ธรรมะจากพระผู้รู้ โดย พระ ปราโมทย์ ปา โมชฺโช ค่ะ
จาก หนังสือธรรมะใกล้ตัว ฉบับที่ 164 ค่ะ
ธรรมะนั้นเป็นของสูง
เป็นของที่ออกมาจากพระทัยอันบริสุทธิ์หมดจดของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ของธรรมดา
ใจที่อ่อนโยนอ่อนน้อม ใจที่เปิดกว้าง สะอาดหมดจดพอสมควร
ถึงจะรองรับธรรมะที่ออกมาจากพระทัยอันบริสุทธิ์ของพระพุทธเจ้าได้
ใจเราสกปรกมอมแมม ไม่มีศีลไม่มีธรรมอะไรเหลืออยู่เลย รองรับธรรมะที่ประณีตอย่างนั้นไม่ได้
ธรรมะของท่านไม่ใช่ยากนะ
สมัยพุทธกาลชาวบ้านฟังธรรมะ คนธรรมดานี่เอง บางทีเป็นขอทานเป็นอะไร ฟัง
เป็นพระโสดาเป็นอะไร ไม่ใช่ว่าต้องเก่งๆทุกคนหรอก
ไม่ใช่ทุกคนเก่งเหมือนพระโมคคัลลา พระสารีบุตร พระอานนท์
คนส่วนหนึ่งก็คนะรรมดานี่แหละ เค้าก็สัมผัสธรรมะได้
ถ้าใจเราสงบใจเราประณีตพอ ธรรมะจะเข้าสู่ใจเราอย่างง่ายๆเลย ไม่ยากอะไรเลย
ถ้าพวกเราสังเกตให้ดีอย่างเวลาฟังหลวงพ่อเทศน์นะ
ถ้าพวกเราสำรวมนิดหน่อย เรารู้สึกไหมว่าใจเราสงบมากขึ้น
รู้สึกไหมใจเราเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
มีความสุขในขณะที่ฟังธรรมด้วย มีความสงบในขณะที่ฟังธรรมด้วย
เนี่ยใจที่พอดีๆ กระแสธรรมะก็หลั่งไหลเข้ามาสู่ใจเรา
ใจเราเข้าถึงความสุขความสงบด้วยธรรมะ แล้วก็ค่อยเอาไปปฏิบัติ
บางคนถ้าบุญบารมีพอในขณะที่ฟังเกิดความรู้ถูกความเข้าใจถูก ได้สัมมาทิฏฐิขึ้นมา
เวลาที่หลวงพ่อเทศน์มีคนที่เข้าใจขึ้นมาเนี่ย ไม่ใช่คนเดียวไม่ใช่สองคน มีเยอะเลย
งั้นอยู่ที่ใจเรานะ วางให้พอดี ไม่ให้ตึงไป ไม่ให้หย่อนไป
ตึงไปก็คือนั่งเพ่งเอา บังคับเอา จนเครียดจนแข็ง
หย่อนไปก็ฟุ้งซ่านไป ไหลไปโน้นไหลไปนี้เรื่อยๆ
ถ้าใจเราอยู่กับเนื้อกับตัว รู้สึกตัว ตั้งมั่น
ฟังธรรมไปอย่างสบายๆ ฟังแล้วไม่ต้องคิดมากหรอกธรรมะ
วิธีฟังธรรมะที่ดีไม่ใช่ฟังไปคิดไป แต่ฟังไปแล้วรู้สึกตัวไป
มีความรู้สึกตัวนะ ฟังธรรมไป สบาย อย่าห่วงว่าจะฟังไม่รู้เรื่อง
สมองของเรากับจิตนั้นคนละอันกัน เราจะไม่ได้ฟังธรรมด้วยสมองแล้ว
ต่อไปนี้เราจะฟังธรรมด้วยจิต เคยได้ยินไหมว่าจากจิตสู่จิต
ถ้าจิตของเราประณีตพอนะ ธรรมะก็จะปรากฏขึ้นแก่จิตของเราเอง
หลวงปู่ดูลย์เคยสอนว่า ธรรมะ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ออกมาจากจิตดวงเดียวนั่นเอง
