การจะเอาชนะกิเลสในตัวได้นั้นต้องอาศัยกำลังใจสูง จึงจะสามารถสวนกระแสกิเลส
อานิสงส์การให้ทานเพื่อขจัดความตระหนี่
เรื่อง : พระมหาเสถียร สุวณฺณฐิโต ป.ธ. ๙ / พระมหาวิริยะ ธมฺมสารี ป.ธ. ๙ /
ภาพประกอบ : กองพุทธศิลป์
จากวารสารอยู่ในบุญฉบับเดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๘
“สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงต้องตายเพราะชีวิตมีความตายเป็นที่สุด
สัตว์ทั้งหลายจักไปตามกรรมเข้าถึงผลแห่งบุญและบาป
คือ ผู้ทำบาปจักไปสู่นรกส่วนผู้ทำบุญจักไปสู่สุคติ เพราะฉะนั้น
บุคคลพึงทำกุศลกรรมอันจะนำไปสู่สุคติในสัมปรายภพ บุญย่อมเป็นที่พึ่ง
ของสัตว์ทั้งหลายในปรโลก” (อัยยิกาสูตร)
การจะใช้ชีวิตอย่างคุ้มค่าโดยไม่ให้พลาดพลั้งไปทำบาปอกุศล แต่ให้ใจแช่อิ่มอยู่กับความดี ให้ใจบริสุทธิ์ผ่องใสอยู่ในบุญล้วน ๆ เป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ง่ายนัก เพราะใจของชาวโลกไม่ค่อยคุ้นกับความดี ส่วนใหญ่จะไหลไปตามกระแสกิเลส เหมือนน้ำย่อมไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ การจะเอาชนะกิเลสในตัวได้นั้นต้องอาศัยกำลังใจสูง จึงจะสามารถสวนกระแสกิเลส หากเรามีใจที่สูงส่งตั้งแต่เป็นมนุษย์ยามละโลกไป บุญจะหนุนนำใจให้สูงขึ้นด้วยรูปกายใหม่ เป็นกายทิพย์ที่สวยงามละเอียดประณีตตามคุณภาพของใจ ความสะอาดบริสุทธิ์ของใจจะส่งผลให้มีภพภูมิที่ละเอียดยิ่งขึ้นมารองรับ
ไม่ใช่เรื่องง่ายที่เราจะเข้าใจและรู้เรื่องเหล่านี้ เพราะจะต้องมีสัมมาทิฐิเป็นพื้นฐาน ได้โอกาสพบกับบัณฑิตนักปราชญ์ อยู่ในถิ่นที่เหมาะสมต่อการสร้างบารมี มีครูอาจารย์ที่เป็นยอดกัลยาณมิตรคอยแนะนำเส้นทางที่ถูกต้องจึงจะเข้าใจเรื่องบาป บุญ คุณ โทษ อย่างถ่องแท้ เมื่อเข้าใจก็จะเกิดศรัทธาอยากทำทานรักษาศีล และเจริญภาวนา ซึ่งเป็นทางมาแห่งบุญที่เป็นต้นทางไปสู่สวรรค์ การทำบุญนั้นหากทำถูกเนื้อนาบุญ เช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะส่งผลยิ่งใหญ่เกินควรเกินคาด ดังเรื่องราวต่อไปนี้
ในสมัยพุทธกาล ชาวบ้านคนหนึ่งในกรุงสาวัตถีมีโอกาสฟังธรรมจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหลายครั้ง จึงเลิกนับถือลัทธิพราหมณ์ซึ่งเป็นความเชื่อเดิม แล้วหันมานับถือพระพุทธศาสนา เขาเป็นอุบาสกผู้รักษาศีล ยึดพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งตลอดชีวิตวันหนึ่ง หลังจากอุบาสกไปอาบน้ำที่แม่น้ำอจิรวดีเสร็จแล้ว ระหว่างเดินทางกลับบ้านเขาได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังเสด็จบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี จึงรีบเข้าไปถวายบังคม พลางกราบทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วันนี้ทรงรับนิมนต์ใครแล้วหรือยังพระเจ้าข้า”
