ค่ะ เสียงโท ใส่ไม้เอก แต่ทำไม คาด เสียงโทเหมือนกัน ทำไมไม่มีไม้เอก
คำตอบอยู่ที่นี่แล้ว <วิธีการใส่วรรณยุกต์ไทย>
วันนี้ว่าง และไม่ได้เขียนอะไรที่เป็นสาระมานานแล้ว
ในเรื่องการใส่วรรณยุกต์แล้ว เราสามารถแบ่งคำในภาษาไทยได้เป็น 7 กลุ่ม
1. อักษรกลาง คำเป็น
2. อักษรกลาง คำตาย
3. อักษรสูง คำเป็น
4. อักษรสูง คำตาย
5. อักษรต่ำ คำเป็น
6. อักษรต่ำ คำตาย สระเสียงยาว
7. อักษรต่ำ คำตาย สระเสียงสั้น
ใครยังแยกอักษรสูง กลาง ต่ำ คำเป็น คำตาย ไม่ออก ข้ามไปอ่านส่วนท้ายของบทความนี้
[กลุ่มที่ 1]
เป็นกลุ่มที่รูปวรรณยุกต์ตรงเสียงทุกตัว ผันได้ 5 เสียงครบ
กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า
[กลุ่มที่ 2]
ขาดเสียงสามัญไปเพียงตัวเดียว และเสียงเอกใช้รูปสามัญ (ไม่ต้องใส่วรรณยุกต์)
(ไม่มี) กะ ก้ะ ก๊ะ ก๋ะ
ตัวอย่าง ตกกระ คำว่า กระ จัดเป็นกลุ่มนี้ คือเป็นอักษรกลางคำตาย แม้จะมีเสียงเอก แต่ไม่ต้องใส่ไม้เอก
ตัวอย่าง อะไร กระได โกะ จิก กระดิก
ส่วนคำว่า อะไรอ่ะ จริงๆ ก็ผิด แต่ผมก็ใช้ เพราะไม่งั้นมันไม่ได้ feel ถือว่าเป็นภาษาแชตแล้วกัน
จำไว้ว่า อักษรกลาง คำตาย ยังไงก็ไม่มีรูปไม้เอก ถ้าเสียงเอก ให้ใช้รูปสามัญแทน (ไม่ต้องใส่วรรณยุกต์) นอกนั้นปกติ
[กลุ่มที่ 3] และ [กลุ่มที่ 5] ต้องร่วมมือกัน จึงจะผันได้ครบเสียง
เช่นคำว่า ขา คือ ข ไข่ เป็นอักษรสูง ไม่มีตัวสะกด แต่มีสระอา จึงจัดเป็นคำเป็น
ใช้คู่มันก็คือ ค ควาย ช่วยผัน ตามรูปแบบดังนี้
คา ข่า ข้า (ค่า) ค้า ขา
สังเกตว่า เสียงโท มีสองรูป ถ้ามีความหมาย ความหมายจะต่างกัน และเป็นคำพ้องเสียง
เสียงสระสั้นยาว ไม่มีความหมายสำหรับกลุ่ม 3 และ 5 นี้ ขอให้เป็น "คำเป็น" ก็แล้วกัน
เช่น คำเป็น สระยาว คาน ข่าน ข้าน (ค่าน) ค้าน ขาน
คำเป็น สระสั้น (โอะ) คน ข่น ข้น (ค่น) ค้น ขน
อักษรต่ำเดี่ยว (ไม่มีอักษรสูงมาคู่) มีดังนี้ งูใหญ่นอนอยู่ ณ ริมวัดโมฬีโลก
ต้องใช้ ห หีบมาช่วยผันแทนอักษรสูง เช่น
งู หงู่ หงู้ (งู่) งู้ หงู
นอน หน่อน หน้อน(น่อน) น้อน หนอน
ลองหัดผันคำต่อไปนี้ดู
โนน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ โนน โหน่น โหน้น (โน่น) โน้น โหนน