แต่เป็นจิตพระพุทธเจ้า มีธรรมะเยอะ
จิตพวกเราก็มีธรรมะได้ จิตของเราเองก็เป็นพุทธะ เป็นธาตุรู้อยู่แล้ว
จิตของเราเป็นธาตุรู้อยู่แล้ว แต่เราถูกนิวรณ์ถูกกิเลสอะไรนี้มาห่อหุ้มไว้
จนมันฟุ้งซ่าน มันไม่สามารถแสดงคุณสมบัติคือความเป็นตัวรู้ของมันออกมาได้จริง
งั้นถ้าจิตของเราสงบ จิตของเราประณีต
จิตของเราอ่อนน้อมต่อพระธรรม จิตของเราเคารพรักต่อพระพุทธเจ้า
เราฟังธรรมด้วยความเคารพ ฟังธรรมไปด้วยใจที่สงบ ใจที่สบาย ใจที่มีความสุข ไม่ต้องกลัวไม่รู้
พอเราฟังธรรมด้วยใจที่ดีพอ ความรู้ความเข้าใจมันจะเกิดขึ้นในตัวเราเอง ในใจเราเอง
อันนี้เป็นเรื่องอัศจรรย์มากนะ เป็นเรื่องแปลก ไม่เหมือนการเรียนวิชาทางโลก
วิชาทางโลก อาจารย์สอนอะไรต้องตั้งใจฟังต้องตั้งใจเรียน จดเอาไว้ คิดเอาไว้
การฟังธรรมภาคปฏิบัติจากครูบาอาจารย์เนี่ยท่านไม่ให้จดด้วยซ้ำไป
สมัยก่อนหนักกว่านั้นอีกนะ อัดเทปยังไม่ได้เลย ท่านถือว่าย่อหย่อน
ท่านให้ภาวนาไป ไม่ใช่ตั้งใจฟังท่านทุกคำพูด
เรามาฝึกใจให้ตั้งมั่นให้รู้เนื้อรู้ตัวอยู่ ไม่ต้องกลัวไม่รู้
เมื่อไหร่เรื่องราวธรรมะที่ท่านเทศน์มันพอเหมาะพอดีกับใจของเรา
สมมุติใจเราภาวนามาได้ระดับนี้ ถ้าธรรมะของท่านเทศน์อยู่ระดับนี้ ใจเราจะไม่เอาจะไม่รับ
เราก็จะรู้สึกตัวของเราภาวนาของเราไปเรื่อย
หรือธรรมะของท่านเทศน์ตรงนี้ ใจเราอยู่แค่นี้ ใจเรายังรับไม่ได้ ก็ฟังไว้อย่างนั้นเอง
แต่ถ้าเมื่อไหร่กระแสธรรมะของท่าน ธรรมะของท่านมันตรงพอดีกับจุดที่เราติดขัดอยู่
เราจะเกิดปิ๊งขึ้นมาในใจ เราจะเข้าใจขึ้นในพริบตาเดียวเท่านั้นเอง เกิดความรู้ถูกเข้าใจถูกขึ้นมา
งั้นการฟังธรรมะไม่เหมือนฟังแลคเชอร์ ไม่ใช่ฟังไปคิดไป
เราฟังไปแล้วเราคอยรู้ทันจิตใจของเราไปเรื่อยๆ
ฟังไปแล้วจิตใจมีความสุข รู้ว่ามีความสุข
ฟังแล้วจิตใจสงบ รู้ว่าจิตใจสงบ
ฟังแล้วฟุ้งซ่าน รู้ว่าฟุ้งซ่าน
ฟังแล้วสงสัย รู้ว่าสงสัย ตรงที่ฟังแล้วสงสัยเนี่ยคือฟังไปคิดไป
ถ้าไม่ฟังไปคิดไป ไม่สงสัย ความสงสัยเกิดจากความคิดทั้งหมดเลย
งั้นเราฟังไปด้วยความรู้สึกตัวนะ รู้สึกกายรู้สึกใจไป
เห็นร่างกายนั่ง ใจเป็นดู นั่งภาวนาของเราอย่างนี้แหละ
แต่ถ้าเมื่อไรกระแสธรรมะมันตรงกับใจของเรา
ใจเราจะตื่นตัวขึ้นมาฟังธรรมะเอง จะขึ้นมาได้เองนะ ฟังเอง
