เช้าๆผมชอบฟังรายการหมอ จะมีคำถามเรื่องนี้บ่อยๆ เลยนำมาแชร์กันครับ
“หมอเจด“ นายแพทย์ เจษฎ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา เปิดความแตกต่างของ น้ำมันปลา VS น้ำมันตับปลา เลือกไม่ดีมีอันตราย
เชื่อว่าทุกคนคุ้นกับ น้ำมันปลา และ น้ำมันตับปลา หลายคนชอบทานเพื่อดูแลสุขภาพ แต่เคยสงสัยไหมครับ ว่าทั้งสองอย่างนี้ต่างกันยังไง แล้วแบบไหนเหมาะกับเรามากที่สุด? วันนี้เล่าให้ฟังนะ
1.แหล่งที่มา : ปลาทั้งตัว VS ตับปลาน้ำมันปลา (Fish Oil) สกัดมาจากส่วนต่างๆ ของปลา เช่น เนื้อ หนัง และไขมัน โดยเฉพาะปลาทะเลน้ำลึก เช่น ปลาแซลมอนหรือปลาทูน่า มีโอเมก้า-3 สูงที่ร่างกายเราสร้างเองไม่ได้
น้ำมันตับปลา (Cod liver oil) สกัดมาจาก “ตับ” ของปลาค็อด จุดเด่นคือมีทั้งโอเมก้า-3 วิตามินเอ และวิตามินดีในปริมาณสูง
2.สารอาหารสำคัญ: โอเมก้า-3 และวิตามิ
ในน้ำมันปลาหรือน้ำมันตับปลาทั้งคู่มีสารอาหารต่างกันนะ ซึ่งจะให้ประโยชน์กับร่างกายต่างกัน
น้ำมันปลา : มีกรดไขมันโอเมก้า-3 ที่สำคัญ 2 ชนิด ได้แก่
EPA (Eicosapentaenoic Acid): ช่วยลดการอักเสบ ลดความดันโลหิต และลดความเสี่ยงโรคหัวใจ
DHA (Docosahexaenoic Acid): สำคัญต่อสมอง สายตา และระบบประสาท
น้ำมันปลามีงานวิจัยสนับสนุนมากมายว่าช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ สมองเสื่อม และลดไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดได้ดี
3.เหมาะกับใคร?
น้ำมันปลา: เหมาะกับคนที่อยากดูแลหัวใจ ลดไขมันในเลือด ลดอาการอักเสบ หรือเสริมการทำงานของสมอง
น้ำมันตับปลา: เหมาะกับคนที่ต้องการวิตามินเอและดีเพิ่ม เช่น คนที่ไม่ค่อยโดนแดด หรือมีปัญหาเรื่องกระดูก
แต่ก็ต้องระวังสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ น้ำมันตับปลาอาจไม่เหมาะ เพราะปริมาณวิตามินเอที่สูงอาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้
4.ข้อควรระวังของน้ำมันปลาและน้ำมันตับปลา
น้ำมันปลา
– ถ้ากินน้ำมันปลาในปริมาณมากเกินไปอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาหารไม่ย่อย หรือเลือดแข็งตัวช้าลง ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกง่าย โดยเฉพาะในผู้ที่ใช้ยาละลายลิ่มเลือด
– ควรเลือกน้ำมันปลาที่ผ่านการตรวจสอบว่าปราศจากสารปนเปื้อน เช่น ปรอทหรือโลหะหนัก
น้ำมันตับปลา
– น้ำมันตับปลามีวิตามินเอและวิตามินดีในปริมาณสูง ถ้าทานมากเกินไปอาจเกิดการสะสมจนเป็นพิษ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ หรือเกิดอาการผื่นแพ้
– ผู้ที่เป็นโรคตับหรือไต ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานน้ำมันตับปลา
– คุณแม่ที่กำลังท้องควรหลีกเลี่ยงหรือปรึกษาแพทย์ก่อน เพราะวิตามินเอในปริมาณสูงอาจทำให้ทารกในครรภ์เกิดความผิดปกติได้
5.เลือกแบบไหนดี?