เมื่อได้รับคำตอบว่ายังไม่มีใครนิมนต์เขารีบกราบทูลต่อไปว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญขอทรงอนุเคราะห์รับภัตตาหารของข้าพระองค์ด้วยเถิด” พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ อุบาสกดีใจมากที่จะได้ทำบุญใหญ่ เขารีบเดินนำหน้า เมื่อถึงบ้านก็รีบจัดแจงปูลาดอาสนะ แล้วนิมนต์ให้ประทับบนอาสนะ
จากนั้นจึงถวายภัตตาหารอันประณีต ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยเสร็จแล้ว จึงทรงกล่าวอนุโมทนาว่า
คนในโลกนี้ให้ทานด้วยเหตุ ๘ ประการคือ
(๑) บางคนให้ทานเพราะหวังอยากได้ เช่น อยากประสบความสำเร็จในชีวิต หรือพรั่งพร้อมด้วยลาภ ยศ สรรเสริญ สุข
(๒) บางคนให้ทานเพราะความกลัว เช่น กลัวลำบาก กลัวความยากจน ถ้าไม่ทำทานกลัวว่าเกิดมาภพชาติต่อไปจะเป็นคนยากจนอนาถา
(๓) บางคนให้ทานเพราะคิดว่า เขาเคยให้เรามาก่อน เราควรจะให้ตอบ การให้ทานอย่างนี้เป็นการตอบแทนคุณ เป็นการเกื้อกูลกัน ถือว่าเป็นคนกตัญญูกตเวที แม้เขาไม่เคยขอของใด ๆ คืน แต่เพราะเห็นความดีที่เขาเคยทำให้ จึงตอบแทนคุณ
(๔) บางคนให้ทานเพราะคิดว่า เขาจะให้เราตอบแทน เป็นลักษณะการทำบุญเพื่อจะได้ทวงคุณ ซึ่งถือว่ายังไม่เข้าใจคุณค่าของการให้ทานอย่างแท้จริง
(๕) บางคนให้ทานเพราะคิดว่า ทานเป็นความดี เป็นประโยชน์ใหญ่ทั้งต่อผู้ให้และผู้รับ โลกดำรงอยู่ได้ด้วยการให้ การให้เป็นทางมาแห่งทรัพย์สมบัติ ทั้งที่เป็นของมนุษย์และของทิพย์ และยังอำนวยผลให้สามารถปฏิบัติธรรมได้สะดวก บรรลุมรรค ผล นิพพานได้อย่างง่ายดาย จึงให้ทานด้วยใจที่ผ่องใส
(๖) บางคนให้ทานเพราะคิดว่า เราหุงหากินได้ แต่คนเหล่านี้หุงหากินไม่ได้ การไม่ให้คนเหล่านี้เป็นสิ่งไม่ควร หมายความว่าหากเห็นยาจกวณิพกพเนจรมาขอทานที่บ้านก็จัดแจงหาอาหารมาแจกจ่ายโดยไม่รู้สึกตระหนี่หรือหวงแหน เป็นการให้ด้วยจิตเมตตาอนุเคราะห์และสงสาร อีกประการหนึ่ง เมื่อทานบดีเห็นพระบิณฑบาตผ่านหน้าบ้านก็ถวายทานกับท่านด้วยจิตเลื่อมใส รู้ว่าท่านมาโปรด เอาบุญมาให้ รู้ว่าท่านไม่สะดวกในการทำงานหรือประกอบอาหารเลี้ยงชีพเพราะต้องเอาเวลาไปศึกษาธรรมะหรือบำเพ็ญสมณธรรมเพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง จึงจัดแจงหาอาหารมาถวายด้วยความศรัทธาเลื่อมใส
(๗) บางคนให้ทานเพราะคิดว่ากิตติศัพท์อันดีงามย่อมขจรขจายไป ใครได้ยินข่าวก็จะได้สั่งสมบุญตามไปด้วย ซึ่งก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องเหมือนกัน เพราะผู้ให้ย่อมเป็นที่รักของคนหมู่มาก กิตติศัพท์อันดีงามย่อมขจรขจายออกไป
(๘) บางคนให้ทานเพื่อยกระดับจิตใจให้ดีงาม มีคุณภาพสูงขึ้น มุ่งเพื่อขจัดความตระหนี่ออกไปจากใจ ขจัดความโลภที่ฝังแน่นอยู่ในใจมายาวนาน
