เมื่อใจได้มีความชำนิชำนาญ สติกับปัญญามีกำลังกล้าขึ้นเป็นลำดับ
แม้ส่วนเหล่านี้ก็จะต้องถูกถอนไปจากอุปาทานอีกเช่นเดียวกันกับกาย ความรู้ทั้งหมดที่เคยแผ่ซ่านไปสู่ที่ต่าง ๆ อันเป็นเชื้อแห่งอุปาทาน
ที่จะได้ตามเกาะ ตามยึดมั่นถือมั่นนั้น
ก็หดตัวเข้ามา ทั้งด้านรูป ด้านเสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัส และในส่วนแห่งร่างกายส่วนนี้
ตลอดถึงเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
รวมเข้าไปสู่จุดเดียวที่เรียกว่า ตัวอวิชชา ที่พาให้ก่อกำเนิดเกิดอยู่เสมอนั้น ได้แก่ดวงใจ
เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าท่านจึงตรัสไว้เพียงว่า
ปภสฺสรมิทํ จิตฺตํ จิตเบื้องต้นเป็นประภัสสร ไม่ได้หมายถึงว่าจิตบริสุทธิ์
เป็นเพียงมีความผ่องใสเท่านั้น แต่
เป็นจิตที่ผ่องใสอยู่ในภาวะแห่งอวิชชาที่ครองตัวอยู่เท่านั้น
ไม่ได้เป็นจิตที่ผ่องใสเพราะอำนาจแห่งความบริสุทธิ์ ฉะนั้นจิตดวงนี้จึงควรที่จะถือกำเนิดเกิดได้ในกำเนิดและสถานที่ต่าง ๆ เป็นธรรมดา
แต่ถ้าจิตได้ถูกซักฟอกด้วยอำนาจของสติและปัญญา แม้ความที่ว่าจิตผ่องใสนั้น ซึ่งติดสมมุติของอวิชชาสถิตอยู่
ก็ได้ถูกปัญญาพิจารณาจนรู้รอบไม่มีอันใดเหลือแล้ว กลายเป็นจิตที่บริสุทธิ์ขึ้นมา
นั้นแลจึงไม่ใช่ฐานะที่จะก่อกำเนิดเกิดอีกเช่นที่เคยเป็นมา
จิตนี้เรียกว่าเป็นจิตที่บริสุทธิ์ได้จริง ๆ เป็นจิตที่พ้นจากภาวะที่เคยเป็นมา
เพราะฉะนั้นในปัญหาข้อที่ว่า
ปภสฺสรมิทํ จิตฺตํ ที่ท่านว่าไว้ในธรรมบทจึงมีปัญหาข้องใจอยู่บ้างว่า ถ้าจิตเมื่อผ่องใสแล้วทำไมจึงเกิด
แต่ท่านว่าจิตเดิมนั้นเป็นจิตที่ผ่องใส แต่เพราะกิเลสเป็นอาคันตุกะที่จรมา ใจจึงกลายเป็นของที่มัวหมองไปได้ จิตที่ผ่องใสนั้นแล
เป็นสถานที่หรือเป็นศาลา เป็นสถานีที่พักจอดแห่งอารมณ์ทั้งหลาย ความผ่องใสอันนั้นไม่ใช่ผ่องใสในวิมุตติ
เป็นแต่ความผ่องใสที่เป็นสถานที่ควรแก่สมมุติด้วยกันที่จะเข้าอาศัยกันได้ เพราะฉะนั้นอวิชชากับสิ่งสมมุติทั่ว ๆ
ไปจึงประสานกันได้เป็นธรรมดา
เพราะคำผ่องใสนั้นก็เป็นสมมุติอันหนึ่ง เรียกว่าสมมุติของอวิชชา สิ่งทั้งหลายที่จะเกิดแทรกขึ้นจากอวิชชาเป็นต้นเหตุนั้น
จึงกลายเป็นสมมุติอันหนึ่งขึ้นมา เมื่อยังไม่ได้ถูกทำลายความผ่องใสจุดนี้ด้วยปัญญาให้เต็มที่เสียเมื่อไรแล้ว
เรื่องความเกิดเราจะปฏิเสธไม่ได้วันยังค่ำคืนยังรุ่ง และไม่ขึ้นอยู่กับผู้ใดด้วย ใครจะเห็นด้วยก็ตามไม่เห็นด้วยก็ตาม
เชื่อหรือไม่เชื่อก็ตาม ธรรมชาตินี้ต้องเป็นธรรมชาติที่จะทำตามหน้าที่ของตนอย่างนั้นตลอดกาล
