้ชิด ซึ่งก็เป็นผลให้เอสเอ็มอีเริ่มทำธุรกิจลำบากขึ้น ทั้งนี้เราต้องยอมรับว่าในสถานการณ์เช่นนี้ ทุกอย่างต้องเป็นไปตามกลไก นักธุรกิจจะต้องวางแผนและพึ่งพาตนเอง เพราะถ้าเศรษฐกิจในครึ่งปีหลังดีขึ้น เอสเอ็มอีก็จะสามารถปรับตัวให้ดีขึ้นได้ตาม ดังนั้นการมีรัฐบาลให้เร็วที่สุดจะช่วยพยุงเศรษฐกิจ และทำให้เอสเอ็มอีฟื้นตัวได้ตามด้วย
“หากมีรัฐบาลเข้ามาดำเนินงานเศรษฐกิจก็จะน่าจะดีขึ้น เอสเอ็มอีก็จะดีขึ้นได้ตามเศรษฐกิจ นอกเสียจากจะมีสถาบันการเงินเฉพาะกิจเข้าไปช่วยเติมสภาพคล่องให้เอสเอ็มอี เพราะตอนนี้ไทยก็มีนโยบายดอกเบี้ยต่ำอยู่แล้ว ส่วนมาตรการช่วยเหลือเฉพาะกิจคงยังไม่มีเพราะยังไม่ถึงขั้นวิกฤต เป็นเพียงกลไกทางธุรกิจเท่านั้น”
นายสมชาย พรรัตนเจริญ นายกสมาคมค้าส่งค้าปลีกไทย กล่าวว่าสถานการณ์ธุรกิจค้าส่งค้าปลีกขณะนี้ยอดขายโดยรวมเริ่มกระเตื้องขึ้นได้ เพราะเป็นช่วงเทศกาลสงกรานต์ พนักงาน ลูกจ้างในเมืองหลวง กลับบ้านไปเยี่ยมญาติทำให้ มีการซื้อสินค้า เสื้อผ้าใหม่ ไปเป็นของฝาก และการซื้อ เครื่องดื่ม เหล้า ขนม เพิ่มขึ้นในระหว่างวันที่ 11-21 เมษายน 2557 แต่อย่างไรก็ตาม สภาพเศรษฐกิจโดยรวมก็ยังน่ากังวลเนื่องจากยังมีปัญหาการเมืองและการรบริหารประเทศ ทำให้ ชาวนายังไม่ได้รับเงินจากโครงการรับจำนำข้าว การใช้จ่ายอาจไม่ดีเท่าที่ควร
ที่มา : naewna.com
หอการค้าชี้ SMEs อาการหนักหวั่นปลดคนงานเบี้ยวหนี้แบงก์
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้กลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยหรือเอสเอ็มอี ประสบปัญหาการขายของที่ลำบากขึ้น ยอดขายที่ลดลง เพราะกำลังซื้อภายในประเทศตกต่ำ และในขณะเดียวกันต้นทุนในการบริการก็มีมูลค่าสูง ไม่สามารถลดได้ ส่งผลให้สภาพคล่องลดลง ซึ่งจากการสำรวจของมหาลัยหอการค้าจะพบว่ากลุ่มนักธุรกิจเอสเอ็มอีอยู่ในสภาวะที่ต้องปรับตัว ยอมลดกำไรตนเองลงเพื่อความอยู่รอด ท่ามกลางภาวะตรึงตัวแต่ยังประคับประคองตัวได้
“เอสเอ็มอีจะยอมทนเพียง 6 เดือนเท่านั้น หรือนับตั้งแต่เดือนมกราคมเป็นต้นมา ซึ่งแสดงให้เห็นว่าในครึ่งปีแรกเอสเอ็มอี ยังมีภาวะที่แข็งแกร่ง หากในครึ่งปีหลังหากเศรษฐกิจไทยฟื้นเอสเอ็มอีก็จะไม่มีปัญหา แต่ถ้าเศรษฐกิจไทยทรุดตัวลง ก็อาจจะทำให้เอสเอ็มอีมีปัญหามากขึ้น เช่น การขาดสภาพคล่องรุนแรง มีการปลดคนงาน และอาจชำระหนี้ไม่ตรงตามกำหนด”
อีกทั้งจะเห็นได้จากข่าวสารทั่วไปขณะนี้สถาบันทางการเงินเริ่มระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ และจับตามองการชำระหนี้ของเอสเอ็มอีอย่างใกล้ชิด ซึ่งก็เป็นผลให้เอสเอ็มอีเริ่มทำธุรกิจลำบากขึ้น ทั้งนี้เราต้องยอมรับว่าในสถานการณ์เช่นนี้ ทุกอย่างต้องเป็นไปตามกลไก นักธุรกิจจะต้องวางแผนและพึ่งพาตนเอง เพราะถ้าเศรษฐกิจในครึ่งปีหลังดีขึ้น เอสเอ็มอีก็จะสามารถปรับตัวให้ดีขึ้นได้ตาม ดังนั้นการมีรัฐบาลให้เร็วที่สุดจะช่วยพยุงเศรษฐกิจ และทำให้เอสเอ็มอีฟื้นตัวได้ตามด้วย
“หากมีรัฐบาลเข้ามาดำเนินงานเศรษฐกิจก็จะน่าจะดีขึ้น เอสเอ็มอีก็จะดีขึ้นได้ตามเศรษฐกิจ นอกเสียจากจะมีสถาบันการเงินเฉพาะกิจเข้าไปช่วยเติมสภาพคล่องให้เอสเอ็มอี เพราะตอนนี้ไทยก็มีนโยบายดอกเบี้ยต่ำอยู่แล้ว ส่วนมาตรการช่วยเหลือเฉพาะกิจคงยังไม่มีเพราะยังไม่ถึงขั้นวิกฤต เป็นเพียงกลไกทางธุรกิจเท่านั้น”
นายสมชาย พรรัตนเจริญ นายกสมาคมค้าส่งค้าปลีกไทย กล่าวว่าสถานการณ์ธุรกิจค้าส่งค้าปลีกขณะนี้ยอดขายโดยรวมเริ่มกระเตื้องขึ้นได้ เพราะเป็นช่วงเทศกาลสงกรานต์ พนักงาน ลูกจ้างในเมืองหลวง กลับบ้านไปเยี่ยมญาติทำให้ มีการซื้อสินค้า เสื้อผ้าใหม่ ไปเป็นของฝาก และการซื้อ เครื่องดื่ม เหล้า ขนม เพิ่มขึ้นในระหว่างวันที่ 11-21 เมษายน 2557 แต่อย่างไรก็ตาม สภาพเศรษฐกิจโดยรวมก็ยังน่ากังวลเนื่องจากยังมีปัญหาการเมืองและการรบริหารประเทศ ทำให้ ชาวนายังไม่ได้รับเงินจากโครงการรับจำนำข้าว การใช้จ่ายอาจไม่ดีเท่าที่ควร
ที่มา : naewna.com