ตรงที่ใจเราสงบอยู่แล้วมันตื่นตัวขึ้นมาฟังธรรมะ ความเข้าใจอันลึกซึ้งนั้นจะเกิดขึ้น
ลำพังพวกเราฟังในขณะที่ใจฟุ้งซ่าน ความเข้าใจธรรมะอย่งลึกซึ้งจะไม่มี
แต่ถ้าใจเราสงบ ใจเราตั้งมั่น รู้เนื้อรู้ตัวอยู่ มีสมาธิรองรับอยู่
เวลาเกิดความรู้ความเข้าใจในธรรมะจะประณีตลึกซึ้งมากเลย
เวลาเราถอยจิตออกมาสู่โลกภายนอก
แล้วเรากลับไปทบทวนธรรมะที่เราเข้าใจในขณะที่เรานั่งสงบอยู่แล้วฟังธรรมะอยู่
พอเราทบทวนเข้าไปนะ ภาษาที่มันเกิดขึ้นจะตื้นมากเลย ถ้อยคำที่สมมุติบัญญัติเรื่องราวธรรมะทั้งหลายที่เราสัมผัสในขณะที่เราทำสมาธิอยู่แล้วฟังธรรมะไปด้วย มันคนละชั้นกัน ออกมาแล้วจะตื้นมากเลย
มันคล้ายๆธรรมะภาคปริยัติ กับธรรมะภาคปฏิบัติ
ธรรมะภาคปริยัติใครๆก็อ่านได้ เอาไปจำไปสอบได้ แต่มันล้างกิเลสไม่ไหว
ธรรมะภาคปฏิบัติเนี่ย มีจิตซึ่งตั้งมั่น มีจิตซึ่งมีสมาธิรองรับอยู่
ความรู้ความเข้าใจเนี่ยนะจะคมมากเลย จะคมมาก จะชัดมากเลย
การรับรู้ต่างๆจะชัดกว่าปกติ แล้วมันจะซาบซึ้งถึงอกถึงใจได้ง่าย
ใครเคยเป็นอย่างที่หลวงพ่อพูดนี้บ้างไหม ยกมือซิมีบ้างไหม
เวลาใจเราสงบใจเราตั้งมั่นอยู่เราภาวนาไปนะ
เกิดความรู้ความเข้าใจขึ้นมา โหมันลึกซึ้งมากเลย
พอเราออกมาจากสมาธิกลับมาอยู่แบบธรรมดา
เรานึกทบทวนดูว่าเมื่อกี้ธรรมะอันประณีตลึกซึ้งนั้นถ้าจะแปลออกมาเป็นภาษาคนจะแปลว่าอะไร
มันจะแปลออกมาตื้นๆ เช่นบอกว่า “ทุกข์ให้รู้ สมุทัยให้ละ” อะไรอย่างนี้
นี่เราก็ได้ยินจนชินนะ “ทุกข์คือขันธ์ ๕” “สมุทัยคือตัวตัณหา” “นิโรธคือพระนิพพาน” ฟังแล้วจะตื้นๆ
“อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา” ฟังแล้วตื้นๆ
แต้ถ้าเมื่อไรจิตเรามีสมาธิพอนะ มันจะลึกกว่ากันเยอะ มันจะเป็นธรรมะที่ขุดรากถอนโคนกิเลสได้
งั้นในเวลาที่จะเกิดอริยมรรคเข้าไปขุดรากถอนโคนกิเลส
จิตจะต้องเข้าสมาธิ จิตจะไม่อยู่ในโลกธรรมดาอย่างที่พวกเราอยู่นี้
จิตจะเข้าฌานโดยอัตโนมัติ แต่เป็นฌานชนิดที่เรียกว่า “ลักขณูปนิชฌาน”
เป็นฌานที่จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต
ฌานหรือสมาธินั้นมีสองแบบ
อันหนึ่งเรียก “อารัมมณูปนิชฌาน” จิตไปตั้งมั่นอยู่ที่อารมณ์
เช่นจิตตั้งมั่นอยู่กับพุทโธ จิตตั้งมั่นอยู่กับลมหายใจ
จิตตั้งมั่นอยู่ที่ท้องพองยุบ จิตตั้งมั่นอยู่ที่มือ จิตตั้งมั่นอยู่ที่เท้า ไม่หนีไปที่อื่น