ต่อเมื่อได้ทำลายสภาพนี้ลงไปด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ให้เต็มที่แล้ว สภาพนี้จึงจะสูญจากความเป็นสมมุติ
อันเป็นสถานที่ควรเกิดนั้นเสีย
กลายเป็นวิมุตติขึ้นมาในจิตที่ได้ทำลายอวิชชานั้นให้พ้นไปจากตัว
กลายเป็นวิมุตติขึ้นมาภายในใจ
นี่มาถึงขั้นนี้เราจะเห็นได้ชัดว่า ธรรมะคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่ประทานเอาไว้เพื่อผู้ปฏิบัติให้เห็นผลนั้น
จะเห็นผลในภาคใดกาลใด ต้องเห็นประจักษ์มาเป็นลำดับ นับตั้งแต่ขั้นต้นคือการบำเพ็ญทาน การรักษาศีล การภาวนา
มีความเยือกเย็นมาเป็นลำดับ จนกระทั่งถึงขั้นที่เยือกเย็นเต็มที่ ได้แก่ถึงขั้นที่หลุดพ้นไปเสียจริง ๆ
นี่เราอยู่ที่ไหนก็เห็นว่า
ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึ ประจักษ์กับใจอยู่ตลอดเวลา รักษาใจได้เป็นอย่างดี
------------------------------
พระธรรมรักษา - พระธรรมเทศนาโดย หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
เทศน์อบรมพระและฆราวาส ณ วัดป่าบ้านตาด เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๐๗
อ่านเนื้อหาเต็มได้จาก
http://www.luangta.com/thamma/thamma_talk_text.php?ID=805&CatID=2
ปภสฺสรมิทํ จิตฺตํ - หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
เมื่อใจได้มีความชำนิชำนาญ สติกับปัญญามีกำลังกล้าขึ้นเป็นลำดับ
แม้ส่วนเหล่านี้ก็จะต้องถูกถอนไปจากอุปาทานอีกเช่นเดียวกันกับกาย ความรู้ทั้งหมดที่เคยแผ่ซ่านไปสู่ที่ต่าง ๆ อันเป็นเชื้อแห่งอุปาทาน
ที่จะได้ตามเกาะ ตามยึดมั่นถือมั่นนั้น ก็หดตัวเข้ามา ทั้งด้านรูป ด้านเสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัส และในส่วนแห่งร่างกายส่วนนี้
ตลอดถึงเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รวมเข้าไปสู่จุดเดียวที่เรียกว่า ตัวอวิชชา ที่พาให้ก่อกำเนิดเกิดอยู่เสมอนั้น ได้แก่ดวงใจ
เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าท่านจึงตรัสไว้เพียงว่า ปภสฺสรมิทํ จิตฺตํ จิตเบื้องต้นเป็นประภัสสร ไม่ได้หมายถึงว่าจิตบริสุทธิ์
เป็นเพียงมีความผ่องใสเท่านั้น แต่เป็นจิตที่ผ่องใสอยู่ในภาวะแห่งอวิชชาที่ครองตัวอยู่เท่านั้น
ไม่ได้เป็นจิตที่ผ่องใสเพราะอำนาจแห่งความบริสุทธิ์ ฉะนั้นจิตดวงนี้จึงควรที่จะถือกำเนิดเกิดได้ในกำเนิดและสถานที่ต่าง ๆ เป็นธรรมดา
แต่ถ้าจิตได้ถูกซักฟอกด้วยอำนาจของสติและปัญญา แม้ความที่ว่าจิตผ่องใสนั้น ซึ่งติดสมมุติของอวิชชาสถิตอยู่
ก็ได้ถูกปัญญาพิจารณาจนรู้รอบไม่มีอันใดเหลือแล้ว กลายเป็นจิตที่บริสุทธิ์ขึ้นมา
