อ่านประวัติสมเด็จพระเพทราชา แล้วเกิดข้อสงสัยว่า พระราชบิดาของพระเพทราชา เป็นใครกันแน่ครับ
ผมได้ค้นคว้าด้วยตันเองพบว่ามี 7 ประเด็น แต่ไม่แน่ใจว่าหลักฐานใดมีน้ำหนักมากกว่ากัน
7 ประเด็นที่พบ มีดังนี้
1. จดหมายเหตุเจ้าแม่วัดดุสิต
กล่าวว่า พระราชบิดา คือ พระยาราชวังเมือง (ทองศุก) เจ้ากรมพระคชบาล พระราชมารดา คือ เปรม บุตรีของกำนันยัง นายบ้านโพหลวง แขวงเมืองสุพรรณบุรี
ความในจดหมายเหตุเจ้าแม่วัดดุสิต เขียนว่า
"...ครั้งนั้นกำนันยังนายบ้านโพหลวง แขวงเมืองสุพรรณบุรี มี บุตรหญิงคนหนึ่งชื่อเปรม มีอายุศม์ได้ ๑๙ ปี มีศิรีรูปโฉมอันงาม เลิศล้ำลักษณะนารี ดียิ่งกว่าหญิงในแขวงเมืองสุพรรณบุรีไม่มีสู้ได้ ครั้งนั้นพระยาราชวังเมืองเจ้ากรมพระคชบาล (ชื่อทองศุก) เป็นข้าหลวงออกไปราชการเมืองสุพรรณบุรี พระยาราชวังเมืองเห็นเปรม บุตรสาวกำนันยังบ้านโพหลวงแลัวก็ชอบใจรักใคร่อยากได้เปรมมาเลี้ยงเป็นภรรยาน้อย จึ่งแต่งผู้เฒ่าผู้แก่ให้ไปสู่ขอเปรมต่อกำนันยัง ผู้เปนบิดาๆ ยอมยกบุตรสาวให้เปนภรรยาพระยาราชวังเมืองๆ รับเปรมมาเลี้ยงเปนอนุภรรยาอยู่ณบ้านที่ตำบลถนนป่าตอง ในกำแพงพระนครกรุงศรีอยุทธยา ไม่ช้านานหนัก เปรมก็มีครรภ์กับพระยาราชวังเมืองสามีได้สามเดือนเศษ พระยาราชวังเมืองสามีป่วยหนักลงถึงแก่กรรม เปรมภรรยาก็เปนหม้ายทั้งครรภ์อ่อนได้สามเดือนเศษเกือบสี่เดือน..." [1]
2. ฟรังซัวส์ อังรี ตุรแปง (เขียนไว้ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์)
กล่าวว่าพระราชบิดา คือ พระมหากษัตริย์องค์หนึ่งไม่ปรากฏพระนาม พระราชมารดา คือ พระพี่เลี้ยงของสมเด็จพระนารายณ์
ความของตุรแปง เขียนว่า
"...ใครบางคนกล่าวว่า พระเพทราชามีชาติกำเนิดมาจากตระกูลทาสที่เป็นฝีพายในเรือมากกว่าจากตระกูลที่จะสืบทอดราชบัลลังก์ แต่จากข้อมูลที่เชื่อถือได้ ข้าพเจ้าสามารถยืนยันได้ว่า พระองค์ทรงมีเชื้อสายกษัตริย์และเป็นพระภาดา (ลูกพี่ลูกน้อง) ของพระเจ้าแผ่นดินผู้ทรงครองราชย์อยู่ในขณะนี้ พระมารดาของพระองค์ซึ่งเป็นพระพี่เลี้ยงของพระเจ้าแผ่นดินมีโอรสและธิดา ๒ องค์ คือ พระเพทราชา ซึ่งได้กล่าวนามมาแลัว และธิดาอีก ๑ องค์... ” [7]
3. ฟรังซัวส์ อังรี ตุรแปง
ขยายจากประเด็นที่ 2 ตุรแปงยกประเด็นว่าพระราชบิดา และพระราชมารดา คือ ตระกูลทาสที่เป็นฝีพายในเรือ [7]
4. คำให้การขุนหลวงหาวัด (ต้นฉบับแปลจากภาษารามัญ)
กล่าวว่าพระราชบิดาไม่ปรากฏนาม ส่วนพระราชมารดา คือ พระสนม
คำให้การขุนหลวงหาวัด เขียนว่า "...อันเจ้าพระยาสุรสีห์นั้นเป็นบุตรของพระสนม แล้วก็เป็นครูช้างของพระองค์..." [2]
หมายเหตุ: ครูช้าง เข้าใจว่า คือ พระเพทราชาเป็นครูช้างของพระนารายณ์
5. ปรีดี พิศภูมิวิถี ในบทความเรื่อง สมเด็จพระเพทราชา มหาบุรุษกู้ชาติ