อยู่ที่มือก็ที่มืออันเดียว อยู่ที่ท้องก็ที่ท้องอันเดียวไม่หนีไปที่อื่น
อย่างนี้เรียกว่าจิตตั้งมั่นอยู่ที่ตัวอารมณ์ อันนี้ทำได้แค่สมถะกรรมฐาน
ฌานหรือสมาธิอีกชนิดหนึ่งเรียก “ลักขณูปนิชฌาน”
จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต จิตรู้เนื้อรู้ตัวอยู่ เป็นตัวของตัวเอง รู้เนื้อรู้ตัว
สงบตั้งมั่น ร่าเริงเบิกบาน นุ่มนวลอ่อนโยน คล่องแคล่วว่องไว
ไม่หนัก ไม่แน่น ไม่แข็ง ไม่ซึม ไม่ทื่อ
จิตที่ทรงฌานชนิดนี้เวลาที่เกิดอริยมรรคก็จะใช้ฌานที่เรียกว่าลักขณูปนิชฌาน
ตอนที่เกิดอริยผลก็เป็นลักขณูปนิชฌานเหมือนกัน
ถึงจะเข้าฌาน ๑, ๒, ๓, ๔, ๕, ๖, ๗, ๘ แต่ก็ตั้งมั่นอยู่ที่จิต ไม่ได้ไปตั้งมั่นอยู่ที่ตัวอารมณ์
งั้นเรื่องของจิตใจที่มีความพร้อมนะ
สำหรับการศึกษาธรรมะการฟังธรรม หรือการปฏิบัติธรรมนะก็เป็นเรื่องสำคัญ
เราต้องให้มีจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว อย่าให้จิตใจล่องลอยไป
อย่าให้สุดโต่งไปสองข้าง สุดโต่งข้างแรกตามกิเลสไป ฟุ้งซ่านไป
สุดโต่งข้างที่สอง บังคับตัวเองมากไป บังคับจิตให้นิ่ง บังคับจิตให้สงบ จิตจะเครียดๆ
อย่างพวกเราขณะนี้ดูตัวเองออกไหม มันตึงไปหรือมันหย่อนไปดูออกไหม
ส่วนใหญ่หย่อนไป ฟุ้งซ่าน ส่วนมากฟุ้งซ่านนะทั้งๆที่นั่งทำเป็นสงบนี่นะ
ใจว่อกแว่กๆไปเรื่อย ใจไม่ค่อยอยู่กับเนื้อกับตัว
หายใจแรงๆสักทีซิ หายใจแล้วก็รู้สึกตัวนะ รู้สึกไหมมันโล่งขึ้นมาโปร่งขึ้นมันรู้สึกตัวได้ดีขึ้น
ทำครั้งเดียวนะ ทำอย่างนี้ตลอดไม่ได้นะ สติแตกเลย
งั้นเวลาฟังธรรมะนะให้ใจมาอยู่กับเนื้อกับตัว
เวลาปฏิบัติธรรมก็ให้ใจมาอยู่กับเนื้อกับตัว
แล้วตอนบรรลุธรรมนะใจมันอยู่กับเนื้อกับตัว
ถ้าจิตใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว ใจมันออกนอก ใจไปอยู่ที่อารมณ์ต่างๆ โอกาสที่เจริญวิปัสสนาไม่มี
เพราะวิปัสสนากรรมฐานเนี่ยจะใช้สมาธิที่เรียกว่าลักขณูปนิชฌาน จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต
ในขณะที่เกิดอริยมรรคอริยผล จิตก็ใช้ลักขณูปนิชฌาน คือจิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต
สวนสันติธรรม
วันอาทิตย์ ที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๕
ฟังเนื้อหา (นาทีที่ ๓)
