🎚~มาลาริน~ แรงฉุดไม่อยู่! รัฐบาลลุงตู่ทำได้ค่ะ..คลังเล็งปรับจีดีพีปี 61 เพิ่มเป็น 4.5% ทุบสถิติรอบ 6 ปี


แรงฉุดไม่อยู่! คลังเล็งปรับจีดีพีปี 61 เพิ่มเป็น 4.5% ทุบสถิติรอบ 6 ปี



แรงฉุดไม่อยู่! คลังเล็งปรับประมาณการจีดีพีปี 2561 เพิ่มเป็น 4.5% ทุบสถิติรอบ 6 ปี อานิสงส์รัฐติดเครื่องลงทุนอีอีซี-โครงสร้างพื้นฐาน พ่วงเศรษฐกิจโลกพุ่ง หนุนส่งออกปีนี้ลุ้นโตเกิน 8% พร้อมแจงราคาน้ำมันขยับแรงไม่กระทบคาดการณ์เศรษฐกิจ

24 พ.ค. 61 - นางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังเตรียมปรับประมาณการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจไทยปี 2561 ใหม่ โดยเบื้องต้นคาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 4.5% สูงสุดในรอบ 6 ปี จากปัจจุบันคาดการณ์ที่ 4.2%  หลังสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ประกาศตัวเลขเศรษฐกิจในไตรมาส 1/2561 โตสูงกว่าคาดการณ์ที่ 4.8% จากเดิมกระทรวงการคลังคาดว่าในไตรมาสแรกของปีเศรษฐกิจจะขยายตัวได้ 4%

โดยเป็นผลมาจากปัจจัยสนับสนุนสำคัญเรื่องการเร่งลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ และการเดินหน้าลงทุนในโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ทำให้คาดว่าในปีนี้ภาพรวมการลงทุนของภาครัฐจะขยายตัวได้สูงกว่า 10% จากคาดการณ์เดิมอยู่ที่ 8.9% รวมถึงการส่งออกที่ปีนี้คาดว่าจะขยายตัวได้สูงกว่า 8% ซึ่งเป็นคาดการณ์ปัจจุบัน เนื่องจากแนวโน้มเศรษฐกิจโลกในปีนี้ที่คาดว่าจะขยายตัวได้เป็นอย่างดี

ทั้งนี้ จากการเร่งลงทุนในโครงการต่าง ๆ ของภาครัฐ จะช่วยกระตุ้นความเชื่อมั่นของภาคเอกชน ให้เร่งลงทุนเพิ่มในปีนี้เพิ่มขึ้นได้สูงกว่า 3% ซึ่งปัจจัยนี้จะเป็นอีกกำลังสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศไทยด้วย ส่วนราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นนั้น ยังเป็นเรื่องที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป แต่เบื้องต้นประเมินว่าปัจจัยดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อการปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยในปีนี้อย่างแน่นอน ส่วนทิศทางค่าเงินบาทในขณะนี้มีแนวโน้มอ่อนค่าลงมาใกล้แตะระดับ 32 บาทต่อดอลล่าร์แล้ว ซึ่งดีกว่าคาดการณ์ปัจจุบันที่ 31.50 บาทต่อดอลล่าร์

“ยอมรับว่าทิศทางราคาน้ำมันหลังจากนี้ยังมีโอกาสปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น โดยหากดูรายละเอียดในตลาดล่วงหน้าจะพบว่าแนวโน้มราคามีการเพิ่มสูงขึ้น แต่ไม่ต่อเนื่อง โดยมีโอกาสปรับตัวลดลงได้ในระยะต่อ ๆ ไป ดังนั้นเมื่อมาพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลทำให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวขึ้น จะมาจากการที่สหรัฐฯ คว่ำบาตประเทศอิหร่าน และการลดกำลังการผลิตน้ำมันของประเทศเวเนซูเอล่า โดยในส่วนนี้ยังไม่ใช่ปัจจัยที่มีผลต่อราคาน้ำมันในระยะยาว และยังมีประเด็นเรื่องการปิดซ่อมบำรุงท่อขนส่งน้ำมันของสหรัฐฯ ที่แม้จะยังมีกำลังการผลิตน้ำมันมาก แต่ก็มีปัญหาในเรื่องดังกล่าวอยู่ ดังนั้นคาดว่าเมื่อการปิดซ่อมบำรุงแล้วเสร็จก็จะทำให้มีปริมาณน้ำมันในตลาดโลกเพิ่มขึ้น และราคาน้ำมันจะมีการปรับตัวลดลงในที่สุด” นางสาวกุลยา กล่าว

