ทุกข์เป็นของควรกำหนดรู้ ปฏิบัติได้จริงหรือ?

ผู้ที่เห็นธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นของง่าย  ผู้นั้นมีโอกาสได้ดวงตาเห็นธรรมได้ง่าย
       ผู้นั้นจะมีใจจดจ่อในธรรมะของพระพุทธเจ้า   ผู้นั้นมีใจฝักใจในธรรม  ไม่เบื่อหน่าย
       ไม่ย่อท้อ  มีใจเป็นสุข   นิวรณ์5จะเกิดได้ยาก สำหรับผู้ที่ มี่ความอยากทำ
         มีศรัทธาที่จะเข้าถึงธรรม  มีใจค้นหาธรรม
       เหมือน เด็กที่ชอบเรียน วิทยาศาสตร์ ชอบค้นคว้า
         พอถึง ชั่วโมงเรียน ก็กระตือรือร้น เข้าห้องเรียน
       ตั้งใจฟัง คิด ตามที่สอน ไม่เข้าใจก็กระตือรือร้นที่จะถาม  
          แล้วก็บันทึก ทำการทดลอง เกิดปัญญา
      
          ส่วนเด็กที่ไม่ชอบเรียนวิทยาศาสตร์ ก็ไม่เข้า เรียน โดดเรียน
           เมื่อเข้าเรียนก็เพราะกลัวไม่มีสิทธิ์สอบ
            ก็เรียนไปยังงั้นไม่ตั้งใจฟัง ไม่ คิด ไม่ถาม ไม่บันทึก ไม่ทดลอง โง่ดักดาน
             แถมชวนเพื่อนคุย ทำลายสมาธิคนอื่น
           เวลาสอบทำไม่ได้ก็เที่ยวลอกคนอื่น
          พระพุทธเจ้าสอนหลักๆ ก็คือ   อริยสัจ4   หัวใจศาสนาพุทธ
         เป็นธรรมะแท้ ไม่มีการดัดแปลง ต่อเติม แก้ไข
          อริยสัจ4 ก็คือ อริยสัจ4  ไม่มีใครมาแก้ไขเป็นอริยะอื่นๆ
             เหมือนตำราอื่นที่แอบยัดใส้
           เอาคำสอนของตนเองไปตู่ว่าเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า  
              อริยะสัจ4   มี หลัก คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
           เรามาเรียนรู้หลักแค่นี้ ใจก็ได้ รู้วิชชาแล้ว
             ไม่ต้องไปรู้อะไรที่พิศดาร ให้ฟุ้งซ่านใจ เห็นตำราเต็มตู้
            เกิดความท้อแท้ใจ  ไม่อยากไปเปิดอ่าน
            ทุกข์เป็นของควรกำหนดรู้ ปฏิบัติได้ง่ายมาก
          
             ทุกข์เป็นของดี พระพุทธเจ้าจึงสอนว่า  ทุกข์เป็นของควรกำหนดรู้  ทุกข์ห้ามละ
            มีมากที่สอนขัดกับคำสอนของพระพุทธเจ้าว่า  ทุกข์ จะต้องละ
            ต้องละทุกข์  ก็เลยไม่รู้จักทุกข์ว่าทุกข์ เป็นอย่างไร มีอะไร บ้าง
            ไม่เห็นทุกข์ หลงทุกข์ นึกว่าเป็ยสุข
             สุขในโลกนี้ไม่มี  นอกจากสุขนิพพาน จึงเป็นสุขแท้  
             ทุกข์เป็นของควรกำหนดรู้ ปฏิบัติได้ง่ายมาก
          
