ข้อคิดดีๆสำหรับนักปฏิบัติใหม่ เรื่อง การฝึกหัดสมาธิขั้นที่ 5 เอกัคคตารมณ์และปฐมฌาณ

สวัสดีครับท่านนักปฏิบัติใหม่ทุกท่าน ผมเชื่อว่าท่านนักปฏิบัติใหม่คงฝึกปฏิบัติตามข้อคิดได้เยอะแล้ว เผลอๆบางท่านเดินกำลังจิตไปเกินเนื้อหาแล้วก็มี นักปฏิบัติใหม่ต้องไม่ใจร้อนนะครับ เราฝึกกันมา3-4วันแล้ว วันนี้เราจะมาคุยข้อคิดดีๆกันในเรื่อง การวางอารมณ์ให้เป็นหนึ่ง หรือ"เอกัคคตารมณ์" เพื่อที่พวกเราจะได้เดินกำลังสมาธิเข้าสู่สิ่งที่เรียกว่า "ปฐมฌาณ" กัน

- ท่านสุขวิปัสสโก ผมเชื่อว่าถ้าท่านปฏิบัติจริงในช่วงที่ผ่านมา ท่านต้องได้อารมณ์ของสมาธิในระดับ "วิตก-วิจาร-ปิติ-สุข"ครบเรียบร้อยแล้ว ถ้ายังไม่ได้ก็จงทำต่อไป ไม่ต้องเร่งรีบ คนเราความสามารถไม่เท่ากัน แต่ห้ามท้อหมดกำลังใจนะครับ เมื่อท่านเดินกำลังสมาธิจนได้ "วิตก-วิจาร-ปิติ-สุข" ขอให้ท่านท่านจงวางความรู้สึกทั้ง 4 ลง ทำจิตให้มั่น สร้างอารมณ์ให้เป็นหนึ่ง ภาษาธรรมเรียกว่า "เอกัคคตารมณ์" หรือ  ตั้งจิตมั่นในอารม์ทั้ง 4 ประคองอาการต่างๆที่มีให้นิ่งมากที่สุด ท่านจะพบว่าตอนนี้ อารมณ์ของสมาธิหรือสติของท่านมุ่งไปเรื่องเดียว คือ การประคองอารมณ์จิตให้เป็นหนึ่งเดียว เสียงและลมหายใจยังคงมีอยู่ ท่านอย่าได้ลืมภาวนานะครับ หลายท่านตอนนี้ไม่ได้สนใจเรื่องเสียงและสนใจเรื่องลมหายใจจากการภาวนาแล้ว เพราะลำพังการประคองจิตให้มั่นในอารมณ์ทั้ง4 เป็นเรื่องที่หนักและค่อนข้างยากพอสมควร นักปฏิบัติใหม่อย่าได้รำคาญในช่วงการประคองจิต+ตั้งมั่นนะครับ เพราะความรำคาญจะทำให้อารมณ์จิตของท่านถอยกำลังลง เผลอๆจะหลุดจากสมาธิเลยทีเดียว เพราะอารมณ์จิตของท่านตอนนี้กำลังเคลื่อนเข้าสู่สิ่งที่เรียกว่า "ปฐมฌาณ" แล้ว สภาวะในจิตเราตอนนี้ ความสว่างที่เกิดในอารมณ์ปิติจะลดลง จะสว่างไม่จ้าเท่าช่วงปิติ สาเหตุเป็นเพราะว่าเรามีสติและมีอารมณ์ให้เป็นหนึ่ง "เอกัคคตารมณ์" ขออนุญาตเตือนนะครับ : มาถึงตรงจุดนี้ ท่านนักปฏิบัติใหม่อย่าได้หลงหรือทะนงตนว่าข้าพเจ้าดี-เก่ง-เด่นกว่าคนอื่นเด็ดขาด จริงๆแล้วขั้นปฐมฌาณมันไม่ไช่เรื่องใหญ่อะไรเลย เด็กประถมทั่วไปเค้าก็ทำได้ บางคนที่คล่องสามารถทำได้ตั้งแต่ลมหายใจแรกของสมาธิก็ยังมี ท่านจงหมั่นตรวจจับสภาวะต่างๆของท่านให้คล่อง ประคองให้อยู่ตัว หมั่นเดินหน้า-ถอยหลังสภาวะ เช่น วิตก-วิจาร-ปิติสุข-เอกัคคตา / เอกัคคตา-สุข-ปิติ-วิจาร-วิตก / วิตก-วิจาร-ปิติสุข-เอกัคคตา / เอกัคคตา-สุข-ปิติ-วิจาร-วิตก....อยู่เสมอ

