กระทู้ต้นทาง
https://ppantip.com/topic/31957711
พอดีผมเพิ่งเห็นกระทู้ซึ่งเป็นกระทู้แย้งกระทู้ของผม ดังนั้นผมเลยขออนุญาตแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกลับนะครับ
สิ่งแรกที่อยากให้ทุกคนเข้าใจตรงกันก่อนอ่านบทความต่อไปนี้ นั่นคือ ผมกำลังจะอธิบายภาษาญี่ปุ่น (และภาษาไทยนิดหน่อย) ในแง่ "ภาษาศาสตร์ (linguistics)" โดยใช้เอกสาร/หนังสือวิชาการมาประกอบด้วย
ภาษาไทย
1. ภาษาไทยไม่ปรากฏเสียงสระ "โ-" ร่วมกับเสียงพยัญชนะท้าย (เสียงตัวสะกด) "-ว"
เพราะไม่มีตัวอย่างคำศัพท์ภาษาไทยให้เห็นเลย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ภาพจาก "ระบบเสียงภาษาไทย" กาญจนา นาคสกุล หนังสือชุด บรมราชกุมารีอักษรานุรักษ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลำดับที่ ๔
2. อาจมีการสะกด "โ-ว" หากเป็นคำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ
อาจเห็นในบางคำที่รับมาจากภาษาต่างประเทศ เช่น ชื่อคน การสะกดด้วย "โ-ว" จึงจำเป็นเพื่อให้ตรงกับภาษาต้นทางมากที่สุด
รวมถึงการสะกดภาษาไทยเองในคำอุทานบางอย่าง เช่น "โอ้ว" ซึ่งสะกดให้ตรงกับการออกเสียงจริง ๆ ที่มีการยกลิ้นส่วนหลังให้สูงขึ้นตอนท้ายพยางค์
3. การใช้ "ว" ร่วมกับ "โ" ไม่ได้ทำให้เสียงยาวขึ้น
ภาษาไทยมีการแยกความต่างระหว่างเสียงสระสั้น-ยาวอยู่แล้ว
สระหน้า
อิ-อี เอะ-เอ แอะ-แอ
สระหลังค่อนไปกลาง
อึ-อือ เออะ-เออ อะ-อา
สระหลัง
อุ-อู โอะ-โอ เอาะ-ออ
ส่วนเสียง "ว" นั้นเป็นเสียงพยัญชนะ ไม่ใช่เสียงสระ แต่มีคุณสมบัติบางอย่างคล้ายเสียงสระจึงเรียกว่า "เสียงพยัญชนะกึ่งสระ" แทนด้วยสัญลักษณ์ /w/
ลักษณะปากตอนออกเสียง /w/ จะเหมือนตอนออกเสียงสระ อุ /u/
ภาษาญี่ปุ่น
1. ภาษาญี่ปุ่นมีเสียงสระสั้นยาว
เสียงสั้นยาวต่างกัน ความหมายเปลี่ยน เช่น
kite (きて) "สวมเสื้อผ้า"
kiite (きいて) "ฟัง"
ภาษาไทยก็มีคุณสมบัติแบบนี้ เช่น khon "คน" khoon "โคน"
2. ภาษาญี่ปุ่นมีกฎการทำให้เสียงยาวขึ้นดังนี้
อักษรแถว あ ให้เติม あ เช่น お
かあさん okaasan "แม่"
อักษรแถว い ให้เติม い เช่น お
にいさん oniisan "พี่ชาย"
อักษรแถว う ให้เติม う เช่น
くうき kuuki "อากาศ, บรรยากาศ"
* อักษรแถว え ให้เติม い เช่น ゆう
れい yuurei "วิญญาณ"
** อักษรแถว お ให้เติม う เช่น
おうじ ooji "เจ้าชาย"
* ยกเว้นบางตัวเติม え เช่น お
ねえさん oneesan "พี่สาว"
** ยกเว้นบางตัวเติม お เช่น
こおり koori "น้ำแข็ง"