เมื่ออุบาสกเข้าใจเหตุผลของการให้ทานแล้ว จึงตั้งใจว่าจะทำทานตามหลักเหตุผลข้อสุดท้าย คือ ทำทานเพื่อยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น เพื่อขจัดความตระหนี่ออกจากใจ โดยเขาได้หาโอกาสทำทาน รักษาศีล และไปฟังธรรมที่วัดเป็นประจำสม่ำเสมอ ครั้นละโลกแล้วก็ไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีวิมานแก้วมณีสูง ๑๒ โยชน์ มีห้องรโหฐานใหญ่โตโอฬาร ๗๐๐ ห้อง มีเสาแก้วไพฑูรย์ ลาดด้วยเครื่องลาดที่น่าปลื้มใจ นั่งดื่มกินสุธาโภชน์ และเสวยทิพยสมบัติในมณีวิมานหลังนั้นอย่างมีความสุขมีพิณทิพย์บรรเลงไพเราะ เทพนารีที่เป็นบริวารล้วนแต่งองค์ด้วยอาภรณ์สีทอง ฟ้อนรำขับร้องกล่อมให้เทพบุตรรื่นรมย์ด้วยโสตธาตุอันเป็นทิพย์ อีกทั้งวิมานของท่านก็สว่างไสวไปทั่วทุกทิศ
เทพบุตรนึกถึงบุญที่ได้ทำไว้ในอดีตจึงเกิดความปลื้มปีติในบุญ ได้เปล่งอุทานว่า
“บัณฑิตผู้รู้แจ้งพึงกระทำบุญทั้งหลายในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เสด็จไปแล้วโดยชอบซึ่งเป็นบุญเขตที่ถวายทานแล้วมีผลมาก ข้าพเจ้าทำจิตให้เลื่อมใสในพระองค์ว่า พระพุทธเจ้าเสด็จจากป่ามาสู่บ้านเพื่อประโยชน์แก่เราหนอจึงได้เข้าถึงพิภพดาวดึงส์ เพราะบญุ นั้นวรรณะของข้าพเจ้าจึงเป็นเช่นนี้ เพราะบุญนั้นทิพยสมบัติจึงสำเร็จแก่ข้าพเจ้า อีกทั้งวรรณะของข้าพเจ้าก็สว่างไสวไปทุกทิศ”
นี้เป็นหลักวิชาที่ช่วยในการตัดสินใจทำทานของพวกเราว่า หากจะทำบุญทั้งทีควรทำอย่างไรถึงจะได้บุญมากที่สุดสมกับที่หาทรัพย์มาด้วยความเหนื่อยยากลำบาก ทรัพย์นั้นจะได้เกิดประโยชน์ใหญ่ติดตามตัวเราไปข้ามภพข้ามชาติ ไม่ใช่เพียงทำตามอารมณ์ทำเพราะอยากเด่นอยากดัง อยากมีชื่อเสียงหรืออยากให้คนยอมรับนับถือ ซึ่งยังไม่ใช่วัตถุประสงค์หลักของการให้
การจะทำความดีใด ๆ ต้องศึกษาหลักวิชาให้ดี ถ้าไม่รู้หลักจะได้ผลไม่เต็มที่ และต้องมีเป้าหมายการให้ทานที่ชัดเจน คือ เป็นไปเพื่อการบรรลุมรรค ผล นิพพาน พวกเราโชคดีที่ได้รู้หลักคำสอนจากพระบรมศาสดาแล้วก็ทำให้ถูกหลักการให้ ทำทานทั้งทีก็ควรนึกถึงหลักการให้ทั้ง ๘ ประการนี้ ทุกข้อดีทั้งนั้น แต่ดีที่สุด คือ ต้องให้เพื่อยกระดับจิตใจของเราให้สูงขึ้น เพื่อขจัดความตระหนี่ออกไปจากใจขจัดความโลภ ซึ่งจะเป็นทางไปส่คู วามบริสุทธิ์หลุดพ้นจากความทุกข์ในสังสารวัฏอย่างแท้จริง
“ถ้าว่าสัตว์ทั้งหลายพึงรู้ผลแห่งการจำแนกทานเหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว สัตว์ทั้งหลายพึงกำจัดความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีใจผ่องใส พึงให้ทานทายกเป็นอันมากครั้นให้ทักษิณาทาน คือ ข้าว ในทักขิไณยบุคคลผู้ควรแก่ของที่มาสักการบูชาทั้งหลายแล้วจุติจากความเป็นมนุษย์ย่อมไปสู่สวรรค์” (ทานสูตร)
คนในโลกนี้ให้ทานด้วยเพื่ออะไร ??
