เราได้ลองสรุปย่อความในประโยคต่างๆจากคำภีร์ภควัทคีตา
ซึ่งมีทั้งหมด18ประโยค(เราใช้คำว่าประโยคแทนคำว่าโยคะไม่รู้ว่าจะผิดรึเปล่า)
โดยเราจะสรุปเพียงสั้นๆและใช้ภาษาที่ฟังแล้วเข้าใจง่ายๆ
เพื่อสื่อใจความสำคัญของประโยคนั้นๆ
จะผิดถูกประการใดก็ขออภัยและขอคำชี้แนะด้วยแล้วกัน
ดังจะกล่าวต่อไปนี้
1) โยคะในความท้อถอยของอรชุน
อรชุนไม่อยากจะต่อสู้เพราะความยึดมั่น เป็นทุกข์ลำบากใจ
2) โยคะแห่งสางขยะ(คำภีร์ภควัทคีตาก็คือแนวทางสางขยะ)
ปุรุษเป็นธรรมชาติดั้งเดิมไม่แปดเปื้อนด้วยบาปและบุญกุศล
พุทธินั้นอยู่เหนือกรรมและผลแห่งกรรม
การตั้งอยู่ในปัญญาคือการอยู่เหนือกิเลส อันมีโกรธเป็นต้น
การตั้งอยู่ในปรัชญาคือการรักษาใจตนด้วยการประคองสติ
3) โยคะแห่งกรรม
อย่าประพฤติธรรมเพื่อหวังในผลบุญ จงประพฤติธรรมเพื่อการปฏิบัติบูชา
อันจะก่อประโยชน์แด่ชนทั้งหลาย
4) โยคะแห่งญาณและกรรมสันยาส
จงอย่ายึดมั่นในกรรมและผลแห่งกรรม
5) โยคะแห่งกรรมสันยาส
จงอย่ายินดีเมื่อได้รับความพึงใจ และจงอย่ายินร้ายเมื่อประสบกับสิ่งไม่พึงใจ
ธรรมชาติของจิตใจมีเกิดขึ้นและดับไป
6) โยคะแห่งฌาน
ความสงบ คือการเห็นธรรมธาตุทั้งหลายด้วยอารมณ์ที่เสมอกัน
ไม่หวั่นไหว
7) โยคะแห่งญาณและวิญาณ
จงข่มใจ น้อมเข้ามาในตน เป็นผู้สำรวม ใจตนนั้นเป็นต้นบัญญัติของสรรพสิ่ง
8) โยคะแห่งพรหมอันไม่มีเสื่อม
บรมคติที่กฤษณะแนะนำนั้น คือการพ้นจากการเวียนว่ายตายและเกิดใหม่
สิ่งที่เป็นนิรันดร์นี้เป็นธรรมชาติดังเดิมของตน ไม่มีความเปลี่ยนแปลงหรือเสื่อมสลาย
9) โยคะแห่งราชวิทยาและราชคุหยะ(วิทยาการและความเร้นลับอันสูงสุด)
การรู้จักตนเอง คือการเข้าใจพฤติกรรมของตนทั้งการกระทำ การพูดและการคิดของตน
จงผ่อนคลายจากการรังสรรค์และปราถนา มีใจตั้งมั่น พ้นจากพันธะแห่งกรรม
10) โยคะแห่งวิภูติ
ผู้เป็นอิสระจากบาปทังปวงเพราะพ้นจากความมืดมิดของอวิชา
กล่าวคือการจำแนกความแตกต่างและการเปรียบเทียบจนเกิดเป็นค่านิยม
ซึ่งทำให้มีความตระหนักและมีเจตนามั่นหมายในสรรพสิ่ง
และเป็นการให้กำเนิดของสรรพสิ่งด้วย
11) โยคะแห่งทัศนะในวิศวะรูป
ปุรุษคือผู้รู้และเป็นสิ่งที่ควรรู้ เป็นปรมัตถ์อันไม่มีเสื่อม
การได้ประจักษ์ทำให้ไตรโลกหวั่นไหว