ข้อโต้แย้ง กระทู้ "ข้อยกเว้นที่ทำให้สามารถใช้ "-ว" ร่วมกับ "โ-" ได้" ของคุณ Sabreคุง
https://ppantip.com/topic/31957711
พอดีผมเพิ่งเห็นกระทู้ซึ่งเป็นกระทู้แย้งกระทู้ของผม ดังนั้นผมเลยขออนุญาตแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกลับนะครับ
สิ่งแรกที่อยากให้ทุกคนเข้าใจตรงกันก่อนอ่านบทความต่อไปนี้ นั่นคือ ผมกำลังจะอธิบายภาษาญี่ปุ่น (และภาษาไทยนิดหน่อย) ในแง่ "ภาษาศาสตร์ (linguistics)" โดยใช้เอกสาร/หนังสือวิชาการมาประกอบด้วย
ภาษาไทย
1. ภาษาไทยไม่ปรากฏเสียงสระ "โ-" ร่วมกับเสียงพยัญชนะท้าย (เสียงตัวสะกด) "-ว"
เพราะไม่มีตัวอย่างคำศัพท์ภาษาไทยให้เห็นเลย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ภาพจาก "ระบบเสียงภาษาไทย" กาญจนา นาคสกุล หนังสือชุด บรมราชกุมารีอักษรานุรักษ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลำดับที่ ๔
2. อาจมีการสะกด "โ-ว" หากเป็นคำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ
อาจเห็นในบางคำที่รับมาจากภาษาต่างประเทศ เช่น ชื่อคน การสะกดด้วย "โ-ว" จึงจำเป็นเพื่อให้ตรงกับภาษาต้นทางมากที่สุด
รวมถึงการสะกดภาษาไทยเองในคำอุทานบางอย่าง เช่น "โอ้ว" ซึ่งสะกดให้ตรงกับการออกเสียงจริง ๆ ที่มีการยกลิ้นส่วนหลังให้สูงขึ้นตอนท้ายพยางค์
3. การใช้ "ว" ร่วมกับ "โ" ไม่ได้ทำให้เสียงยาวขึ้น
ภาษาไทยมีการแยกความต่างระหว่างเสียงสระสั้น-ยาวอยู่แล้ว
สระหน้า
อิ-อี เอะ-เอ แอะ-แอ
สระหลังค่อนไปกลาง
อึ-อือ เออะ-เออ อะ-อา
สระหลัง
อุ-อู โอะ-โอ เอาะ-ออ
ส่วนเสียง "ว" นั้นเป็นเสียงพยัญชนะ ไม่ใช่เสียงสระ แต่มีคุณสมบัติบางอย่างคล้ายเสียงสระจึงเรียกว่า "เสียงพยัญชนะกึ่งสระ" แทนด้วยสัญลักษณ์ /w/
ลักษณะปากตอนออกเสียง /w/ จะเหมือนตอนออกเสียงสระ อุ /u/
ภาษาญี่ปุ่น
1. ภาษาญี่ปุ่นมีเสียงสระสั้นยาว
เสียงสั้นยาวต่างกัน ความหมายเปลี่ยน เช่น
kite (きて) "สวมเสื้อผ้า"
kiite (きいて) "ฟัง"
ภาษาไทยก็มีคุณสมบัติแบบนี้ เช่น khon "คน" khoon "โคน"
2. ภาษาญี่ปุ่นมีกฎการทำให้เสียงยาวขึ้นดังนี้
อักษรแถว あ ให้เติม あ เช่น おかあさん okaasan "แม่"
อักษรแถว い ให้เติม い เช่น おにいさん oniisan "พี่ชาย"
อักษรแถว う ให้เติม う เช่น くうき kuuki "อากาศ, บรรยากาศ"
* อักษรแถว え ให้เติม い เช่น ゆうれい yuurei "วิญญาณ"
** อักษรแถว お ให้เติม う เช่น おうじ ooji "เจ้าชาย"
* ยกเว้นบางตัวเติม え เช่น おねえさん oneesan "พี่สาว"
** ยกเว้นบางตัวเติม お เช่น こおり koori "น้ำแข็ง"