"ในหลักฐาน พม่าไม่มีการพูดถึงบางระจันเลย"
Facebook "ประชาชื่น"
เป็นคำกล่าวเริ่มต้นของสุเนตร ก่อนจะบอกว่า พระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหมอบรัดเล มีเรื่องบางระจันไม่มาก รายละเอียดบางระจันที่รู้จักกันจะอยู่ในพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา เป็นฉบับที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้ชำระเรียบเรียง เอาต้นฉบับมาดูแล้วมีพระราชหัตถเลขาลงไป กลายเป็นต้นแบบการเขียนประวัติศาสตร์ต่อไป เป็นที่มาที่ไปก่อนจะมาเป็นงานของไม้เมืองเดิมหรือฉบับอื่นๆ
กระแสบางระจันค่อนข้างแรง คำถามในใจคือ ทำไมต้องเป็นเรื่องบางระจันที่ถูกผลิตซ้ำแล้วซ้ำอีก จนยุคนี้กระแสก็ยังรุนแรง บางระจันหยิบขึ้นมาแล้วขายได้เสมอ?
สุเนตรบอกว่า เรื่องราวประวัติศาสตร์ของสามัญชนที่ได้รับกระแสการตอบรับดีมีอยู่ 3 เรื่อง 1.พันท้ายนรสิงห์ 2.นายขนมต้ม 3.บางระจัน
"ต้องมองย้อนไปว่า ประวัติศาสตร์ชาติไทยเกิดขึ้นเมื่อเราสร้างตัวตนใหม่ คือ ประเทศไทย หรือสยามประเทศขึ้น นับแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดความจำเป็นที่จะต้องทำให้ประชาชนมีความทรงจำร่วมกันจะได้เป็นพวกเดียวกัน ต้องมีชีวประวัติของตัวตนใหม่ คือกึ่งประวัติศาสตร์ชาติ ประวัติศาสตร์รัฐสมัยใหม่จะหยิบมาจากส่วนกลางคือ สุโขทัย อยุธยา ธนบุรี กรุงเทพฯ โดยไม่รวมล้านนา หรือนครศรีธรรมราช แก่นเรื่องจะว่าด้วยการปกป้องและกอบกู้เอกราช แก่นที่สองพูดเรื่องความยิ่งใหญ่ของเจ้านาย ส่วนใหญ่เป็นบทบาทเจ้านาย ไม่มีพื้นที่ให้สามัญชน แต่หยิบยื่นความเป็นเจ้าของร่วมกัน"
บางระจันทำให้พื้นที่หน้าประวัติศาสตร์ชาติมีพื้นที่ให้สามัญชนได้ยืนเคียงคู่ประกอบวีรกรรมร่วมกัน นี่คือความสำคัญเชิงสัญลักษณ์ของบางระจัน
"ในหลักฐาน พม่าไม่มีการพูดถึงบางระจันเลย"
Facebook "ประชาชื่น"
เป็นคำกล่าวเริ่มต้นของสุเนตร ก่อนจะบอกว่า พระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหมอบรัดเล มีเรื่องบางระจันไม่มาก รายละเอียดบางระจันที่รู้จักกันจะอยู่ในพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา เป็นฉบับที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้ชำระเรียบเรียง เอาต้นฉบับมาดูแล้วมีพระราชหัตถเลขาลงไป กลายเป็นต้นแบบการเขียนประวัติศาสตร์ต่อไป เป็นที่มาที่ไปก่อนจะมาเป็นงานของไม้เมืองเดิมหรือฉบับอื่นๆ
กระแสบางระจันค่อนข้างแรง คำถามในใจคือ ทำไมต้องเป็นเรื่องบางระจันที่ถูกผลิตซ้ำแล้วซ้ำอีก จนยุคนี้กระแสก็ยังรุนแรง บางระจันหยิบขึ้นมาแล้วขายได้เสมอ?
สุเนตรบอกว่า เรื่องราวประวัติศาสตร์ของสามัญชนที่ได้รับกระแสการตอบรับดีมีอยู่ 3 เรื่อง 1.พันท้ายนรสิงห์ 2.นายขนมต้ม 3.บางระจัน
"ต้องมองย้อนไปว่า ประวัติศาสตร์ชาติไทยเกิดขึ้นเมื่อเราสร้างตัวตนใหม่ คือ ประเทศไทย หรือสยามประเทศขึ้น นับแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดความจำเป็นที่จะต้องทำให้ประชาชนมีความทรงจำร่วมกันจะได้เป็นพวกเดียวกัน ต้องมีชีวประวัติของตัวตนใหม่ คือกึ่งประวัติศาสตร์ชาติ ประวัติศาสตร์รัฐสมัยใหม่จะหยิบมาจากส่วนกลางคือ สุโขทัย อยุธยา ธนบุรี กรุงเทพฯ โดยไม่รวมล้านนา หรือนครศรีธรรมราช แก่นเรื่องจะว่าด้วยการปกป้องและกอบกู้เอกราช แก่นที่สองพูดเรื่องความยิ่งใหญ่ของเจ้านาย ส่วนใหญ่เป็นบทบาทเจ้านาย ไม่มีพื้นที่ให้สามัญชน แต่หยิบยื่นความเป็นเจ้าของร่วมกัน"
บางระจันทำให้พื้นที่หน้าประวัติศาสตร์ชาติมีพื้นที่ให้สามัญชนได้ยืนเคียงคู่ประกอบวีรกรรมร่วมกัน นี่คือความสำคัญเชิงสัญลักษณ์ของบางระจัน