การประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)เมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมาธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจปีนี้เพิ่มเป็น 3.4% จากที่คาดไว้ 3.2%เนื่องจากเห็นว่าเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวกระจายตัวมากขึ้น โดยปัจจัยขับเคลื่อนหลักยังมาจากการใช้จ่ายภาครัฐ การท่องเที่ยว โดยเฉพาะการฟื้นของภาคส่งออก จึงได้ปรับเป้าทั้งปีเป็น 2.2% แต่ยังให้นํ้าหนักปัจจัยเสี่ยงจากต่างประเทศที่ต้องติดตามต่ออย่างใกล้ชิด ผลนโยบายเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐฯ การเมืองการเงินยุโรปและเสถียรภาพการเงินในจีน
จับตา3จุดเสี่ยง
ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์ประเมินว่าไตรมาสแรกจีดีพีมีโอกาสโตเกินกว่า3%และคาดว่าทั้งปีเศรษฐกิจจะทรงตัวใกล้เคียงกับปีที่แล้วโดยเฉพาะความไม่แน่นอนจากปัจจัยต่างประเทศที่เสี่ยงสูง3ตัวแปรคือ
1. นโยบายประธานาธิบดีสหรัฐ “โดนัลด์ ทรัมป์” ,
2. ความเสี่ยงการเมืองของ 2 ประเทศสมาชิกและเป็นผู้ก่อตั้งอียูคือฝรั่งเศสและอิตาลีจากการที่คะแนนเสียงของพรรคการเมืองขวาจัด เริ่มมากขึ้นโดยประเทศฝรั่งเศสจะมีการเลือกตั้งในเดือนเมษายน-พฤษภาคมและอิตาลีแม้จะไม่มีการเลือกตั้งแต่ถูกกดดันให้มีการเลือกตั้งในปีนี้ซึ่งพรรคการเมืองกลุ่มขวาจัดของทั้ง2ประเทศมีเป้าหมายเดียวคือต้องการถอนตัวจากสกุลเงินยูโรและการเป็นประเทศสมาชิกอียู
3. การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนประเทศกำลังซื้อหลักของโลก อย่างต่อเนื่องในช่วง 4- 5ปีโดยปีที่แล้วจีดีพีจีนขยายตัว 6.7 % (ลดจากที่โต 6.9%ในปี 2558 และ 7.3% ในปี2557 ) และปีนี้คาดจะโตเพียง 6.5 %
นาย
สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์และการเมืองกล่าวกับ“
ฐานเศรษฐกิจ”ว่านโยบายทรัมป์3เรื่องที่ประกาศช่วงหาเสียงว่าจะทำใน 100 วันคือ
1.กระตุ้นโครงการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน
2.ลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีนิติบุคคลและ
3.การแก้ไขกฎระเบียบเพื่อส่งเสริมการลงทุนในประเทศถึงวันนี้ยังไม่มีอะไรออกมาเป็นรูปธรรมล่าสุดคือการผลักดันร่างกฎหมายการรักษาพยาบาลของสหรัฐฯ (American Healthcare Act หรือ AHCA) ที่จะมาใช้แทน “โอบามาแคร์”Affordable Care Act (ACA) ก็ไม่ผ่านเพราะได้เสียงเพียง218เสียงจากทั้งหมด 435 เสียง
คำถามคือ ทรัมป์จะทำได้ตามสัญญาที่หาเสียงไว้หรือไม่เพราะนโยบายต่างๆต้องผ่านสภาหากเป็นเช่นนั้นเศรษฐกิจโลกอาจไม่ดีเหมือนอย่างที่คาดเพราะประเมินว่านโยบายทรัมป์จะทำให้เศรษฐกิจสหรัฐปีนี้ขยายตัว2.2%จาก1.6 % ในปีที่แล้วและมีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจโลกขยายตัวดีขึ้น 0.2-0.3% หรือเป็น 3.3-3.4 % จากปีที่แล้วที่โต 3.1%