นู่น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้นูน หนู่น หนู้น (นู่น) นู้น หนูน
ผี
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้พี ผี่ ผี้ (พี่) พี้ ผี
โหล
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้โล โหล่ โหล้ (โล่) โล้ โหล
เสียม
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ เซียม เสี่ยม เสี้ยม (เซี่ยม) เซี้ยม เสียม
ซิ้ม
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ ซิม สิ่ม สิ้ม (ซิ่ม) ซิ้ม สิม
จะเห็นได้ว่าสองกลุ่มนี้ ไม่มีรูปตรี กับจัตวาเลย
วิธีจำ เริ่มที่อักษรต่ำก่อน (คา) แล้วตามด้วยอักษรสูง 2 ตัวที่รูปตรงเสียง (ข่า ข้า) แต่เสียงโทตัวกลางจะมีได้สองรูป คืออักษรต่ำที่เป็นรูปเอก (ค่า) อีกตัวนึง
แล้วต่อด้วยเสียงตรี คืออักษรต่ำที่เป็นรูปโท (ค้า) แล้วจบด้วยอักษรสูงรูปสามัญ (ขา)
ถ้านึกไม่ออก ให้จำ คา ข่า ข้า(ค่า) ค้า ขา เอาไว้ เพราะง่ายที่สุดแล้ว ผันแล้วมีความหมายทุกตัว
[กลุ่มที่ 4, 6 และ 7]
กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่คนผันผิดมากๆๆ ที่สุด ทนอ่านอีกหน่อยท่านก็จะได้เป็นเซียนด้านการใส่วรรณยุกต์แล้ว (น่าภูมิใจไหมเนี่ย)
ย้ำอีกครั้ง นี่คือการผันอักษรสูงและต่ำ ที่เป็น "คำตาย"
ตัวอย่างคำในกลุ่ม 6 อักษรต่ำ คำตาย สระเสียงยาว
คาด คาบ ทาก มาก มีด
เวลาผันก็คล้ายกับข้างบน คือจะมีอักษรสูงมาช่วยผัน หรือถ้าเป็นอักษรต่ำเดี่ยวที่ไร้คู่ ก็ให้ ห หีบ ช่วย
แต่ช่วยยังไงก็ไม่มีเสียงสามัญที่เป็นคำที่ใช้ประโยชน์ได้
(ไม่มีคำสามัญ) ขาด คาด ค้าด (ไม่มีคำจัตวา)
(ไม่มีคำสามัญ) ผาด พาด พ้าด (ไม่มีคำจัตวา)
(ไม่มีคำสามัญ) ถาก ทาก ท้าก (ไม่มีคำจัตวา)
(ไม่มีคำสามัญ) หมาก มาก ม้าก (ไม่มีคำจัตวา)
(ไม่มีคำสามัญ) หมีด มีด มี้ด (ไม่มีคำจัตวา)
(ไม่มีคำสามัญ) หรีด รีด รี้ด (ไม่มีคำจัตวา)
(ไม่มีคำสามัญ) โขด โคด โค้ด (ไม่มีคำจัตวา)
ก็อย่างที่เห็น ตำแหน่งเสียงเอก จะใช้อักษรสูง รูปสามัญ
ส่วนตำแหน่งเสียงโท จะใช้อักษรต่ำ รูปสามัญ
ตำแหน่งเสียงตรี จะใช้อักษรต่ำ รูปโท
* ในตำราในตำแหน่งจัตวา มีอักษรต่ำรูปจัตวา โค๋ด แต่ผมนึกตัวอย่างศัพท์จริงไม่ออก ใครนึกออกก็ช่วยแก้ไขด้วย