เพราะไม่มีสิ่งใดน่ายึดมั่น และไม่มีสิ่งปรุงแต่งใดที่เที่ยงแท้ แล
12) โยคะแห่งความภักดี
การสำรวมในกาย,ใจก็ได้ชื่อว่าเป็นการประพฤติประโยคแล้ว
และด้วยการประพฤติอันบริสุทธิ์ ไม่มีเครื่องหมายใดๆในการปฏิบัติ
ย่อมไม่หลงตามมายา และสามารถข้ามพ้นสังสารวัฏของความตายได้
13) โยคะแห่งวิภาคเกษตรและเกษตรญาณ
ธรรมชาติของคนเรามีองค์ประกอบประการสำคัญคือจิตใจ
ซึ่งมีความซึ่งมีความสามารถในการรับรู้ สร้างสรรค์ บัญญัติซึ่งลักษณะดี-เลว
และปรุงแต่ในสิ่งที่เรียกว่ากรรม
ซึ่งสัมพันธ์กับบุคลิกภาพ การตัดสินใจ และพฤติกรรมของตน
คนเราย่อมมีเจตนาและย่อมได้รับผลจากความพยายาม(กรรม)ของตนตามความตั้งใจ
สิ่งเหล่านี้มีความสัมพันธ์ในลักษณะอาศัยซึ่งกันและกัน และแสดงออกผ่านการกระทำ
ผู้รู้แจ้งในตนและบรมคติแห่งตนจึงไม่ยึดมั่นในกรรมและผลแห่งกรรม ดังนี้
14โยคะแห่งวิภาคของไตรคุณ
เมื่อประกองการกุศลเราอาจจำแนกบุคคลได้3จำพวก
(1) คือผู้ประกอบโดยบริสุทธ์เพื่อความสงบสุขทางใจ
(2) คือผู้ประกอบโดยปราถนาซึ่งความเจริญรุ่งเรืองแห่งโภคะและเกียรติยศ
(3) คือผู้ประกอบโดยความงมงายโง่เขลา
แต่ยังมีผู้ประกอบกองการกุศลโดยกิริยาสละอยู่
ด้วยเพราะมีความสมบูรณ์ มีใจวางเฉยและเห็นเสมอกันในสรรพสิ่ง
จึงไม่มีส่วนแห่งกรรมนั้นติดมาเป็นเชื้อเลย
จึงกล่าวได้ว่าผู้ตั้งอยู่ในโลกุตรธรรม ความจริงไม่ได้ทำกรรมอันใด
15) โยคะแห่งปุรุโษตมะ
อย่างมงายจงศึกษาให้รู้จริง แท้จริงแล้วคือให้รู้เรื่องการเกิด-ดับ
ซึ่งความจริงเหล่านั้นเกิดที่ใจ
จิตรับรู้ได้ก็เหมือนหนึ่งเกิดแสงสว่างขึ้น ที่ใจ ที่ตา ที่หู ที่จมูก ที่ลิ้น และผิวสัมผัส
ในตอนนั้นเองที่โลกและสรรพชีวิตบังเกิดขึ้น จึงเกิดความเข้าใจในตน
และพ้นจากโมหะของการเกิดและดับ
16) โยคะแห่งวิภาคของเทวะสมบัติและอสูรสมบัติ
ผู้มีความประพฤติชั่วช้าหยาบคายทำไปตามอำนาจกิเลส
ก่อ"พันธะ"แก่ตน ย่อมตกต่ำในคติ
ผู้ประพฤติดีมีคุณธรรมสำรวมกายใจ สละซึ่งกิเลส
ย่อมพบทาง"โมกษะ" และไปสู่บรมคติ
17) โยคะแห่งวิภาคของไตรศรัทธา
การศึกษาหาความรู้ในศาสตร์วิชาแขนงต่างๆ
มุ่งหมายให้ผู้เรียนนำไปใช้ประโยชน์และนำไปปฏิบัติในชีวิตจริง
ได้ถูกต้องตามหลักวิชาการ
