จริงๆหัวกระทู้จะตั้งว่า มาดูความสวยงามของอักษรที่เกิดอักษรพราหมีกัน
มาดูความสวยงามของอักษรมีเกิดอักษรพราหมี
ตระกูลอักษรพราหมี เป็นกลุ่มของอักษรที่พัฒนามาจากอักษรพราหมี ได้แก่อักษรที่ใช้ในอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ได้แก่ อักษรเทวนาครี อักษรคุรมุขี อักษรเบงกาลี อักษรคุชราต อักษรโอริยา อักษรทมิฬ อักษรมาลายาลัม อักษรเตลุกุ อักษรกันนาดาและอักษรสิงหล (ในศรีลังกา) อักษรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่จัดอยู่ในตระกูลนี้คือ อักษรพม่า อักษรมอญ อักษรไทย อักษรลาว อักษรเขมร อักษรจาม อักษรไทลื้อ อักษรล้านนา อักษรขอมไทย อักษรขอมบาลี อักษรชวา อักษรบาหลี โดยผ่านทางอักษรปัลลวะในอินเดียใต้ และอักษรกวิในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โบราณ ลักษณะที่ต่างจากอักษรในอินเดีย คือมีพยัญชนะที่ใช้แทนเสียงเดียวกันเพราะภาษาเหล่านี้มีเสียงพยัญชนะน้อยกว่า (เช่น อักษรไทย) มีพยัญชนะ 2 ชุดที่ออกเสียงต่างกันเมื่อประสมสระ (เช่น อักษรเขมร อักษรมอญ) หรือลดจำนวนพยัญชนะ (เช่น อักษรลาว)อักษรกลุ่มนี้เขียนในแนวนอนจากซ้ายไปขวา
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B5
เริ่มต้นที่อักษรมอญ
อักษรมอญ พัฒนามาจากอักษรพราหมี ผ่านทางอักษรปัลลวะ และเป็นแม่แบบของอักษรอื่น เช่น อักษรพม่า อักษรไทย อักษรลาว อักษรล้านนา อักษรไทลื้อ อักษรธรรมที่ใช้เขียนคัมภีร์ในล้านนาและล้านช้าง ได้โปรดเข้าใจด้วยว่า
อักษรพม่า ไม่สามารถใช้แทน อักษรมอญได้ แต่อักษรมอญนั้น สามารถใช้แทน อักษรพม่าได้
อักษรมอญโบราณพัฒนามาจากอักษรยุคหลังปัลลวะ (พุทธศตวรรษ 13-15) พบจารึกอักษรนี้ในเขตหริภุญชัย เช่นที่ เวียงมโน เวียงเถาะ รูปแบบของอักษรมอญต่างจากอักษรขอมที่พัฒนาจากอักษรในอินเดียใต้รุ่นเดียวกันคือ อักษรมอญตัดบ่าอักษรออกไป ทำให้รูปอักษรค่อนข้างกลม ส่วนอักษรขอมเปลี่ยนบ่าอักษรเป็นศกหรือหนามเตย
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%8D
อักษรเขมร
อักษรเขมร (เขมร: អក្សរខ្មែរ) คือรูปอักษรที่ดัดแปลงมาจากอักษรหลังปัลลวะ (ราว พ.ศ. 1200-1400) ซึ่งเป็นอักษรที่พัฒนามาจากอักษรปัลลวะ (ราว พ.ศ.1100-1200) อีกต่อหนึ่ง อักษรปัลลวะนี้ เป็นอักษรที่มาจากอินเดียตอนใต้ ซึ่งเป็นชุดอักษรที่มีกำเนิดมาจากอักษรพราหมี ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช (ราว พุทธศตวรรษที่ 3) จารึกอักษรเขมรเก่าสุด พบที่ปราสาทโบเร็ย จ.ตาแก้ว ทางใต้ของพนมเปญ อายุราว พ.ศ. 1154 รูปแบบโบราณของอักษรเขมร ที่เรียกอักษรขอม เป็นแม่แบบของ อักษรไทย อักษรลาว อักษรเขมรใช้เขียนภาษาเขมร และมนต์คาถา
