สมาธิตั้งใจมั่นกับสมาธิสงบ : หลวงพ่อทูล ขิปปปัญโญ



พระอาจารย์ทูล ขิปปปัญโญ
วัดป่าบ้านค้อ จ.อุดรธานี

...

ที่จริงต้องบอกว่า "สงบ" เป็นยังไง คำว่า "สงบ" ตัวนี้พูดกันนัก
คำว่า สมาธิ คำเดียวจงแยกให้เป็น มันมีแยกสองกลุ่มด้วยกันคำว่า สมาธิ

๑. สมาธิตั้งใจมั่น
๒. สมาธิความสงบ


นี่คือแยกกันนิดหนึ่ง ส่วนมากพวกเราจะไม่แยกกัน
แต่ละท่านแต่ละคนนั่งอยู่ที่นี้ จะพูดกันเรื่อง "สมาธิความสงบ" เป็นหลัก
อันนั้นก็สงบ อันนี้ก็สงบไปเรื่อยๆ นี่คือ แยกไม่เป็น
แท้ที่จริงพระองค์เจ้าแยกให้แล้ว ให้เข้าใจแล้ว
แต่คนไม่ดูเรื่อง เรื่องราวที่พระองค์เจ้าสอนเอาไว้
คำว่า "ตั้งใจมั่น" ตั้งอย่างไร คำว่า "สงบ" สงบอย่างไร

เอาอะไรเป็นตัววัดกัน ขั้นตอนเป็นยังไงบ้าง

คำว่า สงบ คำเดียวเนี่ยมันหมายถึงว่า นับตั้งแต่ "อัปปนาสมาธิ"
ขึ้นไปถึงรูปฌาน อรูปฌาน นั่นคำว่า "สงบ"
คำว่า "ตั้งใจมั่น" อยู่ตรงไหน
ตั้งใจมั่นตั้งแต่ "อุปจารสมาธิ-ขณิกสมาธิ" ลงมา
นี้คือ "จุดแบ่งกัน" ระหว่าง"ตั้งใจมั่นและสงบ"


แต่เดี๋ยวนี้เราไม่ศึกษาตัวนี้ แยกกันไม่เป็น
คนคนเดียวจะสามารถแบกกันได้หรอ แต่ข้อสำคัญอีกอย่าง
สมัยครั้งพุทธกาลพระองค์เจ้าสอนไว้ชัดเจนเลยว่า
บุคคลที่จิตสงบง่ายๆคนกลุ่มไหน
บุคคลที่ทำสงบไม่ได้คนกลุ่มไหน


สมัยครั้งพุทธกาล เฉพาะบุคคลที่มีนิสัย "ปัญญาวิมุติ"
กลุ่มมีนิสัยปัญญาวิมุตินี้ พวกนี้จะทำสงบไม่ได้
ทีนี้คำบริกรรมอะไรก็แล้วแต่ สงบไม่ได้เลย คือ ชอบคิด

นึกคำบริกรรมไปไม่กี่นาทีอยากคิด คิดโน่นคิดนี่ตามประสาอยากจะคิด

ถ้าคนไม่มีปัญญาที่ดี เอาความคิดตัวนี้ไปคิดดูซิ ..อะไรเกิดขึ้น
"ฟุ้งซ่าน"เกิดขึ้น เพราะคิดไม่มีเหตุผล ไม่มีหลักการ ไม่มีสูตร
คิดเรื่อยๆเปื่อยๆตามกระแสโลก นั่นคือว่าเป็น "จิตฟุ้งซ่าน"ไปซะ
แต่ถ้าคนคิดในทางธรรมะได้ มันก็เป็น"ธรรม"ไป


...

ส่วนหนึ่งการแสดงพระธรรมเทศนาอบรมผู้ปฏิบัติธรรม
ณ วัดป่าบ้านค้อ เนื่องในวันมาฆบูชา พ.ศ. ๒๕๕๐
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่