กล่าวว่า พระราชบิดาไม่ปรากฏนาม ส่วนพระราชมารดา คือ พระพี่นางองค์หนึ่งในสมเด็จพระนารายณ์
ความในบทความ เขียนว่า "...พระราชมารดาของสมเด็จพระเพทราชาคือพระพี่นางองค์ใหญ่ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช..." [3]
6. พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา ฉบับหมอบรัดเล และพงศาวดารกรุงสยามจากต้นฉบับบริชติชมิวเชียมกรุงลอนดอน
บอกว่า ไม่ปรากฏนามพระราชบิดา และพระราชมารดา
แต่เพียงกล่าวว่า "...สมเด็จพระเพทราชาเป็นชาวบ้านพลูหลวง แขวงสุพรรณบุรี..." [4] [5] [6]
7. เอกชัย โควาวิสารัช จากหนังสือ ชันสูตรประวัติศาสตร์ ไขปริศนาพระนารายณ์
กล่าวว่าพระราชบิดา คือ เชื้อสายของพระยาเกียรติพระยาราม [8] ส่วนพระราชมารดา คือ พระนม
โดยอ้างบันทึกประจำวันของบรรพบุรุษราชสกุลชุมสาย บันทึกว่า "...ลูกหลานคนหนึ่งของพระยาเกียรติได้แต่งงานกับจ้าวแม่วัดดุสิต ซึ่งเป็นมารดาของเจ้าพระยาโกษาธิบดีปานและเหล็ก ซึ่งสืบเชื้อสายต่อมาเป็นรัชกาลที่ ๑ แห่งราชวงศ์จักรี..." [9]
_________
เชิงอรรถ
1. ก.ศ.ร. กุหลาบ. สยามประเภท เล่ม 6 ตอนที่ 12, (25 มิ.ย. ร.ศ. 124). น. 344-350.
2. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และพระราชพงศาวดารกรุงศ่รีอยุธยาฉบับหลวงประเสริฐ, คำให้การกรุงเก่า, คำให้การขุนหลวงหาวัด. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2559. น. 721.
3. ปรีดี พิศภูมิวิถี. (พฤศจิกายน 2561). “สมเด็จพระเพทราชา มหาบุรุษกู้ชาติ”, ศิลปวัฒนธรรม 40, 1: 88-104.
4. พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่มที่ 3. (พิมพ์ครั้งที่ 11). นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559. น. 85.
5. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหมอบรัดเล. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2560. น. 313.
6. ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 82 เรื่องพระราชพงคาวดารกรุงสยามจากต้นฉบับที่เป็นของบริชติชมิวเชียมกรุงลอนดอน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2539. น. 245.
7. ฟรังซัวส์ อังรี ตุรแปง (แต่ง), และกรมศิลปากร (เผยแพร่). (2559). ประวัติศาสตร์แห่งพระราชอาณาจักรสยามและประวัตศาสตร์ไทยสมัยกรุงศรีอยุธยาฉปับตุรแปง. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร.
8. เอกชัย โควาวิสารัช. (2563). ชันสูตรประวัติศาสตร์ ไขปริศนาพระนารายณ์. กรุงเทพฯ : มติชน. น. 40.
9. สุทธิศักดิ์ ระบอบ สุขสุวานนท์. (มิถุนายน 2552). “ตามรอยสืบหาบรรพบุรุษต้นราชวงศ์จักรี”, ศิลปวัฒนธรรม 30, 8: 78-93.