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%A1%E0%B8%A3
อักษรลาว
อักษรลาวเป็นชื่ออักษรที่รัฐบาลลาวรับรองให้ใช้เขียนภาษาลาว ซึ่งใช้เป็นภาษาราชการในปัจจุบัน มีพัฒนาการมาจากอักษรไทน้อย (หรือในอีกชื่อหนึ่ง คือ อักษรลาวเดิม) ซึ่งเริ่มพัฒนาขึ้นในสมัยราชวงศ์ล้านช้าง เมื่อราว พ.ศ. 1900 โดยได้รับอิทธิพลจากอักษรไทยโบราณ ที่มาจากอักษรมอญและ อักษรเขมรอีกต่อหนึ่ง ลักษณะการใช้งานยังคงมีระบบการเขียนแบบอักษรไทยโบราณ ที่ไม่ใช้แล้วในอักษรไทยปัจจุบัน เช่น การใช้ไม้กงแทนเสียงสระโอะเมื่อมีตัวสะกด หรือการใช้ตัวเชิงของอักษร ย แทนสระเอียเมื่อมีตัวสะกด เป็นต้น
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A7
อักษรพม่า
อักษรพม่า (พม่า: မြန်မာအက္ခရာ) เป็นอักษรในตระกูลอักษรพราหฺมี ใช้ในประเทศพม่าสำหรับการเขียนภาษาพม่า ในสมัยโบราณ การเขียนอักษรพม่าจะกระทำโดยการจารลงในใบลาน ตัวอักษรพม่าจึงมีลักษณะโค้งกลมเพื่อหลบร่องใบลาน อักษรพม่าเขียนจากซ้ายไปขวาเหมือนอักษรไทย และอักษรภาษาอื่น ๆ ในตระกูลอักษรพราหฺมี
อักษรพม่าประกอบด้วยพยัญชนะ และสระ โดยมีพยัญชนะ 33 ตัว ตั้งแต่ က (กะ) ถึง အ (อะ) ซึ่งเสียงของพยัญชนะจะถูกเปลี่ยนแปลงโดยสระที่เขียนเหนือ, ใต้, หรือข้าง ๆ พยัญชนะ เหมือนกับอักษรภาษาอื่น ๆ ในตระกูลอักษรพราหฺมี
อักษรพม่าใกล้เคียงกับอักษรมอญมาก แต่วิธีการออกเสียงเมื่อประสมสระต่างกัน ทั้งนี้เพราะความแตกต่างของทั้ง 2 ภาษา เช่นภาษาพม่ามีวรรณยุกต์แต่ภาษามอญไม่มี กล่าวกันว่าพม่ารับเอาอักษรมอญมาดัดแปลงเมื่อเข้าครอบครองอาณาจักรมอญโบราณ ในทำนองเดียวกันเมื่อพม่าเข้าครอบครองอาณาจักรไทใหญ่ ชาวไทใหญ่ได้นำอักษรพม่าบางตัวไปเขียนภาษาบาลีเพราะอักษรไทใหญ่มีไม่พอ
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%B2
อักษรไทใหญ่
อักษรไทใหญ่พัฒนามาจากอักษรไทใต้คงเก่า ซึ่งเป็นอักษรที่ใช่ในหมู่ชาวไทใหญ่ทั้งหมด โดยยังคงมีลักษณะกลม เนื่องจากไม่ได้เปลี่ยนไปเขียนด้วยพู่กันเหมือนอักษรไทใต้คง เมื่อรัฐฉานตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษเมื่อ พ.ศ. 2428 ทางอังกฤษได้ส่งเสริมให้ชาวไทใหญ่พัฒนาอักษรของตนขึ้นใหม่ และจัดให้มีการพิมพ์ ทำให้รูปอักษรที่เกิดจากการหล่อตัวพิมพ์มีลักษณะป้อม กลมคล้ายอักษรพม่ามากขึ้น
