ขออนุญาตแตกประเด็นจากกระทู้
http://ppantip.com/topic/31947768
"ขอรณรงค์ให้เลิกใช้ตัวสะกด "ว" ร่วมกับสระ "โ-" เช่น เฮย์โจว โกว คาเงโร่ว ฯลฯ ในห้องการ์ตูนครับ"
เนื่องจากผมสังเกตเห็นว่าหลายท่านไม่ได้อ่านตรงจุดที่ผมเขียนไว้ เกรงว่าจะทำให้เข้าใจผิดและนำไปใช้ผิดๆกัน
จึงขออนุญาตตั้งเป็นกระทู้ใหม่ขึ้นมาอีกกระทู้หนึ่ง เพื่อให้ทุกท่านสามารถสังเกตพบและค้นอ่านได้ง่ายขึ้นครับ
ทั้งนี้ผมเพียงต้องการให้ความรู้แก่ทุกท่านเท่านั้น มิได้มีเจตนาในแง่ร้ายแก่บุคคลใด
สำหรับท่านผู้อ่านที่นิยม "ยาวไปไม่อ่าน" ขอเชิญอ่านสรุปใน Spoil ครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้หลักเกณฑ์การออกเสียงญี่ปุ่นดังกล่าวในกระทู้ข้างต้น มีข้อยกเว้นให้กับชื่อ ศัพท์เฉพาะ คำเลียนเสียง คำต่างประเทศ ฯลฯ
ดังนั้นจึงสามารถออกเสียงและใช้ โ-ว และ เ-ย์ ได้ในกรณีที่เป็นข้อยกเว้น เช่น Gou (ชื่อคน) Kagerou (ชื่อผลงาน)
แต่ Heichou เป็นศัพท์ธรรมดา แปลว่า นายกอง จึงไม่ได้รับการข้อยกเว้น อ่านออกเสียงว่า เฮโจ ไม่มีทั้ง -ย์ และ -ว ครับ
ก่อนอื่นอยากให้ทุกท่านได้กลับไปอ่านกระทู้ต้นทางอีกรอบ เนื่องจากเป็นความรู้ที่ดีและมีประโยชน์มากครับ
ซึ่งหลักเกณฑ์การออกเสียงภาษาญี่ปุ่นที่เจ้าของกระทู้ต้นทางกล่าวมานั้น ถูกต้องทุกอย่างครับ
เสียง ou (โอะอุ/โอว) ต้องลากยาวเป็น o― (โอ)
เสียง ei (เอะอิ/เอย์) ต้องลากยาวเป็น e― (เอ)
ไม่จำเป็นต้องมี -ว -ย์ แต่อย่างใด
รวมถึงการแยกพยางค์ตามคำศัพท์แต่ละคำที่เจ้าของกระทู้ได้กล่าวไว้ในความคิดเห็นที่ 34-1 ของกระทู้ต้นทางด้วย
โดยหลักเกณฑ์นี้มีชื่อว่า 現代仮名遣い ประกาศใช้ในวันที่ 1 เดือนกรกฎาคม 1986
ซึ่งประเด็นที่เจ้าของกระทู้กำลังกล่าวถึงคือเรื่อง เสียงยาว ซึ่งระบุไว้ในข้อ 5 เรื่อง 長音 ครับ
http://houmu.h-chosonkai.gr.jp/siryoukan/youjiyougokannkei/genndaikanadukai.htm
นอกจากนี้ ตารางด้านล่างสุดยังช่วยสรุปเอาไว้ให้ด้วยว่า
(ช่องขวา) ตัวอย่างคำศัพท์
(ช่องถัดมา) สมัยก่อนคำศัพท์นี้เขียนอย่างไร
(ช่องถัดมาอีก) ปัจจุบันคำศัพท์นี้เขียนอย่างไร
(ช่องซ้าย) ปัจจุบันวิธีการเขียนแบบนี้ อ่านออกเสียงอย่างไร
