เกือบ 8 เดือนของปี 2567 ภาคธุรกิจในภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคอีสาน และภาคกลาง สะท้อนสภาพเศรษฐกิจฝืดเคืองหนัก หลายปัจจัยรุมเร้า ขาดสภาพคล่อง พร้อมจี้รัฐบาลใหม่กระตุ้น เร่งจัดสรรงบประมาณลงพื้นที่
“เหนือ” ธุรกิจปิดนับหมื่น
นายจุลนิตย์ วังวิวัฒน์ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้ปัญหาสภาพเศรษฐกิจของประเทศกำลังอยู่ในภาวะตกต่ำ เริ่มมีสัญญาณที่ไม่ดี โดยเฉพาะร้านอาหาร-สถานประกอบการ-โรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่เริ่มทยอยปิดตัว สำหรับเชียงใหม่ พบว่ามีธุรกิจปิดกิจการหลักหมื่นราย ซึ่งต้องดูว่าเป็นกลุ่มเอสเอ็มอีหรือไมโครเอสเอ็มอีที่เสียภาษีถูกต้องหรือไม่
ดังนั้น เรื่องสำคัญเร่งด่วนที่หอการค้าอยากให้นายกรัฐมนตรีคนที่ 31 และรัฐบาลเข้ามาแก้ไขเป็น อันดับแรก คือ การกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ โดยทำได้ทันทีคือ การใช้งบประมาณภาครัฐ ซึ่งจำเป็นต้องเร่งขับเคลื่อน เพื่อจะก่อให้เกิดการจ้างงาน เงินจะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจมากขึ้น
แต่การจัดสรรงบประมาณโครงสร้างพื้นฐานปัจจุบันยังกระจุกตัวเฉพาะกรุงเทพฯ แต่จังหวัดหัวเมืองใหญ่ ๆ ไม่มีเลย เมื่อภาษีถูกจัดเก็บไปรวมศูนย์อยู่ส่วนกลางอยากให้พิจารณาจัดลำดับ Ranking ของจังหวัดที่เสียภาษีเข้าส่วนกลาง และให้งบประมาณตาม Ranking ของการเสียภาษี
อันดับสองคือ การเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันกับตลาดต่างประเทศ อยากให้พิจารณาลดต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการ เพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดต่างประเทศได้ เพราะปัจจุบันต้นทุนการผลิตของไทยค่อนข้างสูงมาก
อันดับสามคือ อยากให้มีมาตรการเข้มข้นต่อนโยบายในการเฝ้าระวังนักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะทุนจีนที่เข้ามาทำธุรกิจแข่งขันกับคนไทย พบว่าร้านอาหารหรือสถานประกอบการของทุนจีนที่เข้ามาลงทุนจะเริ่มรับเฉพาะเงินสดในการซื้อขาย หรือการรับโอนเงิน แต่เป็นการโอนที่ไม่ได้ผ่านระบบ iBanking ของธนาคารพาณิชย์ โดยระบบ WeChat อาลีเพย์ (Alipay) เมื่อมีการซื้อขายเกิดขึ้น เงินจะไหลออกนอกประเทศ ซึ่งรัฐสูญเสียการจัดเก็บภาษีจำนวนมหาศาล
รวมถึงแอปที่ขายของออนไลน์ของจีนเริ่มรุกหนักตลาดเมืองไทยมากขึ้น ซึ่งธุรกิจกลุ่มนี้ของทุนจีนแทบจะไม่เสียภาษีนำเข้าหรือไม่ได้มีการจัดเก็บภาษี ทำให้เงินไหลออกนอกประเทศ และทำให้คนไทยแข่งขันไม่ได้
โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ที่รัฐบาลปล่อยให้จีนเข้ามาทำตลาด และส่งเสริมให้คนซื้อรถอีวี แต่ไม่ได้สนับสนุนการซื้อชิ้นส่วนรถยนต์ในประเทศไทย แต่เป็นการนำเข้ามา ส่งผลให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนอุตสาหกรรมยานยนต์ได้รับผลกระทบมาก
