ถาม - ทำอย่างไรจึงจะรู้ตัวว่าเหงา แล้วความเหงาช่วยฝึกสติได้ไหมคะ
ตอบ - คือหมายถึงเอาความเหงามาใช้ในการเป็นอุปกรณ์ในการเจริญสตินั่นเองนะครับ
ที่จะรู้ตัวว่าเหงา เป็นคนขี้เหงาหรือเปล่านะ
ถ้าสังเกตจากทางกาย เอาง่ายๆ เลยจะตัวงอบ่อยๆ
คนที่ขี้เหงา ลองสังเกตดูจะไม่ค่อยนั่งตัวตรง
จะไม่ค่อยนั่งอย่างมีสติเท่าไหร่ จะนั่งด้วยแรงกดของความเหงา
แล้วความเหงานี่มันมีน้ำหนักนะ มันทำให้เราซึมๆ
เหมือนกับอยากก้มหน้าก้มตามากกว่าที่จะเงยหน้า
อยากที่จะงอตัวมากกว่าที่จะนั่งตัวตรงนะครับ
แล้วก็อาการภายใน เมื่อกี้พูดถึงรูปธรรมที่เป็นภายนอก
คราวนี้มาพูดถึงนามธรรมที่เป็นภายใน
ความรู้สึกของคนขี้เหงานะ มันจะมีอาการห่อเหี่ยวบ่อย
พูดง่ายๆ ว่าจิตใจนี่โน้มเอียงไปทางหดหู่
ทั้งๆ ที่ไม่มีอะไรบีบให้ต้องหดหู่
อย่างสมมติว่าถ้าเรามีบุคคลอันเป็นที่รักเสียชีวิตไป
อันนั้นสมควรที่จะหดหู่นะ สำหรับปุถุชนธรรมดาที่ยังมีกิเลสอยู่
มันมีเหตุบีบให้หดหู่
แต่คนขี้เหงานี่ไม่ต้องมีเหตุภายนอกมาบีบ
ก็สามารถที่จะบีบตัวเองให้เข้าสู่อาการหดหู่ได้
ก็ลองสังเกตแล้วกัน ใจที่หดหู่ มันจะเซื่องซึม
มันจะไม่อยากทำอะไร มันจะรู้สึกเปลี่ยว มันจะรู้สึกเดียวดาย
มันจะรู้สึกเหมือนกับว่าทั้งจักรวาลนี้มีเราอยู่คนเดียว
ถึงแม้ว่าจะอยู่ท่ามกลางเพื่อนฝูงมากมายแค่ไหน
หรือกระทั่งว่าเราแกล้งหัวเราะ แกล้งยิ้ม แกล้งทำหน้าตาดีๆ ยังไงก็แล้วแต่
แต่ข้างในใจ มันยังไม่หายห่อเหี่ยว มันยังไม่หายหดหู่
วิธีที่จะฝึกเจริญสติเห็นความเหงา หรือว่าจะต่อสู้กับความเหงานะ
มันไม่ได้มีไอ้ตัวที่เป็นเคล็ดวิธีกำจัดความเหงาโดยเฉพาะ
แต่เป็นเคล็ดวิธีแบบครอบจักรวาล
ที่จะป้องกันไม่ให้เกิดกิเลส ไม่ให้เกิดช่องว่าง ช่องเว้นวรรคของสติ
ไม่ให้เกิดช่องโหว่ที่จะทำให้ข้าศึกโจมตีเราได้
นั่นก็คือเราจะต้องมีสติอยู่กับอารมณ์ที่ไม่เป็นโทษ อารมณ์ที่เป็นคุณ
ซึ่งพระพุทธเจ้าแนะนำอย่างที่สุดเลยคือให้ใช้ลมหายใจ
แต่ไม่ใช่ไปเพ่งเอาลมหายใจนะ แค่ระลึกเอา
ระลึกว่าในขณะนี้เรากำลังหายใจเข้าหรือหายใจออกอยู่
สำหรับมือใหม่ที่ยังไม่คุ้นกับการอาศัยลมหายใจเป็นเครื่องตั้งของสติ
ก็ขอให้คิดง่ายๆ ว่า ถามตัวเองง่ายๆ ว่าขณะนี้เราหายใจเข้าหรือหายใจออก