นั้นแลจึงไม่ใช่ฐานะที่จะก่อกำเนิดเกิดอีกเช่นที่เคยเป็นมา
จิตนี้เรียกว่าเป็นจิตที่บริสุทธิ์ได้จริง ๆ เป็นจิตที่พ้นจากภาวะที่เคยเป็นมา
เพราะฉะนั้นในปัญหาข้อที่ว่า ปภสฺสรมิทํ จิตฺตํ ที่ท่านว่าไว้ในธรรมบทจึงมีปัญหาข้องใจอยู่บ้างว่า ถ้าจิตเมื่อผ่องใสแล้วทำไมจึงเกิด
แต่ท่านว่าจิตเดิมนั้นเป็นจิตที่ผ่องใส แต่เพราะกิเลสเป็นอาคันตุกะที่จรมา ใจจึงกลายเป็นของที่มัวหมองไปได้ จิตที่ผ่องใสนั้นแล
เป็นสถานที่หรือเป็นศาลา เป็นสถานีที่พักจอดแห่งอารมณ์ทั้งหลาย ความผ่องใสอันนั้นไม่ใช่ผ่องใสในวิมุตติ
เป็นแต่ความผ่องใสที่เป็นสถานที่ควรแก่สมมุติด้วยกันที่จะเข้าอาศัยกันได้ เพราะฉะนั้นอวิชชากับสิ่งสมมุติทั่ว ๆ
ไปจึงประสานกันได้เป็นธรรมดา
เพราะคำผ่องใสนั้นก็เป็นสมมุติอันหนึ่ง เรียกว่าสมมุติของอวิชชา สิ่งทั้งหลายที่จะเกิดแทรกขึ้นจากอวิชชาเป็นต้นเหตุนั้น
จึงกลายเป็นสมมุติอันหนึ่งขึ้นมา เมื่อยังไม่ได้ถูกทำลายความผ่องใสจุดนี้ด้วยปัญญาให้เต็มที่เสียเมื่อไรแล้ว
เรื่องความเกิดเราจะปฏิเสธไม่ได้วันยังค่ำคืนยังรุ่ง และไม่ขึ้นอยู่กับผู้ใดด้วย ใครจะเห็นด้วยก็ตามไม่เห็นด้วยก็ตาม
เชื่อหรือไม่เชื่อก็ตาม ธรรมชาตินี้ต้องเป็นธรรมชาติที่จะทำตามหน้าที่ของตนอย่างนั้นตลอดกาล
ต่อเมื่อได้ทำลายสภาพนี้ลงไปด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ให้เต็มที่แล้ว สภาพนี้จึงจะสูญจากความเป็นสมมุติ
อันเป็นสถานที่ควรเกิดนั้นเสีย กลายเป็นวิมุตติขึ้นมาในจิตที่ได้ทำลายอวิชชานั้นให้พ้นไปจากตัว
กลายเป็นวิมุตติขึ้นมาภายในใจ
นี่มาถึงขั้นนี้เราจะเห็นได้ชัดว่า ธรรมะคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่ประทานเอาไว้เพื่อผู้ปฏิบัติให้เห็นผลนั้น
จะเห็นผลในภาคใดกาลใด ต้องเห็นประจักษ์มาเป็นลำดับ นับตั้งแต่ขั้นต้นคือการบำเพ็ญทาน การรักษาศีล การภาวนา
มีความเยือกเย็นมาเป็นลำดับ จนกระทั่งถึงขั้นที่เยือกเย็นเต็มที่ ได้แก่ถึงขั้นที่หลุดพ้นไปเสียจริง ๆ
นี่เราอยู่ที่ไหนก็เห็นว่า ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึ ประจักษ์กับใจอยู่ตลอดเวลา รักษาใจได้เป็นอย่างดี
------------------------------
พระธรรมรักษา - พระธรรมเทศนาโดย หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
เทศน์อบรมพระและฆราวาส ณ วัดป่าบ้านตาด เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๐๗
อ่านเนื้อหาเต็มได้จาก http://www.luangta.com/thamma/thamma_talk_text.php?ID=805&CatID=2