...ธรรมะจากพระผู้รู้... โดย พระ ปราโมทย์ ปา โมชฺโช ค่ะ จาก หนังสือธรรมะใกล้ตัว ฉบับที่ 164 ค่ะ
จาก หนังสือธรรมะใกล้ตัว ฉบับที่ 164 ค่ะ
ธรรมะนั้นเป็นของสูง
เป็นของที่ออกมาจากพระทัยอันบริสุทธิ์หมดจดของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ของธรรมดา
ใจที่อ่อนโยนอ่อนน้อม ใจที่เปิดกว้าง สะอาดหมดจดพอสมควร
ถึงจะรองรับธรรมะที่ออกมาจากพระทัยอันบริสุทธิ์ของพระพุทธเจ้าได้
ใจเราสกปรกมอมแมม ไม่มีศีลไม่มีธรรมอะไรเหลืออยู่เลย รองรับธรรมะที่ประณีตอย่างนั้นไม่ได้
ธรรมะของท่านไม่ใช่ยากนะ
สมัยพุทธกาลชาวบ้านฟังธรรมะ คนธรรมดานี่เอง บางทีเป็นขอทานเป็นอะไร ฟัง
เป็นพระโสดาเป็นอะไร ไม่ใช่ว่าต้องเก่งๆทุกคนหรอก
ไม่ใช่ทุกคนเก่งเหมือนพระโมคคัลลา พระสารีบุตร พระอานนท์
คนส่วนหนึ่งก็คนะรรมดานี่แหละ เค้าก็สัมผัสธรรมะได้
ถ้าใจเราสงบใจเราประณีตพอ ธรรมะจะเข้าสู่ใจเราอย่างง่ายๆเลย ไม่ยากอะไรเลย
ถ้าพวกเราสังเกตให้ดีอย่างเวลาฟังหลวงพ่อเทศน์นะ
ถ้าพวกเราสำรวมนิดหน่อย เรารู้สึกไหมว่าใจเราสงบมากขึ้น
รู้สึกไหมใจเราเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
มีความสุขในขณะที่ฟังธรรมด้วย มีความสงบในขณะที่ฟังธรรมด้วย
เนี่ยใจที่พอดีๆ กระแสธรรมะก็หลั่งไหลเข้ามาสู่ใจเรา
ใจเราเข้าถึงความสุขความสงบด้วยธรรมะ แล้วก็ค่อยเอาไปปฏิบัติ
บางคนถ้าบุญบารมีพอในขณะที่ฟังเกิดความรู้ถูกความเข้าใจถูก ได้สัมมาทิฏฐิขึ้นมา
เวลาที่หลวงพ่อเทศน์มีคนที่เข้าใจขึ้นมาเนี่ย ไม่ใช่คนเดียวไม่ใช่สองคน มีเยอะเลย
งั้นอยู่ที่ใจเรานะ วางให้พอดี ไม่ให้ตึงไป ไม่ให้หย่อนไป
ตึงไปก็คือนั่งเพ่งเอา บังคับเอา จนเครียดจนแข็ง
หย่อนไปก็ฟุ้งซ่านไป ไหลไปโน้นไหลไปนี้เรื่อยๆ
ถ้าใจเราอยู่กับเนื้อกับตัว รู้สึกตัว ตั้งมั่น
ฟังธรรมไปอย่างสบายๆ ฟังแล้วไม่ต้องคิดมากหรอกธรรมะ
วิธีฟังธรรมะที่ดีไม่ใช่ฟังไปคิดไป แต่ฟังไปแล้วรู้สึกตัวไป
มีความรู้สึกตัวนะ ฟังธรรมไป สบาย อย่าห่วงว่าจะฟังไม่รู้เรื่อง
สมองของเรากับจิตนั้นคนละอันกัน เราจะไม่ได้ฟังธรรมด้วยสมองแล้ว
ต่อไปนี้เราจะฟังธรรมด้วยจิต เคยได้ยินไหมว่าจากจิตสู่จิต
ถ้าจิตของเราประณีตพอนะ ธรรมะก็จะปรากฏขึ้นแก่จิตของเราเอง
หลวงปู่ดูลย์เคยสอนว่า ธรรมะ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ออกมาจากจิตดวงเดียวนั่นเอง
