สังเขป4, กาล3, สนธิ3,อาการ20เป็นลักษณะนี้หรืออย่างไร?

มีผู้สันทัดช่วยอธิบาย


(เป็น เหตุ)         อวิชชา เป็นเหตุปัจจัย เกิดสังขาร   (สังเขป 1เป็นอดีตธรรม)
(เป็น เหตุ)         สังขาร เป็นเหตุปัจจัย เกิดวิญญาณ   (สังเขป 1เป็นอดีตธรรม)
(เหตุ+ผล=ปฏิสนธิที่1)
(เป็นผล)            วิญญาณ เป็นเหตุปัจจัย เกิดนามรูป (สังเขป 2เป็นปัจจุบันธรรม)
(เป็นผล)            นามรูป   เป็นเหตุปัจจัย เกิดสฬายตนะ (สังเขป 2เป็นปัจจุบันธรรม)
(เป็นผล)            สฬายตนะเป็นเหตุปัจจัย เกิดผัสสะ(สังเขป 2เป็นปัจจุบันธรรม)
(เป็นผล)             ผัสสะ     เป็นเหตุปัจจัย เกิดเวทนา(สังเขป 2เป็นปัจจุบันธรรม)
(เป็นผล)            เวทนา     เป็นเหตุปัจจัย เกิดตัณหา(สังเขป 2เป็นปัจจุบันธรรม)
(ผล+เหตุ=ปฏิสนธิที่2)
(เป็นเหตุ )          ตัณหา          เป็นเหตุปัจจัย เกิดอุปาทาน (สังเขป 3เป็นปัจจุบันธรรม)
(เป็นเหตุ )           อุปาทาน     เป็นเหตุปัจจัย เกิดภพ (สังเขป 3เป็นปัจจุบันธรรม)
(เป็นเหตุ )           ภพ             เป็นเหตุปัจจัย เกิดชาติ(สังเขป 3เป็นปัจจุบันธรรม)
(เหตุ+ผล=ปฏิสนธิที่3)
(เป็นผล)            ชาติ             เป็นเหตุปัจจัย เกิดชรามรณะ (สังเขป 4เป็นอนาคตธรรม)
(เป็นผล )          ชรามรณะ       (สังเขป 4เป็นอนาคตธรรม)

ธรรมเป็นอดีตกาลเหตุสังเขปที่1มี 5อาการ  อวิชชาเป็นเหตุปัจจัย เกิดสังขารเป็นเหตุ ปัจจัย เกิดตัณหา อุปาทาน ภพในอดีต

ธรรมเป็นปัจจุบันกาลผลสังเขปที่2มี 5อาการ  อวิชชาเป็นเหตุปัจจัย เกิดสังขารเป็นเหตุ ปัจจัย เกิดตัณหา อุปาทาน ภพในปัจจุบัน

ธรรมเป็นปัจจุบันกาลเหตุสังเขปที่3มี 5อาการ  อวิชชาเป็นเหตุปัจจัย เกิดสังขารเป็นเหตุ ปัจจัย เกิดตัณหา อุปาทาน ภพในปัจจุบัน

ธรรมเป็นอนาคตกาลผลสังเขปที่4มี 5อาการ  อวิชชาเป็นเหตุปัจจัย เกิดสังขารเป็นเหตุ ปัจจัย เกิดตัณหา อุปาทาน ภพในอนาคต
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

มหาวรรค ญาณกถา
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=31&A=95&Z=3331


[๙๘] ในกรรมภพก่อน ความหลงเป็นอวิชชา กรรมที่ประมวลมาเป็น
สังขาร ความพอใจเป็นตัณหา ความเข้าถึงเป็นอุปาทาน ความคิดอ่านเป็นภพ
ธรรม ๕ ประการในกรรมภพก่อน เหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งปฏิสนธิในอุปปัตติภพนี้
ปฏิสนธิเป็นวิญญาณ ความก้าวลงเป็นนามรูป ประสาท (ภาวะที่ผ่องใสใจ) เป็น
อายตนะ ส่วนที่ถูกต้องเป็นผัสสะ ความเสวยอารมณ์เป็นเวทนาในอุปปัตติภพนี้
ธรรม ๕ ประการในอุปปัตติภพนี้เหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งกรรมที่ทำไว้ในปุเรภพ
ความหลงเป็นอวิชชา กรรมที่ประมวลมาเป็นสังขาร ความพอใจเป็นตัณหา
ความเข้าถึงเป็นอุปาทาน ความคิดอ่านเป็นภพ (ย่อมมี) เพราะอายตนะทั้งหลาย
ในภพนี้สุดรอบ ธรรม ๕ ประการในกรรมภพนี้เหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งปฏิสนธิ
ในอนาคต ปฏิสนธิในอนาคตเป็นวิญญาณ ความก้าวลงเป็นนามรูป ประสาทเป็น
อายตนะ ส่วนที่ถูกต้องเป็นผัสสะ ความเสวยอารมณ์เป็นเวทนา ธรรม ๕ ประ-
*การในอุปปัตติภพในอนาคตเหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งกรรมที่ทำไว้ในภพนี้ พระ-
*โยคาวจร ย่อมรู้ ย่อมเห็น ย่อมทราบชัด ย่อมแทงตลอด ซึ่งปฏิจจสมุปบาท
มีสังเขป ๔ กาล ๓ ปฏิสนธิ ๓ เหล่านี้ โดยอาการ ๒๐ ด้วยประการดังนี้
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดปัจจัย เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ
-------------------------------------------------------------------------

ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=1

------------------------------------------------------------



ปฏิจจสมุปบาทธรรม  จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://ppantip.com/topic/32573624/comment4

อาการ ๒๐ แห่งปฏิจจสมุปปาท คือ อดีตเหตุ ๕, ปัจจุบันผล ๕, ปัจจุบัน เหตุ ๕ และอนาคตผล ๕

มีความหมายว่า อาการ ๒๐ นั้นได้แก่ สภาพความเป็นไปของปฏิจจสมุปปาท นั่นเอง จึงจำแนกไปตามเหตุตามผลแห่งกาลทั้ง ๓ จึงจัดได้เป็น ๔ พวก ๆ ละ ๕ รวมเป็นอาการ  ๒๐ คือ

๑. อดีตเหตุ ๕ ได้แก่ อวิชชา สังขาร ตัณหา อุปาทาน และภพ ธรรม ๕ ประการนี้ เป็นปัจจัยให้ปรากฏปัจจุบันผล ๕

๒. ปัจจุบันผล ๕ ได้แก่ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ และเวทนา

๓. ปัจจุบันเหตุ ๕ ได้แก่ ตัณหา อุปาทาน ภพ อวิชชา และสังขาร ธรรม ๕ ประการนี้เป็นปัจจัยให้ปรากฏอนาคตผล ๕

๔. อนาคตผล ๕ ได้แก่ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ และเวทนา



สังเขป4, กาล3, สนธิ3,อาการ20เป็นลักษณะนี้หรืออย่างไร?

ลองเทียบเคียงกับ คู่มือการศึกษาพระอภิธัมัตถสังคหะ ดูครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่