ผ่านไปแล้วครึ่งวัน ผมเชื่อว่านักปฏิบัติใหม่น่าจะผ่านสภาวะของ"วิตก+วิจาร"ไปแล้วแหล่ะ เพราะมันก็ไม่มีอะไร ถ่าตั้งใจจริงๆมันต้องได้ จริงๆมันต้องได้ตั้งแต่ลมหายใจที่ 30 แล้ว สรุปอาการเก่าๆนะครับทุกท่าน
- วิตก
ท่านสุขวิปัสสโก->กำหนดลมหายใจเข้าออกที่ปลายจมูก กำหนดลมหายใจเข้า-ออก บริกรรม"พุท-โธ"รู้เท่าทันจิตอย่าว๊อกแวก เรื่องโน้นเรื่องนี้
ท่านเจโต->หลับตากำหนดภาพพระ พิจารณาลมหายใจเข้า-ออก บริกรรมตามองค์กสิณของท่าน จนกว่าภาพพระจะปรากฏ
วิจาร
ท่านสุขวิปัสสโก->ลุยต่อ บริกรรมพุท-โธ ประคองจิตให้แม่น รู้ลมหายใจสั้นยาว อย่าได้ว๊อกแว๊กคิดเรื่องโน้นเรื่องนี้ สักพักจิตจะรวมศูนย์มีลักษณะเป็นจุดสีขาวเล็กๆคล้ายๆจุดขาวในกระดาษสีดำ
ท่านเจโต->ลุยต่อ เพ่งภาพพระต่อเนื่อง พยายามคงสภาพพระที่ปรากฏให้นานที่สุดขณะเดียวกันต้องรู้ลมหายใจสั่นยาว ท่านคงง๊อกแว๊กไม่ได้เพราะสมาธิท่านอยู่ที่ภาพพระ จิตของท่านพิจารณาลมหายใจ สักพักภาพพระจะอยู่ตัว มีความชัดเจนขึ้นและสว่าง นักปฏิบัติบางคนจะเห็นพระพุทธรูปยิ้มให้ ถ้าทำได้ขนาดนี้แสดงว่า "ทิพยขุญาณ" เริ่มปรากฏแล้ว
ถ้านักปฏิบัติใหม่ตั้งใจฝึกจริงๆ 2 สภาวะนี้ใช้เวลาไม่เกิน 30 ลมหายใจ หมั่นทำให้คล่องๆอย่าสงสัยในสภาวะธรรมที่เกิดขึ้น อย่าคิดว่าตัวข้าเก่งตัวข้าเลิศ สภาวะนี้ใครๆก็ทำได้ มีเด็กอนุบาลเยอะแยะที่ได้ ถ้าท่านดีจริงท่านคงไม่เกิดเป็นมนุษย์ ท่านต้องนิพพานไปนานแล้ว นักปฏิบัติใหม่ต้องคิดแบบนี้
นักปฏิบัติใหม่ทุกคนฝึกต่อ
- ท่านสุขวิปัสสโก ท่านจงหลับตาเข้าวิตกและวิจารเข้าสู่สภาวะ"จิตรวม" ตอนนี้นักปฏิบัติใหม่ยังต้องบริกรรมพุท-โธอยู่ อย่าได้ลืมอารมณ์นี้ ท่านจงเพ่งไปที่จุดสีขาวเล็กๆที่จิตของท่านรวมนั้น รวมกำลังสมาธิและมุ่งไปที่จุดๆนั้น ขณะที่รวมกำลังท่านอย่าได้เครียดเด็ดขาด พิจารณาลมหายใจเบาๆทำตัวสบายๆ ไม่นานท่านจะรู้สึกว่าตัวท่าน"สว่าง"เหมือนเปิดไฟ ภึงแม้ว่าท่านจะนั่งในที่มืด แต่ท่านจะรู้สึกสว่าง ในช่วงนี้หลายคนจะรู้สึกว่าตัวท่านเบา รู้สึกว่าตัวลอย / บางคนรู้สึกว่าขนลุกขนชันซู่ซ่า / บางคนน้ำหูน้ำตาไหล / บางคนร่างกายโครงเครง ท่านอย่าได้ยึดติดกับอารมณ์ใดๆ นั่งแต่ละครั้งสภาวะนี้จะแตกต่างกัน บางครั้งขนลุก บางครั้งน้ำตาไหล บางครั้งตัวลอย บางคนหมุนเป็นลูกข่าง นักปฏิบัติใหม่ครับ อาการนี้เรียกว่า "ปิติ" แต่ละอย่างที่เกิดเรียกว่า"ปิติทั้ง5"อย่าได้หลงว่าตัวเราเก่งเด็ดขาด ในฐานะมี่ปฏิบัติมาก่อนขอบอกว่าที่สำนักมีเด็ก ป.4 ทำได้ตั้งแต่5นาทีแรกมากมาย มันเป็นเรื่องปกติ