เช่นศัพท์คำว่า "พูด" เมื่อก่อนเขียนว่า 言ふ (อิฟุ) สมัยนี้ให้เขียนว่า 言う (อิอุ) แต่ออกเสียงตอนพูดว่า ユー (ยู)
หรือคำว่า "ราชา" เมื่อก่อนเขียนว่า わう (วะอุ) สมัยนี้ให้เขียนว่า おう (โอะอุ) แต่ออกเสียงตอนพูดว่า オー (โอ)
แต่เนื่องจากกระทู้ต้นทางกล่าวถึงหลักเกณฑ์นี้ไม่ครบ โดยขาดจุดที่สำคัญไปอย่างหนึ่งคือ
"ข้อยกเว้น"
ซึ่ง คำนำ (前書き) ของหลักเกณฑ์นี้ได้ระบุเอาไว้ว่า
ข้อ 3. หลักเกณฑ์นี้ไม่นำมาใช้กับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ศิลปะ ศาสตร์เฉพาะทางอื่นๆทุกแขนง และชื่อของปัจเจกบุคคล
ข้อ 4. ส่วนใหญ่ใช้หลักเกณฑ์นี้กับภาษาพูดสำหรับคำศัพท์ในยุคปัจจุบัน
→→→ยกเว้นให้แก่คำที่จำเป็นต้องออกเสียงตามต้นฉบับงานเขียนและคำที่เป็นชื่อเฉพาะ
→→→(เช่น ชื่อคน ชื่อดินแดน ชื่อเมือง ชื่อประเทศ ชื่อหนังสือ ชื่อเพลง ชื่อบริษัท ชื่อกลุ่มองค์กร ฯลฯ)
ข้อ 5. หลักเกณฑ์นี้ไม่นำมาใช้กับเสียงพิเศษต่างๆ เช่น คำเลียนเสียงสัตว์ คำเลียนเสียงธรรมชาติ เสียงถอนหายใจ และศัพท์ต่างประเทศ
ข้อ 6. หลักเกณฑ์นี้ไม่นำมาใช้ในการตัดสินว่าต้องออกเสียงอย่างไร ในกรณีที่ศัพท์นั้นสามารถออกเสียงได้สองแบบ
→→→(เช่น 頬 (Hoo/Hoho) หรือ 的確 (Tekikaku/Tekkaku))
ข้อ 7. กรณีที่เขียนภาษาญี่ปุ่นด้วยอักษรเบลล์หรือโรมะจิ ไม่จำเป็นต้องยึดหลักเกณฑ์นี้เสมอไป
นอกจากนี้ ประสบการณ์ "ฟัง" ล่าสุดที่ผมเจอก็คือ ตัวเอกของอนิเมะเรื่อง Gundam Build Fighter ชื่อ Iori Sei
ซึ่งตัวละครในเรื่องเรียกชื่อเขาแล้วจะมีเสียง -อิ ตามท้ายอย่างชัดเจนมาก โดยเฉพาะตอนที่แม่ของเขาเป็นคนเรียก
http://www.youtube.com/user/GundamInfo
ทั้งที่ถ้ายึดตามหลักเกณฑ์ข้างต้นแล้ว ชื่อของเขาควรออกเสียงแค่ เซ (Se―) เฉยๆ ไม่ต้องออกเสียง -อิ ตามท้าย
แต่ที่มี -อิ ตามท้ายมาจากปากคนญี่ปุ่น นั่นก็เพราะมันเป็นข้อยกเว้นตามคำนำข้างต้น (ข้อ 3.+4.) นั่นเองครับ
ในกรณีนี้ ถ้าเขียนแค่ เซ มาให้อ่าน ผมไม่มีทางรู้เลยว่าชื่อของเขาคือ Sei ซึ่งมีวิธีการออกเสียงต่างกัน การใช้ -ย์ จึงช่วยได้มากทีเดียว