* ในตำรา ตำแหน่งเสียงโท มีอักษรสูง รูปโท (โข้ด) แต่นึกคำศัพท์จริงไม่ออก ใครนึกออกบอกด้วย
ตัวอย่างคำในกลุ่ม 7 อักษรต่ำ คำตาย สระเสียงสั้น
พริก ค่ะ นะ รัด
(ไม่มีคำสามัญ) หรัด รั่ด รัด (ไม่มีคำจัตวา)
(ไม่มีคำสามัญ) ขะ ค่ะ คะ (ไม่มีคำจัตวา)
(ไม่มีคำสามัญ) โขะ โค่ะ โคะ (ไม่มีคำจัตวา)
(ไม่มีคำสามัญ) หมุด มุ่ด มุด (ไม่มีคำจัตวา)
(ไม่มีคำสามัญ) หลิด ลิ่ด ลิด (ไม่มีคำจัตวา)
ผริก พริ่ก พริก
หนะ น่ะ นะ
หรัด รั่ด รัด
ตำแหน่งเสียงเอก ใช้อักษรสูง รูปสามัญ
ตำแหน่งเสียงโท ใช้อักษรต่ำ รูปเอก
ตำแหน่งเสียงตรี ใช้อักษรต่ำ รูปสามัญ
* ในตำราในตำแหน่งจัตวา มีอักษรต่ำรูปจัตวา ค๋ด แต่ผมนึกตัวอย่างศัพท์จริงไม่ออก ใครนึกออกก็ช่วยแก้ไขด้วย
* ในตำรา ตำแหน่งเสียงโท มีอักษรสูง รูปโท (ข้ด) แต่นึกคำศัพท์จริงไม่ออก ใครนึกออกบอกด้วย
วิธีจำ ของอักษรสูงและต่ำ ที่เป็นคำตาย
จำการผันสองตัวนี้ไป น่าจะง่ายสุด
- ขาด คาด ค้าด -
- ขะ ค่ะ คะ -
ต้องจำไว้ว่า สระสั้น กับยาว ของกลุ่มนี้ จะผันต่างกัน
เสียงสามัญ ไม่มีที่ใช้
เสียงเอก ใส่อักษรสูง รูปสามัญ (แบบเดียวกับ อักษรกลาง คำตาย)
เสียงโท ถ้าเป็นสระยาว ให้ใส่อักษรต่ำรูปสามัญ
แต่ถ้าสระสั้น ให้ใส่อักษรต่ำรูปเอก
เสียงตรี สระยาว อักษรต่ำ รูปโท
สระสั้น อักษรต่ำรูปสามัญ
หวังว่าอ่านถึงตรงนี้ท่านคงจะตอบคำถามของหัวข้อกระทู้ได้แล้ว
ค่ะ เสียงโท ใส่ไม้เอก แต่ทำไม คาด เสียงโทเหมือนกัน ทำไมไม่มีไม้เอก
ข้อยกเว้น คำยืมจากภาษาต่างประเทศ เช่น คอมพิวเตอร์ ยิปซัม แคลเซียม ฯลฯ ที่เพิ่งมีข่าวไปเร็วๆนี้ ว่าจะปรับวิธีการใส่วรรณยุกต์ใหม่หมด
ถ้าจะให้ถูกหลักนี้คงต้องสะกดว่า ค็อมพิ้วเต้อร์
[อักษรสูง กลาง ต่ำ]
อักษรมี 3 ประเภท สูง กลาง ต่ำ
อักษรกลาง ไก่จิกเด็ก (+ฎ) ตาย (+ฎ) บนปากโอ่ง
อักษรสูง ผีฝากถุง (+ฐ) ข้าว (+ฃ) สาร (+ศ ษ) ให้ฉัน
อักษรต่ำ ที่เหลือ
จริงๆ ไม่ต้องจำ ถ้าอยากรู้ว่าตัวอะไร เป็นอักษรกลุ่มไหน ก็ลองไล่เสียงดู
สมมุติ ต เต่า ลองใส่สระ ออ เข้าไป แล้วไล่เสียง ตอ ต่อ ต้อ ต๊อ ต๋อ ถ้าไล่ได้ครบโดยไม่ต้องใช้พยัญชนะอื่นช่วย ก็เป็นอักษรกลาง
สมมุติ ช ช้าง ลองไล่เสียง ชอ ฉ่อ ช่อ ช้อ ฉอ ถ้าเจอ ช ช้างที่เสียงสามัญ (ตำแหน่งแรก) ก็แสดงว่า ช ช้าง เป็นอักษรต่ำ