- ท่านเจโตฯ ตอนนี้ท่านได้ทิพยขุญาณชัดเจนแจ่มแจ้ง มองภาพพระชัดเจน และได้อารมณ์ของวิตก-วิจาร-ปิติ-สุขครบแล้ว ขอให้ท่านท่านจงวางความรู้สึกทั้ง 4 ลง ทำจิตให้มั่น สร้างอารมณ์ให้เป็นหนึ่ง ภาษาธรรมเรียกว่า "เอกัคคตารมณ์"  ตั้งจิตมั่นในอารม์ทั้ง 4 ประคองอาการต่างๆที่มีให้นิ่งมากที่สุด ท่านจะพบว่าตอนนี้ อารมณ์ของสมาธิหรือสติของท่านมุ่งไปเรื่องเดียว คือ การประคองอารมณ์จิตให้เป็นหนึ่งเดียว อีกส่วนหนึ่งพยายามประคองภาพพระให้ชัดเจนแจ่มใสอยู่เสมอ ในขั้นนี้ท่านเจโตจะทำยากกว่าท่านสุขวิปัสสโกเพราะ1.ต้องประคองจิต2.ประคองภาพพระให้ชัดเจนแจ่มใส เพราะมันคือการฝึกความเป็นทิพย์ หรือ ทิพยขุญาณ ในอนาคตท่านจะรู้เห็นอะไรมากกว่าท่านสุขวิปัสสโก อย่าเพิ่งท้อ...เป็นกำลังใจให้ ในจุดๆนี้ท่านเจโตจะมีอารมณ์"รำคาญมาก/หงุดหงิดเป็นที่สุด"เพราะรู้สึกว่าทำไมมันยากเย็นแบบนี้ ไหนจะต้องเดินกำลังสมาธิ+ไหนจะรักษาภาพพระให้แจ่มใสชัดเจน นักปฏิบัติใหม่อย่าได้รำคาญในช่วงการประคองจิต+และเพ่งภาพพระนะครับ เพราะความรำคาญและหงุดหงิดตรงจุดนี้ จะทำให้อารมณ์จิตของเราถอยกำลังลง เผลอๆจะหลุดจากสมาธิได้ เพราะอารมณ์จิตของท่านตอนนี้กำลังเคลื่อนเข้าสู่สิ่งที่เรียกว่า "ปฐมฌาณ" แล้ว สภาวะในจิตเราตอนนี้ ความสว่างที่เกิดในอารมณ์ปิติในภาพพระของเราจะลดลง พระจะสว่างไม่จ้าเท่าช่วงปิติ สาเหตุเป็นเพราะว่าเรามีสติและมีอารมณ์ให้เป็นหนึ่ง ท่านจงหมั่นตรวจจับสภาวะต่างๆของท่านให้คล่อง ประคองให้อยู่ตัว หมั่นเดินหน้า-ถอยหลังสภาวะ เช่น เข้าวิตก-วิจาร-ปิติสุข-เอกัคคตา / เอกัคคตา-สุข-ปิติ-วิจาร-วิตก / วิตก-วิจาร-ปิติสุข-เอกัคคตา / เอกัคคตา-สุข-ปิติ-วิจาร-วิตก พยายามรักษาภาพพระให้ชัดเจนแจ่มชัดอยู่เสมอ

ขอให้นักปฏิบัติใหม่ทุกท่านเจริญในธรรมสวัสดี
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่