จิตเดิมประภัสสรผ่องใส
จิตเมื่อยังไม่ได้ผสมหรือกระทบกับอารมณ์ ย่อมมีสภาพประภัสสรผ่องใส แต่เมื่อมีอารมณ์มาผสมหรือกระทบเข้า ก็กลายเป็นจิตผสมกับอารมณ์ไป ทำให้ถูกปรุงแต่งและเกิดความยินดียินร้ายขึ้น จนเสียสภาพประภัสสรผ่องใสที่มีอยู่เดิมไปหมดสิ้น
มีพระบาลีรับรอง ดังนี้
ปภสฺสรมิทํ ภิกฺขเว จิตฺตํ, ตญฺจโข อาคนฺตุเกหิ อุปกิเลเสหิ อุปกิลิฏฺฐํ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนี้มีสภาพประภัสสรผ่องใส แต่ที่เศร้าหมองไปนั้น
เพราะมีอุปกิเลสเป็นแขกจรเข้ามาในภายหลัง
ทั้งนี้หมายความว่า เมื่อยังไม่มีอารมณ์เป็นแขกจรเข้ามานั้น จิตมีสภาพประภัสสร ผ่องใส สงบ ไม่วุ่นวายเลย แต่ถ้ามีแขกจรเข้ามาแล้ว ก็ปรุงแต่งครอบงำให้จิตหวั่นไหว เศร้าหมองเสียคุณภาพที่มีอยู่เดิมไป
อาการปรุงแต่งหวั่นไหวนี้ แสดงออกมาในรูปของความยินดีบ้าง ยินร้ายบ้าง สลับกันไปมา ตลอดเวลาที่มีอารมณ์จรเข้ามากระทบ (คือ อาการของจิตเกิดขึ้นที่จิต และดับไปจากจิต) แล้วก็กลับคืนสู่สภาพประภัสสรผ่องใสอีกชั่วระยะเวลาสั้นๆ ก่อนที่จะมีอารมณ์ชนิดอื่นจรเข้ามา ปรุงแต่งในลำดับต่อไปอีกเสมอ
สภาพที่จิตแสดงออกหลังจากกระทบอารมณ์แล้วนี้ เมื่อดำเนินไปบ่อยๆครั้ง และเป็นระยะเวลานาน สั่งสมกันมากๆเข้า ก็ย่อมกลายเป็น นิสัย-อุปนิสัย จนเกิดความเคยชิน ทำให้เกิดเป็น อนุสัย นอนเนื่องติดอยู่ที่จิต ตามชนิดของอารมณ์ที่เข้ามากระทบ
ทำให้เกิดความยึดมั่นถือมั่นต่ออารมณ์นั้นๆ มากขึ้นโดยลำดับ เพราะเข้าใจผิดว่า อารมณ์เป็นสิ่งเที่ยงแท้ถาวร จึงปรารถนาจะครอบครองไว้ถ้าถูกใจ หรือผลักไสออกไปเสียให้พ้นถ้าไม่ถูกใจ ทั้งนี้เนื่องจากความโง่เขลาเพราะไม่รู้จักสภาพประภัสสรผ่องใสของตนที่มีอยู่เดิม.