เรื่อง : พระมหาเสถียร สุวณฺณฐิโต ป.ธ. ๙ / พระมหาวิริยะ ธมฺมสารี ป.ธ. ๙ /
ภาพประกอบ : กองพุทธศิลป์
จากวารสารอยู่ในบุญฉบับเดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๘
สัตว์ทั้งหลายจักไปตามกรรมเข้าถึงผลแห่งบุญและบาป
คือ ผู้ทำบาปจักไปสู่นรกส่วนผู้ทำบุญจักไปสู่สุคติ เพราะฉะนั้น
บุคคลพึงทำกุศลกรรมอันจะนำไปสู่สุคติในสัมปรายภพ บุญย่อมเป็นที่พึ่ง
ของสัตว์ทั้งหลายในปรโลก” (อัยยิกาสูตร)
การจะใช้ชีวิตอย่างคุ้มค่าโดยไม่ให้พลาดพลั้งไปทำบาปอกุศล แต่ให้ใจแช่อิ่มอยู่กับความดี ให้ใจบริสุทธิ์ผ่องใสอยู่ในบุญล้วน ๆ เป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ง่ายนัก เพราะใจของชาวโลกไม่ค่อยคุ้นกับความดี ส่วนใหญ่จะไหลไปตามกระแสกิเลส เหมือนน้ำย่อมไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ การจะเอาชนะกิเลสในตัวได้นั้นต้องอาศัยกำลังใจสูง จึงจะสามารถสวนกระแสกิเลส หากเรามีใจที่สูงส่งตั้งแต่เป็นมนุษย์ยามละโลกไป บุญจะหนุนนำใจให้สูงขึ้นด้วยรูปกายใหม่ เป็นกายทิพย์ที่สวยงามละเอียดประณีตตามคุณภาพของใจ ความสะอาดบริสุทธิ์ของใจจะส่งผลให้มีภพภูมิที่ละเอียดยิ่งขึ้นมารองรับ
ไม่ใช่เรื่องง่ายที่เราจะเข้าใจและรู้เรื่องเหล่านี้ เพราะจะต้องมีสัมมาทิฐิเป็นพื้นฐาน ได้โอกาสพบกับบัณฑิตนักปราชญ์ อยู่ในถิ่นที่เหมาะสมต่อการสร้างบารมี มีครูอาจารย์ที่เป็นยอดกัลยาณมิตรคอยแนะนำเส้นทางที่ถูกต้องจึงจะเข้าใจเรื่องบาป บุญ คุณ โทษ อย่างถ่องแท้ เมื่อเข้าใจก็จะเกิดศรัทธาอยากทำทานรักษาศีล และเจริญภาวนา ซึ่งเป็นทางมาแห่งบุญที่เป็นต้นทางไปสู่สวรรค์ การทำบุญนั้นหากทำถูกเนื้อนาบุญ เช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะส่งผลยิ่งใหญ่เกินควรเกินคาด ดังเรื่องราวต่อไปนี้
ในสมัยพุทธกาล ชาวบ้านคนหนึ่งในกรุงสาวัตถีมีโอกาสฟังธรรมจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหลายครั้ง จึงเลิกนับถือลัทธิพราหมณ์ซึ่งเป็นความเชื่อเดิม แล้วหันมานับถือพระพุทธศาสนา เขาเป็นอุบาสกผู้รักษาศีล ยึดพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งตลอดชีวิตวันหนึ่ง หลังจากอุบาสกไปอาบน้ำที่แม่น้ำอจิรวดีเสร็จแล้ว ระหว่างเดินทางกลับบ้านเขาได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังเสด็จบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี จึงรีบเข้าไปถวายบังคม พลางกราบทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วันนี้ทรงรับนิมนต์ใครแล้วหรือยังพระเจ้าข้า”