- ท่านเจโต ตอนนี้ขอให้ท่านเพ่งไปที่ภาพพระในจิตให้ชัดเจน อย่าลืมพิจารณาลมหายใจเข้าออก บริกรรมตามองค์กสินของท่าน สักพักพระจะยิ้มและเริ่มสว่าภาพพระชัดเจน ตรงนี้เองท่านอย่าได้ว๊อกแว๊ก จงเพ่งภาพต่อไปพร้อมบริกรรมพุท-โธ ไม่นานภาพพระจะแจ่มชัดพร้อมสว่างจ้าเป็นสีขาวหรือสีทองตามจริตของท่าน ตอนนี้ท่านจะมีอาการเหมือนท่านสุขวิปัสสโก คือ ตัวท่านจะหนา บางคนตัวเบารู้สึกว่าลอยได้ บางท่านน้ำหูน้ำตาไหล บ้างท่านขนลุกขนฟู บางท่านก็รู้สึกโครงเคงเหมือนจะตกจากที่นั่ง บางคนรู้ว่าหมุนแบบลูกข่าง เมื่อเข้าสู่สภาวะนี้เรียกว่า "ปิติ" เช่นเดียวกัน อาการโดยทั่วไปก็มี5แบบอย่างที่บอกแหล่ะ นอกนั่นผมยังไม่เคยเป็น แต่บอกไว้ก่อนนะว่านั่งแต่ละรอบปิติที่เกิดจะต่างกัน แต่อย่าได้ยึดเด็ดขาด ใครๆก็ทำได้กะอีแค่ปิติ นักปฏิบัติต้องคิดแบบนี้
ในสภาวะขั้นที่ 3 "ปิติ" นี้เป็นสภาวะที่แปลก แต่ก็เป็นเรื่องปกติ ท่านอย่าได้สนใจในอาการนะครับ เรียนแล้วรู้แล้วก็จำอารมณ์กับสภาวะ "ปิติทั้ง5" ไว้ เวลาเกิดขึ้นกับตัวจะได้ไม่ต้องไปถามใคร อายเค้า บางคนทำไม่ได้จะหาว่าเราบ้า
นักปฏิบัติใหม่ทุกท่านอย่าได้ท้อ ใครเค้าว่าเราบ้า เราก็ยอมๆเค้าไป เพราะที่เรากำลังบ้านั่นเรียกว่า"บ้าดี" บ้าตามคำสอนพระพุทธองค์ทุกประการ จงภูมิใจกับความบ้าของพวกเรานะครับ
ขอให้นักปฏิบัติที่บ้ากับสภาวะนี้เจริญในธรรมทุกท่านสวัสดี
ข้อแนะนำสำหรับนักปฏิบัติใหม่ เรื่อง การฝึกหัดสมาธิขั้นที่ 3 "ปิติ"
- วิตก
ท่านสุขวิปัสสโก->กำหนดลมหายใจเข้าออกที่ปลายจมูก กำหนดลมหายใจเข้า-ออก บริกรรม"พุท-โธ"รู้เท่าทันจิตอย่าว๊อกแวก เรื่องโน้นเรื่องนี้
ท่านเจโต->หลับตากำหนดภาพพระ พิจารณาลมหายใจเข้า-ออก บริกรรมตามองค์กสิณของท่าน จนกว่าภาพพระจะปรากฏ
วิจาร
ท่านสุขวิปัสสโก->ลุยต่อ บริกรรมพุท-โธ ประคองจิตให้แม่น รู้ลมหายใจสั้นยาว อย่าได้ว๊อกแว๊กคิดเรื่องโน้นเรื่องนี้ สักพักจิตจะรวมศูนย์มีลักษณะเป็นจุดสีขาวเล็กๆคล้ายๆจุดขาวในกระดาษสีดำ
ท่านเจโต->ลุยต่อ เพ่งภาพพระต่อเนื่อง พยายามคงสภาพพระที่ปรากฏให้นานที่สุดขณะเดียวกันต้องรู้ลมหายใจสั่นยาว ท่านคงง๊อกแว๊กไม่ได้เพราะสมาธิท่านอยู่ที่ภาพพระ จิตของท่านพิจารณาลมหายใจ สักพักภาพพระจะอยู่ตัว มีความชัดเจนขึ้นและสว่าง นักปฏิบัติบางคนจะเห็นพระพุทธรูปยิ้มให้ ถ้าทำได้ขนาดนี้แสดงว่า "ทิพยขุญาณ" เริ่มปรากฏแล้ว
ถ้านักปฏิบัติใหม่ตั้งใจฝึกจริงๆ 2 สภาวะนี้ใช้เวลาไม่เกิน 30 ลมหายใจ หมั่นทำให้คล่องๆอย่าสงสัยในสภาวะธรรมที่เกิดขึ้น อย่าคิดว่าตัวข้าเก่งตัวข้าเลิศ สภาวะนี้ใครๆก็ทำได้ มีเด็กอนุบาลเยอะแยะที่ได้ ถ้าท่านดีจริงท่านคงไม่เกิดเป็นมนุษย์ ท่านต้องนิพพานไปนานแล้ว นักปฏิบัติใหม่ต้องคิดแบบนี้