จิตประภัสสร กับ จิตบริสุทธิ์
คำว่า สภาพประภัสสรผ่องใส นี้ ได้เป็นจุดที่นักศึกษาธรรมะนำมาสนทนาถกเถียงโต้แย้งกันมากว่า ถ้าสภาพเดิมของจิตบริสุทธิ์จริงแล้ว ก็ต้องเป็นจิตพระอรหันต์ จึงย่อมไม่มาเกิดอีกต่อไป
ความจริงแล้ว สภาพประภัสสร หมายถึง ความผ่องใสเลื่อมพราย ที่มีอยู่เป็นพื้นฐานของจิต ที่เรียกว่า ภวังคจิต นั่นเอง สภาพประภัสสรนี้จะปรากฏที่จิต หลังจากที่รับรู้อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเสร็จแล้ว กับก่อนที่จะเปลี่ยนไปรับรู้อารมณ์อีกอย่างหนึ่งต่อไป ดังนั้น จึงเป็นเวลาที่สั้นมาก ถ้าจิตไม่มีสมาธิจริงๆแล้ว จะไม่เห็นจิตประภัสสรของตนเอง
ส่วนคำว่า จิตบริสุทธิ์ หมายถึง ความผ่องใสของจิต ชั้นพุทโธ ธัมโม สังโฆ เพราะได้รับการศึกษาอบรมและปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ มาสมบูรณ์ดีแล้ว จนรู้จักอารมณ์ทั้งหลายดีว่าเป็นทุกข์ ไม่มีแก่นสาร จึงสิ้นเยื่อใยที่จะยึดถือไว้อีกต่อไป
จิตประภัสสร กับ จิตบริสุทธิ์ มีสภาพธรรมเหมือนกัน แต่แตกต่างกันโดยภาวะ คือ
จิตประภัสสร ไม่มีสติควบคุมอยู่ ดังนั้น จึงถูกอารมณ์เข้ามาครอบงำปรุงแต่งตลอดเวลา
แต่ จิตบริสุทธิ์ นั้น มีสติตื่นควบคุมอยู่อย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย จนสามารถดำรงตนอยู่ในโลกที่เต็มไปด้วยอารมณ์ได้ โดยไม่เสียคุณภาพอันบริสุทธิ์ผ่องใสดังสามัญชนอีกต่อไป ดุจใบบัวที่อยู่รวมกับน้ำได้ โดยตนเองไม่เปียกน้ำ ฉะนั้น.
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
https://dhamaprateep9.wordpress.com/%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95/%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%AA/
จิต ตน ธรรม เรา คือ สิ่งเดียวกัน
มีเรื่องบรรยายในมหาปรินิพพานสูตร ตอนหนึ่งว่า ครั้งหนึ่ง ขณะที่พระอานนท์ได้เข้ากราบทูลถามพระอาการประชวร ของพระพุทธองค์ว่าทรงเป็นอย่างไรบ้างนั้น พระพุทธองค์ได้ตรัสตอบว่า
อานนท์ จิตของเราได้ตั้งอยู่ ณ ที่ อนิมิตตเจโตสมาธิวิหาร ไม่มีนิมิตหมายอื่นใดอยู่ เราจึงหายป่วยแล้ว เราไม่ได้ป่วย แต่ที่ป่วยนั้นเป็นเรื่องของร่างกาย
ด้วยเหตุนี้แหละอานนท์ เธอจงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง หรือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง ดังนี้
พระพุทธองค์ทรงแสดงชัดเจนว่า จิต ตน ธรรม เรา คือสิ่งเดียวกัน ส่วนรูปร่างกายนั้นไม่ใช่เรา แต่เป็นที่อาศัยของเราเท่านั้น
คำว่า อนิมิตตเจโตสมาธิวิหาร นั้น หมายถึง จิตที่ได้รับการฝึกฝนให้สลัดอารมณ์ทุกชนิดออกไปอย่างหมดจดสิ้นเชิง ด้วยความชำนาญคล่องแคล่ว โดยการฝึกฝนปฏิบัติ “สัมมาสมาธิ” ในสติปัฏฐาน ๔ ซึ่งจัดเป็น จิตชั้นพุทโธ
ดังนั้นจึงตรัสว่า จิต ตน ธรรม เรา คือสิ่งเดียวกัน.
พระพุทธองค์ทรงสอนพระวักกลิว่า จิตคือเรา
พระวักกลิ เป็นพระภิกษุรูปหนึ่ง ที่เข้าใจผิดว่า รูปร่างกายคือเรา จึงได้ตามเสด็จพระพุทธองค์อย่างใกล้ชิด ด้วยความกระหยิ่มยิ้มย่องว่าได้เข้าใกล้ชิด และเข้าถึงพระพุทธเจ้าแล้ว ซึ่งพระพุทธองค์ก็ทรงทราบความในใจของพระวักกลิเรื่องนี้อยู่ เมื่อได้โอกาสจึงตรัสว่า
วักกลิ เธอสำคัญมั่นหมายเอารูปร่างกาย ซึ่งเป็นสิ่งปฏิกูลเน่าเปื่อยได้ของเรา ว่าเป็นเรา และ กระหยิ่มยิ้มย่องว่าได้อยู่กับเรา ใกล้เรา ถึงเรา คนตาบอดมืดมิดเช่นเธอ ไม่ต้องพูดถึงการเดินตามหลังก็ได้ ต่อให้จับชายจีวรของเราไว้อีกด้วย ก็ไม่เห็นเรา ไม่รู้จักเรา ไม่ถึงเรา ไม่ใกล้เรา แต่ต่างกันอย่างฟ้ากับดินทีเดียว ทางตั้งแต่ที่นี้ไปถึงเขาจักรวาลที่ว่าไกลนั้น ก็ยังนับว่าใกล้กว่า แต่เธอกับเราห่างกันไกลยิ่งกว่านั้น เป็นแสนไกลล้านไกลทีเดียว
วักกลิ เมื่อเธอต้องการจะเห็นเรา ใกล้เรา ถึงเรา เราก็จะบอกทางให้ แล้วพระองค์ก็ตรัสว่า
โย ธมฺมํ ปสฺสติ โสมํ ปสฺสติ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา
แสดงว่า จิต คือ ธรรม คือ เรา ส่วนรูปร่างกายไม่ใช่เรา แต่เป็นที่อาศัยของเราเท่านั้น.