นางสาวกุลยา กล่าวอีกว่า ยังมีปัจจัยที่ต้องติดตามเนื่องจากมีผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจประเทศ ได้แก่ การเร่งรัดเม็ดเงินลงทุนในโครงการลงทุนต่าง ๆ หากเดินหน้าได้ตามเป้าหมายที่กำหนดก็จะช่วยสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจประเทศ โดยความไม่ล่าช้าของโครงการลงทุนต่าง ๆ จึงกลายเป็นปัจจัยสำคัญ รวมถึงความชัดเจนทางการเมืองก็ยังเป็นอีกปัจจัยที่มีผลต่อการลงทุนของต่างชาติด้วย

https://www.thaipost.net/main/detail/9899



คลังปรับเป้าจีดีพีปี61 ทะยาน4.5%สูงสุดรอบ6ปี

คลังปรับเป้าจีดีพีปี61 ทะยาน 4.5% สูงสุดรอบ 6ปี นับจากปี55 หลังเศรษฐกิจโลกฟื้น ทำส่งออกดี คาดน้ำมันแพงแค่ปัญหาระยะสั้นไม่กระทบเศรษฐกิจ...



น.ส.กุลยา ตันติเตมิท ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังได้ปรับประมาณการขยายตัวเศรษฐกิจใหม่ โดยเพิ่มจากต้นปีที่คาดว่าจะโต 4.2% เพิ่มเป็น 4.5% ซึ่งสูงที่ได้ในรอบ 6 ปีนับจากปี 55 เนื่องจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องการเศรษฐกิจหลายตัวดีกว่าที่คาดไว้ ประกอบกับการประกาศตัวเลขจีดีพีไตรมาส 1 ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ขยายตัวได้ถึง 4.8% สูงกว่าที่คลังคาดไว้ว่าจะโต 4%  จึงทำให้ต้องมีการปรับประมาณการทางเศรษฐกิจใหม่

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยทางเศรษฐกิจหลายตัวที่ปรับดีขึ้น โดยเฉพาะเศรษฐกิจโลก ที่มีความเสี่ยงจากสงครามการค้าโลก ปัญหานิวเคลียร์ในคาบสมุทรเกาหลี การคว่ำบาตรประเทศอิหร่านลดลง  ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะเศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญอย่างสหรัฐ ก็เติบโตสูงกว่าประมาณการ ทั้งสหรัฐอเมริกาโต 2.9% จีนโต 6.8% สิงคโปร์โต 4.4%

สำหรับการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวได้ต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 8% ที่ประกาศไว้เดิม สาเหตุจากทั้งเศรษฐกิจโลกดีขึ้น และค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงจากเดิมที่ประมาณการณ์ว่าค่าเงินปีนี้จะอยู่ที่ 31.5 ดอลลาร์สหรัฐ  แต่หลังจากนี้อาจมีปรับประมาณการใหม่ให้อ่อนค่าลงเล็กน้อย ส่วนปัญหาราคาน้ำมันแพงเป็นปัญหาระยะสั้น และน่าจะลดลงในไม่ช้า เพราะเมื่อดูจากราคาน้ำมันในตลาดซื้อขายล่วงหน้าของไนเมกซ์ปี 62 ราคาน้ำมันอยู่ที่ 64-67 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งต่ำกว่าคาในปัจจุบันอยู่ที่ 77.3 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยคลังประการณ์เฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 66.5 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยจะปรับขึ้นเป็น 67.5 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล สูงขึ้นเล็กน้อยแต่ก็ยังต่ำกว่าราคาปัจจุบัน ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นจึงเป็นปัญหาระยะสั้นไม่กระทบกับการขยายตัวเศรษฐกิจ


