ทริปภูเขาไฟเซเมรู (Semeru) เป็นส่วนหนึ่งของ ทริปชวาตะวันออก โบรโม่ - เซเมรู - คาวา อิเจียน - บาหลี เดินทางเมื่อ 27 พ.ค. 2560 ถึง 3 มิ.ย. 2560 ในส่วนของโบรโม่ อิเจียน บาหลี อาจมีคนริวิวหลายกระทู้แล้ว กระทู้นี้จะกล่าวถึงเพียงคร่าวๆ จะรีวิวรายละเอียดการขึ้นเขาเซเมรูเป็นหลักนะครับ รูปที่เซเมรูอาจจะมีน้อยเนื่องจากฝนตกและหมอกลง หยิบกล้องออกมาถ่ายรูปไม่ได้ T T
ขอแนะนำภูเขาไฟเซเมรูกันก่อน
ภูเขาไฟเซเมรู (Semeru) คือภูเขาที่สุงที่สุดบนเกาะชวา ตั้งอยู่บริเวณชวาตะวันออก ในอุทยานแห่งชาติ Bromo-Tengger-Semeru ชื่อภูเขาเพี้ยนมาจาก Sumeru (เขาพระสุเมรุ) ตั้งชื่อตามความเชื่อในศาสนาฮินดู มีความสูง 3,676 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล มีอีกชื่อว่า Mahameru (มหาเมรุ) แปลว่า ภูเขาอันยิ่งใหญ่ เป็นภูเขาไฟที่ยังมีพลังอยุ่ ภูเขามีการประทุฝุ่นควันและแก๊สทุกๆ 20 นาที เซเมรูจะปิดเป็นเวลา 3 เดือนเพื่อฟื้นฟูสภาพป่าและความเสี่ยงการเดินป่าเนื่องจากฤดูฝนระหว่างวันที่ 5 มกราคม ถึง 5 เมษายน การเดินขึ้นยอดเขาโดยปกติใช้เวลา 3 วัน 2 คืน แต่ถ้าร่างกายแข็งแรงพอสามารถใช้เวลา 2 วัน 1 คืนได้
ป.ล. เคยมีคนเสียชีวิตจากการเดินขึ้นยอดเขาเซเมรูจากการโดนหินขนาดใหญ่กลิ้งลงมาทับ
ภูเขาลูกหลังที่สูงที่สุดคือ เซเมรู, ปากปล่องที่มีควันพวยพุ่งออกมาคือโบรโม่, ทางขวาของโบรโม่คือภูเขาบาต็อก
ช่วงที่เดินทางเป็นช่วงรอมฎอนพอดีชาวอินโดฯจะท่องเที่ยวน้อยลงมาก สถานที่ท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะเป็นชาวต่างชาติมากกว่า
เริ่มต้นทริปที่สนามบินสุราบายา 22.00 น. ที่สนามบินคนเยอะมากเห็นคนอินโดฯถือกระเป๋าใบใหญ่ๆเข้าใจว่าซื้อของฝากเดินทางกลับบ้านช่วงเดือนรอมฎอนกัน จากนั้นมีรถที่เรานัดไว้มารับเราไปที่พักงีบซักแป๊บประมาณตี 2 ต้องออกเดินทางไปจุดชมวิว Penanjakan ต้องออกเร็วเนื่องจากคนจะเยอะมากๆ ถึงจุดชมวิวประมาณตี 4 ครึ่ง ไม่ผิดหวังเลยครับฟ้าเปิดสวยมาก
ทางช้างเผือกที่โบรโม่
จากนั้นเรานั่งรถจิ๊ปไปฐานของภูเขาโบรโม่เพื่อเดินขึ้นปากปล่องภูเขาไฟ
ภูเขาไฟโบรโม่
ม้าจ้างที่โบรโม่