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
https://dhamaprateep9.wordpress.com/%e0%b8%88%e0%b8%b4%e0%b8%95/%e0%b8%88%e0%b8%b4%e0%b8%95-%e0%b8%95%e0%b8%99-%e0%b8%98%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%a1-%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b2/
การทำจิตให้ผ่องใส
สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทฺธาน สาสนํ การทำจิตของตนให้ผ่องใส เป็นการทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
พระพุทธเจ้าผู้พระบรมศาสดา ได้ตรัสสอนกาย วาจา จิต มิได้สอนอย่างอื่น สอนให้ปฏิบัติ ฝึกหัดจิตใจ ให้เอาจิตพิจารณากายเรียกว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน หัดสติให้มากในการค้นคว้าที่เรียกว่าธัมมวิจยะ พิจารณาให้พอทีเดียว เมื่อพิจารณาพอจนเป็นสติสัมโพชฌงค์ จิตจึงจะเป็นสมาธิรวมลงเอง
สมาธิมี 3 ขั้น คือ ขณิกสมาธิ จิตรวมลงไปสู่ฐีติขณะแล้วพักอยู่หน่อยหนึ่ง ถอยออกมาเสีย อุปจารสมาธิ จิตรวมลงสู่ภวังค์แล้วพักอยู่นานหน่อยจึงถอยออกมารู้นิมิตอย่างใดอย่างหนึ่ง และอัปปนาสมาธิ สมาธิอันแน่วแน่ ได้แก่จิตรวมลงสู่ภวังค์ถึงฐีติธรรมถึงเอกัคคตา ความมีอารมณ์เดียว หยุดนิ่งอยู่กับที่ มีความรู้ตัวอยู่ว่า จิตดำรงอยู่ และประกอบด้วยองค์ฌาน 5 ประการ ค่อยสงบประณีตเข้าไปโดยลำดับ
เมื่อหัดจิตอยู่อย่างนี้ ชื่อว่าทำจิตให้ยิ่ง ได้ในพระบาลีว่า อธิจิตฺ เต จ อาโยโค เอตํ พุทฺธาน สาสนํ การประกอบความพากเพียรทำจิตให้ยิ่ง เป็นการปฏิบัติตามคำสอนของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
การพิจารณากายนี้แล ชื่อว่าปฏิบัติ อันนักปราชญ์ทั้งหลายมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นต้นแสดงไว้ มีหลายนัยหลายประการ ท่านกล่าวไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตร เรียกว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ในมูลกรรมฐานเรียกว่า เกสา โลมา นขา ทนฺตา ตโจ ที่พระอุปัชฌายะสอนเบื้องต้นแห่งการบรรพชาเป็นสามเณร และในธรรมจักกัปปวัตนสูตรว่า ชาติปิ ทุกฺขา ชราปิ ทุกฺขา มรณมฺปิ ทุกฺขํ แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์ แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์ แม้ความตายก็เป็นทุกข์ ดังนี้ บัดนี้เราก็เกิดมาแล้วมิใช่หรือ? ครั้นเมื่อบุคคลมาปฏิบัติให้เป็น โอปนยิโก น้อมเข้ามาพิจารณาในตนนี้แล้วเป็นไม่ผิด เพราะพระธรรมเป็น อกาลิโก มีอยู่ทุกเมื่อ อาโลโก สว่างโร่อยู่ทั้งกลางวันและกลางคืน ไม่มีอะไรปิดบังเลย ฯ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.baanjomyut.com/pratripidok/mon/10.html
จิตเดิมประภัสสรผ่องใส
จิตเมื่อยังไม่ได้ผสมหรือกระทบกับอารมณ์ ย่อมมีสภาพประภัสสรผ่องใส แต่เมื่อมีอารมณ์มาผสมหรือกระทบเข้า ก็กลายเป็นจิตผสมกับอารมณ์ไป ทำให้ถูกปรุงแต่งและเกิดความยินดียินร้ายขึ้น จนเสียสภาพประภัสสรผ่องใสที่มีอยู่เดิมไปหมดสิ้น
ปภสฺสรมิทํ ภิกฺขเว จิตฺตํ, ตญฺจโข อาคนฺตุเกหิ อุปกิเลเสหิ อุปกิลิฏฺฐํ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนี้มีสภาพประภัสสรผ่องใส แต่ที่เศร้าหมองไปนั้น
เพราะมีอุปกิเลสเป็นแขกจรเข้ามาในภายหลัง
ทั้งนี้หมายความว่า เมื่อยังไม่มีอารมณ์เป็นแขกจรเข้ามานั้น จิตมีสภาพประภัสสร ผ่องใส สงบ ไม่วุ่นวายเลย แต่ถ้ามีแขกจรเข้ามาแล้ว ก็ปรุงแต่งครอบงำให้จิตหวั่นไหว เศร้าหมองเสียคุณภาพที่มีอยู่เดิมไป
อาการปรุงแต่งหวั่นไหวนี้ แสดงออกมาในรูปของความยินดีบ้าง ยินร้ายบ้าง สลับกันไปมา ตลอดเวลาที่มีอารมณ์จรเข้ามากระทบ (คือ อาการของจิตเกิดขึ้นที่จิต และดับไปจากจิต) แล้วก็กลับคืนสู่สภาพประภัสสรผ่องใสอีกชั่วระยะเวลาสั้นๆ ก่อนที่จะมีอารมณ์ชนิดอื่นจรเข้ามา ปรุงแต่งในลำดับต่อไปอีกเสมอ
สภาพที่จิตแสดงออกหลังจากกระทบอารมณ์แล้วนี้ เมื่อดำเนินไปบ่อยๆครั้ง และเป็นระยะเวลานาน สั่งสมกันมากๆเข้า ก็ย่อมกลายเป็น นิสัย-อุปนิสัย จนเกิดความเคยชิน ทำให้เกิดเป็น อนุสัย นอนเนื่องติดอยู่ที่จิต ตามชนิดของอารมณ์ที่เข้ามากระทบ
ทำให้เกิดความยึดมั่นถือมั่นต่ออารมณ์นั้นๆ มากขึ้นโดยลำดับ เพราะเข้าใจผิดว่า อารมณ์เป็นสิ่งเที่ยงแท้ถาวร จึงปรารถนาจะครอบครองไว้ถ้าถูกใจ หรือผลักไสออกไปเสียให้พ้นถ้าไม่ถูกใจ ทั้งนี้เนื่องจากความโง่เขลาเพราะไม่รู้จักสภาพประภัสสรผ่องใสของตนที่มีอยู่เดิม.