ครึ่งทางทรัมป์ยังทำได้
“ปัจจัยเสี่ยงทั้ง 3 ตัวถ้ามาพร้อมกันก็น่าห่วงว่าจะกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและเชื่อมโยงถึงเศรษฐกิจไทยที่คาดกันว่าส่งออกไทยปีนี้จะโตได้3-5% (เป้าหมายกระทรวงพาณิชย์ ) ผมเป็นห่วงว่านอกจากไม่โตแล้วยังอาจทำให้ส่งออกไทยปีนี้ติดลบด้วยซ้ำ “ นาย
สมชายให้ความเห็น
ส่วนปัจจัยเสี่ยงในประเทศขึ้นอยู่กับว่า รัฐบาลจะเร่งการลงทุนในโครงการสาธารณูปโภควงเงินกว่า 9 แสนล้านบาทได้เร็วตามกำหนดหรือไม่
ด้านนาย
สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดีสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์มีมุมมองว่า ปัญหาในสหรัฐฯขณะนี้เต็มไปด้วยความสับสนคนอเมริกันคาดหวังว่าทรัมป์จะเดินหน้าลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีนิติบุคคลเป็นอันดับแรกแต่กลับเลือกให้ความสำคัญร่างกฎหมายรักษาพยาบาลหรือAHCA ก่อนและใช้นโยบายภาษีเป็นตัวต่อรองเมื่อก้าวแรกไม่สำเร็จการจะทำงานเชิงรุกในนโยบายสำคัญๆต่อไปจะเริ่มอ่อนแอลงคนเริ่มขาดความเชื่อมั่นเช่นนโยบายลดภาษีนโยบายโครงสร้างพื้นฐานและการลดกฏเกณฑ์เพื่อเปิดเสรี
“ถ้านโยบายหลายเรื่องของทรัมป์ไม่ผ่านย่อมส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกแน่นอนเพราะจีดีพีสหรัฐฯมีสัดส่วนเป็น23 % ของจีดีพีโลกทั้งผลต่อเศรษฐกิจที่แท้จริงการค้าการลงทุนระหว่างประเทศและกระทบต่อตลาดเงินโลกกระแสทุนเคลื่อนย้าย”
ลงทุนเอกชน”ฟื้นไม่เต็มที่
อีกปัจจัยเสี่ยงที่จะมีผลต่อทิศทางเศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปี คือ การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน นาย
พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ภัทรฯกล่าวว่า ที่กังวลเป็นครึ่งปีหลังมากกว่า ในเรื่องนโยบายการค้ากับสหรัฐฯ หากมีการใช้นโยบายกีดกันการนำเข้าจะทำให้ค้าโลกชะลอกระทบต่อการค้าของไทย ซึ่งเราประเมินว่าส่งออกจะโตแค่ 0.5-1.50% จีดีพีทั้งปีโต 3.2% โดยมองเศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงมากกว่าที่คาด เนื่องจากการบริโภคที่มีสัดส่วนต่อจีดีพี ถึง 52% และการลงทุนภาคเอกชนยังไม่ฟื้นชัดเจนโดยการบริโภคแม้จะดีขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว แต่ฟื้นในกรอบตํ่า 2.5-3.0% “ไอเอ็มเอฟ เตือนเรื่องที่ไทยเกินดุลสะพัดค่อนข้างมาก (ก.พ.60 เกินดุล 5.74 พันล้านดอลลาร์)คือไทยยังมีเงินออมเหลือเยอะเพราะการบริโภคและการลงทุนตํ่าตัวเลข FDI ยังน้อยกว่าที่คนไทยไปลงทุนในต่างประเทศ และหากเป็นเช่นนี้นานเข้าเศรษฐกิจไทยจะโตช้าเหมือนกรณีของญี่ปุ่น”
เศรษฐกิจไทยเพิ่งเดินทางมา 1 ไตรมาส ปัจจัยขับเคลื่อน นอกเหนือจากการลงทุนภาครัฐ ท่องเที่ยว ยังต้องลุ้นว่าตัวแปรสำคัญจากต่างประเทศจะสร้างแรงกระเพื่อมต่อเศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือขนาดไหนและอย่างไร?
