มีคนสงสัยว่าตอนเป็นเด็กทำไมถึงอ่านคำภาษาไทยออก ทั้งๆ ที่รูปกับเสียงวรรณยุกต์ต่างกัน

กระทู้คำถาม
ตามหัวข้อกระทู้เลยครับ
อันที่จริงมันเป็นคำถามจากชาวต่างชาติที่กำลังเรียนภาษาไทยครับ แต่ผมก็ไม่รู้จะตอบเค้ายังไงเลยจะมาขอความกระจ่างจากผู้รู้หน่อยครับ

เค้าถามว่า คำว่า "มาก" ไม่มีวรรณยุกต์ แต่เป็นเสียงโท เค้าจึงสงสัยว่าทั้ง ๆ ที่ไม่มีวรรณยุกต์กำกับ ทำไมถึงรู้ว่าต้องออกเป็นเสียงโท
หรือรู้ว่าออกเสียงโท แต่รู้ได้ยังไงว่าไม่ต้องใส่วรรณยุกต์

ผมเลยลองสะกด มอ-อา-มา  มา-กอ-มาาาาาก(มันออกเสียงในรูปสามัญไม่ได้อะครับ ไม่รู้จะเขียนยังไง)
มาาาาก-เอก-หมาก
มาาาาก-โท-มาก >>> อันนี้แหละครับที่เค้าสงสัย เสียงโท แต่ไม่ใส่ไม้โท

เท่าที่ศึกษามา "มาก" เป็นอักษรต่ำคำตาย พื้นฐานเสียงจึงเป็นเสียงโทอันนี้เข้าใจแล้ว
แต่ลองคิดย้อนกลับไปตอนเด็ก ๆ ดูครับว่า ตอนนั้นเราคงยังไม่เข้าใจถึงคำเป็นคำตาย อักษรสูงอักษรต่ำอย่างถ่องแท้แน่ๆ
แต่ทำไมเราถึงอ่านได้ละครับว่าคำนี้ต้องอ่านว่า "มาก" นะ ทั้ง ๆ ที่ไม่มีวรรณยุกต์กำกับอะไรเลย หรือต่อให้สะกดตามที่ผมเขียนไว้ข้างต้น(มาาาก-โท-มาก) มันผันด้วยเสียงโทอยู่ดี แต่ตอนเด็กทำไมเราถึงรู้ว่ามันไม่ต้องใส่ไม้โทละครับ

ไม่รู้ผมสื่อได้เข้าใจไหม ท่านใดมีทฤษฎีอะไร หรือมีหลักการอะไร ช่วยทำให้กระจ่างหน่อยครับ ขอบคุณครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
เรียนข้ามภาษา บางอย่างมีหลักการแ่นอน บางอย่างข้อยกเว้นต้องอาศัยจำ

แต่ผมจะขออธิบายเพิ่ม ในส่วนที่จขกท. ข้องใจ มากกว่าอธิบายหลักภาษา
ทำไมคนไทยเข้าใจภาษาไทยได้เลย?

ถ้าจะเอาทฤษฎีหน่อย คือทฤษฎีการเรียนรู้ มันลงไปอยู่ในส่วนจิตใต้สำนึก เป็นการเรียนรู้แล้วจริง ๆ แล้ว ไม่ต้องหยุดคิด หยุดเรียบเรียง คอยสะกดคำ
ทางจิตวิทยา เรียกว่า จิตส่วนที่เป็น unconscious ครับ
รูปพื้นฐานที่สุด ที่ใช้อุปมากัน



แต่เอาแบบอธิบายกันทั่วไป ที่จขกท. พูด... นี่แหละครับ คือการเป็น "เจ้าของภาษา" นั้น ๆ ความสามารถในการใช้ภาษาของสมองมนุษย์ (ในคนที่มีระดับไอคิวปกติ) ที่สัตว์โลกทั่วไปไม่มี
เพราะถูกสอน ด้วยการใช้สัญลักษณ์เหมือน ๆ กัน เพียงนิดเดียว ที่เป็นระบบเหมือนกัน ก็เป็นไปเกือบอัตโนมัติ  จนในที่สุด เป็นอัตโนมัติ ฝังในสมอง
เกิดจากการเลียนแบบเสียงมาตั้งแต่เด็กก่อน จะเห็นว่าเสียงนี่ยิ่งไม่ต้องสอนอะไรเลย ไปอยู่ถิ่นไหนก็สำเนียงนั้น คนที่ไม่ตรง ก็ค่อย ๆ แก้ไปเองตามธรรมชาติ ตามสิ่งแวดล้อมที่เห็นคนอื่นใช้ เซลส์สมองมีหน่วยความจำทำหน้าที่นี้อยู่

พอเอา "รูป" ที่แทนเข้าไปซ้ำ ๆ ไม่นานก็ซึมซับรูปแบบเดียวกัน การแยกแยะเหมือนกัน

การเรียนรู้แบบธรรมชาติ อาศัยการได้ใช้งานลองผิดลองถูก ลองเลียนแบบมากกว่า การทำความเข้าใจหลักภาษามาจัดทีหลัง
ถ้าจะชัด ๆ ลองนึกถึงภาษาอื่น เอาอย่างภาษาจีนสิครับ ไม่ได้ใส่สระในรูปเลย


คนที่เรียนภาษาอังกฤษ ด้วยการท่องไวยากรณ์แล้วคิดว่าจะเก่งจึงล้มเหลว เอาไว้ได้แค่กาข้อสอบ ใช้งานสู้คนที่ไปเจอการใช้จริงไม่ได้ เพราะคนที่เรียนรู้จากการใช้งานแล้วมันซึมลงไปเอง ยิ่งใช้บ่อย ยิ่งเป็นธรรมชาติ
(แต่ว่าคนใช้แล้วรู้ว่าตัวเองพลาด ก็ค่อย ๆ แก้ตามไป ถ้าเป็นกรณีนี้ภาษาที่ไม่ใช่มีในสิ่งแวดล้อมตัวเองใก้เกิดการเรียนรู้ลงจิตใต้สำนึกมาก ๆ ขยันเอาตำรามาเปรียบเทียบภายหลังแก้ไปเรื่อย ๆ ก็จะยิ่งเก่ง ซึมลงไปในสมองส่วนที่ทำให้ใช้งานได้อัตโนมัติ ระหว่างเปรียบเทียบ นั่นคือการใส่ข้อมูลลงไปในส่วนที่เราไม่ได้รู้ตัวด้วย)

อ่านตำราว่ายน้ำจนหมดห้องสมุด แต่ก็ว่ายน้ำไม่เป็น สมองไม่ได้เรียนรู้จนลงในส่วนที่เป็นจิตใต้สำนึก ทำได้เป็นอัตโนมัติ แบบคนที่ไปฝึก
ตำราและระบบเหล่านี้ ก็เกิดภายหลังภาษาเขียน เพราะมีคนใช้ต่างกัน เลยเอามาเรียบเรียงจัดระบบให้ความแตกต่างกันเหลือน้อย
ภาษาเขียน ก็เกิดหลังภาษาพูด

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่