ถามนี่ไม่ใช่จะเอาสมาธินะ ไม่ใช่ว่าจะบีบให้ตัวเองนี่หยุดฟุ้งซ่าน
แล้วก็ไม่ใช่จะตั้งใจว่าจะเอาสมาธิ ฌาน ญาณ อะไร
แต่ถามเพื่อเอาความรับรู้เข้ามาในปัจจุบัน
ดึงตัวเองกลับเข้ามาสู่ความเป็นปัจจุบัน
ว่าในขณะนี้มีลมหายใจเข้าหรือลมหายใจออกให้ดู
ถามตัวเองครั้งเดียวพอ รู้ครั้งเดียวพอ แต่ถามให้บ่อยๆ รู้ให้บ่อยๆ
ไม่ต้องต่อเนื่องนะครับ แต่ว่าเอาให้บ่อยๆ บ่อยที่สุดเท่าที่จะนึกได้
เมื่อบ่อยที่สุดเท่าที่จะนึกได้แล้วเกิดอะไรขึ้น
คุณจะมีความรู้สึกเหมือนกับว่าตัวเองนี่นะ ใจตัวเองมีลมหายใจเป็นเพื่อน
แต่เดิมใจไม่มีอะไรเป็นหลักยึดเหนี่ยวเลย
เหมือนกับไม่มีเพื่อน เหมือนกับไม่มีใคร แล้วก็คิดไปต่างๆ นานา
คิดไปถึงภาวะความเปล่าเปลี่ยว แล้วก็ภาวะอยู่คนเดียว
ภาวะที่มันไม่น่าอภิรมย์นักสำหรับชาวโลกทั่วไป
แต่ถ้าหากว่าคุณถามตัวเองได้บ่อยๆ ว่ากำลังหายใจเข้าหรือหายใจออก
แล้วสังเกตด้วยว่าหายใจเข้าหรือหายใจออกนั้นน่ะ
บางทีมันก็สั้น บางทีมันก็ยาว
เท่านี้ เพียงเท่านี้นะ ง่ายๆ แต่ได้ผล
ใจคุณจะรู้สึกเหมือนมีเพื่อน ใจคุณจะรู้สึกเหมือนมีหลักให้ยึดเกาะ
ตอนแรกๆ ทำนี่มันจะไม่เห็นผลหรอก
แต่ทำไปเรื่อยๆ ทำไปบ่อยๆ นะ
มันจะเกิดความรู้สึกขึ้นมาว่า เออ แทนที่เราจะเอาเวลาไปเหงา
เราเอาเวลามาสังเกตว่าขณะนี้หายใจเข้าหรือหายใจออก
หายใจสั้นหรือหายใจยาว
มันได้ประโยชน์ได้ความสดชื่นจากลมหายใจ
มันได้ความรู้สึกว่าเรามีอะไรทำ
มันได้ความรู้สึกว่า อ้อ นี่ข้อสังเกต
จุดสังเกตที่พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า อะไรๆ มันไม่เที่ยง
ดูได้จากลมหายใจของเราที่เข้าออกตลอด ๒๔ ชั่วโมงนี่เอง
มันปรากฏอยู่ตลอดเวลานะ เดี๋ยวก็เข้าเดี๋ยวก็ออก เดี๋ยวก็ยาวเดี๋ยวก็สั้น
ถ้าหากว่าเรารู้ไปเรื่อยๆ
ภาวะทางใจของเรานี่มันจะปฏิวัติตัวเอง ปฏิรูปตัวเอง
เปลี่ยนจากภาวะที่หดหู่เองได้ บีบคั้นตัวเองให้เข้าสู่ความเหงาเองได้
มาเป็นมีความรู้สึกเหมือนเบิกบาน มีความรู้สึกเหมือนสดชื่น มีความรู้สึกเหมือนตื่น
มีความรู้สึกเหมือนสามารถรับรู้อะไรๆ ก็ได้โดยไม่ปล่อยให้สูญเปล่านะครับ
โดย ดังตฤณ
ที่มา
http://www.dlitemag.com/index.php?option=com_content&view=article&id=858:2012-10-03-08-35-03&catid=41:dungtrins-answer&Itemid=59