ศรัทธาในเบื้องต้นจึงมีเพื่อเรียนรู้ ศรัทธาในเบื้องปลายคือปัญญา(เชื่อในสิ่งที่ถูกต้อง)
18) โยคะแห่งโมกษะโดยวิธีสันยาส
พึงละชั่วและทำความดีด้วยความบริสุทธิ์ใจ ไม่หวังในผลอันจะเป็นการยึดมั่นในการกระทำ
จงพัฒนาภูมิความรู้อันเกิดจากภูมิธรรม และมีวุฒิภาวะเหนืออารมณ์
ย่อมได้รับความร่มเย็นเป็นสุข
ภาวะคือบริบทของสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่กำหนดว่าเราคือใครนั้น
จะเป็นสิ่งกำหนดบุคลิกภาพที่เหมาะสมของเราด้วย แต่นั่นมิใช่บาปที่ติดตัวเราเลย
การรู้แจ้งในตัวเองว่าแท้จริงแล้วเป็นตัวสัจธรรม ย่อมไม่เป็นอื่นอีกแม้ยังข้องเกี่ยวในโลก
และจะช่วยให้สามารถทำในสิ่งที่ถูกต้องดีงามได้
เพราะว่าการรู้ตน รู้ประพฤตินั้นเป็นธรรมะ
ผู้สิ้นโมหะจากอวิชา หมดความสงสัย มีใจตั้งมั่นแล้ว
จึงได้ชื่อว่าเป็นผู้"ปฏิบัติธรรม"โดยแท้
สุดท้ายคือพร จงมีศรี มีวิชัย มีภูตี(ความรุ่งเรือง) และมีนิติ นะเอย
จบครบทั้ง18 ประโยคแล้วครับ ใครสนใจใคร่รู้เพิ่มเติมก็ถามมาได้นะครับ
ส่วนใครจะทักท้วงประเด็นใหนเราก็ขอน้อมรับครับ
ย่อความจากงานแปลของ เกียรติขจร ชัยเธียร
18ประโยคจากภควีตาเชิญเพื่อนๆมาทัศนาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ซึ่งมีทั้งหมด18ประโยค(เราใช้คำว่าประโยคแทนคำว่าโยคะไม่รู้ว่าจะผิดรึเปล่า)
โดยเราจะสรุปเพียงสั้นๆและใช้ภาษาที่ฟังแล้วเข้าใจง่ายๆ
เพื่อสื่อใจความสำคัญของประโยคนั้นๆ
จะผิดถูกประการใดก็ขออภัยและขอคำชี้แนะด้วยแล้วกัน
ดังจะกล่าวต่อไปนี้
1) โยคะในความท้อถอยของอรชุน
อรชุนไม่อยากจะต่อสู้เพราะความยึดมั่น เป็นทุกข์ลำบากใจ
2) โยคะแห่งสางขยะ(คำภีร์ภควัทคีตาก็คือแนวทางสางขยะ)
ปุรุษเป็นธรรมชาติดั้งเดิมไม่แปดเปื้อนด้วยบาปและบุญกุศล
พุทธินั้นอยู่เหนือกรรมและผลแห่งกรรม
การตั้งอยู่ในปัญญาคือการอยู่เหนือกิเลส อันมีโกรธเป็นต้น
การตั้งอยู่ในปรัชญาคือการรักษาใจตนด้วยการประคองสติ
3) โยคะแห่งกรรม
อย่าประพฤติธรรมเพื่อหวังในผลบุญ จงประพฤติธรรมเพื่อการปฏิบัติบูชา
อันจะก่อประโยชน์แด่ชนทั้งหลาย
4) โยคะแห่งญาณและกรรมสันยาส
จงอย่ายึดมั่นในกรรมและผลแห่งกรรม
5) โยคะแห่งกรรมสันยาส
จงอย่ายินดีเมื่อได้รับความพึงใจ และจงอย่ายินร้ายเมื่อประสบกับสิ่งไม่พึงใจ
