ตรวจร่างกายนั้นสำคัญไฉน? ทำไมนักเตะบางคนจึงชวดย้ายเพราะเหตุนี้
นักเตะส่วนใหญ่มักจะผ่านไปได้ด้วยดี แต่บางคนอย่าง เนเว่น ซูโบติช
อดย้ายไปมิดเดิ้ลสโบรช์ โลอิก เรมี ตรวจร่างกายกับลิเวอร์พูลไม่ผ่าน แต่ตรวจร่างกายที่เชลซีกลับผ่าน ด้วยเหตุผลนี้ และ FFT จะมาหาเหตุผลว่าทำไม
ถ้าคุณคิดว่าการตรวจร่างกายถือเป็นกระบวนการสุดท้ายแล้ว? ลองคิดดูใหม่
อย่างที่เราเห็นในซัมเมอร์นี้ว่าการย้ายทีมจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลยหากไม่ผ่านการเช็คสภาพก่อน
และเพื่อทำความเข้าใจกับมันมากขึ้น ทีมงานโฟร์โฟร์ทูจึงได้สอบถาม เดฟ เฟฟเร่ หัวหน้าทีมแพทย์ของแบล็คเบิร์น
ที่เคยทำงานให้กับแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด และรักบี้ลีกสหราชอาณาจักรมาก่อน อีกทั้งยังเป็นสมาชิกสมาคมแพทย์ลูกหนังอีกด้วย
"ผมอยากเปรียบเทียบกับมันเหมือนที่คุณออกไปซื้อรถมือสอง
คุณได้ถือความเสี่ยงและเมื่อมองจากภายนอกมันก็ดูโอเค หรือถ้าคุณฉลาดพอคุณก็จะทำการลงทุน
หลังจากมีการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญแล้ว และเมื่อคุณมองไปที่จำนวนเงินที่คุณจ่ายไปเพื่อซื้อนักเตะ
มันก็ถือเป็นผลประโยชน์ของสโมสรเพียวๆ ที่จะต้องทำให้แน่ใจว่าได้คนที่พร้อมจะร่วมงานด้วยมา"
"อย่างไรก็ตามนักฟุตบอลแต่ละคนก็มีความแตกต่าง
เช่นเดียวกับการตรวจร่างกายของนักฟุตบอลที่ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับความต้องการของสโมสร,
การบรีฟจากผู้จัดการทีม, อายุ, ตำแหน่ง, ประวัติทางการแพทย์และอาการบาดเจ็บของนักเตะ ซึ่งมันก็มีการเปลี่ยนไปทุกครั้ง"
"มันไม่มีมาตรฐานตายตัว
ทุกสโมสรก็มีแนวทางเป็นของตัวเอง
ปกติแล้วนักเตะที่ย้ายเข้ามาสโมสรของเราจะเข้ารับการตรวจร่างกายสองวัน
ต่อให้จะมาในช่วงเดดไลน์ตลาดซื้อขายนักเตะก็ตาม โดยทั้งนักกายภาพ, แพทย์สโมสร
และทีมฟิตเนสจะต้องให้ข้อมูลแก่ผู้จัดการทีมและผู้บริหารให้มากที่สุดเพื่อให้พวกเขาสามารถตัดสินใจขั้นสุดท้ายได้"
_______________________________
เช็คละเอียด
_______________________________
มีหลายองค์ประกอบด้วยกันที่อยู่ในการตรวจร่างกายส่วนใหญ่
ซึ่งการตรวจสุขภาพโดยวัดอัตราการเต้นของหัวใจก็เป็นหนึ่งในนั้น
เพราะนับตั้งแต่ ฟาบริซ มูอัมบ้า มีอาการเป็นโรคหัวใจ หลายสโมสรก็หันมาเช็คความผิดปกติของหัวใจกันมากขึ้น
ซึ่งนักเตะที่มีอายุตั้งแต่ 24 ปีจะต้องมีการตรวจเช็คประจำปีเพื่อป้องกันไม่ให้มีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ
"ช่วงเวลาในการย้ายทีมก็มีอิทธิพลเข้ามาด้วยเช่นกัน