ส่วนกรณีของเสียง oo กับ ou ผมนึกตัวอย่างที่ชัดๆไม่ออก เพราะช่วงนี้ไม่ค่อยได้ดูอนิเมะมากนัก ต้องขออภัยเป็นอย่างสูงครับ m(_ _)m
สำหรับตัวอย่างที่กระทู้ต้นทางได้กล่าวถึง
Heichou คำนี้เป็นศัพท์ทั่วไป แปลว่า นายกอง ไม่ใช่ศัพท์เฉพาะ/ชื่อเฉพาะ จึงตามหลักควรอ่านว่า เฮโจ ไม่ต้องมีทั้ง -ย์ และ -ว
ส่วน Gou กับ Kagerou เป็นชื่อคนและชื่อผลงาน ทำให้ตกเป็นข้อยกเว้น จึงไม่ต้องรวมเสียงแล้วลากยาวเป็น o― ครับ
ในส่วนของภาษาไทย จริงอยู่ว่าก่อนหน้านี้เราไม่เคยมีศัพท์ที่ใช้ โ-ว มาก่อน
แต่ก่อนหน้าโน้น~~ประเทศไทยก็ไม่เคยมีศัพท์ที่ใช้ เ-อร์ เหมือนกันครับ
และมนุษย์เราสามารถออกเสียง โอ้ว ให้ต่างจาก โอ้ ได้จริงๆ
ถ้ามันสามารถทำให้ภาษาไทยพัฒนาขึ้นจนถอดเสียงต่างๆได้แม่นยำมากขึ้น
ผมคิดว่าการใช้ -ว ก็ไม่ใช่เรื่องที่เลวร้ายจนต้องห้ามใช้แต่อย่างใดครับ
ในทางกลับกัน ผมอยากให้ยอมรับการใช้ -ว (หรือ -ว์ ก็ได้) เพื่อให้เราสามารถถอดเสียงได้แม่นยำขึ้นครับ
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องดูก่อนว่าถอดเสียงถูกต้องตาม
หลักเกณฑ์ กับ
ข้อยกเว้น รึเปล่าด้วยนะครับ ^ ^)/
! แต่ !
อีกกรณีหนึ่งที่ผมอ่านพบคือ นักเขียนบางท่านระบุ -ว -ย์ เพื่อให้รู้ว่าต้นฉบับสะกดอย่างไร
กล่าวคือ อิงตามตัวสะกด ไม่ได้อิงตามการถอดเสียง
ณ จุดนี้ท่านผู้เขียนไม่ต้องเป็นกังวลไปครับ เพราะคำญี่ปุ่นที่เขียนเป็นไทยกันมักจะเป็น "ชื่อ" อยู่แล้ว ไม่ใช่คำศัพท์ทั่วไป
เมื่อคำนั้นเป็น "ชื่อ" ก็จะได้รับการยกเว้น ทำให้ออกเสียง -ว (อุ) หรือ -ย์ (อิ) ตรงตามที่สะกดได้อยู่แล้วครับ
(เข้าใจว่าคงไม่มีใครแปล/เขียนคำว่า คุณพ่อ เป็น โอะโต้วซัง หรือคำว่า เล่นกัน เป็น อะโซะโบ้ว อยู่แล้ว)
(อ้อ แต่ผมเคยเห็นโดจินแปลไทยใช้คำว่า โอนี่จัง) (ฮา)
ส่วนในกรณีของชื่อที่ใช้กันมานาน เช่น โตเกียว โอซาก้า
......อ่า....คิดซะว่าเป็นชื่อเฉพาะสไตล์ไทยเหมือนคำว่า "ญี่ปุ่น" ละกันครับ ^ ^)"
ความเคยชินที่ฝังรากลึกในประเทศไทยมาหลายสิบปี .....ณ จุดนี้เราคงไปแก้ไขอะไรไม่ได้แล้วล่ะครับ OTL
เว้นแต่ทุกฝ่ายตั้งแต่นักเรียน-อาจารย์-กระทรวงฯ มาร่วมด้วยช่วยกันสังคายนา+รณรงค์อย่างจริงจัง....ล่ะมั้ง ?