แบบเม็ด (Capsule): พกง่าย กินสะดวก ไม่มีรสคาว
แบบน้ำ: อาจมีกลิ่นคาวเล็กน้อย แต่ดูดซึมเร็ว เหมาะกับคนที่อยากควบคุมปริมาณเอง
ไม่ว่าจะเลือกน้ำมันปลาหรือน้ำมันตับปลา อย่าลืมดูฉลากว่ามี EPA, DHA และวิตามินในปริมาณเท่าไร และเลือกแบรนด์ที่ได้มาตรฐานนะครับ
ทุกคนน่าจะแยกออกแล้วนะ น้ำมันปลาเหมาะสำหรับเสริมโอเมก้า-3 ส่วนน้ำมันตับปลามีจุดเด่นที่วิตามินเอและดี การเลือกทานขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละคน สิ่งสำคัญคือต้องทานในปริมาณที่เหมาะสม และถ้าสงสัย ควรปรึกษาหมอก่อนนะครับ
Cr.ข่าวจาก
https://www.matichon.co.th/social/news_5002206
เลือกไม่ดีมีอันตราย น้ำมันปลา VS น้ำมันตับปลา เหมาะกับใคร สรรพคุณต่างกันอย่างไร: เลือกกินแบบไหนดีสุด
เชื่อว่าทุกคนคุ้นกับ น้ำมันปลา และ น้ำมันตับปลา หลายคนชอบทานเพื่อดูแลสุขภาพ แต่เคยสงสัยไหมครับ ว่าทั้งสองอย่างนี้ต่างกันยังไง แล้วแบบไหนเหมาะกับเรามากที่สุด? วันนี้เล่าให้ฟังนะ
1.แหล่งที่มา : ปลาทั้งตัว VS ตับปลาน้ำมันปลา (Fish Oil) สกัดมาจากส่วนต่างๆ ของปลา เช่น เนื้อ หนัง และไขมัน โดยเฉพาะปลาทะเลน้ำลึก เช่น ปลาแซลมอนหรือปลาทูน่า มีโอเมก้า-3 สูงที่ร่างกายเราสร้างเองไม่ได้
น้ำมันตับปลา (Cod liver oil) สกัดมาจาก “ตับ” ของปลาค็อด จุดเด่นคือมีทั้งโอเมก้า-3 วิตามินเอ และวิตามินดีในปริมาณสูง
2.สารอาหารสำคัญ: โอเมก้า-3 และวิตามิ
ในน้ำมันปลาหรือน้ำมันตับปลาทั้งคู่มีสารอาหารต่างกันนะ ซึ่งจะให้ประโยชน์กับร่างกายต่างกัน
น้ำมันปลา : มีกรดไขมันโอเมก้า-3 ที่สำคัญ 2 ชนิด ได้แก่
EPA (Eicosapentaenoic Acid): ช่วยลดการอักเสบ ลดความดันโลหิต และลดความเสี่ยงโรคหัวใจ
DHA (Docosahexaenoic Acid): สำคัญต่อสมอง สายตา และระบบประสาท
น้ำมันปลามีงานวิจัยสนับสนุนมากมายว่าช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ สมองเสื่อม และลดไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดได้ดี
3.เหมาะกับใคร?
น้ำมันปลา: เหมาะกับคนที่อยากดูแลหัวใจ ลดไขมันในเลือด ลดอาการอักเสบ หรือเสริมการทำงานของสมอง
น้ำมันตับปลา: เหมาะกับคนที่ต้องการวิตามินเอและดีเพิ่ม เช่น คนที่ไม่ค่อยโดนแดด หรือมีปัญหาเรื่องกระดูก
แต่ก็ต้องระวังสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ น้ำมันตับปลาอาจไม่เหมาะ เพราะปริมาณวิตามินเอที่สูงอาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้
4.ข้อควรระวังของน้ำมันปลาและน้ำมันตับปลา
น้ำมันปลา
– ถ้ากินน้ำมันปลาในปริมาณมากเกินไปอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาหารไม่ย่อย หรือเลือดแข็งตัวช้าลง ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกง่าย โดยเฉพาะในผู้ที่ใช้ยาละลายลิ่มเลือด
– ควรเลือกน้ำมันปลาที่ผ่านการตรวจสอบว่าปราศจากสารปนเปื้อน เช่น ปรอทหรือโลหะหนัก
น้ำมันตับปลา
– น้ำมันตับปลามีวิตามินเอและวิตามินดีในปริมาณสูง ถ้าทานมากเกินไปอาจเกิดการสะสมจนเป็นพิษ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ หรือเกิดอาการผื่นแพ้
– ผู้ที่เป็นโรคตับหรือไต ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานน้ำมันตับปลา
– คุณแม่ที่กำลังท้องควรหลีกเลี่ยงหรือปรึกษาแพทย์ก่อน เพราะวิตามินเอในปริมาณสูงอาจทำให้ทารกในครรภ์เกิดความผิดปกติได้
5.เลือกแบบไหนดี?
แบบเม็ด (Capsule): พกง่าย กินสะดวก ไม่มีรสคาว
แบบน้ำ: อาจมีกลิ่นคาวเล็กน้อย แต่ดูดซึมเร็ว เหมาะกับคนที่อยากควบคุมปริมาณเอง
ไม่ว่าจะเลือกน้ำมันปลาหรือน้ำมันตับปลา อย่าลืมดูฉลากว่ามี EPA, DHA และวิตามินในปริมาณเท่าไร และเลือกแบรนด์ที่ได้มาตรฐานนะครับ
ทุกคนน่าจะแยกออกแล้วนะ น้ำมันปลาเหมาะสำหรับเสริมโอเมก้า-3 ส่วนน้ำมันตับปลามีจุดเด่นที่วิตามินเอและดี การเลือกทานขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละคน สิ่งสำคัญคือต้องทานในปริมาณที่เหมาะสม และถ้าสงสัย ควรปรึกษาหมอก่อนนะครับ
Cr.ข่าวจาก https://www.matichon.co.th/social/news_5002206