พยัญชนะในภาษาไทใหญ่มีทั้งหมด 18 ตัว แต่มีการเพิ่มอีก 5 ตัว เพื่อใช้เขียนคำที่มาจากภาษาอื่น สระสามารถเขียนได้ทั้งข้างหน้า ข้างหลัง ข้างบน และข้างใต้พยัญชนะ มีสระพื้นฐาน 10 ตัว แต่หากผสมกับตัวสะกดด้วย รูปสระบางรูปอาจลดรูปหรือเปลี่ยนรูปไปได้ ส่วนรูปวรรณยุกต์มี 5 รูป ใช้เขียนข้างหลังพยางค์ โดยพื้นเสียงของพยางค์เป็นเสียงจัตวา ไม่มีรูปวรรณยุกต์
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88
อักษรธรรมล้านนา
อักษรธรรมล้านนา หรือ ตัวเมือง พัฒนามาจากอักษรมอญโบราณ เช่นเดียวกับอักษรพม่า อักษรชนิดนี้ใช้ในอาณาจักรล้านนาเมื่อราว พ.ศ. 1802 จนกระทั่งถูกพม่ายึดครองใน พ.ศ. 2101 ปัจจุบันใช้ในงานทางศาสนา พบได้ทั่วไปในวัดทางภาคเหนือของประเทศไทย (ส่วนที่เป็นเขตอาณาจักรล้านนาเดิมและเขตที่ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมล้านนาบางแห่ง) นอกจากนี้ยังแพร่หลายถึงไปถึงเขตรัฐไทยใหญ่แถบเมืองเชียงตุง ซึ่งอักษรที่ใช้ในแถบนั้นจะเรียกชื่อว่า "อักษรไตเขิน" มีลักษณะที่เรียบง่ายกว่าตัวเมืองที่ใช้ในแถบล้านนา[ต้องการอ้างอิง]
อนึ่ง อักษรธรรมล้านนายังได้แพร่หลายเข้าไปยังอาณาจักรล้านช้างเดิมผ่านความสัมพันธ์ทางการทูตและทางศาสนาระหว่างล้านนากับล้านช้างในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 21 ร่วมสมัยกับพระเจ้าโพธิสารราชและพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชแห่งล้านช้าง เป็นต้นเค้าของการวิวัฒนาการของแบบอักษรที่เรียกว่าอักษรธรรมลาว (หรือที่เรียกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยว่า "อักษรธรรมอีสาน") ในเวลาต่อมา
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%A3%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B2
ตัวอักษรไทยน้อย
ตัวอักษรไทยน้อยมีลักษณะเหมือนอักษรไทยสมัยพระยาลิไทยมาก เท่าที่พบแปลกกันเฉพาะตัว ถ เท่านั้น และเราก็ยอมรับอยู่ว่าอักษรไทยน้อยมิใช่อักษรลาว จึงทำให้ตัวอักษรไทยน้อย จะเข้ามาสู่ดินแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือไปจนถึงเวียงจันทน์ได้อย่างไร นักปราชญ์ท่านสันนิษฐานไว้ว่าน่าจะมาจาก 2 ทางด้วยกัน
มาทางตรงคือจากสุโขทัยมาเวียงจันทน์เลย เพราะศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงก็บอกว่า เวียงจันทน์ เวียงคำ ชวา (หลวงพระบาง) เป็นส่วนหนึ่งของสุโขทัย คงจะมีการใช้อักษรราชธานีด้วย โดยเฉพาะสมัยพระเจ้าลิไทย พระองค์เป็นนักการศาสนา และนักอักษรศาสตร์ คงจะส่งสมณฑูตพร้อมกับนิทานคำสอน และตัวอักษรมายังหลวงพระบางเวียงจันทน์ด้วย ดังปรากฏในหนังสือมูลศาสนาว่า