ขณะที่เงินดิจิทัลวอลเลต เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นและได้ผลประโยชน์เฉพาะบางกลุ่ม อาจจะดีสำหรับรากหญ้า แต่ทั้งนี้ การใช้เงินดิจิทัล 10,000 บาท ต้องไม่ใช่การกู้เงินมาให้ประชาชน เพราะจะทำให้ประเทศมีหนี้เพิ่มขึ้น
“อีสาน” เศรษฐกิจชะงัก-คนชะลอซื้อ
นายสวาท ธีระรัตนนุกูลชัย รองประธานกรรมการหอการค้าไทยและประธานหอการค้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้เศรษฐกิจทุกอย่างเริ่มหยุดชะงัก การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจไม่มีแนวโน้มที่ดีขึ้น ทั้งด้านการแข่งขันไม่สามารถสู้ประเทศต่าง ๆ ได้ และข่าวในเชิงลบค่อนข้างมาก ทั้งตลาดทุน การเคลื่อนย้ายทุน ทำให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่น ผู้ประกอบการทั้งร้านค้าปลีก-ส่ง ร้านค้าอุปโภคบริโภค ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า การจับจ่ายใช้สอยไม่คล่องตัว
ถึงแม้ว่าประชาชนยังพอมีกำลังซื้อ แต่ชะลอการซื้อลงค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตาม คงต้องรอดูกันต่อไป เพราะช่วงนี้เป็นฤดูฝน กำลังซื้อน้อย และรอดูว่ารัฐบาลชุดใหม่จะมีมาตรการอะไรมาช่วยเหลือ
นอกจากนี้ รัฐบาลควรมีมาตรการจำกัดการลงทุนของต่างประเทศ เนื่องจากปัจจุบันมีกระแสทุนจากต่างประเทศเข้ามามาก ข้อดีคือผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อของในราคาถูกได้ แต่ด้านผู้ประกอบการได้รับผลกระทบโดยตรงในเรื่องยอดขาย ขณะเดียวกัน
ตอนนี้ไม่มีตัวเลขการลงทุนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากธนาคารไม่ปล่อยสินเชื่อการลงทุนให้กับเอกชน โดยเฉพาะกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ทำให้ธุรกิจขาดสภาพคล่อง ถูกการจำกัด ไม่ตอบโจทย์กลไกทางเศรษฐกิจ
“นโยบายดี แต่จับต้องไม่ได้ ไม่เป็นรูปธรรม ทำให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่น อยากให้รัฐบาลดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจให้ถึงคนระดับล่าง แม่ค้าในตลาดสะท้อนว่า สมัยโครงการคนละครึ่งยังค้าขายได้มากขึ้น จึงคาดหวังว่ารัฐบาลชุดใหม่เป็นมืออาชีพจะทำให้ทุกคนลืมตาอ้าปาก และเดินไปข้างหน้าได้ ควรส่งเสริมการเพิ่มรายได้ สร้างงาน สร้างอาชีพ จะทำให้ตัวเลขทางเศรษฐกิจเติบโตขึ้น พร้อมเข้าสู่เวทีการแข่งขันได้”
สำหรับเงินดิจิทัลวอลเลต กระบวนการค่อนข้างยุ่งยาก ประชาชนยังขาดความเชื่อมั่น และกลัวว่าหากเริ่มใช้ไปแล้ว อนาคตต่อไปไม่มีเงินสำรอง อาจจะเป็นเรื่องลำบาก และอยากเสนอให้รัฐบาลทยอยจ่าย 4-5 เดือนต่อครั้ง ให้เงินทยอยหมุนเวียนไปเป็นรอบ ๆ ไม่ควรจ่ายทีเดียว เพราะเชื่อว่าเงินออกมา 1 ครั้ง ทุกคนจะใช้ครั้งเดียวหมด
“กลาง” จี้รัฐเร่งเบิกจ่ายงบฯ
ทางด้าน นางวรรณภา ชินชูศักดิ์ ประธานหอการค้าจังหวัดสระบุรี เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปี 2567 ผ่านมา 8 เดือน ยอดขายของผู้ประกอบการทั้งรายเล็ก-รายใหญ่ รวมถึงห้างท้องถิ่น ตัวเลขถดถอยลงกว่า 20-30% ขณะที่ต้นทุนการผลิต พลังงาน ค่าไฟ มีราคาสูงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้น แต่ดอกเบี้ยไม่ปรับลง
ขณะที่การปล่อยกู้ของทางธนาคารเข้มงวด รวมถึงการขาดสภาพคล่องของงบฯกระแสเงินสดในปัจจุบัน ตอนนี้ผู้ประกอบการทุกคนต่างรองบประมาณในไตรมาส 3 และไตรมาส 4 ที่จะลงมาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่จนถึงขณะนี้เงินงบประมาณไม่ได้ถูกจัดสรรลงมาเต็มที่อย่างที่ผู้ประกอบการคาดหวัง
หากงบประมาณลงมาช้า ทางหน่วยราชการอาจใช้กันไม่ทัน เพราะอีก 3 เดือนตุลาคมสิ้นปีงบประมาณ 2567 ส่งผลให้เงินไม่เข้าสู่ระบบ ซึ่งทั้งหมดเป็นปัจจัยที่ทำให้ภาคเอกชนในพื้นที่ต่างชะลอการลงทุน ดังนั้น จึงอยากให้รัฐบาลมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เป็นรูปธรรมมากกว่านี้ เพราะขณะนี้ยังไม่มีมาตรการที่จะช่วยเหลือผู้ประกอบการในระดับไมโครเอสเอ็มอีและเอสเอ็มอีได้ จึงต้องการให้เน้นมาตรการที่ส่งเสริมการบริโภคให้มากขึ้น
รวมถึงต้องการให้มีการลงทุนจากต่างประเทศ แต่ในขณะเดียวกันต่างมีความกังวลเรื่องทุนจีนที่จะเข้ามามีบทบาท ดังนั้น ภาครัฐควรมีนโยบายกลั่นกรองผู้ลงทุนในประเทศให้มีความชัดเจน และเรื่องภาวะสงครามกับเศรษฐกิจโลก ที่ส่งผลต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วย
ด้านเงินดิจิทัลวอลเลต 10,000 บาท ในกลุ่มคนที่รอเงินส่วนนี้จะเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่มากกว่า แต่ในมุมมองของเอกชนในระดับผู้ประกอบการรายย่อย ทั้งระดับไมโครเอสเอ็มอีและเอสเอ็มอี ส่วนใหญ่ไม่ลงทะเบียนรับ เพราะมองว่า เงินดิจิทัลวอลเลตอาจไม่ได้ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจมากนัก แต่จะรองบประมาณจากภาครัฐมากกว่า
“ใต้” เศรษฐกิจฝืดหลายปัจจัยรุมเร้า
นายกวิศพงษ์ สิริธนนนท์สกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เคแอนด์เค ซุปเปอร์สโตร์ เซาท์เทิร์น จำกัด (มหาชน) จังหวัดสงขลา ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกและค้าส่งสินค้าอุปโภคบริโภครายใหญ่ ภายใต้แบรนด์ “เคแอนด์เค ซุปเปอร์สโตร์” 36 สาขา เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้ภาพรวมภาวะเศรษฐกิจในภาคใต้ยังไม่ดี ได้รับผลกระทบจากหลายปัจจัย และถือเป็นปัญหาที่สะสมต่อเนื่องมาตั้งแต่ช่วงก่อนโควิด-19 ต่อเนื่องมา