บิดาของสมเด็จพระเพทราชา คือใครกันแน่
ผมได้ค้นคว้าด้วยตันเองพบว่ามี 7 ประเด็น แต่ไม่แน่ใจว่าหลักฐานใดมีน้ำหนักมากกว่ากัน
7 ประเด็นที่พบ มีดังนี้
1. จดหมายเหตุเจ้าแม่วัดดุสิต
กล่าวว่า พระราชบิดา คือ พระยาราชวังเมือง (ทองศุก) เจ้ากรมพระคชบาล พระราชมารดา คือ เปรม บุตรีของกำนันยัง นายบ้านโพหลวง แขวงเมืองสุพรรณบุรี
ความในจดหมายเหตุเจ้าแม่วัดดุสิต เขียนว่า
"...ครั้งนั้นกำนันยังนายบ้านโพหลวง แขวงเมืองสุพรรณบุรี มี บุตรหญิงคนหนึ่งชื่อเปรม มีอายุศม์ได้ ๑๙ ปี มีศิรีรูปโฉมอันงาม เลิศล้ำลักษณะนารี ดียิ่งกว่าหญิงในแขวงเมืองสุพรรณบุรีไม่มีสู้ได้ ครั้งนั้นพระยาราชวังเมืองเจ้ากรมพระคชบาล (ชื่อทองศุก) เป็นข้าหลวงออกไปราชการเมืองสุพรรณบุรี พระยาราชวังเมืองเห็นเปรม บุตรสาวกำนันยังบ้านโพหลวงแลัวก็ชอบใจรักใคร่อยากได้เปรมมาเลี้ยงเป็นภรรยาน้อย จึ่งแต่งผู้เฒ่าผู้แก่ให้ไปสู่ขอเปรมต่อกำนันยัง ผู้เปนบิดาๆ ยอมยกบุตรสาวให้เปนภรรยาพระยาราชวังเมืองๆ รับเปรมมาเลี้ยงเปนอนุภรรยาอยู่ณบ้านที่ตำบลถนนป่าตอง ในกำแพงพระนครกรุงศรีอยุทธยา ไม่ช้านานหนัก เปรมก็มีครรภ์กับพระยาราชวังเมืองสามีได้สามเดือนเศษ พระยาราชวังเมืองสามีป่วยหนักลงถึงแก่กรรม เปรมภรรยาก็เปนหม้ายทั้งครรภ์อ่อนได้สามเดือนเศษเกือบสี่เดือน..." [1]
2. ฟรังซัวส์ อังรี ตุรแปง (เขียนไว้ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์)
กล่าวว่าพระราชบิดา คือ พระมหากษัตริย์องค์หนึ่งไม่ปรากฏพระนาม พระราชมารดา คือ พระพี่เลี้ยงของสมเด็จพระนารายณ์
ความของตุรแปง เขียนว่า
"...ใครบางคนกล่าวว่า พระเพทราชามีชาติกำเนิดมาจากตระกูลทาสที่เป็นฝีพายในเรือมากกว่าจากตระกูลที่จะสืบทอดราชบัลลังก์ แต่จากข้อมูลที่เชื่อถือได้ ข้าพเจ้าสามารถยืนยันได้ว่า พระองค์ทรงมีเชื้อสายกษัตริย์และเป็นพระภาดา (ลูกพี่ลูกน้อง) ของพระเจ้าแผ่นดินผู้ทรงครองราชย์อยู่ในขณะนี้ พระมารดาของพระองค์ซึ่งเป็นพระพี่เลี้ยงของพระเจ้าแผ่นดินมีโอรสและธิดา ๒ องค์ คือ พระเพทราชา ซึ่งได้กล่าวนามมาแลัว และธิดาอีก ๑ องค์... ” [7]
3. ฟรังซัวส์ อังรี ตุรแปง
ขยายจากประเด็นที่ 2 ตุรแปงยกประเด็นว่าพระราชบิดา และพระราชมารดา คือ ตระกูลทาสที่เป็นฝีพายในเรือ [7]
4. คำให้การขุนหลวงหาวัด (ต้นฉบับแปลจากภาษารามัญ)
กล่าวว่าพระราชบิดาไม่ปรากฏนาม ส่วนพระราชมารดา คือ พระสนม
คำให้การขุนหลวงหาวัด เขียนว่า "...อันเจ้าพระยาสุรสีห์นั้นเป็นบุตรของพระสนม แล้วก็เป็นครูช้างของพระองค์..." [2]
หมายเหตุ: ครูช้าง เข้าใจว่า คือ พระเพทราชาเป็นครูช้างของพระนารายณ์
5. ปรีดี พิศภูมิวิถี ในบทความเรื่อง สมเด็จพระเพทราชา มหาบุรุษกู้ชาติ
