คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 21
พวกที่บอกแย้งลูกค้าไม่ได้ = เพ้อเจ้อ
ผมทำ proofreading สิ่งพิมพ์มา 17+ ปี ลูกค้าเขียนมาผิดนี่เจอประจำ แต่ถือว่าเป็นหน้าที่ของเราที่ต้องทำให้ถูก
เขาผิดก็แก้ให้ถูกซะ แล้วแจ้งเขาด้วยว่าผมแก้ตรงนี้ๆ อธิบายให้เข้าใจได้ว่าแก้ทำไม
เกือบทุกคนขอบคุณที่ผมแก้ให้ (พวกที่ไม่ขอบคุณคือรู้ว่าเป็นหน้าที่เราอยู่แล้วไง)
ไม่ใช่เขาผิดก็ยอมผิดตามเขา แล้วอ้างว่าลูกค้าสั่ง นั่นคือชุ่ย และไร้ความรับผิดชอบ ส่งต่อความเข้าใจผิดไปสู่คนอื่นๆ
คำว่าลูกค้าถูกเสมอ มาจากสำนวนอังกฤษ customer is always right แต่มันมีต่อว่า in matters of taste
คือลูกค้าถูกเสมอในเรื่องรสนิยม แต่ถ้าเป็นเรื่องภาษา มันมีกฎ มีหลักไวยกรณ์รองรับอยู่ จะมาเอารสนิยมตัดสินไม่ได้
อันนี้พูดถึงการสื่อสารปกติ ไม่รวมพวกเครื่องหมายการค้า โลโก้ หรือจงใจเขียนผิดเพื่อขำขันนะ
ผมทำ proofreading สิ่งพิมพ์มา 17+ ปี ลูกค้าเขียนมาผิดนี่เจอประจำ แต่ถือว่าเป็นหน้าที่ของเราที่ต้องทำให้ถูก
เขาผิดก็แก้ให้ถูกซะ แล้วแจ้งเขาด้วยว่าผมแก้ตรงนี้ๆ อธิบายให้เข้าใจได้ว่าแก้ทำไม
เกือบทุกคนขอบคุณที่ผมแก้ให้ (พวกที่ไม่ขอบคุณคือรู้ว่าเป็นหน้าที่เราอยู่แล้วไง)
ไม่ใช่เขาผิดก็ยอมผิดตามเขา แล้วอ้างว่าลูกค้าสั่ง นั่นคือชุ่ย และไร้ความรับผิดชอบ ส่งต่อความเข้าใจผิดไปสู่คนอื่นๆ
คำว่าลูกค้าถูกเสมอ มาจากสำนวนอังกฤษ customer is always right แต่มันมีต่อว่า in matters of taste
คือลูกค้าถูกเสมอในเรื่องรสนิยม แต่ถ้าเป็นเรื่องภาษา มันมีกฎ มีหลักไวยกรณ์รองรับอยู่ จะมาเอารสนิยมตัดสินไม่ได้
อันนี้พูดถึงการสื่อสารปกติ ไม่รวมพวกเครื่องหมายการค้า โลโก้ หรือจงใจเขียนผิดเพื่อขำขันนะ
แสดงความคิดเห็น
ร้านทำป้ายโฆษณา ควรมีความรู้ทางภาษาอยู่บ้าง หรือเกิดจากการตามใจคนจ้างจึงไม่กล้าทักท้วง
ย.ยักษ์เป็นอักษรต่ำ ผันได้ 3 เสียง คือ เสียงสามัญ เสียงโท เสียงตรี แต่รูปวรรณยุกต์ จะใช้ได้แค่ ไม้เอก และไม้โท ได้เท่านั้น จะไปผันเสียงแล้วนึกเอาเองว่าจะเหมือนกับอักษรกลางไม่ได้ คำว่า ย้วย จึงใช้ไม้โท แม้จะเป็นเสียงตรี
ถ้าร้านทำป้าย มีความรู้เรื่องภาษาไทยดี ก็น่าจะแย้งแก่ผู้สั่งทำว่า ไม่ถูกต้อง ป้ายที่เขียนผิดหลักภาษาไทย ก็จะบ่งบอกถึงความไม่รู้ และถ้าปล่อยให้มีมากๆ เข้า อนาคตภาษาไทยก็จะเพี้ยน และเราก็จะมีคำที่มักเขียนผิดเพิ่มขึ้นอยู่เรื่อยๆ