JJNY : เสดตะกิดดี๊ดี..ซี้จุกสูญ ชี้ 3 ปัจจัยต่างประเทศ เติมความเสี่ยงเศรษฐกิจไทย
การประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)เมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมาธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจปีนี้เพิ่มเป็น 3.4% จากที่คาดไว้ 3.2%เนื่องจากเห็นว่าเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวกระจายตัวมากขึ้น โดยปัจจัยขับเคลื่อนหลักยังมาจากการใช้จ่ายภาครัฐ การท่องเที่ยว โดยเฉพาะการฟื้นของภาคส่งออก จึงได้ปรับเป้าทั้งปีเป็น 2.2% แต่ยังให้นํ้าหนักปัจจัยเสี่ยงจากต่างประเทศที่ต้องติดตามต่ออย่างใกล้ชิด ผลนโยบายเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐฯ การเมืองการเงินยุโรปและเสถียรภาพการเงินในจีน
จับตา3จุดเสี่ยง
ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์ประเมินว่าไตรมาสแรกจีดีพีมีโอกาสโตเกินกว่า3%และคาดว่าทั้งปีเศรษฐกิจจะทรงตัวใกล้เคียงกับปีที่แล้วโดยเฉพาะความไม่แน่นอนจากปัจจัยต่างประเทศที่เสี่ยงสูง3ตัวแปรคือ
1. นโยบายประธานาธิบดีสหรัฐ “โดนัลด์ ทรัมป์” ,
2. ความเสี่ยงการเมืองของ 2 ประเทศสมาชิกและเป็นผู้ก่อตั้งอียูคือฝรั่งเศสและอิตาลีจากการที่คะแนนเสียงของพรรคการเมืองขวาจัด เริ่มมากขึ้นโดยประเทศฝรั่งเศสจะมีการเลือกตั้งในเดือนเมษายน-พฤษภาคมและอิตาลีแม้จะไม่มีการเลือกตั้งแต่ถูกกดดันให้มีการเลือกตั้งในปีนี้ซึ่งพรรคการเมืองกลุ่มขวาจัดของทั้ง2ประเทศมีเป้าหมายเดียวคือต้องการถอนตัวจากสกุลเงินยูโรและการเป็นประเทศสมาชิกอียู
3. การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนประเทศกำลังซื้อหลักของโลก อย่างต่อเนื่องในช่วง 4- 5ปีโดยปีที่แล้วจีดีพีจีนขยายตัว 6.7 % (ลดจากที่โต 6.9%ในปี 2558 และ 7.3% ในปี2557 ) และปีนี้คาดจะโตเพียง 6.5 %
นายสมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์และการเมืองกล่าวกับ“ฐานเศรษฐกิจ”ว่านโยบายทรัมป์3เรื่องที่ประกาศช่วงหาเสียงว่าจะทำใน 100 วันคือ
1.กระตุ้นโครงการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน
2.ลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีนิติบุคคลและ
3.การแก้ไขกฎระเบียบเพื่อส่งเสริมการลงทุนในประเทศถึงวันนี้ยังไม่มีอะไรออกมาเป็นรูปธรรมล่าสุดคือการผลักดันร่างกฎหมายการรักษาพยาบาลของสหรัฐฯ (American Healthcare Act หรือ AHCA) ที่จะมาใช้แทน “โอบามาแคร์”Affordable Care Act (ACA) ก็ไม่ผ่านเพราะได้เสียงเพียง218เสียงจากทั้งหมด 435 เสียง
คำถามคือ ทรัมป์จะทำได้ตามสัญญาที่หาเสียงไว้หรือไม่เพราะนโยบายต่างๆต้องผ่านสภาหากเป็นเช่นนั้นเศรษฐกิจโลกอาจไม่ดีเหมือนอย่างที่คาดเพราะประเมินว่านโยบายทรัมป์จะทำให้เศรษฐกิจสหรัฐปีนี้ขยายตัว2.2%จาก1.6 % ในปีที่แล้วและมีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจโลกขยายตัวดีขึ้น 0.2-0.3% หรือเป็น 3.3-3.4 % จากปีที่แล้วที่โต 3.1%