สำหรับในช่วงตลาดนักเตะเดือนมกราคมนั้น คุณมักจะมองหานักเตะที่เข้ามาแล้วใช้ได้เลย
มันจึงเป็นเรื่องยากที่สโมสรจะเซ็นสัญญากับคนที่มีอาการบาดเจ็บอยู่ในตอนนั้นเข้ามาสู่ทีม
ถึงแม้ว่าอาร์เซนอลจะเลือกทำอย่างนั้นตอนที่ยืม คิม คัลล์สตรอม มาก็ตาม
แต่มันก็เกิดขึ้นไม่บ่อยครั้งนัก อย่างไรก็ตามมันก็อาจมีข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องกับดีลนี้ที่คนภายนอกไม่รับรู้ก็เป็นได้"
"แต่ปกติแล้วพวกเขาจะเซ็นสัญญากับคนที่ลงเล่นต่อเนื่อง
แล้วจากนั้นคุณต้องก็จัดหาข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงระดับความฟิตของคนๆนั้น
โดยทางสโมสรจะใช้การเช็คความฟิตของตัวเองในเรื่องนี้ตั้งแต่เปอร์เซ็นต์ของไขมัน
ในร่างกายไปจนถึงการวัดประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้ออกซิเจนเพื่อดูว่าตอนนี้พวกเขาฟิตแค่ไหน"
"ขณะที่บางสโมสรก็ได้มีการตรวจสอบวิสัยในการมองเห็น, การได้ยิน และการตรวจสุขภาพฟันระหว่างการตรวจร่างกายด้วยเช่นกัน
ยกตัวอย่างเช่นตอนที่ผมอยู่ที่แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด เราได้ทำงานร่วมกับศาสตราจารย์ เกล สตีเฟนสัน
(นักทัศนวิทยาที่มหาวิทบาลัยลิเวอร์พูล) เพื่อดูในหลายๆแง่มุมทั้งในด้านกีฬา,
การออกกำลังกาย และวิสัยการมองเห็น"
"นอกจากนี้เรายังส่งนักเตะไปหาทันตแพทย์เพื่อตรวจสอบและป้องกันปัญหาต่างๆ
ที่จะเกิดขึ้นตลอดทั้งฤดูกาล รวมถึงผลข้างเคียงทางชีวกลศาสตร์อีกด้วย"
_______________________________
ประเมินความเสี่ยง
_______________________________
"การเคลื่อนที่ของกระดูก
ไม่ว่าจะเป็นข้อต่อ, กล้ามเนื้อที่ใช้ตรวจการทํางานของไขสันหลังและรากประสาท,
ความฟิต และจุดด้อยอื่นๆ จะต้องถูกประเมิน ซึ่งผมมักจะตรวจสอบดูตรงส่วนของกระดูกเชิงกรานเป็นพิเศษ
เพราะมันสำคัญต่อความคล่องตัวของร่างกายส่วนบนและส่วนล่าง,
ความแข็งแรงของร่างกาย รวมถึงการป้องกันอาการบาดเจ็บ
ซึ่งตำแหน่งการเล่นของนักเตะก็มีผลด้วยเช่นกัน
ยกตัวอย่างเช่นผู้รักษาประตูก็จะต้องมีการเช็คไหล่, ข้อศอก, ข้อมือ และแน่นอน
มือ ถ้าตรงไหนที่จำเป็นต้องตรวจเพิ่ม เราก็จะทำการสแกนเพื่อตรวจสอบเพิ่ม"
การตรวจร่างกายของเรอัล มาดริด กลายเป็นที่สนใจในปัจจุบัน
"ไม่ใช่แค่นักเตะที่เราเซ็นสัญญามาเท่านั้น
แต่ยังรวมถึงนักเตะอะคาเดมี่ที่ขึ้นมายังทีมชุดใหญ่
และนักเตะที่ยืมตัวมาเช่นกัน ซึ่งเราสามารถทำได้หลายทางสำหรับนักเตะและสโมสร"
"นักเตะที่ยืมตัวมาบางคนจะได้ย้ายเข้ามาอยู่ถาวร
ทำให้สโมสรต้องดูแลเป็นพิเศษเพื่อใช้เป็นกำลังสำคัญ
