ภาษาที่มีการผันไวยากรณ์ตามเวลา แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมการให้ความสำคัญกับเวลา ถูกต้องไหม

ไม่รู้หัวข้องงรึเปล่านะคะ แต่เรากำลังพูดถึงไวยากรณ์และเจ้าของภาษานั้นๆ เราไม่ได้เชี่ยวชาญภาษาเลยค่ะ แต่มีข้อสงสัย

เราสังเกตว่า ภาษาที่มีการผันไวยากรณ์ตามเวลา อดีต ปัจจุบัน อนาคต ชนชาติต้นกำเนิดที่ใช้ภาษานั้นๆก็มักจะมีวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับเวลา มักจะตรงเวลา และเวลาคือสิ่งสำคัญมาก เหมือนเป็นรากของภาษา
เช่น อังกฤษ เกาหลี ญี่ปุ่น มีการผันกริยาตามเวลา โดยรวมชนชาติที่ใช้ภาษานี้ก็มักจะยึดมั่นตรงต่อเวลามากๆ เวลาอ่านหรือพูดอะไรจะมีเวลาเข้ามาเกี่ยวตลอดจะรู้เลยว่าทำสิ่งนี้ๆไปแล้วหรือยัง เช่น คำไทยคือฉันกินข้าว มีประธานกริยากรรมครบแต่นี่ไม่ได้บอกเลยว่ากินแล้วหรือยัง แต่ถ้าเป็นอังกฤษ I am eating , I ate แค่นี้มันยังต้องเจาะจงเลยว่า กำลังกิน หรือกินไปแล้ว

ทำให้เราสังเกตเพิ่มว่าภาษาไทย คนไทยโดยแรกเริ่ม ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเวลาเท่าไหร่ สิ่งที่เราให้ความสำคัญมากๆคือสรรพนามอ่ะค่ะ เพราะภาษาเราสรรพนามเยอะมาก ใช้ผิดนิดหน่อย ใช้กับคนต่างชนชั้นนี่เป็นเรื่องได้เลย แต่ภาษาอังกฤษกลับไม่มีปัญหานี้
(อยากทราบเป็นความรู้ด้วยค่ะว่ามีภาษาอื่นๆที่ผันตามสิ่งอื่นที่ไม่ใช่เวลาบ้างไหม)

อยากฟังความเห็นของคนอื่นบ้างค่ะว่าคิดยังไงกัน คิดแบบเรานี่จะดูเหมารวมไปไหม หรือคิดผิดยังไงรึเปล่า
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่