วิธีแก้ความเหงาที่ได้ผลแบบยั่งยืน
ตอบ - คือหมายถึงเอาความเหงามาใช้ในการเป็นอุปกรณ์ในการเจริญสตินั่นเองนะครับ
ที่จะรู้ตัวว่าเหงา เป็นคนขี้เหงาหรือเปล่านะ
ถ้าสังเกตจากทางกาย เอาง่ายๆ เลยจะตัวงอบ่อยๆ
คนที่ขี้เหงา ลองสังเกตดูจะไม่ค่อยนั่งตัวตรง
จะไม่ค่อยนั่งอย่างมีสติเท่าไหร่ จะนั่งด้วยแรงกดของความเหงา
แล้วความเหงานี่มันมีน้ำหนักนะ มันทำให้เราซึมๆ
เหมือนกับอยากก้มหน้าก้มตามากกว่าที่จะเงยหน้า
อยากที่จะงอตัวมากกว่าที่จะนั่งตัวตรงนะครับ
แล้วก็อาการภายใน เมื่อกี้พูดถึงรูปธรรมที่เป็นภายนอก
คราวนี้มาพูดถึงนามธรรมที่เป็นภายใน
ความรู้สึกของคนขี้เหงานะ มันจะมีอาการห่อเหี่ยวบ่อย
พูดง่ายๆ ว่าจิตใจนี่โน้มเอียงไปทางหดหู่
ทั้งๆ ที่ไม่มีอะไรบีบให้ต้องหดหู่
อย่างสมมติว่าถ้าเรามีบุคคลอันเป็นที่รักเสียชีวิตไป
อันนั้นสมควรที่จะหดหู่นะ สำหรับปุถุชนธรรมดาที่ยังมีกิเลสอยู่
มันมีเหตุบีบให้หดหู่
แต่คนขี้เหงานี่ไม่ต้องมีเหตุภายนอกมาบีบ
ก็สามารถที่จะบีบตัวเองให้เข้าสู่อาการหดหู่ได้
ก็ลองสังเกตแล้วกัน ใจที่หดหู่ มันจะเซื่องซึม
มันจะไม่อยากทำอะไร มันจะรู้สึกเปลี่ยว มันจะรู้สึกเดียวดาย
มันจะรู้สึกเหมือนกับว่าทั้งจักรวาลนี้มีเราอยู่คนเดียว
ถึงแม้ว่าจะอยู่ท่ามกลางเพื่อนฝูงมากมายแค่ไหน
หรือกระทั่งว่าเราแกล้งหัวเราะ แกล้งยิ้ม แกล้งทำหน้าตาดีๆ ยังไงก็แล้วแต่
แต่ข้างในใจ มันยังไม่หายห่อเหี่ยว มันยังไม่หายหดหู่
วิธีที่จะฝึกเจริญสติเห็นความเหงา หรือว่าจะต่อสู้กับความเหงานะ
มันไม่ได้มีไอ้ตัวที่เป็นเคล็ดวิธีกำจัดความเหงาโดยเฉพาะ
แต่เป็นเคล็ดวิธีแบบครอบจักรวาล
ที่จะป้องกันไม่ให้เกิดกิเลส ไม่ให้เกิดช่องว่าง ช่องเว้นวรรคของสติ
ไม่ให้เกิดช่องโหว่ที่จะทำให้ข้าศึกโจมตีเราได้
นั่นก็คือเราจะต้องมีสติอยู่กับอารมณ์ที่ไม่เป็นโทษ อารมณ์ที่เป็นคุณ
ซึ่งพระพุทธเจ้าแนะนำอย่างที่สุดเลยคือให้ใช้ลมหายใจ
แต่ไม่ใช่ไปเพ่งเอาลมหายใจนะ แค่ระลึกเอา
ระลึกว่าในขณะนี้เรากำลังหายใจเข้าหรือหายใจออกอยู่
สำหรับมือใหม่ที่ยังไม่คุ้นกับการอาศัยลมหายใจเป็นเครื่องตั้งของสติ
ก็ขอให้คิดง่ายๆ ว่า ถามตัวเองง่ายๆ ว่าขณะนี้เราหายใจเข้าหรือหายใจออก