พระสุวัณณคีรีได้นำเอาศาสนาไปประดิษฐาน ณ เมืองชวา (หลวงพระบาง) ในสมัยพระเจ้าฟ้างุ้ม นี่แสดงว่า มีการติดต่อสัมพันธ์กันทางศาสนามาก่อนแล้ว พอมาถึงสมัยสุโขทัยโดยเฉพาะพระยาลิไทยด้วยแล้ว ยิ่งจะมีการนำอักษรที่พระองค์คิดขึ้นใหม่ แทรกตำราคำสอนเข้าไปด้วย ข้อที่น่าคิดอย่างยิ่งก็คือ จากการค้นคว้าหนังสือที่เป้นธรรมคำสอนชั้นสูงในพระพุทธศาสนาจะจารด้วยอักษรธรรม (มอญ) ถือว่าอักษรที่สูงธรรมจะไม่จารตัวอักษรไทยน้อยเลย
แต่นิทานพื้นบ้านและชาดกบางเรื่องที่ไม่ได้ม้วนชาดกว่าในเรื่องนั้น ใครเป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระโมคค์ลานะ สารีบุตร พระเจ้าสุทโธธน พระนางสิริมหามายา ราหุล จะจารด้วยอักษรไทยน้อย ซึ่งเป้นอักษรขั้นต่ำกว่านี้น่าจะเป็นการสอดแทรก
อักษรไทลื้อ
อักษรไทลื้อเก่า
มีลักษณะใกล้เคียงกับอักษรล้านนา เนื่องจากได้รับอิทธิพลทางศาสนาพุทธจากอาณาจักรล้านนา
อักษรไทลื้อใหม่
พัฒนามาจากอักษรไทลื้อเก่าเมื่อราว พ.ศ. 2493 เพื่อใช้แทนอักษรเดิมที่ใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 1743 อักษรแบ่งเป็นอักษรสูงกับอักษรต่ำ พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดจะมีรูปเฉพาะ รัฐบาลจีนได้รณรงค์ให้ชาวไทลื้อในจีนใช้อักษรนี้ แต่หลังจาก พ.ศ. 2523 ชาวไทลื้อได้รื้อฟื้นอักษรแบบเดิมขึ้นมาอีก ส่วนชาวไทลื้อในลาว พม่าและไทย ยังใช้อักษรแบบเดิมอยู่
อักษรไทดำ
อักษรไทดำ (Tai Dam alphabet) ต้นกำเนิดของอักษรไทดำยังไม่ทราบแน่ชัด พยัญชนะแบ่งเป็น 2 ชุด คือเสียงสูงและเสียงต่ำ มีเครื่องหมายวรรณยุกต์ 2 ตัว ใช้กำหนดเสียง 6 เสียง รูปพยัญชนะที่เป้นตัวสะกด แม่เกอว เกย กม กน และ กง ใช้รูปอักษรเสียงต่ำ ส่วนแม่ กกใช้รูปอักษรเสียงสูง ไม่มีรูปแบบการเรียงพยัญชนะที่แน่นอน
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%94%E0%B8%B3
อักษรไทใต้คง
อักษรไทใต้คง หรือ อักษรไทเหนือ (Tai Nüa) หรือ อักษรไตเหลอ (Tai Le) พัฒนามาจากอักษรไตโบราณ ซึ่งมาจากอักษรที่เรียกไป่ยี่ มีกำเนิดตั้งแต่เมื่อใดไม่มีหลักฐานแน่ชัด โดยหลักฐานจากอาหมบุราณจีระบุว่ามีมาก่อน พ.ศ. 1816 [1]อักษรนี้ใช้โดยชาวไทเหนือ ที่อาศัยอยู่ในเขตใต้คง (เต้อหง) ทางตะวันตกเฉียงใต้ ของมณฑลยูนนาน และชาวจิ่งพัวนำไปใช้เป็นบางครั้ง [2]
เดี่ยวจะเอาตัวอักษรประเทศอื่นๆมาลงอีกนะครับ