สมมุติ ถ ถุง ลองไล่เสียง ทอ ถ่อ ท่อ ท้อ ถอ ถ้า ถ ถุง ไม่ได้อยู่ที่ตำแหน่งเสียงสามัญ ก็แสดงว่า ถ ถุง เป็นอักษรสูง
ว แหวน วา หว่า หว้า ว้า หวา ก็เป็นอักษรต่ำ แต่เป็นต่ำเดี่ยว คือไม่มีคู่อักษรสูงมาช่วยผัน ต้องใช้ ห หีบช่วยนำ (T_T)
คำเป็น-คำตาย
คำตาย คือเสียง (ค่อนข้าง) แข็ง คือคำที่สะกดในแม่ กก กด กบ หรือคำที่ไม่มีตัวสะกด ให้ดูที่สระ สระเสียงสั้น (ไม่รวมอำไอใอเอา)
คำเป็น คือเสียง (ค่อนข้าง) อ่อน ก็คือคำที่สะกดด้วยตัวที่เหลือ หรือคำที่ไม่มีตัวสะกด ให้ดูที่สระ สระเสียงยาว + อำไอใอเอา
เช่น คำว่า กว่า ไม่มีตัวสะกด ให้ดูสระ เป็นสระ อา ก็เป็นคำเป็น
คำว่า น่าน มีตัวสะกด พบว่าไม่ใช่ กก กด กบ ก็แสดงว่าเป็นคำเป็น
คำว่า ทัพ มีตัวสะกด จะสังเกตได้ว่า ตัวที่สะกดด้วย พ พาน ก็ออกเสียงเหมือน บ ใบไม้ นั่นเอง ก็เลยจัดเป็นคำตาย จริงๆ เสียงมันก็ห้วนและสากจนรู้สึกได้อยู่แล้ว
คำว่า เสือ ไม่มีตัวสะกด จึงดูต่อที่สระ ถ้าจำไม่ได้ว่าสระเอือสั้นหรือยาว ให้พยายามไล่เสียงหาคู่ของมัน นั่นก็คือ เอือะ นั่นเอง เสือจึงเป็นคำเป็น
สระสั้น-ยาว
ก็ตามชื่อ คือถ้าลากเสียงสั้น ก็จะเป็นสระสั้น มันจะมีคู่ของมันอยู่ เช่น อะ (สั้น) พอเราออกเสียงอะ ให้ยาว มันก็จะกลายเป็น อา
อุ กับอู โอะ กับโอ ฯลฯ
สระ โอะ ซ่อนรูป
รง กง กน จริงๆแล้ว คือเสียง โอะ ถูกลดรูปอยู่ สระโอะ เป็นสระสั้น คู่กับสระยาว คือโอ
ตัวอย่าง ลง เป็นคำอักษรต่ำ คำเป็น สระเสียงสั้น (เข้าข้อ 5)
ตัวอย่าง รก เป็นอักษรต่ำ คำตาย สระเสียงสั้น (เข้าข้อ 7)
ข้อยกเว้น
[เมื่อ ห หีบถูกซ่อนอยู่ ในกรณีอักษรนำ]
สังเกตง่ายๆ คือ จะมีอักษรสูงหรือกลาง ตามติดมาด้วยอักษรต่ำเดี่ยว
เช่น สมาน ผนวก สมอง ผนึก สนุก สนาน สระ ขยาย
คำพวกนี้ ห หีบ ถูกซ่อนอยู่ ให้ผันเหมือนมี ห หีบอยู่ด้วย
เช่น ผงาด -- (สูงนำต่ำเดี่ยว) งาด ออกเสียงเป็น หงาด จึงไม่ต้องเขียนเป็น ผง่าด (ผิด)
ฉลาด - (สูงนำต่ำเดี่ยว) ลาด ออกเสียงเป็น หลาด จึงไม่ต้องเขียนเป็น ฉล่าด (ผิด)
สบาย -- (สูงนำกลาง - ไม่จัดเป็นอักษรนำ) ออกเสียงเหมือนปกติ
ทนาย - (ต่ำนำต่ำเดี่ยว - ไม่จัดเป็นอักษรนำ) ออกเสียงเหมือนปกติ
