วิธีการออกเสียงภาษาพม่าเบื้องต้น



การออกเสียงเรียงตามตัวอักษรของภาษาพม่า วรรณยุกต์สามัญในภาษาพม่าจะเทียบได้กับเสียงตรีของภาษาไทย โดยเฉพาะสระเสียงสั้น หรือ ไร้สระ โดยพื้นฐานจะเหมือนกับภาษาเขมร คือ จะออกเสียง กะขะคะ (ภาษาไทยกับลาวจะเป็น กอขอคอ) และออกเสียง อะ ทุกตัว แบบอย่างภาษาบาลีสันสกฤต ด้วยเหตุนี้  การประสมอักษรจึงไม่จำเป็นต้องใช้ไม้หันอากาศ
+
การออกเสียงพยัญชนะในภาษาพม่า ออกเสียงดังต่อไปนี้
+
က = ก๊ะ (ก)
ခ = ข๊ะ (ข)
ဂ = ก๊ะ ออกเสียงให้หนักกว่า ก๊ะ ตัวแรกเล็กน้อย (ค)
ဃ = ก๊ะ เหมือน ก๊ะ ตัวแรก แต่ออกเสียงให้หนักกว่าเล็กน้อย (ฆ)
င = ง๊ะ (ง)
စ = ซ๊ะ  ออก ซ แบบเบาๆ (จ)
ဆ = สฺซ๊ะ ให้เสียงออกทางฟันนิดนึง (ฉ)
ဇ = ซ๊ะ ออก ซ เสียงหนักกว่า စ เล็กน้อย (ช)
ဈ = ซ๊ะ เหมือนตัวข้างบน (ฌ)
ဉ/ည = ญ๊ะ เป็นเสียง ย เสียงนาสิก คือขึ้นจมูก เป็นเสียงที่คนไทยปัจจุบันไม่ค่อยออกชัดเจน (ออกเสียงเดียวกับ ย) แต่ชาติเพื่อนบ้านจะออกเสียงชัดเจน (ญ)
ဋ = ต๊ะ (ฏ)
ဌ = ท๊ะ (ฐ)
ဍ = ด๊ะ (ฑ)
ဎ = ด๊ะ (ฒ)
ဏ = น๊ะ (ณ)
တ = ต๊ะ หรือ ด๊ะ แต่ส่วนมากมักออกเสียง ด๊ะ (ต)
ထ = ถ๊ะ (ถ)
ဒ = ด๊ะ (ท)
ဓ = ด๊ะ (ธ)
န = น๊ะ (น)
ပ = ป๊ะ หรือ บ๊ะ แต่ส่วนมากมักออกเสียง บ๊ะ (ป)
ဖ = ผ๊ะ (ผ)
ဗ = บ๊ะ (พ)
ဘ = บ๊ะ (ภ)
မ = ม๊ะ (ม)
ယ = ย๊ะ (ย)
ရ = ย๊ะ (ร) เมียนมาร์แท้ออกเสียง ย แต่ถ้าเป็นคนยะไข่ หรือเวลาสวดมนต์ จะเป็น ร เต็มๆ
လ = ล๊ะ (ล)
ဝ = ว๊ะ (ว)
သ = ต๊ะ (ส) อักษร ส แต่บางครั้งออกเสียง ต หนักกว่าตัว တ
ဟ = ฮ๊ะ (ห,ฮ)
ဠ = ล๊ะ (ฬ)
အ = อ๊ะ (อ)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่