ดังนั้นการเช็คนักเตะที่ยืมตัวมาแบบละเอียดยิบไม่ใช่แค่เป็นการทำให้แน่ใจ
ว่าจะได้นักเตะที่ฟิตเต็มร้อยเท่านั้น หากแต่ยังสร้างความประทับใจ
ให้กับตัวนักเตะได้อีกด้วยว่าพวกเขาได้รับการดูแลอย่างดี"
"แต่ก็มีเคสที่ตรวจร่างกายไม่ผ่านด้วยเช่นกันจากเหตุผลหลายประการ
บางครั้งเราก็ดูผลการประเมินแล้วไม่แน่ใจว่าเขาจะกรำศึก 40 นัดต่อฤดูกาล
ใน เดอะ แชมเปี้ยนชิพ ได้หรือไม่ เราไม่ต้องการจะเสี่ยงกับเขา"
"อย่างไรก็ตามมันก็ยังไม่จบเพียงเท่านั้น
เพราะเรายังคงทำงานร่วมกับนักเตะและตัวแทนของเขาเพื่อหาทางช่วย
แต่ท้ายที่สุดแล้ว ความต้องการของสโมสร, ความแข็งแกร่งของขุมกำลังในทีม,
ช่วงเวลาที่นักเตะจะต้องฟิตเต็มร้อยหรือไม่
ก็ต้องสลัดอาการบาดเจ็บได้จะเป็นตัวชี้ขาดอยู่ดี ดังนั้น
ถ้าหากพวกเขาตรวจร่างกายไม่ผ่านกับสโมสรนี้ ก็อาจจะตรวจร่างกายผ่านกับอีกสโมสรก็เป็นได้"
_______________________________
การทดสอบ
_______________________________
การตรวจร่างกายนั้นมีกระบวนการขั้นตอนดังนี้...
บททดสอบที่ 1: เช็คหัวใจและสุขภาพ
ในฝ่ายการแพทย์ของสโมสรจะมีการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
ที่จะแสดงผลออกมาทางจอภาพ และยังมีแบบสอบถามเกี่ยวกับประวัติ
ซึ่งอาจจะรวมการตรวจเลือกและเช็คสภาพความฟิต เช่นเดียวกับการทดสอบยูรีน
หาโปรตีนและคีโทนเพื่อดูปัญหาทางสุขภาพอย่างโรคเบาหวานด้วย
บททดสอบที่ 2: ความมั่นคงของกระดูกและกล้ามเนื้อ
ทีมกายภาพจะมองลึกลงไปที่จุดที่น่าจะเป็นจุดอ่อน
อย่างเอวช่วงล่าง (หลัง)และบริเวณกระดูกเชิงกราน
ซึ่งเป็นบริเวณที่ทำให้เกิดปัญหาตรงแฮมสตริงและกล้ามเนื้อที่ดึงเข้าสู่แกนร่างกาย
นอกจากนี้ยังอาจตรวจสอบระบบร่างกายเพิ่มเติมหรือความตึงของกล้ามเนื้อ
ขณะที่กำลังเคลื่อนที่ไปข้างหน้าโดยใช้การนั่งยองๆ, กระโดดขาเดียว และการวิ่งพุ่งไปข้างหน้า
บททดสอบที่ 3: การตรวจสอบโดยทำให้กล้ามเนื้อทำงานอย่างสม่ำเสมอ
ซึ่งการทดสอบแบบนี้จะโฟกัสไปที่กล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหว
(อย่างตรงกล้ามเนื้อหน้าขาและแฮมสตริง) เพื่อให้นักกายภาพ
สามารถหาอัตราเปรียบเทียบระหว่างกล้ามเนื้อทั้งสองกลุ่มเวลาทำงานร่วมกันได้
อีกทั้งยังทำให้เห็นถึงจุดอ่อนที่อาจจะรักษาได้
ก่อนที่จะเกิดอาการบาดเจ็บรวมถึงสามารถพัฒนากล้ามเนื้อตรงจุดนั้น
หลังจากบาดเจ็บได้อย่างถูกต้อง ซึ่งการยืดหรืองอหัวเข่าอาจนำมาใช้เพื่อเช็คการเคลื่อนไหวของนักเตะ
บททดสอบที่ 4: การสแกนลึก
หากต้องการประวัติอาการบาดเจ็บ ทีมแพทย์จะมีโรงพยาบาลเพื่อสแตนด์บายสำหรับการเอ็กซเรย์
ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือไม่ก็อุลตร้าซาวด์ ซึ่งการสแกนนั้นสามารถใช้ประเมินกล้ามเนื้อส่วนใหญ่และกระดูกข้อต่อได้
บททดสอบที่ 5: ดัชนีไขมันในร่างกาย
หลายสโมสรอาจใช้เทคโนโลยีการวัดองค์ประกอบร่างกาย
ด้วยความต้านทานทางไฟฟ้า ซึ่งไขมันในร่างกายจะส่งสัญญาณทางไฟฟ้า
ผ่านทางร่างกายเพื่อวัดเนื้อเยื่อเนื้อแดงและไขมัน ซึ่งนักเตะอาชีพส่วนใหญ่ถูกคาดว่าจะมีไขมันอยู่ในร่างกาย 10%
นอกจากนี้เครื่องวัดไขมันยังสามารถใช้ได้หลายกรณีกับนักเตะคนนั้นๆเพื่อความเที่ยงตรงด้วย
บททดสอบที่ 6: ทดสอบสปรินต์วัดงาน
การทดสอบนี้มีไว้เพื่อวัดสปีดของนักเตะในระยะทางที่กำหนด
ซึ่งนักเตะเอาท์ฟิลด์ในเดอะ แชมเปี้ยนชิพ จะต้องวิ่งในระยะ 20 เมตรในเวลาไม่ถึง 3 วินาที
[ขอขอบคุณสมาคมแพทย์ฟุตบอลของอังกฤษที่เป็นองค์กรในด้านวิทยาศาสตร์, การแพทย์ และการออกกำลังกายของลีกระดับอาชีพในสหราชอาณาจักร ที่ให้ความช่วยเหลือในบทความนี้ด้วย ]
ปล. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาบอลไทยขอแทคฟุตบอลไทยด้วยนะครับ
ปล. เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และการแพทย์ขออนุญาตแทคนะครับ
Credit:
http://www.fourfourtwo.com/th
Credit:
http://www.fourfourtwo.com/th/features/trwcchraangkaaynansamkhayaichn-thamaimnaketabaangkhncchuengchwdyaayephraaaehtunii
Credit:
http://www.soccersuck.com/boards/topic/1391087
บทความเจาะลึก... การตรวจร่างกายก่อนย้ายทีมสำคัญขนาดไหน (อาจจะยาวไปหน่อย แต่มีประโยชน์มากๆครับ)
ตรวจร่างกายนั้นสำคัญไฉน? ทำไมนักเตะบางคนจึงชวดย้ายเพราะเหตุนี้
นักเตะส่วนใหญ่มักจะผ่านไปได้ด้วยดี แต่บางคนอย่าง เนเว่น ซูโบติช
อดย้ายไปมิดเดิ้ลสโบรช์ โลอิก เรมี ตรวจร่างกายกับลิเวอร์พูลไม่ผ่าน แต่ตรวจร่างกายที่เชลซีกลับผ่าน ด้วยเหตุผลนี้ และ FFT จะมาหาเหตุผลว่าทำไม
ถ้าคุณคิดว่าการตรวจร่างกายถือเป็นกระบวนการสุดท้ายแล้ว? ลองคิดดูใหม่
อย่างที่เราเห็นในซัมเมอร์นี้ว่าการย้ายทีมจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลยหากไม่ผ่านการเช็คสภาพก่อน
และเพื่อทำความเข้าใจกับมันมากขึ้น ทีมงานโฟร์โฟร์ทูจึงได้สอบถาม เดฟ เฟฟเร่ หัวหน้าทีมแพทย์ของแบล็คเบิร์น
ที่เคยทำงานให้กับแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด และรักบี้ลีกสหราชอาณาจักรมาก่อน อีกทั้งยังเป็นสมาชิกสมาคมแพทย์ลูกหนังอีกด้วย
"ผมอยากเปรียบเทียบกับมันเหมือนที่คุณออกไปซื้อรถมือสอง
คุณได้ถือความเสี่ยงและเมื่อมองจากภายนอกมันก็ดูโอเค หรือถ้าคุณฉลาดพอคุณก็จะทำการลงทุน
หลังจากมีการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญแล้ว และเมื่อคุณมองไปที่จำนวนเงินที่คุณจ่ายไปเพื่อซื้อนักเตะ
มันก็ถือเป็นผลประโยชน์ของสโมสรเพียวๆ ที่จะต้องทำให้แน่ใจว่าได้คนที่พร้อมจะร่วมงานด้วยมา"
"อย่างไรก็ตามนักฟุตบอลแต่ละคนก็มีความแตกต่าง
เช่นเดียวกับการตรวจร่างกายของนักฟุตบอลที่ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับความต้องการของสโมสร,
การบรีฟจากผู้จัดการทีม, อายุ, ตำแหน่ง, ประวัติทางการแพทย์และอาการบาดเจ็บของนักเตะ ซึ่งมันก็มีการเปลี่ยนไปทุกครั้ง"
"มันไม่มีมาตรฐานตายตัว
ทุกสโมสรก็มีแนวทางเป็นของตัวเอง
ปกติแล้วนักเตะที่ย้ายเข้ามาสโมสรของเราจะเข้ารับการตรวจร่างกายสองวัน
ต่อให้จะมาในช่วงเดดไลน์ตลาดซื้อขายนักเตะก็ตาม โดยทั้งนักกายภาพ, แพทย์สโมสร
และทีมฟิตเนสจะต้องให้ข้อมูลแก่ผู้จัดการทีมและผู้บริหารให้มากที่สุดเพื่อให้พวกเขาสามารถตัดสินใจขั้นสุดท้ายได้"
_______________________________
เช็คละเอียด
_______________________________
มีหลายองค์ประกอบด้วยกันที่อยู่ในการตรวจร่างกายส่วนใหญ่
ซึ่งการตรวจสุขภาพโดยวัดอัตราการเต้นของหัวใจก็เป็นหนึ่งในนั้น
เพราะนับตั้งแต่ ฟาบริซ มูอัมบ้า มีอาการเป็นโรคหัวใจ หลายสโมสรก็หันมาเช็คความผิดปกติของหัวใจกันมากขึ้น
ซึ่งนักเตะที่มีอายุตั้งแต่ 24 ปีจะต้องมีการตรวจเช็คประจำปีเพื่อป้องกันไม่ให้มีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ
"ช่วงเวลาในการย้ายทีมก็มีอิทธิพลเข้ามาด้วยเช่นกัน
สำหรับในช่วงตลาดนักเตะเดือนมกราคมนั้น คุณมักจะมองหานักเตะที่เข้ามาแล้วใช้ได้เลย
มันจึงเป็นเรื่องยากที่สโมสรจะเซ็นสัญญากับคนที่มีอาการบาดเจ็บอยู่ในตอนนั้นเข้ามาสู่ทีม
ถึงแม้ว่าอาร์เซนอลจะเลือกทำอย่างนั้นตอนที่ยืม คิม คัลล์สตรอม มาก็ตาม
แต่มันก็เกิดขึ้นไม่บ่อยครั้งนัก อย่างไรก็ตามมันก็อาจมีข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องกับดีลนี้ที่คนภายนอกไม่รับรู้ก็เป็นได้"
"แต่ปกติแล้วพวกเขาจะเซ็นสัญญากับคนที่ลงเล่นต่อเนื่อง
แล้วจากนั้นคุณต้องก็จัดหาข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงระดับความฟิตของคนๆนั้น
โดยทางสโมสรจะใช้การเช็คความฟิตของตัวเองในเรื่องนี้ตั้งแต่เปอร์เซ็นต์ของไขมัน
ในร่างกายไปจนถึงการวัดประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้ออกซิเจนเพื่อดูว่าตอนนี้พวกเขาฟิตแค่ไหน"
"ขณะที่บางสโมสรก็ได้มีการตรวจสอบวิสัยในการมองเห็น, การได้ยิน และการตรวจสุขภาพฟันระหว่างการตรวจร่างกายด้วยเช่นกัน
