นิพพานคือ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ และความสิ้นโมหะ

กระทู้สนทนา
นิพพานคือ ความสิ้นราคะ (รัก โลภ) ความสิ้นโทสะ (โกรธ) และความสิ้นโมหะ (หลง หรือ การไม่รู้อริยสัจ)
การมีอยู่ของนิพพาน ก็เหมือนกับการมีเลขศูนย์ในระบบจำนวน
เลขศูนย์ไม่ใช่จำนวนบวก และก็ไม่ใช่จำนวนลบ
แต่คือจำนวนที่อยู่ตรงกลางระหว่างจำนวนบวกและจำนวนลบ

อัตตา คือ ความสุดโต่งอย่างหนึ่ง (ยึดมั่นในความมี)
นัตถิตา คือ ความสุดโต่งอย่างหนึ่ง (ยึดมั่นในความไม่มี)
อนัตตา คือ ส่วนที่อยู่ตรงกลางระหว่างความสุดโต่ง (ไม่มีความยึดมั่น)
ผู้เห็นอัตตา และนัตถิตา โดยความเป็นของสุดโต่ง ย่อมเห็นอนัตตา
ผู้เห็นอนัตตา ย่อมนิพพาน

โดยกฏแห่งกรรม
กรรม = การกระทำ  วิบาก = ผลของการกระทำ (ผลกรรม)
กรรมดำมีวิบากดำ (ทำชั่วได้ชั่ว)
กรรมขาวมีวิบากขาว (ทำดีได้ดี)
กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาว (ทำดีชั่วปะปนกันก็ได้รับผลชั่วบ้างดีบ้าง)
กรรมไม่ดำไม่ขาว (อริยมรรคมีองค์ 8) มีวิบากคือความสิ้นกรรม (นิพพาน)
กรรมไม่ดำไม่ขาว คือ ตรงกลางของความดีและความชั่ว
นิพพานคือ ตรงกลางของวิบากที่ดีและวิบากที่ชั่ว

นิพพานไม่ใช่ความมี (เพราะไม่มีกิเลสในนิพพาน)
นิพพานไม่ใช่ความไม่มี (เพราะนิพพานมีอยู่ เหมือนเลขศูนย์ ในระบบจำนวน ที่แทนความสิ้นกิเลส)
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่