* ข้อยกเว้นของยกเว้น ขมา และสมา แม้จะเป็นสูงนำต่ำเดี่ยว ก็ออกเสียงปกติ เพราะยกเว้น
ผิดถูกอย่างไรขออภัย เขียนเองมึนเองแล้วเนี่ย
ค่ะ เสียงโท ใส่ไม้เอก แต่ทำไม คาด เสียงโทเหมือนกัน ทำไมไม่มีไม้เอก
คำตอบอยู่ที่นี่แล้ว <วิธีการใส่วรรณยุกต์ไทย>
วันนี้ว่าง และไม่ได้เขียนอะไรที่เป็นสาระมานานแล้ว
ในเรื่องการใส่วรรณยุกต์แล้ว เราสามารถแบ่งคำในภาษาไทยได้เป็น 7 กลุ่ม
1. อักษรกลาง คำเป็น
2. อักษรกลาง คำตาย
3. อักษรสูง คำเป็น
4. อักษรสูง คำตาย
5. อักษรต่ำ คำเป็น
6. อักษรต่ำ คำตาย สระเสียงยาว
7. อักษรต่ำ คำตาย สระเสียงสั้น
ใครยังแยกอักษรสูง กลาง ต่ำ คำเป็น คำตาย ไม่ออก ข้ามไปอ่านส่วนท้ายของบทความนี้
[กลุ่มที่ 1]
เป็นกลุ่มที่รูปวรรณยุกต์ตรงเสียงทุกตัว ผันได้ 5 เสียงครบ
กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า
[กลุ่มที่ 2]
ขาดเสียงสามัญไปเพียงตัวเดียว และเสียงเอกใช้รูปสามัญ (ไม่ต้องใส่วรรณยุกต์)
(ไม่มี) กะ ก้ะ ก๊ะ ก๋ะ
ตัวอย่าง ตกกระ คำว่า กระ จัดเป็นกลุ่มนี้ คือเป็นอักษรกลางคำตาย แม้จะมีเสียงเอก แต่ไม่ต้องใส่ไม้เอก
ตัวอย่าง อะไร กระได โกะ จิก กระดิก
ส่วนคำว่า อะไรอ่ะ จริงๆ ก็ผิด แต่ผมก็ใช้ เพราะไม่งั้นมันไม่ได้ feel ถือว่าเป็นภาษาแชตแล้วกัน
จำไว้ว่า อักษรกลาง คำตาย ยังไงก็ไม่มีรูปไม้เอก ถ้าเสียงเอก ให้ใช้รูปสามัญแทน (ไม่ต้องใส่วรรณยุกต์) นอกนั้นปกติ
[กลุ่มที่ 3] และ [กลุ่มที่ 5] ต้องร่วมมือกัน จึงจะผันได้ครบเสียง
เช่นคำว่า ขา คือ ข ไข่ เป็นอักษรสูง ไม่มีตัวสะกด แต่มีสระอา จึงจัดเป็นคำเป็น
ใช้คู่มันก็คือ ค ควาย ช่วยผัน ตามรูปแบบดังนี้
คา ข่า ข้า (ค่า) ค้า ขา
สังเกตว่า เสียงโท มีสองรูป ถ้ามีความหมาย ความหมายจะต่างกัน และเป็นคำพ้องเสียง
เสียงสระสั้นยาว ไม่มีความหมายสำหรับกลุ่ม 3 และ 5 นี้ ขอให้เป็น "คำเป็น" ก็แล้วกัน
เช่น คำเป็น สระยาว คาน ข่าน ข้าน (ค่าน) ค้าน ขาน
คำเป็น สระสั้น (โอะ) คน ข่น ข้น (ค่น) ค้น ขน
อักษรต่ำเดี่ยว (ไม่มีอักษรสูงมาคู่) มีดังนี้ งูใหญ่นอนอยู่ ณ ริมวัดโมฬีโลก
ต้องใช้ ห หีบมาช่วยผันแทนอักษรสูง เช่น
งู หงู่ หงู้ (งู่) งู้ หงู
นอน หน่อน หน้อน(น่อน) น้อน หนอน
ลองหัดผันคำต่อไปนี้ดู