มาดูความสวยงามของอักษรมีเกิดอักษรพราหมี
มาดูความสวยงามของอักษรมีเกิดอักษรพราหมี
ตระกูลอักษรพราหมี เป็นกลุ่มของอักษรที่พัฒนามาจากอักษรพราหมี ได้แก่อักษรที่ใช้ในอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ได้แก่ อักษรเทวนาครี อักษรคุรมุขี อักษรเบงกาลี อักษรคุชราต อักษรโอริยา อักษรทมิฬ อักษรมาลายาลัม อักษรเตลุกุ อักษรกันนาดาและอักษรสิงหล (ในศรีลังกา) อักษรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่จัดอยู่ในตระกูลนี้คือ อักษรพม่า อักษรมอญ อักษรไทย อักษรลาว อักษรเขมร อักษรจาม อักษรไทลื้อ อักษรล้านนา อักษรขอมไทย อักษรขอมบาลี อักษรชวา อักษรบาหลี โดยผ่านทางอักษรปัลลวะในอินเดียใต้ และอักษรกวิในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โบราณ ลักษณะที่ต่างจากอักษรในอินเดีย คือมีพยัญชนะที่ใช้แทนเสียงเดียวกันเพราะภาษาเหล่านี้มีเสียงพยัญชนะน้อยกว่า (เช่น อักษรไทย) มีพยัญชนะ 2 ชุดที่ออกเสียงต่างกันเมื่อประสมสระ (เช่น อักษรเขมร อักษรมอญ) หรือลดจำนวนพยัญชนะ (เช่น อักษรลาว)อักษรกลุ่มนี้เขียนในแนวนอนจากซ้ายไปขวา
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B5
เริ่มต้นที่อักษรมอญ
อักษรมอญ พัฒนามาจากอักษรพราหมี ผ่านทางอักษรปัลลวะ และเป็นแม่แบบของอักษรอื่น เช่น อักษรพม่า อักษรไทย อักษรลาว อักษรล้านนา อักษรไทลื้อ อักษรธรรมที่ใช้เขียนคัมภีร์ในล้านนาและล้านช้าง ได้โปรดเข้าใจด้วยว่า อักษรพม่า ไม่สามารถใช้แทน อักษรมอญได้ แต่อักษรมอญนั้น สามารถใช้แทน อักษรพม่าได้
อักษรมอญโบราณพัฒนามาจากอักษรยุคหลังปัลลวะ (พุทธศตวรรษ 13-15) พบจารึกอักษรนี้ในเขตหริภุญชัย เช่นที่ เวียงมโน เวียงเถาะ รูปแบบของอักษรมอญต่างจากอักษรขอมที่พัฒนาจากอักษรในอินเดียใต้รุ่นเดียวกันคือ อักษรมอญตัดบ่าอักษรออกไป ทำให้รูปอักษรค่อนข้างกลม ส่วนอักษรขอมเปลี่ยนบ่าอักษรเป็นศกหรือหนามเตย
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%8D
อักษรเขมร
อักษรเขมร (เขมร: អក្សរខ្មែរ) คือรูปอักษรที่ดัดแปลงมาจากอักษรหลังปัลลวะ (ราว พ.ศ. 1200-1400) ซึ่งเป็นอักษรที่พัฒนามาจากอักษรปัลลวะ (ราว พ.ศ.1100-1200) อีกต่อหนึ่ง อักษรปัลลวะนี้ เป็นอักษรที่มาจากอินเดียตอนใต้ ซึ่งเป็นชุดอักษรที่มีกำเนิดมาจากอักษรพราหมี ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช (ราว พุทธศตวรรษที่ 3) จารึกอักษรเขมรเก่าสุด พบที่ปราสาทโบเร็ย จ.ตาแก้ว ทางใต้ของพนมเปญ อายุราว พ.ศ. 1154 รูปแบบโบราณของอักษรเขมร ที่เรียกอักษรขอม เป็นแม่แบบของ อักษรไทย อักษรลาว อักษรเขมรใช้เขียนภาษาเขมร และมนต์คาถา