โดยเฉพาะต้นทุนด้านพลังงาน ราคาน้ำมัน ค่าครองชีพประจำวันที่สูงขึ้น ส่งผลให้รายจ่ายสูงขึ้น แต่รายได้ยังคงเดิม หนี้สินคงเดิมหรือมากกว่าเดิมจากดอกเบี้ยที่ปรับตัว ส่งผลกระทบไปทุกส่วน แม้กระทั่งผู้ประกอบการ
“แม้ว่าขณะนี้ราคาสินค้าเกษตร เช่น ยาง ปาล์มน้ำมัน ข้าว ผลไม้ พอจะไปได้ แต่ต้นทุนทุกอย่างสูงขึ้นไปหมด ทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัว เศรษฐกิจฝืดเคืองกันทั่วหน้าทั้งผู้บริโภค และผู้ประกอบการ”
นายกวิศพงษ์กล่าวว่า ในฐานะผู้ประกอบการที่สัมผัสตรงในภาคสนามธุรกิจการค้า อยากเสนอทางออกให้รัฐบาลใหม่ต้องเป็นหัวเรือในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เช่น การเติมเงินใส่กระเป๋าให้กับประชาชน จากเงินในกระเป๋าไม่สมดุลระหว่างรายรับ และรายจ่ายที่สูงขึ้น
ควรมีการนำนโยบายของรัฐบาลเก่าที่เคยปฏิบัติและเห็นผลได้จริงในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศมาใช้ เช่น โครงการไทยเข้มแข็ง โครงการคนละครึ่ง โครงการเราเที่ยวด้วยกัน โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ฯลฯ เป็นต้น แต่รัฐบาลจะต้องเติมให้มากกว่าเดิม ไม่เฉพาะโครงการดิจิทัลวอลเลต ที่เป็นโครงการครั้งเดียว
“เมื่อมีการขับเคลื่อนคนมีงานมีอาชีพ เช่น ปลูกพืชผัก จับปลาประมง ฯลฯ ค้าขายได้ ทำให้มีรายได้เข้าร้านค้า ห้างมีรายได้ก็มีการจัดจ้างแรงงานเพิ่ม แรงงานมีรายได้ เศรษฐกิจมีการขับเคลื่อนได้อย่างทั่วถึง” นายกวิศพงษ์กล่าว...
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ :
https://www.prachachat.net/local-economy/news-1639679
8 เดือน “เศรษฐกิจฝืดหนัก” ธุรกิจภูธรยอดขายวูบ-ปิดกิจการ
“เหนือ” ธุรกิจปิดนับหมื่น
นายจุลนิตย์ วังวิวัฒน์ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้ปัญหาสภาพเศรษฐกิจของประเทศกำลังอยู่ในภาวะตกต่ำ เริ่มมีสัญญาณที่ไม่ดี โดยเฉพาะร้านอาหาร-สถานประกอบการ-โรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่เริ่มทยอยปิดตัว สำหรับเชียงใหม่ พบว่ามีธุรกิจปิดกิจการหลักหมื่นราย ซึ่งต้องดูว่าเป็นกลุ่มเอสเอ็มอีหรือไมโครเอสเอ็มอีที่เสียภาษีถูกต้องหรือไม่
ดังนั้น เรื่องสำคัญเร่งด่วนที่หอการค้าอยากให้นายกรัฐมนตรีคนที่ 31 และรัฐบาลเข้ามาแก้ไขเป็น อันดับแรก คือ การกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ โดยทำได้ทันทีคือ การใช้งบประมาณภาครัฐ ซึ่งจำเป็นต้องเร่งขับเคลื่อน เพื่อจะก่อให้เกิดการจ้างงาน เงินจะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจมากขึ้น
แต่การจัดสรรงบประมาณโครงสร้างพื้นฐานปัจจุบันยังกระจุกตัวเฉพาะกรุงเทพฯ แต่จังหวัดหัวเมืองใหญ่ ๆ ไม่มีเลย เมื่อภาษีถูกจัดเก็บไปรวมศูนย์อยู่ส่วนกลางอยากให้พิจารณาจัดลำดับ Ranking ของจังหวัดที่เสียภาษีเข้าส่วนกลาง และให้งบประมาณตาม Ranking ของการเสียภาษี