ช่วงบ่ายเราเดินทางไปยังโรงพยาบาลประจำเมืองเพื่อขอใบรับรองแพทย์ว่าร่างกายพร้อมเดินขึ้นภูเขาไฟ โรงพยาบาลเหมือนสถานีอนามัยของไทย มีหมอประจำอยู่ 1 คน พอได้ใบรับรองแพทย์แล้ว จากนั้นไปยังหมู่บ้าน Ranu Pane เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ทางเริ่มต้นขึ้นเซเมรูจะเริ่มที่นี่ เราพักที่นี่ 1 คืน วันรุ่งขึ้นเริ่มออกเดินทางตั้งแต่ 8 โมงเช้า หมู่บ้าน Ranu Pane เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรปลูกผัก ทั้งกะหล่ำ ต้นหอม มันเทศ ฯลฯ จากโฮมสเตย์ที่เราพักเดินเล่นในหมู่บ้านเราจะเห็นโบร์ถคริสต์ สุเหล่า และวัดฮินดู ในหมู่บ้านจะมีร้านรับจัดทัวร์เซเมรู (ทั้งไกด์และลูกหาบ) ร้านขายอุปกรณ์เดินป่า ใครขาดเหลืออะไรก่อนขึ้นเขาซื้อของที่นี่ได้ กลุ่มของเราจ่ายเหมามาแล้วไกด์จากโบรโม่ส่งเราต่อให้ไกด์ที่ Ranu Pane อีกที ที่นี่ไม่มีสัณญาณมือถือนะครับดับสนิท
แผนการเดินทาง
Ranu Pane → Kalimati (นอน 1 คืน) → Mahameru → Ranu Kumbolo (นอน 1 คืน) → Ranu Pane
จุดเริ่มต้นการเดินขึ้นเซเมรู
ระยะทางจากจุดเริ่มต้นถึง Kalimati 16 ก.ม. โดยจะมีจุดพัก (ศาลาเล็กๆ) 4 จุด จุดสุดท้ายคือทะเลสาบ Renu Kumbolo ระยะทาง 12 ก.ม. เราพักกินข้าวที่นี่ จากจุดนี้หลังกินข้าวเสร็จ ฝนก็เริ่มตก ไกด์ถามเราว่าจะเดินลุยฝนมั้ยอีก 4 ก.ม. จะถึง Kalimati ถ้าไม่ลุยฝนพักที่ Kumbolo คืนนี้ต้องออกเดินทางตั้งแต่ 4 ทุ่ม (ทดเวลาที่เสียไป) เราจึงตัดสินใจเดินต่อไปกางเต็นท์ที่ Kalimati วันนั้นฝนตกติดต่อกัน 10 ช.ม. ตั้งแต่เที่ยงวันจนถึง 4 ทุ่ม ที่ Kalimati มีกลุ่มชาวอินโดฯกลุ่มใหญ่ 2-3 กลุ่ม ข้างๆกับเราเป็นชาวฝรั่งเศส ไกด์บอกว่าปกติมีคนหลายร้อยคนแต่ตอนนี้เป็นเดือนรอมฎอนคนอินโดฯไม่ค่อยเที่ยว คืนนี้นอนเต็นท์ที่นี่ชื้นๆเย็นๆ
ภาพสุดท้ายก่อนจะโดนฝนตก 10 ช.ม.ติดต่อกัน