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%A1%E0%B8%A3
อักษรลาว
อักษรลาวเป็นชื่ออักษรที่รัฐบาลลาวรับรองให้ใช้เขียนภาษาลาว ซึ่งใช้เป็นภาษาราชการในปัจจุบัน มีพัฒนาการมาจากอักษรไทน้อย (หรือในอีกชื่อหนึ่ง คือ อักษรลาวเดิม) ซึ่งเริ่มพัฒนาขึ้นในสมัยราชวงศ์ล้านช้าง เมื่อราว พ.ศ. 1900 โดยได้รับอิทธิพลจากอักษรไทยโบราณ ที่มาจากอักษรมอญและ อักษรเขมรอีกต่อหนึ่ง ลักษณะการใช้งานยังคงมีระบบการเขียนแบบอักษรไทยโบราณ ที่ไม่ใช้แล้วในอักษรไทยปัจจุบัน เช่น การใช้ไม้กงแทนเสียงสระโอะเมื่อมีตัวสะกด หรือการใช้ตัวเชิงของอักษร ย แทนสระเอียเมื่อมีตัวสะกด เป็นต้น
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A7
อักษรพม่า
อักษรพม่า (พม่า: မြန်မာအက္ခရာ) เป็นอักษรในตระกูลอักษรพราหฺมี ใช้ในประเทศพม่าสำหรับการเขียนภาษาพม่า ในสมัยโบราณ การเขียนอักษรพม่าจะกระทำโดยการจารลงในใบลาน ตัวอักษรพม่าจึงมีลักษณะโค้งกลมเพื่อหลบร่องใบลาน อักษรพม่าเขียนจากซ้ายไปขวาเหมือนอักษรไทย และอักษรภาษาอื่น ๆ ในตระกูลอักษรพราหฺมี
อักษรพม่าประกอบด้วยพยัญชนะ และสระ โดยมีพยัญชนะ 33 ตัว ตั้งแต่ က (กะ) ถึง အ (อะ) ซึ่งเสียงของพยัญชนะจะถูกเปลี่ยนแปลงโดยสระที่เขียนเหนือ, ใต้, หรือข้าง ๆ พยัญชนะ เหมือนกับอักษรภาษาอื่น ๆ ในตระกูลอักษรพราหฺมี
อักษรพม่าใกล้เคียงกับอักษรมอญมาก แต่วิธีการออกเสียงเมื่อประสมสระต่างกัน ทั้งนี้เพราะความแตกต่างของทั้ง 2 ภาษา เช่นภาษาพม่ามีวรรณยุกต์แต่ภาษามอญไม่มี กล่าวกันว่าพม่ารับเอาอักษรมอญมาดัดแปลงเมื่อเข้าครอบครองอาณาจักรมอญโบราณ ในทำนองเดียวกันเมื่อพม่าเข้าครอบครองอาณาจักรไทใหญ่ ชาวไทใหญ่ได้นำอักษรพม่าบางตัวไปเขียนภาษาบาลีเพราะอักษรไทใหญ่มีไม่พอ
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%B2
อักษรไทใหญ่
อักษรไทใหญ่พัฒนามาจากอักษรไทใต้คงเก่า ซึ่งเป็นอักษรที่ใช่ในหมู่ชาวไทใหญ่ทั้งหมด โดยยังคงมีลักษณะกลม เนื่องจากไม่ได้เปลี่ยนไปเขียนด้วยพู่กันเหมือนอักษรไทใต้คง เมื่อรัฐฉานตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษเมื่อ พ.ศ. 2428 ทางอังกฤษได้ส่งเสริมให้ชาวไทใหญ่พัฒนาอักษรของตนขึ้นใหม่ และจัดให้มีการพิมพ์ ทำให้รูปอักษรที่เกิดจากการหล่อตัวพิมพ์มีลักษณะป้อม กลมคล้ายอักษรพม่ามากขึ้น