คำว่า สภาพประภัสสรผ่องใส นี้ ได้เป็นจุดที่นักศึกษาธรรมะนำมาสนทนาถกเถียงโต้แย้งกันมากว่า ถ้าสภาพเดิมของจิตบริสุทธิ์จริงแล้ว ก็ต้องเป็นจิตพระอรหันต์ จึงย่อมไม่มาเกิดอีกต่อไป
ความจริงแล้ว สภาพประภัสสร หมายถึง ความผ่องใสเลื่อมพราย ที่มีอยู่เป็นพื้นฐานของจิต ที่เรียกว่า ภวังคจิต นั่นเอง สภาพประภัสสรนี้จะปรากฏที่จิต หลังจากที่รับรู้อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเสร็จแล้ว กับก่อนที่จะเปลี่ยนไปรับรู้อารมณ์อีกอย่างหนึ่งต่อไป ดังนั้น จึงเป็นเวลาที่สั้นมาก ถ้าจิตไม่มีสมาธิจริงๆแล้ว จะไม่เห็นจิตประภัสสรของตนเอง
ส่วนคำว่า จิตบริสุทธิ์ หมายถึง ความผ่องใสของจิต ชั้นพุทโธ ธัมโม สังโฆ เพราะได้รับการศึกษาอบรมและปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ มาสมบูรณ์ดีแล้ว จนรู้จักอารมณ์ทั้งหลายดีว่าเป็นทุกข์ ไม่มีแก่นสาร จึงสิ้นเยื่อใยที่จะยึดถือไว้อีกต่อไป
จิตประภัสสร กับ จิตบริสุทธิ์ มีสภาพธรรมเหมือนกัน แต่แตกต่างกันโดยภาวะ คือ
จิตประภัสสร ไม่มีสติควบคุมอยู่ ดังนั้น จึงถูกอารมณ์เข้ามาครอบงำปรุงแต่งตลอดเวลา
แต่ จิตบริสุทธิ์ นั้น มีสติตื่นควบคุมอยู่อย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย จนสามารถดำรงตนอยู่ในโลกที่เต็มไปด้วยอารมณ์ได้ โดยไม่เสียคุณภาพอันบริสุทธิ์ผ่องใสดังสามัญชนอีกต่อไป ดุจใบบัวที่อยู่รวมกับน้ำได้ โดยตนเองไม่เปียกน้ำ ฉะนั้น.
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
https://dhamaprateep9.wordpress.com/%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95/%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%AA/
มีเรื่องบรรยายในมหาปรินิพพานสูตร ตอนหนึ่งว่า ครั้งหนึ่ง ขณะที่พระอานนท์ได้เข้ากราบทูลถามพระอาการประชวร ของพระพุทธองค์ว่าทรงเป็นอย่างไรบ้างนั้น พระพุทธองค์ได้ตรัสตอบว่า
อานนท์ จิตของเราได้ตั้งอยู่ ณ ที่ อนิมิตตเจโตสมาธิวิหาร ไม่มีนิมิตหมายอื่นใดอยู่ เราจึงหายป่วยแล้ว เราไม่ได้ป่วย แต่ที่ป่วยนั้นเป็นเรื่องของร่างกาย
ด้วยเหตุนี้แหละอานนท์ เธอจงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง หรือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง ดังนี้
พระพุทธองค์ทรงแสดงชัดเจนว่า จิต ตน ธรรม เรา คือสิ่งเดียวกัน ส่วนรูปร่างกายนั้นไม่ใช่เรา แต่เป็นที่อาศัยของเราเท่านั้น
คำว่า อนิมิตตเจโตสมาธิวิหาร นั้น หมายถึง จิตที่ได้รับการฝึกฝนให้สลัดอารมณ์ทุกชนิดออกไปอย่างหมดจดสิ้นเชิง ด้วยความชำนาญคล่องแคล่ว โดยการฝึกฝนปฏิบัติ “สัมมาสมาธิ” ในสติปัฏฐาน ๔ ซึ่งจัดเป็น จิตชั้นพุทโธ
ดังนั้นจึงตรัสว่า จิต ตน ธรรม เรา คือสิ่งเดียวกัน.
พระวักกลิ เป็นพระภิกษุรูปหนึ่ง ที่เข้าใจผิดว่า รูปร่างกายคือเรา จึงได้ตามเสด็จพระพุทธองค์อย่างใกล้ชิด ด้วยความกระหยิ่มยิ้มย่องว่าได้เข้าใกล้ชิด และเข้าถึงพระพุทธเจ้าแล้ว ซึ่งพระพุทธองค์ก็ทรงทราบความในใจของพระวักกลิเรื่องนี้อยู่ เมื่อได้โอกาสจึงตรัสว่า
วักกลิ เธอสำคัญมั่นหมายเอารูปร่างกาย ซึ่งเป็นสิ่งปฏิกูลเน่าเปื่อยได้ของเรา ว่าเป็นเรา และ กระหยิ่มยิ้มย่องว่าได้อยู่กับเรา ใกล้เรา ถึงเรา คนตาบอดมืดมิดเช่นเธอ ไม่ต้องพูดถึงการเดินตามหลังก็ได้ ต่อให้จับชายจีวรของเราไว้อีกด้วย ก็ไม่เห็นเรา ไม่รู้จักเรา ไม่ถึงเรา ไม่ใกล้เรา แต่ต่างกันอย่างฟ้ากับดินทีเดียว ทางตั้งแต่ที่นี้ไปถึงเขาจักรวาลที่ว่าไกลนั้น ก็ยังนับว่าใกล้กว่า แต่เธอกับเราห่างกันไกลยิ่งกว่านั้น เป็นแสนไกลล้านไกลทีเดียว
วักกลิ เมื่อเธอต้องการจะเห็นเรา ใกล้เรา ถึงเรา เราก็จะบอกทางให้ แล้วพระองค์ก็ตรัสว่า
โย ธมฺมํ ปสฺสติ โสมํ ปสฺสติ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา
แสดงว่า จิต คือ ธรรม คือ เรา ส่วนรูปร่างกายไม่ใช่เรา แต่เป็นที่อาศัยของเราเท่านั้น.