แต่เป็นจิตพระพุทธเจ้า มีธรรมะเยอะ
จิตพวกเราก็มีธรรมะได้ จิตของเราเองก็เป็นพุทธะ เป็นธาตุรู้อยู่แล้ว
จิตของเราเป็นธาตุรู้อยู่แล้ว แต่เราถูกนิวรณ์ถูกกิเลสอะไรนี้มาห่อหุ้มไว้
จนมันฟุ้งซ่าน มันไม่สามารถแสดงคุณสมบัติคือความเป็นตัวรู้ของมันออกมาได้จริง
งั้นถ้าจิตของเราสงบ จิตของเราประณีต
จิตของเราอ่อนน้อมต่อพระธรรม จิตของเราเคารพรักต่อพระพุทธเจ้า
เราฟังธรรมด้วยความเคารพ ฟังธรรมไปด้วยใจที่สงบ ใจที่สบาย ใจที่มีความสุข ไม่ต้องกลัวไม่รู้
พอเราฟังธรรมด้วยใจที่ดีพอ ความรู้ความเข้าใจมันจะเกิดขึ้นในตัวเราเอง ในใจเราเอง
อันนี้เป็นเรื่องอัศจรรย์มากนะ เป็นเรื่องแปลก ไม่เหมือนการเรียนวิชาทางโลก
วิชาทางโลก อาจารย์สอนอะไรต้องตั้งใจฟังต้องตั้งใจเรียน จดเอาไว้ คิดเอาไว้
การฟังธรรมภาคปฏิบัติจากครูบาอาจารย์เนี่ยท่านไม่ให้จดด้วยซ้ำไป
สมัยก่อนหนักกว่านั้นอีกนะ อัดเทปยังไม่ได้เลย ท่านถือว่าย่อหย่อน
ท่านให้ภาวนาไป ไม่ใช่ตั้งใจฟังท่านทุกคำพูด
เรามาฝึกใจให้ตั้งมั่นให้รู้เนื้อรู้ตัวอยู่ ไม่ต้องกลัวไม่รู้
เมื่อไหร่เรื่องราวธรรมะที่ท่านเทศน์มันพอเหมาะพอดีกับใจของเรา
สมมุติใจเราภาวนามาได้ระดับนี้ ถ้าธรรมะของท่านเทศน์อยู่ระดับนี้ ใจเราจะไม่เอาจะไม่รับ
เราก็จะรู้สึกตัวของเราภาวนาของเราไปเรื่อย
หรือธรรมะของท่านเทศน์ตรงนี้ ใจเราอยู่แค่นี้ ใจเรายังรับไม่ได้ ก็ฟังไว้อย่างนั้นเอง
แต่ถ้าเมื่อไหร่กระแสธรรมะของท่าน ธรรมะของท่านมันตรงพอดีกับจุดที่เราติดขัดอยู่
เราจะเกิดปิ๊งขึ้นมาในใจ เราจะเข้าใจขึ้นในพริบตาเดียวเท่านั้นเอง เกิดความรู้ถูกเข้าใจถูกขึ้นมา
งั้นการฟังธรรมะไม่เหมือนฟังแลคเชอร์ ไม่ใช่ฟังไปคิดไป
เราฟังไปแล้วเราคอยรู้ทันจิตใจของเราไปเรื่อยๆ
ฟังไปแล้วจิตใจมีความสุข รู้ว่ามีความสุข
ฟังแล้วจิตใจสงบ รู้ว่าจิตใจสงบ
ฟังแล้วฟุ้งซ่าน รู้ว่าฟุ้งซ่าน
ฟังแล้วสงสัย รู้ว่าสงสัย ตรงที่ฟังแล้วสงสัยเนี่ยคือฟังไปคิดไป
ถ้าไม่ฟังไปคิดไป ไม่สงสัย ความสงสัยเกิดจากความคิดทั้งหมดเลย
งั้นเราฟังไปด้วยความรู้สึกตัวนะ รู้สึกกายรู้สึกใจไป
เห็นร่างกายนั่ง ใจเป็นดู นั่งภาวนาของเราอย่างนี้แหละ
แต่ถ้าเมื่อไรกระแสธรรมะมันตรงกับใจของเรา
ใจเราจะตื่นตัวขึ้นมาฟังธรรมะเอง จะขึ้นมาได้เองนะ ฟังเอง