พยัญชนะในภาษาไทใหญ่มีทั้งหมด 18 ตัว แต่มีการเพิ่มอีก 5 ตัว เพื่อใช้เขียนคำที่มาจากภาษาอื่น สระสามารถเขียนได้ทั้งข้างหน้า ข้างหลัง ข้างบน และข้างใต้พยัญชนะ มีสระพื้นฐาน 10 ตัว แต่หากผสมกับตัวสะกดด้วย รูปสระบางรูปอาจลดรูปหรือเปลี่ยนรูปไปได้ ส่วนรูปวรรณยุกต์มี 5 รูป ใช้เขียนข้างหลังพยางค์ โดยพื้นเสียงของพยางค์เป็นเสียงจัตวา ไม่มีรูปวรรณยุกต์
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88
อักษรธรรมล้านนา
อักษรธรรมล้านนา หรือ ตัวเมือง พัฒนามาจากอักษรมอญโบราณ เช่นเดียวกับอักษรพม่า อักษรชนิดนี้ใช้ในอาณาจักรล้านนาเมื่อราว พ.ศ. 1802 จนกระทั่งถูกพม่ายึดครองใน พ.ศ. 2101 ปัจจุบันใช้ในงานทางศาสนา พบได้ทั่วไปในวัดทางภาคเหนือของประเทศไทย (ส่วนที่เป็นเขตอาณาจักรล้านนาเดิมและเขตที่ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมล้านนาบางแห่ง) นอกจากนี้ยังแพร่หลายถึงไปถึงเขตรัฐไทยใหญ่แถบเมืองเชียงตุง ซึ่งอักษรที่ใช้ในแถบนั้นจะเรียกชื่อว่า "อักษรไตเขิน" มีลักษณะที่เรียบง่ายกว่าตัวเมืองที่ใช้ในแถบล้านนา[ต้องการอ้างอิง]
อนึ่ง อักษรธรรมล้านนายังได้แพร่หลายเข้าไปยังอาณาจักรล้านช้างเดิมผ่านความสัมพันธ์ทางการทูตและทางศาสนาระหว่างล้านนากับล้านช้างในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 21 ร่วมสมัยกับพระเจ้าโพธิสารราชและพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชแห่งล้านช้าง เป็นต้นเค้าของการวิวัฒนาการของแบบอักษรที่เรียกว่าอักษรธรรมลาว (หรือที่เรียกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยว่า "อักษรธรรมอีสาน") ในเวลาต่อมา
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%A3%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B2
ตัวอักษรไทยน้อย
ตัวอักษรไทยน้อยมีลักษณะเหมือนอักษรไทยสมัยพระยาลิไทยมาก เท่าที่พบแปลกกันเฉพาะตัว ถ เท่านั้น และเราก็ยอมรับอยู่ว่าอักษรไทยน้อยมิใช่อักษรลาว จึงทำให้ตัวอักษรไทยน้อย จะเข้ามาสู่ดินแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือไปจนถึงเวียงจันทน์ได้อย่างไร นักปราชญ์ท่านสันนิษฐานไว้ว่าน่าจะมาจาก 2 ทางด้วยกัน
มาทางตรงคือจากสุโขทัยมาเวียงจันทน์เลย เพราะศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงก็บอกว่า เวียงจันทน์ เวียงคำ ชวา (หลวงพระบาง) เป็นส่วนหนึ่งของสุโขทัย คงจะมีการใช้อักษรราชธานีด้วย โดยเฉพาะสมัยพระเจ้าลิไทย พระองค์เป็นนักการศาสนา และนักอักษรศาสตร์ คงจะส่งสมณฑูตพร้อมกับนิทานคำสอน และตัวอักษรมายังหลวงพระบางเวียงจันทน์ด้วย ดังปรากฏในหนังสือมูลศาสนาว่า