ยกตัวอย่างเช่นตอนที่ผมอยู่ที่แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด เราได้ทำงานร่วมกับศาสตราจารย์ เกล สตีเฟนสัน
(นักทัศนวิทยาที่มหาวิทบาลัยลิเวอร์พูล) เพื่อดูในหลายๆแง่มุมทั้งในด้านกีฬา,
การออกกำลังกาย และวิสัยการมองเห็น"
"นอกจากนี้เรายังส่งนักเตะไปหาทันตแพทย์เพื่อตรวจสอบและป้องกันปัญหาต่างๆ
ที่จะเกิดขึ้นตลอดทั้งฤดูกาล รวมถึงผลข้างเคียงทางชีวกลศาสตร์อีกด้วย"
_______________________________
ประเมินความเสี่ยง
_______________________________
"การเคลื่อนที่ของกระดูก
ไม่ว่าจะเป็นข้อต่อ, กล้ามเนื้อที่ใช้ตรวจการทํางานของไขสันหลังและรากประสาท,
ความฟิต และจุดด้อยอื่นๆ จะต้องถูกประเมิน ซึ่งผมมักจะตรวจสอบดูตรงส่วนของกระดูกเชิงกรานเป็นพิเศษ
เพราะมันสำคัญต่อความคล่องตัวของร่างกายส่วนบนและส่วนล่าง,
ความแข็งแรงของร่างกาย รวมถึงการป้องกันอาการบาดเจ็บ
ซึ่งตำแหน่งการเล่นของนักเตะก็มีผลด้วยเช่นกัน
ยกตัวอย่างเช่นผู้รักษาประตูก็จะต้องมีการเช็คไหล่, ข้อศอก, ข้อมือ และแน่นอน
มือ ถ้าตรงไหนที่จำเป็นต้องตรวจเพิ่ม เราก็จะทำการสแกนเพื่อตรวจสอบเพิ่ม"
การตรวจร่างกายของเรอัล มาดริด กลายเป็นที่สนใจในปัจจุบัน
"ไม่ใช่แค่นักเตะที่เราเซ็นสัญญามาเท่านั้น
แต่ยังรวมถึงนักเตะอะคาเดมี่ที่ขึ้นมายังทีมชุดใหญ่
และนักเตะที่ยืมตัวมาเช่นกัน ซึ่งเราสามารถทำได้หลายทางสำหรับนักเตะและสโมสร"
"นักเตะที่ยืมตัวมาบางคนจะได้ย้ายเข้ามาอยู่ถาวร
ทำให้สโมสรต้องดูแลเป็นพิเศษเพื่อใช้เป็นกำลังสำคัญ
ดังนั้นการเช็คนักเตะที่ยืมตัวมาแบบละเอียดยิบไม่ใช่แค่เป็นการทำให้แน่ใจ
ว่าจะได้นักเตะที่ฟิตเต็มร้อยเท่านั้น หากแต่ยังสร้างความประทับใจ
ให้กับตัวนักเตะได้อีกด้วยว่าพวกเขาได้รับการดูแลอย่างดี"
"แต่ก็มีเคสที่ตรวจร่างกายไม่ผ่านด้วยเช่นกันจากเหตุผลหลายประการ
บางครั้งเราก็ดูผลการประเมินแล้วไม่แน่ใจว่าเขาจะกรำศึก 40 นัดต่อฤดูกาล
ใน เดอะ แชมเปี้ยนชิพ ได้หรือไม่ เราไม่ต้องการจะเสี่ยงกับเขา"
"อย่างไรก็ตามมันก็ยังไม่จบเพียงเท่านั้น
เพราะเรายังคงทำงานร่วมกับนักเตะและตัวแทนของเขาเพื่อหาทางช่วย
แต่ท้ายที่สุดแล้ว ความต้องการของสโมสร, ความแข็งแกร่งของขุมกำลังในทีม,
ช่วงเวลาที่นักเตะจะต้องฟิตเต็มร้อยหรือไม่
ก็ต้องสลัดอาการบาดเจ็บได้จะเป็นตัวชี้ขาดอยู่ดี ดังนั้น
ถ้าหากพวกเขาตรวจร่างกายไม่ผ่านกับสโมสรนี้ ก็อาจจะตรวจร่างกายผ่านกับอีกสโมสรก็เป็นได้"
_______________________________
การทดสอบ
_______________________________
การตรวจร่างกายนั้นมีกระบวนการขั้นตอนดังนี้...