ตี 1 ไกด์มาปลุกเราเพื่อเริ่มเดินทางขึ้นยอดเขาเซเมรูระยะทาง 4 ก.ม. โดย 3 ก.ม.แรกเป็นการเดินป่าทางจะค่อยๆชันขึ้นเรื่อยๆ ใช้เวลาประมาณ 2 ช.ม. ระยะทาง 900 เมตรสุดท้ายเป็นทางหินกรวดโล่งๆ ชันๆ ไม่มีต้นไม้ ไม่มีที่ให้ยึดเกาะ หินกรวดจะร่วนๆ เวลาเหยียบไป 1 ก้าวจะไถลลงมาครึ่งก้าว ต้องค่อยๆก้าวขึ้นไป ระยะนี้ใช้เวลา 4 ช.ม. (900 เมตรนี่แหละครับ T T) ตอนใกล้จะถึงยอดเหนื่อยและหมดแรงมาก อากาศหนาว ลมแรง หมอกลงจัด มองกลับลงไปเราเดินขึ้นมาเหนือเมฆแล้ว ดีที่ไกด์เชียร์เราตลอด ในที่สุดก็มาถึงยอดเขา เฮ
ที่ยอดเขาเราโชคไม่ดีหน่อย ฟ้าปิด ไม่เห็นพระอาทิตย์ขึ้น หมอกหนา มีฝนตกเล็กน้อย อุณหภูมิที่ยอดเขาน้อยกว่า 10 องศา ที่ยอดเขาเราจะเห็นปากปล่องภูเขาไฟอยู่ข้างๆห่างไปประมาณ 400 เมตร (แต่ห้ามเข้าใกล้) ทุก 20 นาทีเราจะเห็นภูเขาไฟประทุฝุ่นควันออกมา เราอยู่ข้างบนประมาณ 40 นาทีก็เดินลง
ปากปล่องภูเขาไฟ
การประทุฝุ่นควันและแก๊สจากปากปล่อง
อย่างที่กล่าวไปแล้วว่ายอดเขามันเป็นหินกรวดร่วนๆ ชันๆ ตอนขึ้นใช้เวลาไป ช.ม. แต่ตอนลงคือไถลลง เหยียบไป 1 ก้าว ไถลลงไปอีก 2 ก้าว ล้มไปสองสามครั้ง มือถลอกเล็กน้อย ตอนลง 900 เมตรใช้เวลา 40 นาทีเอง (ตรงนี้เองที่มีคนเคยเสียชีวิตเนื่องจากหินก้อนใหญ่กลิ่งลงไปทับคนข้างล่าง) จากนั้นก็เดินป่ากลับ Kalimati
เราพักกินข้าวเช้า+เที่ยงประมาณ 10 โมงที่ Kalimati และออกเดินกลับไปที่ Ranu Kumbolo เพื่อกางเต้นพักอีก 1 คืน วันนี้ก็เช่นกัน หลังเที่ยงฝนตกอีกแล้ว เดินตากฝนต่อ ฝนหยุดตกประมาณ 2 ทุ่ม
ที่กางเต็นท์ที่ Renu Kumbolo
วันสุดท้ายที่เซเมรูเช้านี้อากาศดี เราสามารถมองกลับไปเห็นยอดเขาเซเมรูที่เราเพิ่งเดินลงมาเมื่อวานได้ เรามีเวลาถ่ายรูปเล่นเก็บกระเป๋าแล้วเดินกลับประมาณ 10 โมงเช้า ถึง Renu Pane บ่าย 2 อีกเหมือนเดิม ตอนบ่ายฝนตกเราต้องเดินตากฝนอีกแล้ว
ระหว่างทางมองไปที่ยอดเขาจะเห็นการประทุเป็นระยะๆ
สุดท้ายถึงหมู่บ้าน Ranu Pane โดยสวัสดิภาพ ไกด์และลูกหาบน่ารักมาก ตลอดทางมีผลไม้ ขนม กาแฟไม่ขาด ไกด์จากโบรโม่มารับเรากลับไปที่โบรโม่ ก่อนเดินทางต่อไปที่น้ำตก Madakaripura และ Kawah Ijen
น้ำตก Madakaripura
Kawah Ijen
สรุปการเดินขึ้นเขาไฟเซเมรู
- สมรรถภาพร่างกายควรดีถึงดีมาก
- Trekking pole มีประโยชน์มาก
- ต้องมีเสื้อกันฝน ที่นี่ฝนตกแบบคาดเดาไม่ได้
- อากาศหนาวมาก บนยอดเขาต่ำสิบองศา เตรียมเสื้อกันหนาวไปให้พอ