ตรงที่ใจเราสงบอยู่แล้วมันตื่นตัวขึ้นมาฟังธรรมะ ความเข้าใจอันลึกซึ้งนั้นจะเกิดขึ้น
ลำพังพวกเราฟังในขณะที่ใจฟุ้งซ่าน ความเข้าใจธรรมะอย่งลึกซึ้งจะไม่มี
แต่ถ้าใจเราสงบ ใจเราตั้งมั่น รู้เนื้อรู้ตัวอยู่ มีสมาธิรองรับอยู่
เวลาเกิดความรู้ความเข้าใจในธรรมะจะประณีตลึกซึ้งมากเลย
เวลาเราถอยจิตออกมาสู่โลกภายนอก
แล้วเรากลับไปทบทวนธรรมะที่เราเข้าใจในขณะที่เรานั่งสงบอยู่แล้วฟังธรรมะอยู่
พอเราทบทวนเข้าไปนะ ภาษาที่มันเกิดขึ้นจะตื้นมากเลย ถ้อยคำที่สมมุติบัญญัติเรื่องราวธรรมะทั้งหลายที่เราสัมผัสในขณะที่เราทำสมาธิอยู่แล้วฟังธรรมะไปด้วย มันคนละชั้นกัน ออกมาแล้วจะตื้นมากเลย
มันคล้ายๆธรรมะภาคปริยัติ กับธรรมะภาคปฏิบัติ
ธรรมะภาคปริยัติใครๆก็อ่านได้ เอาไปจำไปสอบได้ แต่มันล้างกิเลสไม่ไหว
ธรรมะภาคปฏิบัติเนี่ย มีจิตซึ่งตั้งมั่น มีจิตซึ่งมีสมาธิรองรับอยู่
ความรู้ความเข้าใจเนี่ยนะจะคมมากเลย จะคมมาก จะชัดมากเลย
การรับรู้ต่างๆจะชัดกว่าปกติ แล้วมันจะซาบซึ้งถึงอกถึงใจได้ง่าย
ใครเคยเป็นอย่างที่หลวงพ่อพูดนี้บ้างไหม ยกมือซิมีบ้างไหม
เวลาใจเราสงบใจเราตั้งมั่นอยู่เราภาวนาไปนะ
เกิดความรู้ความเข้าใจขึ้นมา โหมันลึกซึ้งมากเลย
พอเราออกมาจากสมาธิกลับมาอยู่แบบธรรมดา
เรานึกทบทวนดูว่าเมื่อกี้ธรรมะอันประณีตลึกซึ้งนั้นถ้าจะแปลออกมาเป็นภาษาคนจะแปลว่าอะไร
มันจะแปลออกมาตื้นๆ เช่นบอกว่า “ทุกข์ให้รู้ สมุทัยให้ละ” อะไรอย่างนี้
นี่เราก็ได้ยินจนชินนะ “ทุกข์คือขันธ์ ๕” “สมุทัยคือตัวตัณหา” “นิโรธคือพระนิพพาน” ฟังแล้วจะตื้นๆ
“อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา” ฟังแล้วตื้นๆ
แต้ถ้าเมื่อไรจิตเรามีสมาธิพอนะ มันจะลึกกว่ากันเยอะ มันจะเป็นธรรมะที่ขุดรากถอนโคนกิเลสได้
งั้นในเวลาที่จะเกิดอริยมรรคเข้าไปขุดรากถอนโคนกิเลส
จิตจะต้องเข้าสมาธิ จิตจะไม่อยู่ในโลกธรรมดาอย่างที่พวกเราอยู่นี้
จิตจะเข้าฌานโดยอัตโนมัติ แต่เป็นฌานชนิดที่เรียกว่า “ลักขณูปนิชฌาน”
เป็นฌานที่จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต
ฌานหรือสมาธินั้นมีสองแบบ
อันหนึ่งเรียก “อารัมมณูปนิชฌาน” จิตไปตั้งมั่นอยู่ที่อารมณ์
เช่นจิตตั้งมั่นอยู่กับพุทโธ จิตตั้งมั่นอยู่กับลมหายใจ
จิตตั้งมั่นอยู่ที่ท้องพองยุบ จิตตั้งมั่นอยู่ที่มือ จิตตั้งมั่นอยู่ที่เท้า ไม่หนีไปที่อื่น
