ไม้จัตวา ปกติจะใช้กับอักษรกลางเท่านั้นตามหลักภาษาไทย คือ ก จ ด ต ฎ ฏ บ ป อ
แต่เนื่องจากปัจจุบันเห็นการเขียนคำภาษาใต้ตามสื่อโซเชียลบ่อยๆ ซึ่งการออกเสียงคำในภาษาปักษ์ใต้ของไทย
อักษรต่ำบางตัวจะสามารถออกเสียงจัตวาได้ ซึ่งต่างจากภาษากลาง
อักษรต่ำ ได้แก่ ค ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ เป็นต้น
ทำให้หากเขียนการออกเสียงคำบางคำในภาษาใต้ จะต้องใช้ไม้จัตวาบนอักษรต่ำ ตัวอย่าง
หมายเหตุ
ความแปลกของภาษาใต้
-อักษรต่ำเขียนด้วยไม้จัตวาได้ในบางคำของภาษาใต้เพื่อการอ่านออกเสียงที่ถูกต้อง (ย้ำว่า บางคำ) เช่นตามรูปด้านบน
-คำบางคำในภาษาใต้ เช่น ดูด, กูด, ปูด จะออกเป็นเสียงสามัญ ไม่ใช่เสียงเอกแบบภาษากลาง(เสียงเอกแต่ไม่มีวรรณยุกต์เอกกำกับในคำเหล่านี้) แต่เนื่องจากเสียงสามัญไม่มีรูปวรรณยุกต์ จึงไม่อาจเขียนรูปให้ต่างจากเสียงเอกได้
-ภาษาใต้ จะมีตัวอักษรควบกล้ำ
มร ซึ่งปกติจะไม่มีตัวควบนี้ตามหลักภาษาไทย เช่น คำว่า ห
มรับ (ออกเสียง ม ควบ ร แปลว่า สำรับ)
ปล.ผิดพลาดประการใด ขออภัยนะครับ
..เผื่อใครอยากมีแฟนเป็นคนใต้ ควรหัดเขียนและออกเสียงไว้นะครับ
ไม้จัตวา ใช้กับอักษรต่ำได้ ☆☆☆
แต่เนื่องจากปัจจุบันเห็นการเขียนคำภาษาใต้ตามสื่อโซเชียลบ่อยๆ ซึ่งการออกเสียงคำในภาษาปักษ์ใต้ของไทย
อักษรต่ำบางตัวจะสามารถออกเสียงจัตวาได้ ซึ่งต่างจากภาษากลาง
อักษรต่ำ ได้แก่ ค ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ เป็นต้น
ทำให้หากเขียนการออกเสียงคำบางคำในภาษาใต้ จะต้องใช้ไม้จัตวาบนอักษรต่ำ ตัวอย่าง
หมายเหตุ
ความแปลกของภาษาใต้
-อักษรต่ำเขียนด้วยไม้จัตวาได้ในบางคำของภาษาใต้เพื่อการอ่านออกเสียงที่ถูกต้อง (ย้ำว่า บางคำ) เช่นตามรูปด้านบน
-คำบางคำในภาษาใต้ เช่น ดูด, กูด, ปูด จะออกเป็นเสียงสามัญ ไม่ใช่เสียงเอกแบบภาษากลาง(เสียงเอกแต่ไม่มีวรรณยุกต์เอกกำกับในคำเหล่านี้) แต่เนื่องจากเสียงสามัญไม่มีรูปวรรณยุกต์ จึงไม่อาจเขียนรูปให้ต่างจากเสียงเอกได้
-ภาษาใต้ จะมีตัวอักษรควบกล้ำ มร ซึ่งปกติจะไม่มีตัวควบนี้ตามหลักภาษาไทย เช่น คำว่า หมรับ (ออกเสียง ม ควบ ร แปลว่า สำรับ)
ปล.ผิดพลาดประการใด ขออภัยนะครับ
..เผื่อใครอยากมีแฟนเป็นคนใต้ ควรหัดเขียนและออกเสียงไว้นะครับ