ขอแสดงความนับถือ
เซเบอร์
ข้อยกเว้นที่ทำให้สามารถใช้ "-ว" ร่วมกับ "โ-" ได้
"ขอรณรงค์ให้เลิกใช้ตัวสะกด "ว" ร่วมกับสระ "โ-" เช่น เฮย์โจว โกว คาเงโร่ว ฯลฯ ในห้องการ์ตูนครับ"
เนื่องจากผมสังเกตเห็นว่าหลายท่านไม่ได้อ่านตรงจุดที่ผมเขียนไว้ เกรงว่าจะทำให้เข้าใจผิดและนำไปใช้ผิดๆกัน
จึงขออนุญาตตั้งเป็นกระทู้ใหม่ขึ้นมาอีกกระทู้หนึ่ง เพื่อให้ทุกท่านสามารถสังเกตพบและค้นอ่านได้ง่ายขึ้นครับ
ทั้งนี้ผมเพียงต้องการให้ความรู้แก่ทุกท่านเท่านั้น มิได้มีเจตนาในแง่ร้ายแก่บุคคลใด
สำหรับท่านผู้อ่านที่นิยม "ยาวไปไม่อ่าน" ขอเชิญอ่านสรุปใน Spoil ครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ก่อนอื่นอยากให้ทุกท่านได้กลับไปอ่านกระทู้ต้นทางอีกรอบ เนื่องจากเป็นความรู้ที่ดีและมีประโยชน์มากครับ
ซึ่งหลักเกณฑ์การออกเสียงภาษาญี่ปุ่นที่เจ้าของกระทู้ต้นทางกล่าวมานั้น ถูกต้องทุกอย่างครับ
เสียง ou (โอะอุ/โอว) ต้องลากยาวเป็น o― (โอ)
เสียง ei (เอะอิ/เอย์) ต้องลากยาวเป็น e― (เอ)
ไม่จำเป็นต้องมี -ว -ย์ แต่อย่างใด
รวมถึงการแยกพยางค์ตามคำศัพท์แต่ละคำที่เจ้าของกระทู้ได้กล่าวไว้ในความคิดเห็นที่ 34-1 ของกระทู้ต้นทางด้วย
โดยหลักเกณฑ์นี้มีชื่อว่า 現代仮名遣い ประกาศใช้ในวันที่ 1 เดือนกรกฎาคม 1986
ซึ่งประเด็นที่เจ้าของกระทู้กำลังกล่าวถึงคือเรื่อง เสียงยาว ซึ่งระบุไว้ในข้อ 5 เรื่อง 長音 ครับ
http://houmu.h-chosonkai.gr.jp/siryoukan/youjiyougokannkei/genndaikanadukai.htm
นอกจากนี้ ตารางด้านล่างสุดยังช่วยสรุปเอาไว้ให้ด้วยว่า
(ช่องขวา) ตัวอย่างคำศัพท์
(ช่องถัดมา) สมัยก่อนคำศัพท์นี้เขียนอย่างไร
(ช่องถัดมาอีก) ปัจจุบันคำศัพท์นี้เขียนอย่างไร
(ช่องซ้าย) ปัจจุบันวิธีการเขียนแบบนี้ อ่านออกเสียงอย่างไร
เช่นศัพท์คำว่า "พูด" เมื่อก่อนเขียนว่า 言ふ (อิฟุ) สมัยนี้ให้เขียนว่า 言う (อิอุ) แต่ออกเสียงตอนพูดว่า ユー (ยู)
หรือคำว่า "ราชา" เมื่อก่อนเขียนว่า わう (วะอุ) สมัยนี้ให้เขียนว่า おう (โอะอุ) แต่ออกเสียงตอนพูดว่า オー (โอ)