หมายเหตุ - ทริปนี้ใช้บริการ Tommy : blueisland_024@yahoo.com
- กรณีมีวันน้อยและร่างกายแข็งแรงพอ วันที่เดินลงจากยอดเขาสามารถเดินกลับ Renu Pane ได้เลยโดยไม่ต้องค้างอีกหนึ่งคืน
สู่จุดสูงสุดของเกาะชวา Mahameru (CR)
ขอแนะนำภูเขาไฟเซเมรูกันก่อน
ภูเขาไฟเซเมรู (Semeru) คือภูเขาที่สุงที่สุดบนเกาะชวา ตั้งอยู่บริเวณชวาตะวันออก ในอุทยานแห่งชาติ Bromo-Tengger-Semeru ชื่อภูเขาเพี้ยนมาจาก Sumeru (เขาพระสุเมรุ) ตั้งชื่อตามความเชื่อในศาสนาฮินดู มีความสูง 3,676 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล มีอีกชื่อว่า Mahameru (มหาเมรุ) แปลว่า ภูเขาอันยิ่งใหญ่ เป็นภูเขาไฟที่ยังมีพลังอยุ่ ภูเขามีการประทุฝุ่นควันและแก๊สทุกๆ 20 นาที เซเมรูจะปิดเป็นเวลา 3 เดือนเพื่อฟื้นฟูสภาพป่าและความเสี่ยงการเดินป่าเนื่องจากฤดูฝนระหว่างวันที่ 5 มกราคม ถึง 5 เมษายน การเดินขึ้นยอดเขาโดยปกติใช้เวลา 3 วัน 2 คืน แต่ถ้าร่างกายแข็งแรงพอสามารถใช้เวลา 2 วัน 1 คืนได้
ป.ล. เคยมีคนเสียชีวิตจากการเดินขึ้นยอดเขาเซเมรูจากการโดนหินขนาดใหญ่กลิ้งลงมาทับ
ภูเขาลูกหลังที่สูงที่สุดคือ เซเมรู, ปากปล่องที่มีควันพวยพุ่งออกมาคือโบรโม่, ทางขวาของโบรโม่คือภูเขาบาต็อก
ช่วงที่เดินทางเป็นช่วงรอมฎอนพอดีชาวอินโดฯจะท่องเที่ยวน้อยลงมาก สถานที่ท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะเป็นชาวต่างชาติมากกว่า
เริ่มต้นทริปที่สนามบินสุราบายา 22.00 น. ที่สนามบินคนเยอะมากเห็นคนอินโดฯถือกระเป๋าใบใหญ่ๆเข้าใจว่าซื้อของฝากเดินทางกลับบ้านช่วงเดือนรอมฎอนกัน จากนั้นมีรถที่เรานัดไว้มารับเราไปที่พักงีบซักแป๊บประมาณตี 2 ต้องออกเดินทางไปจุดชมวิว Penanjakan ต้องออกเร็วเนื่องจากคนจะเยอะมากๆ ถึงจุดชมวิวประมาณตี 4 ครึ่ง ไม่ผิดหวังเลยครับฟ้าเปิดสวยมาก
ทางช้างเผือกที่โบรโม่
จากนั้นเรานั่งรถจิ๊ปไปฐานของภูเขาโบรโม่เพื่อเดินขึ้นปากปล่องภูเขาไฟ
ภูเขาไฟโบรโม่
ม้าจ้างที่โบรโม่
