ปัญหาการจำแนก 'อักษรนำ' และ 'อักษรควบกล้ำ' กรณีควบกล้ำหรือนำ ร ล และ ว

กระทู้คำถาม
สวัสดีครับ

ผมมีเพื่อนที่เป็นฝรั่งท่านหนึ่งที่กำลังพยายามศึกษาภาษาไทยอยู่ เขาจะถามคำถามเกี่ยวกับภาษาไทยให้ผมตอบอยู่เป็นครั้งคราว วันก่อนผมได้สอนเขาถึงเรื่องคำควบกล้ำและอักษรนำ และเขาได้พบข้อสังเกตประการหนึ่งและตั้งคำถามที่ผมไม่สามารถตอบได้

สมมุติเราเป็นฝรั่ง อ่านภาษาไทยไม่ออก และพึ่งเคยเจอ 2 คำนี้เป็นครั้งแรก
'จริง' และ 'จริต'

ถ้าเราอ่านภาษาไทยไม่ออกเลย เราจะรู้ได้อย่างไรว่า
'จร' ใน 'จริง' คือ อักษรควบกล้ำ = จ ควบ ร เป็นคำควบกล้ำไม่แท้ ทำให้ออกเสียง 1 พยางค์ว่า จิง
'จร' ใน 'จริต' คือ อักษรนำ = จ อักษรกลาง นำ ร อักษรต่ำเดี่ยว ทำให้ออกเสียง 2 พยางค์ว่า จะ-หริด

จะพบข้อสังเกตว่า อักษรควบกล้ำและอักษรนำมีจุดที่ซ้อนกันอยู่ประการหนึ่ง คือ
อักษรควบกล้ำ คือ อักษรใดก็ได้ + ร ล หรือ ว
อักษรนำ คือ ห หรือ อักษรสูง/กลาง + อักษรต่ำเดี่ยว
ซึ่งเป็นเรื่องบังเอิญว่า ร ล และ ว ล้วนเป็นอักษรต่ำเดี่ยวเช่นกัน ดังนั้นคำที่อักษรตัวหน้า ควบกล้ำ หรือ นำ 'ร ล และ ว' จะเป็นไปได้ยากที่จะรู้ว่าคำนั้นเป็นอักษรนำหรือคำควบกล้ำ ซึ่งส่งผลให้ไม่สามารถรู้ได้ว่าคำนั้นออกเสียงพยางค์เดียวหรือสองพยางค์

ในการศึกษาไทย เราถูกสอนให้จำแนกสองคำนี้โดยการลองออกเสียง ถ้าออกเสียงพยางค์เดียวเป็นอักษรควบกล้ำ ถ้าออกเสียงสองพยางค์เป็นอักษรนำ ซึ่งเป็นการสอนให้ท่องจำจากคำตอบไปสู่คำถาม ไม่ใช่การสอนให้รู้ถึงหลักของภาษาไทยเพื่อนำไปปรับใช้ เพราะฉะนั้น ถ้าเราเป็นชาวต่างชาติที่กำลังศึกษาภาษาไทย อ่าน 2 คำนี้ไม่ออก และพึ่งเคยเจอมันเป็นครั้งแรก เราจะจำแนกสองคำนี้ออกจากกันว่าอย่างไรครับ

ขอบคุณครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
อย่างที่ คห.2 บอกครับ ต้องบอกเขาไปว่าแล้วแต่กรณี เพราะในภาษาญี่ปุ่นก็มีบางเรื่องเหมือนกันที่แล้วแต่กรณี เคยไปถามอาจารย์ที่เป็นคนญี่ปุ่นเขาก็บอกมาประมาณนี้ ผมว่ามันก็คือการใช้ตามความเคยชิน แบบจำไปเลยว่าคำนี้ต้องใช้ตัวนี้ หรือคำนี้ต้องอ่านแบบนี้ แต่ไม่ได้ไปสนใจถึงหลักการว่าต้องดูยังไง หรือมีเหตุผลอะไรถึงต้องเป็นแบบนี้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่