           อย่างเช่นเวลา เราขับรถมาทำงาน   มีรถคันหนึ่งปาดหน้ารถเราแล้วเปิดกระจกรถ
            ด่าเรา แล้วก็รถขับหนีไป  เราเกิดทุกข์ขี้นมาทันที  
           สมาธิตั้งมั่น  สติ จับที่รถคันที่ด่าเรา สติจับทุกข์ที่เกิดที่จิต สัมปชัญญะ
           รู้ว่าทุกข์      ตัวนี้ก็คือตัวโกรธ สัมปชัญญะรู้ก็คือปัญญาตัวเดียวกัน ก็เกิดปัญญา
           ว่าโกรธเกิดขึ้นอย่างไรจากใคร  โกรธเมื่อไร เกิดที่ไหน ใครเป็นผู้โกรธ
         ตั้งอยู่อย่างไร  ความโกรธ เสื่อมลง ดับไปอย่างไร  ดับที่ไหน
         จิตเห็น ไตรลักษณ์  เห็นอนิจจัง ทุกขัง  อนัตตา
          เห็นแบบนี้ ไม่ไปนึกนำ ไม่ไปคิด ปรุงแต่ง
        สัญญา สังขาร จะมาจูงปัญญาไป ทำให้หลงในสัญญาหลงในสังขาร  
        ไม่เห็น ไตรลักษณ์  เห็นอนิจจัง ทุกขัง  อนัตตา ตามความเป็นจริงที่เกิดที่จิต
        สติ สมาธิ สัมปชัญญะ เกิดขึ้น พร้อมกัน  เราไม่ต้องไปนึก มันเกิดเอง ตามธรรมชาติ
         สติ สมาธิ สัมปชัญญะ  รู้ที่อายตนะ  12  อยู่ที่อานาปานสติ
          รู้ลมหายใจ เข้าออก ยาว สั้น อย่างไรที่เป็นธรรมชาติ
           ให้รู้อย่างนั้นอย่าไปบังคับลมหายใจ   พร้อมกับดูสติปัฏฐาน4ควบคู่กันไป
           สติปัฏฐาน4 เราไม่ต้องนึก มันเกิดขึ้นเองอัตโนมัติ
            
             สติ สมาธิ สัมปชัญญะ ขณะขับรถ ความโกรธ เกิดที่จิต เวทนาเกิดทุกข์
           เกิดอารมณ์ที่จิตไม่ชอบ เป็นสติปัฏฐาน4แล้ว
               ลมหายใจเรามีอยู่แล้วไม่ต้องไปกำหนดลมหายใจ
              เวลาโกรธ ลมหายใจ เร็ว แรง ถี่ ก็รู้ลมหายใจแบบนั้นไป
             อย่าไปบังคับให้ช้า ให้รู้ปัจจุบันเป็นอย่างไรก็ดูไปให้เกิดปัญญา
             สติ สมาธิ สัมปชัญญะ   จะต้องรู้ทั้งภายใน และภายนอกสม่ำเสมอกัน
            จะต้องรู้ต้นเหตุที่ทำให้เราโกรธ สมาธิ ตั้งมั่น สติ จับไว้อย่าให้หาย
              และอย่าไปปรุงแต่งว่ากลัวความโกรธหาย
           ก็คิดให้โกรธใหญ่เลยไม่ถูก ดูธรรมดาเหมือนดูในโทรท้ศน์
            แต่อย่าเอาตัวเราเข้าไปเล่นเราดูอยู่วงนอก
            สติรู้ว่าทุกข์เกิดแล้ว จับทุกข์ไว้อย่าให้หาย   สัมปชัญญะ
            ก็รู้ว่าทุกข์อันนี้คือความโกรธ รู้ไว้ เท่านั้นเอง
              สติ สมาธิ สัมปชัญญะ รู้ภายนอกอย่าเดียว
          ทำให้จิตหลง ๆไปกับรถคันทีทำให้เราโกรธเราไม่ได้ดู
           ทุกข์ที่เกิดที่จิตเรา     ก็ไม่ได้กำหนดรู้ทุกข์  ฟุ้งซ่าน
           สติ สมาธิ สัมปชัญญะ  รู้ภายในอย่าเดียว  ทำให้เราโง่
           ไม่รู้จัก  ทุกข์  ไม่รู้ว่ามาอย่างไร  โกรธไปเรื่อยเปื่อย  ขาดปัญญา
               ทุกข์เป็นของควรกำหนดรู้ ปฏิบัติได้ง่ายมาก
             ทำได้ทุกโอกาส เพราะเรามีทุกข์ เกิดอยู่ตลอดทั้งวัน
             เราทำทุกวัน ใจเราเห็นทุกข์ทุกวัน  ทุกข์หมดไป จิตก็เห็นวิชชา
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
ทุกข์ให้กำหนดรู้
สมุทัยให้ละ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่