ครึ่งทางทรัมป์ยังทำได้
“ปัจจัยเสี่ยงทั้ง 3 ตัวถ้ามาพร้อมกันก็น่าห่วงว่าจะกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและเชื่อมโยงถึงเศรษฐกิจไทยที่คาดกันว่าส่งออกไทยปีนี้จะโตได้3-5% (เป้าหมายกระทรวงพาณิชย์ ) ผมเป็นห่วงว่านอกจากไม่โตแล้วยังอาจทำให้ส่งออกไทยปีนี้ติดลบด้วยซ้ำ “ นายสมชายให้ความเห็น
ส่วนปัจจัยเสี่ยงในประเทศขึ้นอยู่กับว่า รัฐบาลจะเร่งการลงทุนในโครงการสาธารณูปโภควงเงินกว่า 9 แสนล้านบาทได้เร็วตามกำหนดหรือไม่
ด้านนายสมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดีสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์มีมุมมองว่า ปัญหาในสหรัฐฯขณะนี้เต็มไปด้วยความสับสนคนอเมริกันคาดหวังว่าทรัมป์จะเดินหน้าลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีนิติบุคคลเป็นอันดับแรกแต่กลับเลือกให้ความสำคัญร่างกฎหมายรักษาพยาบาลหรือAHCA ก่อนและใช้นโยบายภาษีเป็นตัวต่อรองเมื่อก้าวแรกไม่สำเร็จการจะทำงานเชิงรุกในนโยบายสำคัญๆต่อไปจะเริ่มอ่อนแอลงคนเริ่มขาดความเชื่อมั่นเช่นนโยบายลดภาษีนโยบายโครงสร้างพื้นฐานและการลดกฏเกณฑ์เพื่อเปิดเสรี
“ถ้านโยบายหลายเรื่องของทรัมป์ไม่ผ่านย่อมส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกแน่นอนเพราะจีดีพีสหรัฐฯมีสัดส่วนเป็น23 % ของจีดีพีโลกทั้งผลต่อเศรษฐกิจที่แท้จริงการค้าการลงทุนระหว่างประเทศและกระทบต่อตลาดเงินโลกกระแสทุนเคลื่อนย้าย”
ลงทุนเอกชน”ฟื้นไม่เต็มที่
อีกปัจจัยเสี่ยงที่จะมีผลต่อทิศทางเศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปี คือ การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน นายพิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ภัทรฯกล่าวว่า ที่กังวลเป็นครึ่งปีหลังมากกว่า ในเรื่องนโยบายการค้ากับสหรัฐฯ หากมีการใช้นโยบายกีดกันการนำเข้าจะทำให้ค้าโลกชะลอกระทบต่อการค้าของไทย ซึ่งเราประเมินว่าส่งออกจะโตแค่ 0.5-1.50% จีดีพีทั้งปีโต 3.2% โดยมองเศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงมากกว่าที่คาด เนื่องจากการบริโภคที่มีสัดส่วนต่อจีดีพี ถึง 52% และการลงทุนภาคเอกชนยังไม่ฟื้นชัดเจนโดยการบริโภคแม้จะดีขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว แต่ฟื้นในกรอบตํ่า 2.5-3.0% “ไอเอ็มเอฟ เตือนเรื่องที่ไทยเกินดุลสะพัดค่อนข้างมาก (ก.พ.60 เกินดุล 5.74 พันล้านดอลลาร์)คือไทยยังมีเงินออมเหลือเยอะเพราะการบริโภคและการลงทุนตํ่าตัวเลข FDI ยังน้อยกว่าที่คนไทยไปลงทุนในต่างประเทศ และหากเป็นเช่นนี้นานเข้าเศรษฐกิจไทยจะโตช้าเหมือนกรณีของญี่ปุ่น”
เศรษฐกิจไทยเพิ่งเดินทางมา 1 ไตรมาส ปัจจัยขับเคลื่อน นอกเหนือจากการลงทุนภาครัฐ ท่องเที่ยว ยังต้องลุ้นว่าตัวแปรสำคัญจากต่างประเทศจะสร้างแรงกระเพื่อมต่อเศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือขนาดไหนและอย่างไร?