แต่เนื่องจากกระทู้ต้นทางกล่าวถึงหลักเกณฑ์นี้ไม่ครบ โดยขาดจุดที่สำคัญไปอย่างหนึ่งคือ "ข้อยกเว้น"
ซึ่ง คำนำ (前書き) ของหลักเกณฑ์นี้ได้ระบุเอาไว้ว่า
ข้อ 3. หลักเกณฑ์นี้ไม่นำมาใช้กับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ศิลปะ ศาสตร์เฉพาะทางอื่นๆทุกแขนง และชื่อของปัจเจกบุคคล
ข้อ 4. ส่วนใหญ่ใช้หลักเกณฑ์นี้กับภาษาพูดสำหรับคำศัพท์ในยุคปัจจุบัน
→→→ยกเว้นให้แก่คำที่จำเป็นต้องออกเสียงตามต้นฉบับงานเขียนและคำที่เป็นชื่อเฉพาะ
→→→(เช่น ชื่อคน ชื่อดินแดน ชื่อเมือง ชื่อประเทศ ชื่อหนังสือ ชื่อเพลง ชื่อบริษัท ชื่อกลุ่มองค์กร ฯลฯ)
ข้อ 5. หลักเกณฑ์นี้ไม่นำมาใช้กับเสียงพิเศษต่างๆ เช่น คำเลียนเสียงสัตว์ คำเลียนเสียงธรรมชาติ เสียงถอนหายใจ และศัพท์ต่างประเทศ
ข้อ 6. หลักเกณฑ์นี้ไม่นำมาใช้ในการตัดสินว่าต้องออกเสียงอย่างไร ในกรณีที่ศัพท์นั้นสามารถออกเสียงได้สองแบบ
→→→(เช่น 頬 (Hoo/Hoho) หรือ 的確 (Tekikaku/Tekkaku))
ข้อ 7. กรณีที่เขียนภาษาญี่ปุ่นด้วยอักษรเบลล์หรือโรมะจิ ไม่จำเป็นต้องยึดหลักเกณฑ์นี้เสมอไป
นอกจากนี้ ประสบการณ์ "ฟัง" ล่าสุดที่ผมเจอก็คือ ตัวเอกของอนิเมะเรื่อง Gundam Build Fighter ชื่อ Iori Sei
ซึ่งตัวละครในเรื่องเรียกชื่อเขาแล้วจะมีเสียง -อิ ตามท้ายอย่างชัดเจนมาก โดยเฉพาะตอนที่แม่ของเขาเป็นคนเรียก
http://www.youtube.com/user/GundamInfo
ทั้งที่ถ้ายึดตามหลักเกณฑ์ข้างต้นแล้ว ชื่อของเขาควรออกเสียงแค่ เซ (Se―) เฉยๆ ไม่ต้องออกเสียง -อิ ตามท้าย
แต่ที่มี -อิ ตามท้ายมาจากปากคนญี่ปุ่น นั่นก็เพราะมันเป็นข้อยกเว้นตามคำนำข้างต้น (ข้อ 3.+4.) นั่นเองครับ
ในกรณีนี้ ถ้าเขียนแค่ เซ มาให้อ่าน ผมไม่มีทางรู้เลยว่าชื่อของเขาคือ Sei ซึ่งมีวิธีการออกเสียงต่างกัน การใช้ -ย์ จึงช่วยได้มากทีเดียว
ส่วนกรณีของเสียง oo กับ ou ผมนึกตัวอย่างที่ชัดๆไม่ออก เพราะช่วงนี้ไม่ค่อยได้ดูอนิเมะมากนัก ต้องขออภัยเป็นอย่างสูงครับ m(_ _)m
สำหรับตัวอย่างที่กระทู้ต้นทางได้กล่าวถึง