พระสุวัณณคีรีได้นำเอาศาสนาไปประดิษฐาน ณ เมืองชวา (หลวงพระบาง) ในสมัยพระเจ้าฟ้างุ้ม นี่แสดงว่า มีการติดต่อสัมพันธ์กันทางศาสนามาก่อนแล้ว พอมาถึงสมัยสุโขทัยโดยเฉพาะพระยาลิไทยด้วยแล้ว ยิ่งจะมีการนำอักษรที่พระองค์คิดขึ้นใหม่ แทรกตำราคำสอนเข้าไปด้วย ข้อที่น่าคิดอย่างยิ่งก็คือ จากการค้นคว้าหนังสือที่เป้นธรรมคำสอนชั้นสูงในพระพุทธศาสนาจะจารด้วยอักษรธรรม (มอญ) ถือว่าอักษรที่สูงธรรมจะไม่จารตัวอักษรไทยน้อยเลย
แต่นิทานพื้นบ้านและชาดกบางเรื่องที่ไม่ได้ม้วนชาดกว่าในเรื่องนั้น ใครเป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระโมคค์ลานะ สารีบุตร พระเจ้าสุทโธธน พระนางสิริมหามายา ราหุล จะจารด้วยอักษรไทยน้อย ซึ่งเป้นอักษรขั้นต่ำกว่านี้น่าจะเป็นการสอดแทรก
อักษรไทลื้อ
อักษรไทลื้อเก่า
มีลักษณะใกล้เคียงกับอักษรล้านนา เนื่องจากได้รับอิทธิพลทางศาสนาพุทธจากอาณาจักรล้านนา
อักษรไทลื้อใหม่
พัฒนามาจากอักษรไทลื้อเก่าเมื่อราว พ.ศ. 2493 เพื่อใช้แทนอักษรเดิมที่ใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 1743 อักษรแบ่งเป็นอักษรสูงกับอักษรต่ำ พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดจะมีรูปเฉพาะ รัฐบาลจีนได้รณรงค์ให้ชาวไทลื้อในจีนใช้อักษรนี้ แต่หลังจาก พ.ศ. 2523 ชาวไทลื้อได้รื้อฟื้นอักษรแบบเดิมขึ้นมาอีก ส่วนชาวไทลื้อในลาว พม่าและไทย ยังใช้อักษรแบบเดิมอยู่
อักษรไทดำ
อักษรไทดำ (Tai Dam alphabet) ต้นกำเนิดของอักษรไทดำยังไม่ทราบแน่ชัด พยัญชนะแบ่งเป็น 2 ชุด คือเสียงสูงและเสียงต่ำ มีเครื่องหมายวรรณยุกต์ 2 ตัว ใช้กำหนดเสียง 6 เสียง รูปพยัญชนะที่เป้นตัวสะกด แม่เกอว เกย กม กน และ กง ใช้รูปอักษรเสียงต่ำ ส่วนแม่ กกใช้รูปอักษรเสียงสูง ไม่มีรูปแบบการเรียงพยัญชนะที่แน่นอน
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%94%E0%B8%B3
อักษรไทใต้คง
อักษรไทใต้คง หรือ อักษรไทเหนือ (Tai Nüa) หรือ อักษรไตเหลอ (Tai Le) พัฒนามาจากอักษรไตโบราณ ซึ่งมาจากอักษรที่เรียกไป่ยี่ มีกำเนิดตั้งแต่เมื่อใดไม่มีหลักฐานแน่ชัด โดยหลักฐานจากอาหมบุราณจีระบุว่ามีมาก่อน พ.ศ. 1816 [1]อักษรนี้ใช้โดยชาวไทเหนือ ที่อาศัยอยู่ในเขตใต้คง (เต้อหง) ทางตะวันตกเฉียงใต้ ของมณฑลยูนนาน และชาวจิ่งพัวนำไปใช้เป็นบางครั้ง [2]
เดี่ยวจะเอาตัวอักษรประเทศอื่นๆมาลงอีกนะครับ