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
https://dhamaprateep9.wordpress.com/%e0%b8%88%e0%b8%b4%e0%b8%95/%e0%b8%88%e0%b8%b4%e0%b8%95-%e0%b8%95%e0%b8%99-%e0%b8%98%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%a1-%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b2/
สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทฺธาน สาสนํ การทำจิตของตนให้ผ่องใส เป็นการทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
พระพุทธเจ้าผู้พระบรมศาสดา ได้ตรัสสอนกาย วาจา จิต มิได้สอนอย่างอื่น สอนให้ปฏิบัติ ฝึกหัดจิตใจ ให้เอาจิตพิจารณากายเรียกว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน หัดสติให้มากในการค้นคว้าที่เรียกว่าธัมมวิจยะ พิจารณาให้พอทีเดียว เมื่อพิจารณาพอจนเป็นสติสัมโพชฌงค์ จิตจึงจะเป็นสมาธิรวมลงเอง
สมาธิมี 3 ขั้น คือ ขณิกสมาธิ จิตรวมลงไปสู่ฐีติขณะแล้วพักอยู่หน่อยหนึ่ง ถอยออกมาเสีย อุปจารสมาธิ จิตรวมลงสู่ภวังค์แล้วพักอยู่นานหน่อยจึงถอยออกมารู้นิมิตอย่างใดอย่างหนึ่ง และอัปปนาสมาธิ สมาธิอันแน่วแน่ ได้แก่จิตรวมลงสู่ภวังค์ถึงฐีติธรรมถึงเอกัคคตา ความมีอารมณ์เดียว หยุดนิ่งอยู่กับที่ มีความรู้ตัวอยู่ว่า จิตดำรงอยู่ และประกอบด้วยองค์ฌาน 5 ประการ ค่อยสงบประณีตเข้าไปโดยลำดับ
เมื่อหัดจิตอยู่อย่างนี้ ชื่อว่าทำจิตให้ยิ่ง ได้ในพระบาลีว่า อธิจิตฺ เต จ อาโยโค เอตํ พุทฺธาน สาสนํ การประกอบความพากเพียรทำจิตให้ยิ่ง เป็นการปฏิบัติตามคำสอนของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
การพิจารณากายนี้แล ชื่อว่าปฏิบัติ อันนักปราชญ์ทั้งหลายมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นต้นแสดงไว้ มีหลายนัยหลายประการ ท่านกล่าวไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตร เรียกว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ในมูลกรรมฐานเรียกว่า เกสา โลมา นขา ทนฺตา ตโจ ที่พระอุปัชฌายะสอนเบื้องต้นแห่งการบรรพชาเป็นสามเณร และในธรรมจักกัปปวัตนสูตรว่า ชาติปิ ทุกฺขา ชราปิ ทุกฺขา มรณมฺปิ ทุกฺขํ แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์ แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์ แม้ความตายก็เป็นทุกข์ ดังนี้ บัดนี้เราก็เกิดมาแล้วมิใช่หรือ? ครั้นเมื่อบุคคลมาปฏิบัติให้เป็น โอปนยิโก น้อมเข้ามาพิจารณาในตนนี้แล้วเป็นไม่ผิด เพราะพระธรรมเป็น อกาลิโก มีอยู่ทุกเมื่อ อาโลโก สว่างโร่อยู่ทั้งกลางวันและกลางคืน ไม่มีอะไรปิดบังเลย ฯ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.baanjomyut.com/pratripidok/mon/10.html