ภาษาที่มีไวยากรณ์เยอะ กฎเกณฑ์ตายตัว กับภาษาที่ไม่มีไวยากรณ์ที่ซับซ้อน ไม่ค่อยมีกฎเกณฑ์ อย่างไหนยากกว่ากัน?

ผมออกตัวก่อนว่า ผมเพิ่งจบม.ปลายมา ผมเรียนภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาที่ 3 ในชีวิต (ที่2ก็ภาษาอังกฤษ) ก็พอจะสัมผัสได้ว่าเออ ภาษานี้ไวยากรณ์มันไม่ธรรมดานะ เยอะและยากกว่าภาษาไทย เพื่อนที่เรียนศิลป์เกาหลีก็มาบ่นว่าไวยากรณ์เกาหลีนี่แบบว่า ขนาดเรียนไม่ลึกยังปวดหัว เพราะกฎเกณฑ์ ไวยากรณ์เยอะมาก ผมก็เคยอ่านเรื่องภาษาฝรั่งเศส ภาษาแถวยุโรปมาบ้างว่าเออ ไวยากรณ์มันสุดขั้วจริง 
แต่ช่วงนี้ละครไทยไปดังในแถบอาเซียน ผมก็เลยได้มีโอกาสรู้จักกับคนในอาเซียน ที่เขาเรียนภาษาไทยเพื่อที่จะดูละครเรา (อารมณ์ประมาณพยายามเรียนเกาหลีเพื่อตามศิลปิน 5555) ผมก็แนะนำว่าเออ ภาษาไทยอะ ง่ายมากเลยนะ ไม่มีไวยากรณ์อะไรเลย ไม่มีการผันประธาน กริยา ไม่มีอะไรเลย จำคำศัพท์เอาไปพูดได้เลย ก็สอนภาษาไทยเขาไปเรื่อย ๆ ตอนแรก ๆ ก็ชิวนะ พอเรียนไปนาน ๆ เขาเริ่มประสบปัญหาว่า ใช่มันง่ายจริง ภาษาไทยไม่มีไวยากรณ์ที่ซับซ้อน แต่ภาษามันยืดหยุ่นมาก จนไม่สามารถจับหลักได้ เวลาเรียนก็เรียนอีกแบบ แต่เวลาละครพูดกัน กับคนไทยพูดกันมันคนละเรื่อง ไม่มีกฎเกณฑ์อะไรที่ตายตัว ในประโยคที่แปลเหมือนกันแต่สลับคำกันโยกย้ายไปตรงไหนก็ได้ ผิดกับภาษาที่ไงกยากรณ์ที่ชักเจน คือต้องพูดแบบนี้เลย เขามักจะมีคำถามมาถามประจำเกี่ยวกับการพูดในภาษาไทย เลยอยากรู้ว่าภาษาที่กฎเกณฑ์ตายตัว กับภาษที่ไม่ค่อยตายตัว อันไหนยากกว่ากันครับ 

//ความยากของภาษาไทยไม่ได้มีแค่ไวยากรณ์นะ ยังเป็นระดับภาษาที่ใช้กันอีก อันนี้ฝันร้ายของคนเรียนภาษาไทยเลย เพราะคนไทยเราพูดแต่ละประโยคใช้สรรพนามไม่เคยเหมือนกันในแต่ละสถานการณ์
แสดงความคิดเห็น
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ  ภาษาต่างประเทศ ภาษาศาสตร์ นักแปล
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่