อันดับสองคือ การเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันกับตลาดต่างประเทศ อยากให้พิจารณาลดต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการ เพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดต่างประเทศได้ เพราะปัจจุบันต้นทุนการผลิตของไทยค่อนข้างสูงมาก
อันดับสามคือ อยากให้มีมาตรการเข้มข้นต่อนโยบายในการเฝ้าระวังนักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะทุนจีนที่เข้ามาทำธุรกิจแข่งขันกับคนไทย พบว่าร้านอาหารหรือสถานประกอบการของทุนจีนที่เข้ามาลงทุนจะเริ่มรับเฉพาะเงินสดในการซื้อขาย หรือการรับโอนเงิน แต่เป็นการโอนที่ไม่ได้ผ่านระบบ iBanking ของธนาคารพาณิชย์ โดยระบบ WeChat อาลีเพย์ (Alipay) เมื่อมีการซื้อขายเกิดขึ้น เงินจะไหลออกนอกประเทศ ซึ่งรัฐสูญเสียการจัดเก็บภาษีจำนวนมหาศาล
รวมถึงแอปที่ขายของออนไลน์ของจีนเริ่มรุกหนักตลาดเมืองไทยมากขึ้น ซึ่งธุรกิจกลุ่มนี้ของทุนจีนแทบจะไม่เสียภาษีนำเข้าหรือไม่ได้มีการจัดเก็บภาษี ทำให้เงินไหลออกนอกประเทศ และทำให้คนไทยแข่งขันไม่ได้
โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ที่รัฐบาลปล่อยให้จีนเข้ามาทำตลาด และส่งเสริมให้คนซื้อรถอีวี แต่ไม่ได้สนับสนุนการซื้อชิ้นส่วนรถยนต์ในประเทศไทย แต่เป็นการนำเข้ามา ส่งผลให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนอุตสาหกรรมยานยนต์ได้รับผลกระทบมาก
ขณะที่เงินดิจิทัลวอลเลต เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นและได้ผลประโยชน์เฉพาะบางกลุ่ม อาจจะดีสำหรับรากหญ้า แต่ทั้งนี้ การใช้เงินดิจิทัล 10,000 บาท ต้องไม่ใช่การกู้เงินมาให้ประชาชน เพราะจะทำให้ประเทศมีหนี้เพิ่มขึ้น
“อีสาน” เศรษฐกิจชะงัก-คนชะลอซื้อ
นายสวาท ธีระรัตนนุกูลชัย รองประธานกรรมการหอการค้าไทยและประธานหอการค้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้เศรษฐกิจทุกอย่างเริ่มหยุดชะงัก การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจไม่มีแนวโน้มที่ดีขึ้น ทั้งด้านการแข่งขันไม่สามารถสู้ประเทศต่าง ๆ ได้ และข่าวในเชิงลบค่อนข้างมาก ทั้งตลาดทุน การเคลื่อนย้ายทุน ทำให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่น ผู้ประกอบการทั้งร้านค้าปลีก-ส่ง ร้านค้าอุปโภคบริโภค ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า การจับจ่ายใช้สอยไม่คล่องตัว
ถึงแม้ว่าประชาชนยังพอมีกำลังซื้อ แต่ชะลอการซื้อลงค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตาม คงต้องรอดูกันต่อไป เพราะช่วงนี้เป็นฤดูฝน กำลังซื้อน้อย และรอดูว่ารัฐบาลชุดใหม่จะมีมาตรการอะไรมาช่วยเหลือ
นอกจากนี้ รัฐบาลควรมีมาตรการจำกัดการลงทุนของต่างประเทศ เนื่องจากปัจจุบันมีกระแสทุนจากต่างประเทศเข้ามามาก ข้อดีคือผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อของในราคาถูกได้ แต่ด้านผู้ประกอบการได้รับผลกระทบโดยตรงในเรื่องยอดขาย ขณะเดียวกัน