ช่วงบ่ายเราเดินทางไปยังโรงพยาบาลประจำเมืองเพื่อขอใบรับรองแพทย์ว่าร่างกายพร้อมเดินขึ้นภูเขาไฟ โรงพยาบาลเหมือนสถานีอนามัยของไทย มีหมอประจำอยู่ 1 คน พอได้ใบรับรองแพทย์แล้ว จากนั้นไปยังหมู่บ้าน Ranu Pane เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ทางเริ่มต้นขึ้นเซเมรูจะเริ่มที่นี่ เราพักที่นี่ 1 คืน วันรุ่งขึ้นเริ่มออกเดินทางตั้งแต่ 8 โมงเช้า หมู่บ้าน Ranu Pane เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรปลูกผัก ทั้งกะหล่ำ ต้นหอม มันเทศ ฯลฯ จากโฮมสเตย์ที่เราพักเดินเล่นในหมู่บ้านเราจะเห็นโบร์ถคริสต์ สุเหล่า และวัดฮินดู ในหมู่บ้านจะมีร้านรับจัดทัวร์เซเมรู (ทั้งไกด์และลูกหาบ) ร้านขายอุปกรณ์เดินป่า ใครขาดเหลืออะไรก่อนขึ้นเขาซื้อของที่นี่ได้ กลุ่มของเราจ่ายเหมามาแล้วไกด์จากโบรโม่ส่งเราต่อให้ไกด์ที่ Ranu Pane อีกที ที่นี่ไม่มีสัณญาณมือถือนะครับดับสนิท
แผนการเดินทาง
Ranu Pane → Kalimati (นอน 1 คืน) → Mahameru → Ranu Kumbolo (นอน 1 คืน) → Ranu Pane
จุดเริ่มต้นการเดินขึ้นเซเมรู
ระยะทางจากจุดเริ่มต้นถึง Kalimati 16 ก.ม. โดยจะมีจุดพัก (ศาลาเล็กๆ) 4 จุด จุดสุดท้ายคือทะเลสาบ Renu Kumbolo ระยะทาง 12 ก.ม. เราพักกินข้าวที่นี่ จากจุดนี้หลังกินข้าวเสร็จ ฝนก็เริ่มตก ไกด์ถามเราว่าจะเดินลุยฝนมั้ยอีก 4 ก.ม. จะถึง Kalimati ถ้าไม่ลุยฝนพักที่ Kumbolo คืนนี้ต้องออกเดินทางตั้งแต่ 4 ทุ่ม (ทดเวลาที่เสียไป) เราจึงตัดสินใจเดินต่อไปกางเต็นท์ที่ Kalimati วันนั้นฝนตกติดต่อกัน 10 ช.ม. ตั้งแต่เที่ยงวันจนถึง 4 ทุ่ม ที่ Kalimati มีกลุ่มชาวอินโดฯกลุ่มใหญ่ 2-3 กลุ่ม ข้างๆกับเราเป็นชาวฝรั่งเศส ไกด์บอกว่าปกติมีคนหลายร้อยคนแต่ตอนนี้เป็นเดือนรอมฎอนคนอินโดฯไม่ค่อยเที่ยว คืนนี้นอนเต็นท์ที่นี่ชื้นๆเย็นๆ
ภาพสุดท้ายก่อนจะโดนฝนตก 10 ช.ม.ติดต่อกัน
ตี 1 ไกด์มาปลุกเราเพื่อเริ่มเดินทางขึ้นยอดเขาเซเมรูระยะทาง 4 ก.ม. โดย 3 ก.ม.แรกเป็นการเดินป่าทางจะค่อยๆชันขึ้นเรื่อยๆ ใช้เวลาประมาณ 2 ช.ม. ระยะทาง 900 เมตรสุดท้ายเป็นทางหินกรวดโล่งๆ ชันๆ ไม่มีต้นไม้ ไม่มีที่ให้ยึดเกาะ หินกรวดจะร่วนๆ เวลาเหยียบไป 1 ก้าวจะไถลลงมาครึ่งก้าว ต้องค่อยๆก้าวขึ้นไป ระยะนี้ใช้เวลา 4 ช.ม. (900 เมตรนี่แหละครับ T T) ตอนใกล้จะถึงยอดเหนื่อยและหมดแรงมาก อากาศหนาว ลมแรง หมอกลงจัด มองกลับลงไปเราเดินขึ้นมาเหนือเมฆแล้ว ดีที่ไกด์เชียร์เราตลอด ในที่สุดก็มาถึงยอดเขา เฮ
