SCBx ทิ้งธนาคารไว้ข้างหลัง มุ่งสู่บริษัทเทคฯ



ธุรกิจแบงก์ไม่ยั่งยืน ]
.
ถามว่า ทำไมต้องทำแบบนี้ จะเห็นว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เราถือเป็น 'ผู้มาก่อนกาล' ของกลุ่ม (ธนาคาร) ในหลายๆ ครั้ง ซึ่งการมาก่อนกาลก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย มีการลองผิดลองถูก เพราะไม่ใช่ทุกอย่างที่เราทำแล้วจะสำเร็จ
.
แต่มันเป็นเหมือนดีเอ็นเอขององค์กร เราเป็นคนที่พยายาม 'ทำ' ก่อนที่จะถูกสถานการณ์มา 'กระทำ' เรา
.
อย่างเช่นวันนี้ที่นักเศรษฐศาสตร์ของเราเล่าว่าเป็น 'โลก 2 ใบ' ที่การกลับมาของเศรษฐกิจมันไม่ทั่วถึงและไม่เท่าเทียม ตอนนี้ขีดความสามารถของประเทศไทยวันนี้ จีดีพีโตบางๆ มาหลายปีมาก
.
และในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เช่น ตลาดหุ้นเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา ก็เท่ากับตลาดหุ้นวันนี้ มันสะท้อนว่า เศรษฐกิจไม่โต พอเศรษฐกิจไม่โต โอกาสที่ธนาคาร ซึ่งเป็นตัวสะท้อนเศรษฐกิจจะโต มันไม่มีทาง มันเป็นไปไม่ได้
.
ฉะนั้น มันก็มีคำถามตามมาว่า 'ทำอย่างไรให้องค์กรยั่งยืน'
.
ประกอบกับวันนี้ ประเทศไทยที่เรามองว่าแย่ ในอนาคต หากไม่ปรับเปลี่ยนจะแย่กว่านี้อีก คอนเซปต์ของสังคมสูงวัย (Aging Society) คือเรียลมากๆ เฉลี่ยคนไทยอายุประมาณ 40 ปี แต่เวียดนามกับอินโดนีเซีย ค่าเฉลี่ยอายุคือ 28-29 ปี
.
คือถ้าแรงงาน (Workforce) เขาต่างกับเราตั้ง 12 ปี เราเข้าสู่การเกษียณ แต่เขายังทำงานกันอยู่ โครงสร้างเศรษฐกิจของเราดูจะท้าทายมาก
.
พอเป็นแบบนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือว่า ถ้าธนาคารบอกว่า เราก็ไปกับเศรษฐกิจของประเทศไทยเพียงอย่างเดียว เราถ้าเศรษฐกิจมันอยู่นิ่งๆ หรือลง ธนาคารในระยะยาวก็จะไม่แข็งแรง ซึ่งถ้าธนาคารไม่แข็งแรง โอกาสที่จะทำให้เป็นบริษัทที่ยั่งยืนก็แทบจะไม่มี
.
บวกกับมองไปข้างหน้า เทคโนโลยีเข้ามา ตัวทดแทนมีเยอะแยะไปหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของปัญญาประดิษฐ์ (AI) และฟินเทค (FinTech) ก็เข้ามากระทบภาพรวมของธนาคาร จึงเป็นที่มาที่ไปว่า เอางี้...
.
ธนาคารมีหน้าที่เติบโตอย่างยั่งยืน ค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป อย่ารับความเสี่ยงเยอะจนเกินไป ลงทุนให้เหมาะสม ค่อยๆ โตไป
.
ส่วนเรื่องที่ต้องไปหาการเติบโตรูปแบบใหม่ ก็คือ Gen 2 ระยะสั้น Gen 3 ระยะยาว ทั้งในธุรกิจที่อยู่ใกล้ๆ ธนาคาร เช่น เราไม่เคยทำสินเชื่อจำนำทะเบียน (Title Loan) วันนี้ก็จัดการทำ Title Loan ออกมา ซึ่งถ้าทำในแบงก์ ไม่มีทางเกิด
.
หรือธุรกิจในต่างประเทศ ซึ่งเราอยู่ในความเชื่อที่ว่า มันไม่จำเป็นต้องทำเองทั้งหมด เพราะเราไม่สามารถที่จะมีขีดความสามารถในการทำแบบนั้นได้ บางครั้งเราก็ไปกับพาร์ทเนอร์ หรือแม้แต่ธุรกิจใหม่ที่เราไม่คุ้นเคยในเมืองไทย เราก็ต้องทำกับพาร์ทเนอร์

https://www.facebook.com/share/15TJqcmAvq/?mibextid=wwXIfr
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่