อ่านต่อที่ : https://www.dailynews.co.th/economic/645359



“ออมสิน” แจงไตรมาสแรกดัชนีเชื่อมั่นธุรกิจสตาร์ทอัพแกร่ง




“ออมสิน” เปิดผลสำรวจดัชนีเชื่อมั่นผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ ไตรมาส 1/2561 แกร่ง สะท้อนความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์ทางธุรกิจ ชูกลุ่มการเงิน ขนส่ง โลจิสติกส์ การศึกษา และท่องเที่ยวเด่นเข้าตา เหตุมีการนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ด้านการตลาดและการให้บริการ

นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ ธุรกิจ    และเศรษฐกิจฐานราก ธนาคารออมสิน ได้ทำการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ (SSI) เป็นครั้งแรก ประจำไตรมาส 1/2561 ที่ได้ดำเนินการสำรวจจากกกลุ่มผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ ทั่วประเทศจำนวน 423 ตัวอย่าง พบว่า ดัชนี SSI ไตรมาส 1/ 2561 อยู่ที่ระดับ 62.16 ซึ่งสูงกว่าค่ากลางที่ระดับ 50 แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ มีความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์ทางธุรกิจโดยรวมจากปัจจัยด้านผลประกอบการ ด้านการผลิต และด้านคำสั่งซื้อที่อยู่ในระดับดี โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจบริการ เช่น ธุรกิจการเงิน การขนส่งและ โลจิสติกส์ การศึกษา และการท่องเที่ยว เนื่องจากมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในด้านการตลาด และการให้บริการ อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังมีความกังวลเกี่ยวกับต้นทุนของธุรกิจที่ปรับตัวสูงขึ้น

สำหรับดัชนี SSI ในอนาคตอีก 3 เดือนข้างหน้า ผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ มีมุมมองต่อภาวะธุรกิจสตาร์ทอัพในภาพรวมดีขึ้นอยู่ที่ระดับ 67.75 โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากปริมาณการผลิตและคำสั่งซื้อที่ผู้ประกอบการคาดว่าจะมีเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในธุรกิจการแพทย์/สาธารณสุข ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และธุรกิจการเงิน  

อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการยังคาดการณ์ว่าต้นทุนการประกอบการยังไม่น่าจะลดลงจากปัจจุบันเมื่อพิจารณาในแต่ละภาคธุรกิจ ได้แก่ อุตสาหกรรม การเกษตร การค้า และบริการ  พบว่า ผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ ในภาคบริการมีความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์ธุรกิจอยู่ที่ระดับ 68.73 ซึ่งสูงกว่าภาคธุรกิจอื่นที่อยู่ระดับ 57.9-60.5 อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ ยังคงมีข้อจำกัดในการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะจากปัญหาการขาดสภาพคล่อง การเพิ่มขึ้นของต้นทุน และคู่แข่งขัน รวมถึงการขาดแคลนแรงงานที่มีฝีมือและทักษะเฉพาะทาง

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยฯ มองว่ายังมีประเด็นที่ต้องเฝ้าระวังติดตามคือปัจจัยทางด้านต้นทุนของผู้ประกอบการ Startup ที่สูงขึ้น ทั้งจากค่าแรง อุปกรณ์การผลิต ราคาน้ำมัน และค่าขนส่ง อีกทั้งยังมีอุปสรรคที่รอการแก้ไขในด้านกำลังการผลิตที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้สั่งซื้อ นอกจากนี้ผู้ประกอบการ Startup ยังคงต้องการให้ภาครัฐสนับสนุนในด้านเงินทุนหรือร่วมลงทุนเพื่อขยายธุรกิจและลงทุนเพิ่มเติมในด้านเครื่องจักร และอุปกรณ์ อีกทั้งสนับสนุนด้านการหาตลาดและเพิ่มความรู้ด้านเทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานให้ดียิ่งขึ้น

https://www.thaipost.net/main/detail/9860

แค่ไตรมาสแรกจีดีพีก็โตพุ่งแล้วค่ะ  

กว่าจะสิ้นปี จีดีพีอาจปรับขึ้นอีกได้จากผลของการส่งออก ท่องเที่ยว ลงทุนอีอีซี

เป็นเรื่องดีๆของเศรษฐกิจไทยนะคะ


แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่