โนน [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
นู่น [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ผี [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
โหล [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เสียม [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ซิ้ม [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
จะเห็นได้ว่าสองกลุ่มนี้ ไม่มีรูปตรี กับจัตวาเลย
วิธีจำ เริ่มที่อักษรต่ำก่อน (คา) แล้วตามด้วยอักษรสูง 2 ตัวที่รูปตรงเสียง (ข่า ข้า) แต่เสียงโทตัวกลางจะมีได้สองรูป คืออักษรต่ำที่เป็นรูปเอก (ค่า) อีกตัวนึง
แล้วต่อด้วยเสียงตรี คืออักษรต่ำที่เป็นรูปโท (ค้า) แล้วจบด้วยอักษรสูงรูปสามัญ (ขา)
ถ้านึกไม่ออก ให้จำ คา ข่า ข้า(ค่า) ค้า ขา เอาไว้ เพราะง่ายที่สุดแล้ว ผันแล้วมีความหมายทุกตัว
[กลุ่มที่ 4, 6 และ 7]
กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่คนผันผิดมากๆๆ ที่สุด ทนอ่านอีกหน่อยท่านก็จะได้เป็นเซียนด้านการใส่วรรณยุกต์แล้ว (น่าภูมิใจไหมเนี่ย)
ย้ำอีกครั้ง นี่คือการผันอักษรสูงและต่ำ ที่เป็น "คำตาย"
ตัวอย่างคำในกลุ่ม 6 อักษรต่ำ คำตาย สระเสียงยาว
คาด คาบ ทาก มาก มีด
เวลาผันก็คล้ายกับข้างบน คือจะมีอักษรสูงมาช่วยผัน หรือถ้าเป็นอักษรต่ำเดี่ยวที่ไร้คู่ ก็ให้ ห หีบ ช่วย
แต่ช่วยยังไงก็ไม่มีเสียงสามัญที่เป็นคำที่ใช้ประโยชน์ได้
(ไม่มีคำสามัญ) ขาด คาด ค้าด (ไม่มีคำจัตวา)
(ไม่มีคำสามัญ) ผาด พาด พ้าด (ไม่มีคำจัตวา)
(ไม่มีคำสามัญ) ถาก ทาก ท้าก (ไม่มีคำจัตวา)
(ไม่มีคำสามัญ) หมาก มาก ม้าก (ไม่มีคำจัตวา)
(ไม่มีคำสามัญ) หมีด มีด มี้ด (ไม่มีคำจัตวา)
(ไม่มีคำสามัญ) หรีด รีด รี้ด (ไม่มีคำจัตวา)
(ไม่มีคำสามัญ) โขด โคด โค้ด (ไม่มีคำจัตวา)
ก็อย่างที่เห็น ตำแหน่งเสียงเอก จะใช้อักษรสูง รูปสามัญ
ส่วนตำแหน่งเสียงโท จะใช้อักษรต่ำ รูปสามัญ
ตำแหน่งเสียงตรี จะใช้อักษรต่ำ รูปโท
* ในตำราในตำแหน่งจัตวา มีอักษรต่ำรูปจัตวา โค๋ด แต่ผมนึกตัวอย่างศัพท์จริงไม่ออก ใครนึกออกก็ช่วยแก้ไขด้วย
* ในตำรา ตำแหน่งเสียงโท มีอักษรสูง รูปโท (โข้ด) แต่นึกคำศัพท์จริงไม่ออก ใครนึกออกบอกด้วย
ตัวอย่างคำในกลุ่ม 7 อักษรต่ำ คำตาย สระเสียงสั้น