เมื่อได้รับคำตอบว่ายังไม่มีใครนิมนต์เขารีบกราบทูลต่อไปว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญขอทรงอนุเคราะห์รับภัตตาหารของข้าพระองค์ด้วยเถิด” พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ อุบาสกดีใจมากที่จะได้ทำบุญใหญ่ เขารีบเดินนำหน้า เมื่อถึงบ้านก็รีบจัดแจงปูลาดอาสนะ แล้วนิมนต์ให้ประทับบนอาสนะ
จากนั้นจึงถวายภัตตาหารอันประณีต ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยเสร็จแล้ว จึงทรงกล่าวอนุโมทนาว่า
คนในโลกนี้ให้ทานด้วยเหตุ ๘ ประการคือ
(๑) บางคนให้ทานเพราะหวังอยากได้ เช่น อยากประสบความสำเร็จในชีวิต หรือพรั่งพร้อมด้วยลาภ ยศ สรรเสริญ สุข
(๒) บางคนให้ทานเพราะความกลัว เช่น กลัวลำบาก กลัวความยากจน ถ้าไม่ทำทานกลัวว่าเกิดมาภพชาติต่อไปจะเป็นคนยากจนอนาถา
(๓) บางคนให้ทานเพราะคิดว่า เขาเคยให้เรามาก่อน เราควรจะให้ตอบ การให้ทานอย่างนี้เป็นการตอบแทนคุณ เป็นการเกื้อกูลกัน ถือว่าเป็นคนกตัญญูกตเวที แม้เขาไม่เคยขอของใด ๆ คืน แต่เพราะเห็นความดีที่เขาเคยทำให้ จึงตอบแทนคุณ
(๔) บางคนให้ทานเพราะคิดว่า เขาจะให้เราตอบแทน เป็นลักษณะการทำบุญเพื่อจะได้ทวงคุณ ซึ่งถือว่ายังไม่เข้าใจคุณค่าของการให้ทานอย่างแท้จริง
(๕) บางคนให้ทานเพราะคิดว่า ทานเป็นความดี เป็นประโยชน์ใหญ่ทั้งต่อผู้ให้และผู้รับ โลกดำรงอยู่ได้ด้วยการให้ การให้เป็นทางมาแห่งทรัพย์สมบัติ ทั้งที่เป็นของมนุษย์และของทิพย์ และยังอำนวยผลให้สามารถปฏิบัติธรรมได้สะดวก บรรลุมรรค ผล นิพพานได้อย่างง่ายดาย จึงให้ทานด้วยใจที่ผ่องใส
(๖) บางคนให้ทานเพราะคิดว่า เราหุงหากินได้ แต่คนเหล่านี้หุงหากินไม่ได้ การไม่ให้คนเหล่านี้เป็นสิ่งไม่ควร หมายความว่าหากเห็นยาจกวณิพกพเนจรมาขอทานที่บ้านก็จัดแจงหาอาหารมาแจกจ่ายโดยไม่รู้สึกตระหนี่หรือหวงแหน เป็นการให้ด้วยจิตเมตตาอนุเคราะห์และสงสาร อีกประการหนึ่ง เมื่อทานบดีเห็นพระบิณฑบาตผ่านหน้าบ้านก็ถวายทานกับท่านด้วยจิตเลื่อมใส รู้ว่าท่านมาโปรด เอาบุญมาให้ รู้ว่าท่านไม่สะดวกในการทำงานหรือประกอบอาหารเลี้ยงชีพเพราะต้องเอาเวลาไปศึกษาธรรมะหรือบำเพ็ญสมณธรรมเพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง จึงจัดแจงหาอาหารมาถวายด้วยความศรัทธาเลื่อมใส
(๗) บางคนให้ทานเพราะคิดว่ากิตติศัพท์อันดีงามย่อมขจรขจายไป ใครได้ยินข่าวก็จะได้สั่งสมบุญตามไปด้วย ซึ่งก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องเหมือนกัน เพราะผู้ให้ย่อมเป็นที่รักของคนหมู่มาก กิตติศัพท์อันดีงามย่อมขจรขจายออกไป
(๘) บางคนให้ทานเพื่อยกระดับจิตใจให้ดีงาม มีคุณภาพสูงขึ้น มุ่งเพื่อขจัดความตระหนี่ออกไปจากใจ ขจัดความโลภที่ฝังแน่นอยู่ในใจมายาวนาน