บททดสอบที่ 1: เช็คหัวใจและสุขภาพ
ในฝ่ายการแพทย์ของสโมสรจะมีการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
ที่จะแสดงผลออกมาทางจอภาพ และยังมีแบบสอบถามเกี่ยวกับประวัติ
ซึ่งอาจจะรวมการตรวจเลือกและเช็คสภาพความฟิต เช่นเดียวกับการทดสอบยูรีน
หาโปรตีนและคีโทนเพื่อดูปัญหาทางสุขภาพอย่างโรคเบาหวานด้วย
บททดสอบที่ 2: ความมั่นคงของกระดูกและกล้ามเนื้อ
ทีมกายภาพจะมองลึกลงไปที่จุดที่น่าจะเป็นจุดอ่อน
อย่างเอวช่วงล่าง (หลัง)และบริเวณกระดูกเชิงกราน
ซึ่งเป็นบริเวณที่ทำให้เกิดปัญหาตรงแฮมสตริงและกล้ามเนื้อที่ดึงเข้าสู่แกนร่างกาย
นอกจากนี้ยังอาจตรวจสอบระบบร่างกายเพิ่มเติมหรือความตึงของกล้ามเนื้อ
ขณะที่กำลังเคลื่อนที่ไปข้างหน้าโดยใช้การนั่งยองๆ, กระโดดขาเดียว และการวิ่งพุ่งไปข้างหน้า
บททดสอบที่ 3: การตรวจสอบโดยทำให้กล้ามเนื้อทำงานอย่างสม่ำเสมอ
ซึ่งการทดสอบแบบนี้จะโฟกัสไปที่กล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหว
(อย่างตรงกล้ามเนื้อหน้าขาและแฮมสตริง) เพื่อให้นักกายภาพ
สามารถหาอัตราเปรียบเทียบระหว่างกล้ามเนื้อทั้งสองกลุ่มเวลาทำงานร่วมกันได้
อีกทั้งยังทำให้เห็นถึงจุดอ่อนที่อาจจะรักษาได้
ก่อนที่จะเกิดอาการบาดเจ็บรวมถึงสามารถพัฒนากล้ามเนื้อตรงจุดนั้น
หลังจากบาดเจ็บได้อย่างถูกต้อง ซึ่งการยืดหรืองอหัวเข่าอาจนำมาใช้เพื่อเช็คการเคลื่อนไหวของนักเตะ
บททดสอบที่ 4: การสแกนลึก
หากต้องการประวัติอาการบาดเจ็บ ทีมแพทย์จะมีโรงพยาบาลเพื่อสแตนด์บายสำหรับการเอ็กซเรย์
ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือไม่ก็อุลตร้าซาวด์ ซึ่งการสแกนนั้นสามารถใช้ประเมินกล้ามเนื้อส่วนใหญ่และกระดูกข้อต่อได้
บททดสอบที่ 5: ดัชนีไขมันในร่างกาย
หลายสโมสรอาจใช้เทคโนโลยีการวัดองค์ประกอบร่างกาย
ด้วยความต้านทานทางไฟฟ้า ซึ่งไขมันในร่างกายจะส่งสัญญาณทางไฟฟ้า
ผ่านทางร่างกายเพื่อวัดเนื้อเยื่อเนื้อแดงและไขมัน ซึ่งนักเตะอาชีพส่วนใหญ่ถูกคาดว่าจะมีไขมันอยู่ในร่างกาย 10%
นอกจากนี้เครื่องวัดไขมันยังสามารถใช้ได้หลายกรณีกับนักเตะคนนั้นๆเพื่อความเที่ยงตรงด้วย
บททดสอบที่ 6: ทดสอบสปรินต์วัดงาน
การทดสอบนี้มีไว้เพื่อวัดสปีดของนักเตะในระยะทางที่กำหนด
ซึ่งนักเตะเอาท์ฟิลด์ในเดอะ แชมเปี้ยนชิพ จะต้องวิ่งในระยะ 20 เมตรในเวลาไม่ถึง 3 วินาที
[ขอขอบคุณสมาคมแพทย์ฟุตบอลของอังกฤษที่เป็นองค์กรในด้านวิทยาศาสตร์, การแพทย์ และการออกกำลังกายของลีกระดับอาชีพในสหราชอาณาจักร ที่ให้ความช่วยเหลือในบทความนี้ด้วย ]
ปล. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาบอลไทยขอแทคฟุตบอลไทยด้วยนะครับ
ปล. เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และการแพทย์ขออนุญาตแทคนะครับ
Credit:http://www.fourfourtwo.com/th
Credit:http://www.fourfourtwo.com/th/features/trwcchraangkaaynansamkhayaichn-thamaimnaketabaangkhncchuengchwdyaayephraaaehtunii
Credit: http://www.soccersuck.com/boards/topic/1391087