พริก ค่ะ นะ รัด
(ไม่มีคำสามัญ) หรัด รั่ด รัด (ไม่มีคำจัตวา)
(ไม่มีคำสามัญ) ขะ ค่ะ คะ (ไม่มีคำจัตวา)
(ไม่มีคำสามัญ) โขะ โค่ะ โคะ (ไม่มีคำจัตวา)
(ไม่มีคำสามัญ) หมุด มุ่ด มุด (ไม่มีคำจัตวา)
(ไม่มีคำสามัญ) หลิด ลิ่ด ลิด (ไม่มีคำจัตวา)
ผริก พริ่ก พริก
หนะ น่ะ นะ
หรัด รั่ด รัด
ตำแหน่งเสียงเอก ใช้อักษรสูง รูปสามัญ
ตำแหน่งเสียงโท ใช้อักษรต่ำ รูปเอก
ตำแหน่งเสียงตรี ใช้อักษรต่ำ รูปสามัญ
* ในตำราในตำแหน่งจัตวา มีอักษรต่ำรูปจัตวา ค๋ด แต่ผมนึกตัวอย่างศัพท์จริงไม่ออก ใครนึกออกก็ช่วยแก้ไขด้วย
* ในตำรา ตำแหน่งเสียงโท มีอักษรสูง รูปโท (ข้ด) แต่นึกคำศัพท์จริงไม่ออก ใครนึกออกบอกด้วย
วิธีจำ ของอักษรสูงและต่ำ ที่เป็นคำตาย
จำการผันสองตัวนี้ไป น่าจะง่ายสุด
- ขาด คาด ค้าด -
- ขะ ค่ะ คะ -
ต้องจำไว้ว่า สระสั้น กับยาว ของกลุ่มนี้ จะผันต่างกัน
เสียงสามัญ ไม่มีที่ใช้
เสียงเอก ใส่อักษรสูง รูปสามัญ (แบบเดียวกับ อักษรกลาง คำตาย)
เสียงโท ถ้าเป็นสระยาว ให้ใส่อักษรต่ำรูปสามัญ
แต่ถ้าสระสั้น ให้ใส่อักษรต่ำรูปเอก
เสียงตรี สระยาว อักษรต่ำ รูปโท
สระสั้น อักษรต่ำรูปสามัญ
หวังว่าอ่านถึงตรงนี้ท่านคงจะตอบคำถามของหัวข้อกระทู้ได้แล้ว
ค่ะ เสียงโท ใส่ไม้เอก แต่ทำไม คาด เสียงโทเหมือนกัน ทำไมไม่มีไม้เอก
ข้อยกเว้น คำยืมจากภาษาต่างประเทศ เช่น คอมพิวเตอร์ ยิปซัม แคลเซียม ฯลฯ ที่เพิ่งมีข่าวไปเร็วๆนี้ ว่าจะปรับวิธีการใส่วรรณยุกต์ใหม่หมด
ถ้าจะให้ถูกหลักนี้คงต้องสะกดว่า ค็อมพิ้วเต้อร์
[อักษรสูง กลาง ต่ำ]
อักษรมี 3 ประเภท สูง กลาง ต่ำ
อักษรกลาง ไก่จิกเด็ก (+ฎ) ตาย (+ฎ) บนปากโอ่ง
อักษรสูง ผีฝากถุง (+ฐ) ข้าว (+ฃ) สาร (+ศ ษ) ให้ฉัน
อักษรต่ำ ที่เหลือ
จริงๆ ไม่ต้องจำ ถ้าอยากรู้ว่าตัวอะไร เป็นอักษรกลุ่มไหน ก็ลองไล่เสียงดู
สมมุติ ต เต่า ลองใส่สระ ออ เข้าไป แล้วไล่เสียง ตอ ต่อ ต้อ ต๊อ ต๋อ ถ้าไล่ได้ครบโดยไม่ต้องใช้พยัญชนะอื่นช่วย ก็เป็นอักษรกลาง
สมมุติ ช ช้าง ลองไล่เสียง ชอ ฉ่อ ช่อ ช้อ ฉอ ถ้าเจอ ช ช้างที่เสียงสามัญ (ตำแหน่งแรก) ก็แสดงว่า ช ช้าง เป็นอักษรต่ำ
สมมุติ ถ ถุง ลองไล่เสียง ทอ ถ่อ ท่อ ท้อ ถอ ถ้า ถ ถุง ไม่ได้อยู่ที่ตำแหน่งเสียงสามัญ ก็แสดงว่า ถ ถุง เป็นอักษรสูง
