น.ส.จริยา สุทธิไชยา เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า สศก.ขอความร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพลังงาน กระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงอุตสาหกรรม และ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ลงพื้นที่สำรวจผลผลิตสินค้าเกษตร และร่วมประเมินสถานการณ์ผลผลิตและราคาสินค้าเกษตร และผลผลิตด้านการเกษตร เพื่อนำมาประเมินตัวเลขเศรษฐกิจภาคเกษตร(จีดีพี)ครึ่งหลังปี2560 เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของราคาในช่วงเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม โดยเฉพาะยางพารา จึงไม่แน่ใจว่าราคาสินค้าเกษตร และรายได้เกษตรกรจะเพิ่มขึ้นอย่างที่ประเมินไว้หรือไม่ หลังจากครึ้งปีแรกจีดีพีภาคเกษตรเติบโตต่อเนื่อง
” เดิมสศก.มองว่าครึ่งหลังปีนี้สถานการณ์ราคาสินค้าเกษตรจะปรับตัวในทิศทางดีขึ้น จนเมื่อมิถุนายน – กรกฎาคม ราคาเกษตรมีการเปลี่ยนแปลง ที่ประเมินไว้อาจคลาดเคลื่อน และอาจทำให้จีดีพีภาคเกษตรเติบโตครึ่งหลังลดลงกว่าเป้าที่วางไว้ 2.5-3.5% ขณะนี้ยอมรับว่าไม่สามารถประเมิน จีดีพีภาคเกษตร ราคาและรายได้ของเกษตรกรปลายปีนี้ได้ เพราะตัวเลขหลายตัวผันผวน แกว่งตัวมาก จากสภาพดินฟ้าอากาศและน้ำที่ดีกว่าปีก่อน ส่งให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นและอาจกระจุกตัว ทำให้ราคาลดลง ยังมีเรื่องเศรษฐกิจโลก และการแข่งขันเพิ่มจากประเทศเพื่อนบ้านพึ่งพาเกษตรในประเทศมากขึ้น ”
สำหรับเรื่องของพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 ที่เลื่อนบังคับใช้อย่างจริงจังไปเป็นวันที่ 1 มรกราคม 2561 สศก.ยอมรับว่ามองผลกระทบยังไม่ชัดเจน เพราะแรงงานต่างด้าวในภาคเกษตรมีเพียงจำนวนหนึ่งเท่านั้น ซึ่งจะมีการลงสำรวจพื้นที่เพาะพืช อาทิ ข้าวยางพารา ปาล์มน้ำมัน ก่อนประเมินผลกระทบ และต้องนำมารวมกับปัจจัยในประเทศ เศรษฐกิจ ราคาน้ำมัน และปัญหาแรงงาน รวมถึงปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ก่อนประกาศจีดีพีภาคเกษตรอีกครั้ง
JJNY : เสดตะกิดดี๊ดี...ซี้จุกสุญ จีดีพีภาคเกษตรป่วน!! สศก.ดึงกระทรวงเกี่ยวข้อง ลงสำรวจพืชเศรษฐกิจ
” เดิมสศก.มองว่าครึ่งหลังปีนี้สถานการณ์ราคาสินค้าเกษตรจะปรับตัวในทิศทางดีขึ้น จนเมื่อมิถุนายน – กรกฎาคม ราคาเกษตรมีการเปลี่ยนแปลง ที่ประเมินไว้อาจคลาดเคลื่อน และอาจทำให้จีดีพีภาคเกษตรเติบโตครึ่งหลังลดลงกว่าเป้าที่วางไว้ 2.5-3.5% ขณะนี้ยอมรับว่าไม่สามารถประเมิน จีดีพีภาคเกษตร ราคาและรายได้ของเกษตรกรปลายปีนี้ได้ เพราะตัวเลขหลายตัวผันผวน แกว่งตัวมาก จากสภาพดินฟ้าอากาศและน้ำที่ดีกว่าปีก่อน ส่งให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นและอาจกระจุกตัว ทำให้ราคาลดลง ยังมีเรื่องเศรษฐกิจโลก และการแข่งขันเพิ่มจากประเทศเพื่อนบ้านพึ่งพาเกษตรในประเทศมากขึ้น ”
สำหรับเรื่องของพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 ที่เลื่อนบังคับใช้อย่างจริงจังไปเป็นวันที่ 1 มรกราคม 2561 สศก.ยอมรับว่ามองผลกระทบยังไม่ชัดเจน เพราะแรงงานต่างด้าวในภาคเกษตรมีเพียงจำนวนหนึ่งเท่านั้น ซึ่งจะมีการลงสำรวจพื้นที่เพาะพืช อาทิ ข้าวยางพารา ปาล์มน้ำมัน ก่อนประเมินผลกระทบ และต้องนำมารวมกับปัจจัยในประเทศ เศรษฐกิจ ราคาน้ำมัน และปัญหาแรงงาน รวมถึงปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ก่อนประกาศจีดีพีภาคเกษตรอีกครั้ง