อยู่ที่มือก็ที่มืออันเดียว อยู่ที่ท้องก็ที่ท้องอันเดียวไม่หนีไปที่อื่น
อย่างนี้เรียกว่าจิตตั้งมั่นอยู่ที่ตัวอารมณ์ อันนี้ทำได้แค่สมถะกรรมฐาน
ฌานหรือสมาธิอีกชนิดหนึ่งเรียก “ลักขณูปนิชฌาน”
จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต จิตรู้เนื้อรู้ตัวอยู่ เป็นตัวของตัวเอง รู้เนื้อรู้ตัว
สงบตั้งมั่น ร่าเริงเบิกบาน นุ่มนวลอ่อนโยน คล่องแคล่วว่องไว
ไม่หนัก ไม่แน่น ไม่แข็ง ไม่ซึม ไม่ทื่อ
จิตที่ทรงฌานชนิดนี้เวลาที่เกิดอริยมรรคก็จะใช้ฌานที่เรียกว่าลักขณูปนิชฌาน
ตอนที่เกิดอริยผลก็เป็นลักขณูปนิชฌานเหมือนกัน
ถึงจะเข้าฌาน ๑, ๒, ๓, ๔, ๕, ๖, ๗, ๘ แต่ก็ตั้งมั่นอยู่ที่จิต ไม่ได้ไปตั้งมั่นอยู่ที่ตัวอารมณ์
งั้นเรื่องของจิตใจที่มีความพร้อมนะ
สำหรับการศึกษาธรรมะการฟังธรรม หรือการปฏิบัติธรรมนะก็เป็นเรื่องสำคัญ
เราต้องให้มีจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว อย่าให้จิตใจล่องลอยไป
อย่าให้สุดโต่งไปสองข้าง สุดโต่งข้างแรกตามกิเลสไป ฟุ้งซ่านไป
สุดโต่งข้างที่สอง บังคับตัวเองมากไป บังคับจิตให้นิ่ง บังคับจิตให้สงบ จิตจะเครียดๆ
อย่างพวกเราขณะนี้ดูตัวเองออกไหม มันตึงไปหรือมันหย่อนไปดูออกไหม
ส่วนใหญ่หย่อนไป ฟุ้งซ่าน ส่วนมากฟุ้งซ่านนะทั้งๆที่นั่งทำเป็นสงบนี่นะ
ใจว่อกแว่กๆไปเรื่อย ใจไม่ค่อยอยู่กับเนื้อกับตัว
หายใจแรงๆสักทีซิ หายใจแล้วก็รู้สึกตัวนะ รู้สึกไหมมันโล่งขึ้นมาโปร่งขึ้นมันรู้สึกตัวได้ดีขึ้น
ทำครั้งเดียวนะ ทำอย่างนี้ตลอดไม่ได้นะ สติแตกเลย
งั้นเวลาฟังธรรมะนะให้ใจมาอยู่กับเนื้อกับตัว
เวลาปฏิบัติธรรมก็ให้ใจมาอยู่กับเนื้อกับตัว
แล้วตอนบรรลุธรรมนะใจมันอยู่กับเนื้อกับตัว
ถ้าจิตใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว ใจมันออกนอก ใจไปอยู่ที่อารมณ์ต่างๆ โอกาสที่เจริญวิปัสสนาไม่มี
เพราะวิปัสสนากรรมฐานเนี่ยจะใช้สมาธิที่เรียกว่าลักขณูปนิชฌาน จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต
ในขณะที่เกิดอริยมรรคอริยผล จิตก็ใช้ลักขณูปนิชฌาน คือจิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต
สวนสันติธรรม
วันอาทิตย์ ที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๕
ฟังเนื้อหา (นาทีที่ ๓)