ตอนนี้ไม่มีตัวเลขการลงทุนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากธนาคารไม่ปล่อยสินเชื่อการลงทุนให้กับเอกชน โดยเฉพาะกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ทำให้ธุรกิจขาดสภาพคล่อง ถูกการจำกัด ไม่ตอบโจทย์กลไกทางเศรษฐกิจ
“นโยบายดี แต่จับต้องไม่ได้ ไม่เป็นรูปธรรม ทำให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่น อยากให้รัฐบาลดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจให้ถึงคนระดับล่าง แม่ค้าในตลาดสะท้อนว่า สมัยโครงการคนละครึ่งยังค้าขายได้มากขึ้น จึงคาดหวังว่ารัฐบาลชุดใหม่เป็นมืออาชีพจะทำให้ทุกคนลืมตาอ้าปาก และเดินไปข้างหน้าได้ ควรส่งเสริมการเพิ่มรายได้ สร้างงาน สร้างอาชีพ จะทำให้ตัวเลขทางเศรษฐกิจเติบโตขึ้น พร้อมเข้าสู่เวทีการแข่งขันได้”
สำหรับเงินดิจิทัลวอลเลต กระบวนการค่อนข้างยุ่งยาก ประชาชนยังขาดความเชื่อมั่น และกลัวว่าหากเริ่มใช้ไปแล้ว อนาคตต่อไปไม่มีเงินสำรอง อาจจะเป็นเรื่องลำบาก และอยากเสนอให้รัฐบาลทยอยจ่าย 4-5 เดือนต่อครั้ง ให้เงินทยอยหมุนเวียนไปเป็นรอบ ๆ ไม่ควรจ่ายทีเดียว เพราะเชื่อว่าเงินออกมา 1 ครั้ง ทุกคนจะใช้ครั้งเดียวหมด
“กลาง” จี้รัฐเร่งเบิกจ่ายงบฯ
ทางด้าน นางวรรณภา ชินชูศักดิ์ ประธานหอการค้าจังหวัดสระบุรี เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปี 2567 ผ่านมา 8 เดือน ยอดขายของผู้ประกอบการทั้งรายเล็ก-รายใหญ่ รวมถึงห้างท้องถิ่น ตัวเลขถดถอยลงกว่า 20-30% ขณะที่ต้นทุนการผลิต พลังงาน ค่าไฟ มีราคาสูงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้น แต่ดอกเบี้ยไม่ปรับลง
ขณะที่การปล่อยกู้ของทางธนาคารเข้มงวด รวมถึงการขาดสภาพคล่องของงบฯกระแสเงินสดในปัจจุบัน ตอนนี้ผู้ประกอบการทุกคนต่างรองบประมาณในไตรมาส 3 และไตรมาส 4 ที่จะลงมาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่จนถึงขณะนี้เงินงบประมาณไม่ได้ถูกจัดสรรลงมาเต็มที่อย่างที่ผู้ประกอบการคาดหวัง
หากงบประมาณลงมาช้า ทางหน่วยราชการอาจใช้กันไม่ทัน เพราะอีก 3 เดือนตุลาคมสิ้นปีงบประมาณ 2567 ส่งผลให้เงินไม่เข้าสู่ระบบ ซึ่งทั้งหมดเป็นปัจจัยที่ทำให้ภาคเอกชนในพื้นที่ต่างชะลอการลงทุน ดังนั้น จึงอยากให้รัฐบาลมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เป็นรูปธรรมมากกว่านี้ เพราะขณะนี้ยังไม่มีมาตรการที่จะช่วยเหลือผู้ประกอบการในระดับไมโครเอสเอ็มอีและเอสเอ็มอีได้ จึงต้องการให้เน้นมาตรการที่ส่งเสริมการบริโภคให้มากขึ้น
รวมถึงต้องการให้มีการลงทุนจากต่างประเทศ แต่ในขณะเดียวกันต่างมีความกังวลเรื่องทุนจีนที่จะเข้ามามีบทบาท ดังนั้น ภาครัฐควรมีนโยบายกลั่นกรองผู้ลงทุนในประเทศให้มีความชัดเจน และเรื่องภาวะสงครามกับเศรษฐกิจโลก ที่ส่งผลต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วย