กล่าวว่า พระราชบิดาไม่ปรากฏนาม ส่วนพระราชมารดา คือ พระพี่นางองค์หนึ่งในสมเด็จพระนารายณ์
ความในบทความ เขียนว่า "...พระราชมารดาของสมเด็จพระเพทราชาคือพระพี่นางองค์ใหญ่ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช..." [3]
6. พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา ฉบับหมอบรัดเล และพงศาวดารกรุงสยามจากต้นฉบับบริชติชมิวเชียมกรุงลอนดอน
บอกว่า ไม่ปรากฏนามพระราชบิดา และพระราชมารดา
แต่เพียงกล่าวว่า "...สมเด็จพระเพทราชาเป็นชาวบ้านพลูหลวง แขวงสุพรรณบุรี..." [4] [5] [6]
7. เอกชัย โควาวิสารัช จากหนังสือ ชันสูตรประวัติศาสตร์ ไขปริศนาพระนารายณ์
กล่าวว่าพระราชบิดา คือ เชื้อสายของพระยาเกียรติพระยาราม [8] ส่วนพระราชมารดา คือ พระนม
โดยอ้างบันทึกประจำวันของบรรพบุรุษราชสกุลชุมสาย บันทึกว่า "...ลูกหลานคนหนึ่งของพระยาเกียรติได้แต่งงานกับจ้าวแม่วัดดุสิต ซึ่งเป็นมารดาของเจ้าพระยาโกษาธิบดีปานและเหล็ก ซึ่งสืบเชื้อสายต่อมาเป็นรัชกาลที่ ๑ แห่งราชวงศ์จักรี..." [9]
_________
เชิงอรรถ
1. ก.ศ.ร. กุหลาบ. สยามประเภท เล่ม 6 ตอนที่ 12, (25 มิ.ย. ร.ศ. 124). น. 344-350.
2. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และพระราชพงศาวดารกรุงศ่รีอยุธยาฉบับหลวงประเสริฐ, คำให้การกรุงเก่า, คำให้การขุนหลวงหาวัด. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2559. น. 721.
3. ปรีดี พิศภูมิวิถี. (พฤศจิกายน 2561). “สมเด็จพระเพทราชา มหาบุรุษกู้ชาติ”, ศิลปวัฒนธรรม 40, 1: 88-104.
4. พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่มที่ 3. (พิมพ์ครั้งที่ 11). นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559. น. 85.
5. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหมอบรัดเล. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2560. น. 313.
6. ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 82 เรื่องพระราชพงคาวดารกรุงสยามจากต้นฉบับที่เป็นของบริชติชมิวเชียมกรุงลอนดอน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2539. น. 245.
7. ฟรังซัวส์ อังรี ตุรแปง (แต่ง), และกรมศิลปากร (เผยแพร่). (2559). ประวัติศาสตร์แห่งพระราชอาณาจักรสยามและประวัตศาสตร์ไทยสมัยกรุงศรีอยุธยาฉปับตุรแปง. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร.
8. เอกชัย โควาวิสารัช. (2563). ชันสูตรประวัติศาสตร์ ไขปริศนาพระนารายณ์. กรุงเทพฯ : มติชน. น. 40.
9. สุทธิศักดิ์ ระบอบ สุขสุวานนท์. (มิถุนายน 2552). “ตามรอยสืบหาบรรพบุรุษต้นราชวงศ์จักรี”, ศิลปวัฒนธรรม 30, 8: 78-93.