ว แหวน วา หว่า หว้า ว้า หวา ก็เป็นอักษรต่ำ แต่เป็นต่ำเดี่ยว คือไม่มีคู่อักษรสูงมาช่วยผัน ต้องใช้ ห หีบช่วยนำ (T_T)
คำเป็น-คำตาย
คำตาย คือเสียง (ค่อนข้าง) แข็ง คือคำที่สะกดในแม่ กก กด กบ หรือคำที่ไม่มีตัวสะกด ให้ดูที่สระ สระเสียงสั้น (ไม่รวมอำไอใอเอา)
คำเป็น คือเสียง (ค่อนข้าง) อ่อน ก็คือคำที่สะกดด้วยตัวที่เหลือ หรือคำที่ไม่มีตัวสะกด ให้ดูที่สระ สระเสียงยาว + อำไอใอเอา
เช่น คำว่า กว่า ไม่มีตัวสะกด ให้ดูสระ เป็นสระ อา ก็เป็นคำเป็น
คำว่า น่าน มีตัวสะกด พบว่าไม่ใช่ กก กด กบ ก็แสดงว่าเป็นคำเป็น
คำว่า ทัพ มีตัวสะกด จะสังเกตได้ว่า ตัวที่สะกดด้วย พ พาน ก็ออกเสียงเหมือน บ ใบไม้ นั่นเอง ก็เลยจัดเป็นคำตาย จริงๆ เสียงมันก็ห้วนและสากจนรู้สึกได้อยู่แล้ว
คำว่า เสือ ไม่มีตัวสะกด จึงดูต่อที่สระ ถ้าจำไม่ได้ว่าสระเอือสั้นหรือยาว ให้พยายามไล่เสียงหาคู่ของมัน นั่นก็คือ เอือะ นั่นเอง เสือจึงเป็นคำเป็น
สระสั้น-ยาว
ก็ตามชื่อ คือถ้าลากเสียงสั้น ก็จะเป็นสระสั้น มันจะมีคู่ของมันอยู่ เช่น อะ (สั้น) พอเราออกเสียงอะ ให้ยาว มันก็จะกลายเป็น อา
อุ กับอู โอะ กับโอ ฯลฯ
สระ โอะ ซ่อนรูป
รง กง กน จริงๆแล้ว คือเสียง โอะ ถูกลดรูปอยู่ สระโอะ เป็นสระสั้น คู่กับสระยาว คือโอ
ตัวอย่าง ลง เป็นคำอักษรต่ำ คำเป็น สระเสียงสั้น (เข้าข้อ 5)
ตัวอย่าง รก เป็นอักษรต่ำ คำตาย สระเสียงสั้น (เข้าข้อ 7)
ข้อยกเว้น
[เมื่อ ห หีบถูกซ่อนอยู่ ในกรณีอักษรนำ]
สังเกตง่ายๆ คือ จะมีอักษรสูงหรือกลาง ตามติดมาด้วยอักษรต่ำเดี่ยว
เช่น สมาน ผนวก สมอง ผนึก สนุก สนาน สระ ขยาย
คำพวกนี้ ห หีบ ถูกซ่อนอยู่ ให้ผันเหมือนมี ห หีบอยู่ด้วย
เช่น ผงาด -- (สูงนำต่ำเดี่ยว) งาด ออกเสียงเป็น หงาด จึงไม่ต้องเขียนเป็น ผง่าด (ผิด)
ฉลาด - (สูงนำต่ำเดี่ยว) ลาด ออกเสียงเป็น หลาด จึงไม่ต้องเขียนเป็น ฉล่าด (ผิด)
สบาย -- (สูงนำกลาง - ไม่จัดเป็นอักษรนำ) ออกเสียงเหมือนปกติ
ทนาย - (ต่ำนำต่ำเดี่ยว - ไม่จัดเป็นอักษรนำ) ออกเสียงเหมือนปกติ
* ข้อยกเว้นของยกเว้น ขมา และสมา แม้จะเป็นสูงนำต่ำเดี่ยว ก็ออกเสียงปกติ เพราะยกเว้น
ผิดถูกอย่างไรขออภัย เขียนเองมึนเองแล้วเนี่ย