นักปฏิบัติใหม่ทุกคนฝึกต่อ
- ท่านสุขวิปัสสโก ท่านจงหลับตาเข้าวิตกและวิจารเข้าสู่สภาวะ"จิตรวม" ตอนนี้นักปฏิบัติใหม่ยังต้องบริกรรมพุท-โธอยู่ อย่าได้ลืมอารมณ์นี้ ท่านจงเพ่งไปที่จุดสีขาวเล็กๆที่จิตของท่านรวมนั้น รวมกำลังสมาธิและมุ่งไปที่จุดๆนั้น ขณะที่รวมกำลังท่านอย่าได้เครียดเด็ดขาด พิจารณาลมหายใจเบาๆทำตัวสบายๆ ไม่นานท่านจะรู้สึกว่าตัวท่าน"สว่าง"เหมือนเปิดไฟ ภึงแม้ว่าท่านจะนั่งในที่มืด แต่ท่านจะรู้สึกสว่าง ในช่วงนี้หลายคนจะรู้สึกว่าตัวท่านเบา รู้สึกว่าตัวลอย / บางคนรู้สึกว่าขนลุกขนชันซู่ซ่า / บางคนน้ำหูน้ำตาไหล / บางคนร่างกายโครงเครง ท่านอย่าได้ยึดติดกับอารมณ์ใดๆ นั่งแต่ละครั้งสภาวะนี้จะแตกต่างกัน บางครั้งขนลุก บางครั้งน้ำตาไหล บางครั้งตัวลอย บางคนหมุนเป็นลูกข่าง นักปฏิบัติใหม่ครับ อาการนี้เรียกว่า "ปิติ" แต่ละอย่างที่เกิดเรียกว่า"ปิติทั้ง5"อย่าได้หลงว่าตัวเราเก่งเด็ดขาด ในฐานะมี่ปฏิบัติมาก่อนขอบอกว่าที่สำนักมีเด็ก ป.4 ทำได้ตั้งแต่5นาทีแรกมากมาย มันเป็นเรื่องปกติ
- ท่านเจโต ตอนนี้ขอให้ท่านเพ่งไปที่ภาพพระในจิตให้ชัดเจน อย่าลืมพิจารณาลมหายใจเข้าออก บริกรรมตามองค์กสินของท่าน สักพักพระจะยิ้มและเริ่มสว่าภาพพระชัดเจน ตรงนี้เองท่านอย่าได้ว๊อกแว๊ก จงเพ่งภาพต่อไปพร้อมบริกรรมพุท-โธ ไม่นานภาพพระจะแจ่มชัดพร้อมสว่างจ้าเป็นสีขาวหรือสีทองตามจริตของท่าน ตอนนี้ท่านจะมีอาการเหมือนท่านสุขวิปัสสโก คือ ตัวท่านจะหนา บางคนตัวเบารู้สึกว่าลอยได้ บางท่านน้ำหูน้ำตาไหล บ้างท่านขนลุกขนฟู บางท่านก็รู้สึกโครงเคงเหมือนจะตกจากที่นั่ง บางคนรู้ว่าหมุนแบบลูกข่าง เมื่อเข้าสู่สภาวะนี้เรียกว่า "ปิติ" เช่นเดียวกัน อาการโดยทั่วไปก็มี5แบบอย่างที่บอกแหล่ะ นอกนั่นผมยังไม่เคยเป็น แต่บอกไว้ก่อนนะว่านั่งแต่ละรอบปิติที่เกิดจะต่างกัน แต่อย่าได้ยึดเด็ดขาด ใครๆก็ทำได้กะอีแค่ปิติ นักปฏิบัติต้องคิดแบบนี้
ในสภาวะขั้นที่ 3 "ปิติ" นี้เป็นสภาวะที่แปลก แต่ก็เป็นเรื่องปกติ ท่านอย่าได้สนใจในอาการนะครับ เรียนแล้วรู้แล้วก็จำอารมณ์กับสภาวะ "ปิติทั้ง5" ไว้ เวลาเกิดขึ้นกับตัวจะได้ไม่ต้องไปถามใคร อายเค้า บางคนทำไม่ได้จะหาว่าเราบ้า
นักปฏิบัติใหม่ทุกท่านอย่าได้ท้อ ใครเค้าว่าเราบ้า เราก็ยอมๆเค้าไป เพราะที่เรากำลังบ้านั่นเรียกว่า"บ้าดี" บ้าตามคำสอนพระพุทธองค์ทุกประการ จงภูมิใจกับความบ้าของพวกเรานะครับ
ขอให้นักปฏิบัติที่บ้ากับสภาวะนี้เจริญในธรรมทุกท่านสวัสดี