พงศาวดาร มีทั้งหมดกี่ฉบับครับ แล้วฉบับใดบ้างที่นักวิชาการ หรือนักประวัติศาสตร์ ให้การยอมรับว่าน่าเชื่อถือมากที่สุด

- ตามหัวข้อเลยครับ ...
- พึ่งรู้ว่า พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) เขามีตีพิมพ์ขายด้วย?
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ <อยากทราบว่าน่าซื้อมาอ่านหรือไม่ครับฉบับนี้
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
ลองอ่าน "ตำนานหนังสือพระราชพงศาวดาร" พระนิพนธ์ในสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพดูครับ
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=rattanakosin225&date=12-09-2007&group=2&gblog=80

อาจจะไม่ได้ครบทุกฉบับ แต่ก็มีฉบับหลักๆ ที่มักใช้อ้างอิงหมด ทรงอธิบายได้ครอบคลุมทีเดียวครับ
(หนังสือพระราชพงศาวดารฉบับจุลศักราช ๑๑๕๗ คือฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ครับ)


บทความนี้ก็น่าอ่านครับ เรื่อง "ใครคือผู้แต่งพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา" โดย ศาสตราจารย์ขจร สุขพานิช เกี่ยวกับพระราชพงศาวดารกรุงสยาม ฉบับบริติชมิวเซียม ซึ่งยังไม่พบในสมัยสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพครับ
http://3king.lib.kmutt.ac.th/KingTarksinCD/appendix_3.html


เรื่อความน่าเชื่อถือของพงศาวดาร ส่วนใหญ่นักวิชาการมักจะให้น้ำหนักกับฉบับที่ชำระได้ร่วมสมัยกว่าว่ามีความน่าเชื่อถือกว่าครับ อย่างเช่นพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุทธยาฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ที่ชำระสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ซึ่งเป็นพงศาวดารย่อที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่พบ มีความพิสดารน้อยกว่าฉบับอื่นๆ  

ในขณะที่พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุทธยาที่ชำระสมัยรัตนโกสินทร์ยิ่งมีรายละเอียดพิสดารมากขึ้น มีศักราชผิดพลาด และอาจจะเพราะห่างจากเวลาบวกกับมีเอกสารสูญหายไปมากช่วงเสียกรุงก็ทำให้มีการเพิ่มเติมเนื้อหาขึ้นมา ซึ่งก็พบความคลาดเคลื่อนอยู่มากครับ

อย่างพระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ที่เก่าแก่ที่สุดในสมัยรัตนโกสินทร์ มีภาษาที่เก่ากว่าฉบับอื่นๆ มีข้อความพิสดารน้อยกว่า เนื้อหาบางอย่างตรงตามหลักฐานร่วมสมัยมากกว่า แต่มีสมุดไทยความตอนสมเด็จพระนารายณ์หายไป ๒ เล่ม ในฉบับที่ชำระหลังๆ ก็เพิ่มเติมเหตุการณ์ซึ่งเหมือนเขียนจากเรื่องเล่ามากกว่า มีความพิสดารสูง และเมื่อสอบกับหลักฐานอื่นๆ ก็ไม่ค่อยตรงครับ เช่นเรื่องโกษาปานไปฝรั่งเศส

การศึกษาพงศาวดารควรจะทำอย่างระมัดระวังเพราะมีหลักฐานว่าาหลายครั้งถูกชำระโดยมีนัยยะทางการเมือง เป้าประสงค์ก็น่าจะเพื่อจอบสนองบริบททางการเมืองของแต่ละยุคสมัย เพื่อประโยชน์และความรู้ในหมู่ชนชั้นปกครองเป็นหลัก รวมถึงการเขียนยอพระเกียรติพระเจ้าแผ่นดิน และการเขียนเพื่อลดทอนเจ้าวงศ์เก่าที่เป็นศัตรูทางการเมืองด้วย อย่างเช่นการชำระพงศาวดารที่มีเนื้อหาตำหนิกษัตริย์ยุคปลายกรุงศรีอยุทธยา และยิ่งเพิ่มมากขึ้นในฉบับที่ชำระหลังๆ

ดังนั้นในการศึกษาพงศาวดารควรจะหาหลักฐานอื่นๆ โดยเฉพาะหลักฐานร่วมสมัยมาพิจารณาประกอบด้วยครับ เพราะแม้แต่พงศาวดารที่ส่วนใหญ่ให้ความเชื่อถืออย่างฉบับหลวงประเสริฐฯ เมื่อสอบกับหลักฐานอื่นเช่นจดหมายเหตุวัน วลิต หมิงสื่อลู่ (จดหมายเหตุราชวงศ์หมิง) หรือสังคีติยวงศ์จะพบว่าศักราชช่วงต้นอยุทธยาก็น่าจะคลาดเคลื่อนเหมือนกันครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่