Heichou คำนี้เป็นศัพท์ทั่วไป แปลว่า นายกอง ไม่ใช่ศัพท์เฉพาะ/ชื่อเฉพาะ จึงตามหลักควรอ่านว่า เฮโจ ไม่ต้องมีทั้ง -ย์ และ -ว
ส่วน Gou กับ Kagerou เป็นชื่อคนและชื่อผลงาน ทำให้ตกเป็นข้อยกเว้น จึงไม่ต้องรวมเสียงแล้วลากยาวเป็น o― ครับ
ในส่วนของภาษาไทย จริงอยู่ว่าก่อนหน้านี้เราไม่เคยมีศัพท์ที่ใช้ โ-ว มาก่อน
แต่ก่อนหน้าโน้น~~ประเทศไทยก็ไม่เคยมีศัพท์ที่ใช้ เ-อร์ เหมือนกันครับ
และมนุษย์เราสามารถออกเสียง โอ้ว ให้ต่างจาก โอ้ ได้จริงๆ
ถ้ามันสามารถทำให้ภาษาไทยพัฒนาขึ้นจนถอดเสียงต่างๆได้แม่นยำมากขึ้น
ผมคิดว่าการใช้ -ว ก็ไม่ใช่เรื่องที่เลวร้ายจนต้องห้ามใช้แต่อย่างใดครับ
ในทางกลับกัน ผมอยากให้ยอมรับการใช้ -ว (หรือ -ว์ ก็ได้) เพื่อให้เราสามารถถอดเสียงได้แม่นยำขึ้นครับ
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องดูก่อนว่าถอดเสียงถูกต้องตาม หลักเกณฑ์ กับ ข้อยกเว้น รึเปล่าด้วยนะครับ ^ ^)/
! แต่ !
อีกกรณีหนึ่งที่ผมอ่านพบคือ นักเขียนบางท่านระบุ -ว -ย์ เพื่อให้รู้ว่าต้นฉบับสะกดอย่างไร
กล่าวคือ อิงตามตัวสะกด ไม่ได้อิงตามการถอดเสียง
ณ จุดนี้ท่านผู้เขียนไม่ต้องเป็นกังวลไปครับ เพราะคำญี่ปุ่นที่เขียนเป็นไทยกันมักจะเป็น "ชื่อ" อยู่แล้ว ไม่ใช่คำศัพท์ทั่วไป
เมื่อคำนั้นเป็น "ชื่อ" ก็จะได้รับการยกเว้น ทำให้ออกเสียง -ว (อุ) หรือ -ย์ (อิ) ตรงตามที่สะกดได้อยู่แล้วครับ
(เข้าใจว่าคงไม่มีใครแปล/เขียนคำว่า คุณพ่อ เป็น โอะโต้วซัง หรือคำว่า เล่นกัน เป็น อะโซะโบ้ว อยู่แล้ว)
(อ้อ แต่ผมเคยเห็นโดจินแปลไทยใช้คำว่า โอนี่จัง) (ฮา)
ส่วนในกรณีของชื่อที่ใช้กันมานาน เช่น โตเกียว โอซาก้า
......อ่า....คิดซะว่าเป็นชื่อเฉพาะสไตล์ไทยเหมือนคำว่า "ญี่ปุ่น" ละกันครับ ^ ^)"
ความเคยชินที่ฝังรากลึกในประเทศไทยมาหลายสิบปี .....ณ จุดนี้เราคงไปแก้ไขอะไรไม่ได้แล้วล่ะครับ OTL
เว้นแต่ทุกฝ่ายตั้งแต่นักเรียน-อาจารย์-กระทรวงฯ มาร่วมด้วยช่วยกันสังคายนา+รณรงค์อย่างจริงจัง....ล่ะมั้ง ?
ขอแสดงความนับถือ
เซเบอร์