ด้านเงินดิจิทัลวอลเลต 10,000 บาท ในกลุ่มคนที่รอเงินส่วนนี้จะเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่มากกว่า แต่ในมุมมองของเอกชนในระดับผู้ประกอบการรายย่อย ทั้งระดับไมโครเอสเอ็มอีและเอสเอ็มอี ส่วนใหญ่ไม่ลงทะเบียนรับ เพราะมองว่า เงินดิจิทัลวอลเลตอาจไม่ได้ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจมากนัก แต่จะรองบประมาณจากภาครัฐมากกว่า
“ใต้” เศรษฐกิจฝืดหลายปัจจัยรุมเร้า
นายกวิศพงษ์ สิริธนนนท์สกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เคแอนด์เค ซุปเปอร์สโตร์ เซาท์เทิร์น จำกัด (มหาชน) จังหวัดสงขลา ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกและค้าส่งสินค้าอุปโภคบริโภครายใหญ่ ภายใต้แบรนด์ “เคแอนด์เค ซุปเปอร์สโตร์” 36 สาขา เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้ภาพรวมภาวะเศรษฐกิจในภาคใต้ยังไม่ดี ได้รับผลกระทบจากหลายปัจจัย และถือเป็นปัญหาที่สะสมต่อเนื่องมาตั้งแต่ช่วงก่อนโควิด-19 ต่อเนื่องมา
โดยเฉพาะต้นทุนด้านพลังงาน ราคาน้ำมัน ค่าครองชีพประจำวันที่สูงขึ้น ส่งผลให้รายจ่ายสูงขึ้น แต่รายได้ยังคงเดิม หนี้สินคงเดิมหรือมากกว่าเดิมจากดอกเบี้ยที่ปรับตัว ส่งผลกระทบไปทุกส่วน แม้กระทั่งผู้ประกอบการ
“แม้ว่าขณะนี้ราคาสินค้าเกษตร เช่น ยาง ปาล์มน้ำมัน ข้าว ผลไม้ พอจะไปได้ แต่ต้นทุนทุกอย่างสูงขึ้นไปหมด ทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัว เศรษฐกิจฝืดเคืองกันทั่วหน้าทั้งผู้บริโภค และผู้ประกอบการ”
นายกวิศพงษ์กล่าวว่า ในฐานะผู้ประกอบการที่สัมผัสตรงในภาคสนามธุรกิจการค้า อยากเสนอทางออกให้รัฐบาลใหม่ต้องเป็นหัวเรือในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เช่น การเติมเงินใส่กระเป๋าให้กับประชาชน จากเงินในกระเป๋าไม่สมดุลระหว่างรายรับ และรายจ่ายที่สูงขึ้น
ควรมีการนำนโยบายของรัฐบาลเก่าที่เคยปฏิบัติและเห็นผลได้จริงในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศมาใช้ เช่น โครงการไทยเข้มแข็ง โครงการคนละครึ่ง โครงการเราเที่ยวด้วยกัน โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ฯลฯ เป็นต้น แต่รัฐบาลจะต้องเติมให้มากกว่าเดิม ไม่เฉพาะโครงการดิจิทัลวอลเลต ที่เป็นโครงการครั้งเดียว
“เมื่อมีการขับเคลื่อนคนมีงานมีอาชีพ เช่น ปลูกพืชผัก จับปลาประมง ฯลฯ ค้าขายได้ ทำให้มีรายได้เข้าร้านค้า ห้างมีรายได้ก็มีการจัดจ้างแรงงานเพิ่ม แรงงานมีรายได้ เศรษฐกิจมีการขับเคลื่อนได้อย่างทั่วถึง” นายกวิศพงษ์กล่าว...
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.prachachat.net/local-economy/news-1639679