เมื่ออุบาสกเข้าใจเหตุผลของการให้ทานแล้ว จึงตั้งใจว่าจะทำทานตามหลักเหตุผลข้อสุดท้าย คือ ทำทานเพื่อยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น เพื่อขจัดความตระหนี่ออกจากใจ โดยเขาได้หาโอกาสทำทาน รักษาศีล และไปฟังธรรมที่วัดเป็นประจำสม่ำเสมอ ครั้นละโลกแล้วก็ไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีวิมานแก้วมณีสูง ๑๒ โยชน์ มีห้องรโหฐานใหญ่โตโอฬาร ๗๐๐ ห้อง มีเสาแก้วไพฑูรย์ ลาดด้วยเครื่องลาดที่น่าปลื้มใจ นั่งดื่มกินสุธาโภชน์ และเสวยทิพยสมบัติในมณีวิมานหลังนั้นอย่างมีความสุขมีพิณทิพย์บรรเลงไพเราะ เทพนารีที่เป็นบริวารล้วนแต่งองค์ด้วยอาภรณ์สีทอง ฟ้อนรำขับร้องกล่อมให้เทพบุตรรื่นรมย์ด้วยโสตธาตุอันเป็นทิพย์ อีกทั้งวิมานของท่านก็สว่างไสวไปทั่วทุกทิศ
เทพบุตรนึกถึงบุญที่ได้ทำไว้ในอดีตจึงเกิดความปลื้มปีติในบุญ ได้เปล่งอุทานว่า
“บัณฑิตผู้รู้แจ้งพึงกระทำบุญทั้งหลายในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เสด็จไปแล้วโดยชอบซึ่งเป็นบุญเขตที่ถวายทานแล้วมีผลมาก ข้าพเจ้าทำจิตให้เลื่อมใสในพระองค์ว่า พระพุทธเจ้าเสด็จจากป่ามาสู่บ้านเพื่อประโยชน์แก่เราหนอจึงได้เข้าถึงพิภพดาวดึงส์ เพราะบญุ นั้นวรรณะของข้าพเจ้าจึงเป็นเช่นนี้ เพราะบุญนั้นทิพยสมบัติจึงสำเร็จแก่ข้าพเจ้า อีกทั้งวรรณะของข้าพเจ้าก็สว่างไสวไปทุกทิศ”
นี้เป็นหลักวิชาที่ช่วยในการตัดสินใจทำทานของพวกเราว่า หากจะทำบุญทั้งทีควรทำอย่างไรถึงจะได้บุญมากที่สุดสมกับที่หาทรัพย์มาด้วยความเหนื่อยยากลำบาก ทรัพย์นั้นจะได้เกิดประโยชน์ใหญ่ติดตามตัวเราไปข้ามภพข้ามชาติ ไม่ใช่เพียงทำตามอารมณ์ทำเพราะอยากเด่นอยากดัง อยากมีชื่อเสียงหรืออยากให้คนยอมรับนับถือ ซึ่งยังไม่ใช่วัตถุประสงค์หลักของการให้
การจะทำความดีใด ๆ ต้องศึกษาหลักวิชาให้ดี ถ้าไม่รู้หลักจะได้ผลไม่เต็มที่ และต้องมีเป้าหมายการให้ทานที่ชัดเจน คือ เป็นไปเพื่อการบรรลุมรรค ผล นิพพาน พวกเราโชคดีที่ได้รู้หลักคำสอนจากพระบรมศาสดาแล้วก็ทำให้ถูกหลักการให้ ทำทานทั้งทีก็ควรนึกถึงหลักการให้ทั้ง ๘ ประการนี้ ทุกข้อดีทั้งนั้น แต่ดีที่สุด คือ ต้องให้เพื่อยกระดับจิตใจของเราให้สูงขึ้น เพื่อขจัดความตระหนี่ออกไปจากใจขจัดความโลภ ซึ่งจะเป็นทางไปส่คู วามบริสุทธิ์หลุดพ้นจากความทุกข์ในสังสารวัฏอย่างแท้จริง
“ถ้าว่าสัตว์ทั้งหลายพึงรู้ผลแห่งการจำแนกทานเหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว สัตว์ทั้งหลายพึงกำจัดความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีใจผ่องใส พึงให้ทานทายกเป็นอันมากครั้นให้ทักษิณาทาน คือ ข้าว ในทักขิไณยบุคคลผู้ควรแก่ของที่มาสักการบูชาทั้งหลายแล้วจุติจากความเป็นมนุษย์ย่อมไปสู่สวรรค์” (ทานสูตร)