ธรรมชาติของจิตใจมีเกิดขึ้นและดับไป
6) โยคะแห่งฌาน
ความสงบ คือการเห็นธรรมธาตุทั้งหลายด้วยอารมณ์ที่เสมอกัน
ไม่หวั่นไหว
7) โยคะแห่งญาณและวิญาณ
จงข่มใจ น้อมเข้ามาในตน เป็นผู้สำรวม ใจตนนั้นเป็นต้นบัญญัติของสรรพสิ่ง
8) โยคะแห่งพรหมอันไม่มีเสื่อม
บรมคติที่กฤษณะแนะนำนั้น คือการพ้นจากการเวียนว่ายตายและเกิดใหม่
สิ่งที่เป็นนิรันดร์นี้เป็นธรรมชาติดังเดิมของตน ไม่มีความเปลี่ยนแปลงหรือเสื่อมสลาย
9) โยคะแห่งราชวิทยาและราชคุหยะ(วิทยาการและความเร้นลับอันสูงสุด)
การรู้จักตนเอง คือการเข้าใจพฤติกรรมของตนทั้งการกระทำ การพูดและการคิดของตน
จงผ่อนคลายจากการรังสรรค์และปราถนา มีใจตั้งมั่น พ้นจากพันธะแห่งกรรม
10) โยคะแห่งวิภูติ
ผู้เป็นอิสระจากบาปทังปวงเพราะพ้นจากความมืดมิดของอวิชา
กล่าวคือการจำแนกความแตกต่างและการเปรียบเทียบจนเกิดเป็นค่านิยม
ซึ่งทำให้มีความตระหนักและมีเจตนามั่นหมายในสรรพสิ่ง
และเป็นการให้กำเนิดของสรรพสิ่งด้วย
11) โยคะแห่งทัศนะในวิศวะรูป
ปุรุษคือผู้รู้และเป็นสิ่งที่ควรรู้ เป็นปรมัตถ์อันไม่มีเสื่อม
การได้ประจักษ์ทำให้ไตรโลกหวั่นไหว
เพราะไม่มีสิ่งใดน่ายึดมั่น และไม่มีสิ่งปรุงแต่งใดที่เที่ยงแท้ แล
12) โยคะแห่งความภักดี
การสำรวมในกาย,ใจก็ได้ชื่อว่าเป็นการประพฤติประโยคแล้ว
และด้วยการประพฤติอันบริสุทธิ์ ไม่มีเครื่องหมายใดๆในการปฏิบัติ
ย่อมไม่หลงตามมายา และสามารถข้ามพ้นสังสารวัฏของความตายได้
13) โยคะแห่งวิภาคเกษตรและเกษตรญาณ
ธรรมชาติของคนเรามีองค์ประกอบประการสำคัญคือจิตใจ
ซึ่งมีความซึ่งมีความสามารถในการรับรู้ สร้างสรรค์ บัญญัติซึ่งลักษณะดี-เลว
และปรุงแต่ในสิ่งที่เรียกว่ากรรม
ซึ่งสัมพันธ์กับบุคลิกภาพ การตัดสินใจ และพฤติกรรมของตน
คนเราย่อมมีเจตนาและย่อมได้รับผลจากความพยายาม(กรรม)ของตนตามความตั้งใจ
สิ่งเหล่านี้มีความสัมพันธ์ในลักษณะอาศัยซึ่งกันและกัน และแสดงออกผ่านการกระทำ
ผู้รู้แจ้งในตนและบรมคติแห่งตนจึงไม่ยึดมั่นในกรรมและผลแห่งกรรม ดังนี้
14โยคะแห่งวิภาคของไตรคุณ
เมื่อประกองการกุศลเราอาจจำแนกบุคคลได้3จำพวก
(1) คือผู้ประกอบโดยบริสุทธ์เพื่อความสงบสุขทางใจ
(2) คือผู้ประกอบโดยปราถนาซึ่งความเจริญรุ่งเรืองแห่งโภคะและเกียรติยศ