ถามนี่ไม่ใช่จะเอาสมาธินะ ไม่ใช่ว่าจะบีบให้ตัวเองนี่หยุดฟุ้งซ่าน
แล้วก็ไม่ใช่จะตั้งใจว่าจะเอาสมาธิ ฌาน ญาณ อะไร
แต่ถามเพื่อเอาความรับรู้เข้ามาในปัจจุบัน
ดึงตัวเองกลับเข้ามาสู่ความเป็นปัจจุบัน
ว่าในขณะนี้มีลมหายใจเข้าหรือลมหายใจออกให้ดู
ถามตัวเองครั้งเดียวพอ รู้ครั้งเดียวพอ แต่ถามให้บ่อยๆ รู้ให้บ่อยๆ
ไม่ต้องต่อเนื่องนะครับ แต่ว่าเอาให้บ่อยๆ บ่อยที่สุดเท่าที่จะนึกได้
เมื่อบ่อยที่สุดเท่าที่จะนึกได้แล้วเกิดอะไรขึ้น
คุณจะมีความรู้สึกเหมือนกับว่าตัวเองนี่นะ ใจตัวเองมีลมหายใจเป็นเพื่อน
แต่เดิมใจไม่มีอะไรเป็นหลักยึดเหนี่ยวเลย
เหมือนกับไม่มีเพื่อน เหมือนกับไม่มีใคร แล้วก็คิดไปต่างๆ นานา
คิดไปถึงภาวะความเปล่าเปลี่ยว แล้วก็ภาวะอยู่คนเดียว
ภาวะที่มันไม่น่าอภิรมย์นักสำหรับชาวโลกทั่วไป
แต่ถ้าหากว่าคุณถามตัวเองได้บ่อยๆ ว่ากำลังหายใจเข้าหรือหายใจออก
แล้วสังเกตด้วยว่าหายใจเข้าหรือหายใจออกนั้นน่ะ
บางทีมันก็สั้น บางทีมันก็ยาว
เท่านี้ เพียงเท่านี้นะ ง่ายๆ แต่ได้ผล
ใจคุณจะรู้สึกเหมือนมีเพื่อน ใจคุณจะรู้สึกเหมือนมีหลักให้ยึดเกาะ
ตอนแรกๆ ทำนี่มันจะไม่เห็นผลหรอก
แต่ทำไปเรื่อยๆ ทำไปบ่อยๆ นะ
มันจะเกิดความรู้สึกขึ้นมาว่า เออ แทนที่เราจะเอาเวลาไปเหงา
เราเอาเวลามาสังเกตว่าขณะนี้หายใจเข้าหรือหายใจออก
หายใจสั้นหรือหายใจยาว
มันได้ประโยชน์ได้ความสดชื่นจากลมหายใจ
มันได้ความรู้สึกว่าเรามีอะไรทำ
มันได้ความรู้สึกว่า อ้อ นี่ข้อสังเกต
จุดสังเกตที่พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า อะไรๆ มันไม่เที่ยง
ดูได้จากลมหายใจของเราที่เข้าออกตลอด ๒๔ ชั่วโมงนี่เอง
มันปรากฏอยู่ตลอดเวลานะ เดี๋ยวก็เข้าเดี๋ยวก็ออก เดี๋ยวก็ยาวเดี๋ยวก็สั้น
ถ้าหากว่าเรารู้ไปเรื่อยๆ
ภาวะทางใจของเรานี่มันจะปฏิวัติตัวเอง ปฏิรูปตัวเอง
เปลี่ยนจากภาวะที่หดหู่เองได้ บีบคั้นตัวเองให้เข้าสู่ความเหงาเองได้
มาเป็นมีความรู้สึกเหมือนเบิกบาน มีความรู้สึกเหมือนสดชื่น มีความรู้สึกเหมือนตื่น
มีความรู้สึกเหมือนสามารถรับรู้อะไรๆ ก็ได้โดยไม่ปล่อยให้สูญเปล่านะครับ
โดย ดังตฤณ
ที่มา http://www.dlitemag.com/index.php?option=com_content&view=article&id=858:2012-10-03-08-35-03&catid=41:dungtrins-answer&Itemid=59