ที่ยอดเขาเราโชคไม่ดีหน่อย ฟ้าปิด ไม่เห็นพระอาทิตย์ขึ้น หมอกหนา มีฝนตกเล็กน้อย อุณหภูมิที่ยอดเขาน้อยกว่า 10 องศา ที่ยอดเขาเราจะเห็นปากปล่องภูเขาไฟอยู่ข้างๆห่างไปประมาณ 400 เมตร (แต่ห้ามเข้าใกล้) ทุก 20 นาทีเราจะเห็นภูเขาไฟประทุฝุ่นควันออกมา เราอยู่ข้างบนประมาณ 40 นาทีก็เดินลง
ปากปล่องภูเขาไฟ
การประทุฝุ่นควันและแก๊สจากปากปล่อง
อย่างที่กล่าวไปแล้วว่ายอดเขามันเป็นหินกรวดร่วนๆ ชันๆ ตอนขึ้นใช้เวลาไป ช.ม. แต่ตอนลงคือไถลลง เหยียบไป 1 ก้าว ไถลลงไปอีก 2 ก้าว ล้มไปสองสามครั้ง มือถลอกเล็กน้อย ตอนลง 900 เมตรใช้เวลา 40 นาทีเอง (ตรงนี้เองที่มีคนเคยเสียชีวิตเนื่องจากหินก้อนใหญ่กลิ่งลงไปทับคนข้างล่าง) จากนั้นก็เดินป่ากลับ Kalimati
เราพักกินข้าวเช้า+เที่ยงประมาณ 10 โมงที่ Kalimati และออกเดินกลับไปที่ Ranu Kumbolo เพื่อกางเต้นพักอีก 1 คืน วันนี้ก็เช่นกัน หลังเที่ยงฝนตกอีกแล้ว เดินตากฝนต่อ ฝนหยุดตกประมาณ 2 ทุ่ม
ที่กางเต็นท์ที่ Renu Kumbolo
วันสุดท้ายที่เซเมรูเช้านี้อากาศดี เราสามารถมองกลับไปเห็นยอดเขาเซเมรูที่เราเพิ่งเดินลงมาเมื่อวานได้ เรามีเวลาถ่ายรูปเล่นเก็บกระเป๋าแล้วเดินกลับประมาณ 10 โมงเช้า ถึง Renu Pane บ่าย 2 อีกเหมือนเดิม ตอนบ่ายฝนตกเราต้องเดินตากฝนอีกแล้ว
ระหว่างทางมองไปที่ยอดเขาจะเห็นการประทุเป็นระยะๆ
สุดท้ายถึงหมู่บ้าน Ranu Pane โดยสวัสดิภาพ ไกด์และลูกหาบน่ารักมาก ตลอดทางมีผลไม้ ขนม กาแฟไม่ขาด ไกด์จากโบรโม่มารับเรากลับไปที่โบรโม่ ก่อนเดินทางต่อไปที่น้ำตก Madakaripura และ Kawah Ijen
น้ำตก Madakaripura
Kawah Ijen
สรุปการเดินขึ้นเขาไฟเซเมรู
- สมรรถภาพร่างกายควรดีถึงดีมาก
- Trekking pole มีประโยชน์มาก
- ต้องมีเสื้อกันฝน ที่นี่ฝนตกแบบคาดเดาไม่ได้
- อากาศหนาวมาก บนยอดเขาต่ำสิบองศา เตรียมเสื้อกันหนาวไปให้พอ
หมายเหตุ - ทริปนี้ใช้บริการ Tommy : blueisland_024@yahoo.com
- กรณีมีวันน้อยและร่างกายแข็งแรงพอ วันที่เดินลงจากยอดเขาสามารถเดินกลับ Renu Pane ได้เลยโดยไม่ต้องค้างอีกหนึ่งคืน