(3) คือผู้ประกอบโดยความงมงายโง่เขลา
แต่ยังมีผู้ประกอบกองการกุศลโดยกิริยาสละอยู่
ด้วยเพราะมีความสมบูรณ์ มีใจวางเฉยและเห็นเสมอกันในสรรพสิ่ง
จึงไม่มีส่วนแห่งกรรมนั้นติดมาเป็นเชื้อเลย
จึงกล่าวได้ว่าผู้ตั้งอยู่ในโลกุตรธรรม ความจริงไม่ได้ทำกรรมอันใด
15) โยคะแห่งปุรุโษตมะ
อย่างมงายจงศึกษาให้รู้จริง แท้จริงแล้วคือให้รู้เรื่องการเกิด-ดับ
ซึ่งความจริงเหล่านั้นเกิดที่ใจ
จิตรับรู้ได้ก็เหมือนหนึ่งเกิดแสงสว่างขึ้น ที่ใจ ที่ตา ที่หู ที่จมูก ที่ลิ้น และผิวสัมผัส
ในตอนนั้นเองที่โลกและสรรพชีวิตบังเกิดขึ้น จึงเกิดความเข้าใจในตน
และพ้นจากโมหะของการเกิดและดับ
16) โยคะแห่งวิภาคของเทวะสมบัติและอสูรสมบัติ
ผู้มีความประพฤติชั่วช้าหยาบคายทำไปตามอำนาจกิเลส
ก่อ"พันธะ"แก่ตน ย่อมตกต่ำในคติ
ผู้ประพฤติดีมีคุณธรรมสำรวมกายใจ สละซึ่งกิเลส
ย่อมพบทาง"โมกษะ" และไปสู่บรมคติ
17) โยคะแห่งวิภาคของไตรศรัทธา
การศึกษาหาความรู้ในศาสตร์วิชาแขนงต่างๆ
มุ่งหมายให้ผู้เรียนนำไปใช้ประโยชน์และนำไปปฏิบัติในชีวิตจริง
ได้ถูกต้องตามหลักวิชาการ
ศรัทธาในเบื้องต้นจึงมีเพื่อเรียนรู้ ศรัทธาในเบื้องปลายคือปัญญา(เชื่อในสิ่งที่ถูกต้อง)
18) โยคะแห่งโมกษะโดยวิธีสันยาส
พึงละชั่วและทำความดีด้วยความบริสุทธิ์ใจ ไม่หวังในผลอันจะเป็นการยึดมั่นในการกระทำ
จงพัฒนาภูมิความรู้อันเกิดจากภูมิธรรม และมีวุฒิภาวะเหนืออารมณ์
ย่อมได้รับความร่มเย็นเป็นสุข
ภาวะคือบริบทของสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่กำหนดว่าเราคือใครนั้น
จะเป็นสิ่งกำหนดบุคลิกภาพที่เหมาะสมของเราด้วย แต่นั่นมิใช่บาปที่ติดตัวเราเลย
การรู้แจ้งในตัวเองว่าแท้จริงแล้วเป็นตัวสัจธรรม ย่อมไม่เป็นอื่นอีกแม้ยังข้องเกี่ยวในโลก
และจะช่วยให้สามารถทำในสิ่งที่ถูกต้องดีงามได้
เพราะว่าการรู้ตน รู้ประพฤตินั้นเป็นธรรมะ
ผู้สิ้นโมหะจากอวิชา หมดความสงสัย มีใจตั้งมั่นแล้ว
จึงได้ชื่อว่าเป็นผู้"ปฏิบัติธรรม"โดยแท้
สุดท้ายคือพร จงมีศรี มีวิชัย มีภูตี(ความรุ่งเรือง) และมีนิติ นะเอย
จบครบทั้ง18 ประโยคแล้วครับ ใครสนใจใคร่รู้เพิ่มเติมก็ถามมาได้นะครับ
ส่วนใครจะทักท้วงประเด็นใหนเราก็ขอน้อมรับครับ
ย่อความจากงานแปลของ เกียรติขจร ชัยเธียร