ความสำคัญของสัมมาสมาธิในพุทธศาสนา
ดังที่หลายท่านได้ทราบมาดีแล้วว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งปัญญา ถือปัญญาเป็นยอดแห่งธรรม ธรรมทั้งหลายย่อมเป็นของคล้อยตามปัญญา การปฏิบัติขัดเกลาทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นแนวทางใดมีจุดมุ่งหมายสูงสุดมาบรรจบที่เดียวกัน คือการทำให้เกิดปัญญารู้แจ้งตามความเป็นจริง
สมาธินั้น เมื่อมองตามหลักไตรสิกขา อันเป็นแม่แบบของการศึกษาปฏิบัติในภาพรวมของพุทธศาสนาแล้ว เป็นไตรสิกขาลำดับที่ ๒ ท่านจัดวางไว้ในตำแหน่งต่อจากศีลและก่อนปัญญา เนื่องจากสมาธิมีความสำคัญในฐานะเป็นฐานของปัญญา ทำให้ปัญญาเจริญได้ดี ความคิดไม่ฟุ้งซ่าน ซัดส่าย ช่วยให้คิดพิจารณาสิ่งที่ยากประสบผลสำเร็จได้ ทั้งยังมีประโยชน์เกื้อกูลอีกหลายประการ เช่น ช่วยส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิต ช่วยข่มกามราคะให้สงบลง เป็นทิฏฐธรรมสุขวิหาร (เพื่อความอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน) เป็นบาทของอภิญญา เป็นต้น
เมื่อตามหลักการแล้วสมาธิมีความสำคัญมากเช่นนี้ จึงควรที่จะทำความเข้าใจให้สมาธินั้นเป็น “สัมมาสมาธิ” และเกิดประโยชน์สมดังวัตถุประสงค์ที่ต้องการ อนึ่ง ขอบเขตของงานวิจัยนี้จะไม่รวมไปถึงวิธีการปฏิบัติสมาธิแบบต่างๆ เพราะมีรายละเอียดปลีกย่อยค่อนข้างมาก จะนำเสนอเฉพาะประเด็นความสำคัญและประโยชน์ของสมาธิ โดยยกเนื้อหาพระไตรปิฎกขึ้นมาพิจารณาเป็นหลัก
นอกจากนี้ผู้วิจัยเคยพบว่า ผู้ปฏิบัติธรรมบางท่าน มีความวิตกกังวลในการฝึกสมาธิ กล่าวคือ มีความเห็นว่า ผู้ฝึกสมาธิเมื่อสิ้นชีวิตต้องไปเกิดในอรูปภพเสียโอกาสฟังธรรม ไม่เป็นเหตุแห่งความดับทุกข์ จึงมีความเห็นในทำนองที่ไม่ปรารถนาจะฝึกสมาธิ ซึ่งเป็นความเห็นที่ไม่เอื้อต่อการเจริญขึ้นในกุศลธรรมของตัวผู้ปฏิบัติเอง ขัดแย้งกับแนวทางที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ ทั้งนี้ แม้ผู้ปฏิบัติแต่ละท่านจะมีความเหมาะสมที่จะฝึกฝนในแนวทางที่ต่างกันตามจริตของตน แต่ความเข้าใจที่ถูกต้องในภาพรวมของการปฏิบัติย่อมเป็นพื้นฐานอันสำคัญและพึงมี ดังพุทธพจน์ในมหาจัตตารีสกสูตรที่ท่านตรัสว่า สัมมาทิฏฐิ เป็นประธานขององค์มรรคทั้งหลายแต่ทว่าอย่างไรก็ตาม ประเด็นนี้แท้จริงแล้วมิใช่ว่าจะไม่มีมูลเหตุ ข้อมูลในชั้นพระไตรปิฎกเองก็มีเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องซึ่งน่าสนใจอยู่ไม่น้อย ดังมีพุทธพจน์ตอนหนึ่งตรัสว่า
“ฌานย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มีปัญญา ปัญญาก็ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มีฌาน ผู้มีทั้งฌานและปัญญานั่นแล จึงนับว่าอยู่ใกล้นิพพาน”
ความหมายของ สัมมาสมาธิ
สัมมาสมาธิ สำนวนแบบที่ ๑
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสมาธิของพระอริยะ อันมีเหตุ มีองค์ประกอบ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ เป็นไฉน? “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ประกอบแล้วด้วยองค์ ๗ เหล่านี้แลเรียกว่า สัมมาสมาธิของพระอริยะ”
ในสำนวนแบบที่ ๑ สัมมาสมาธิ หมายถึง ความที่จิตมีอารมณ์หนึ่งเดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ประกอบพร้อมด้วยมรรคมีองค์ ๘ กล่าวคือ สมาธิในระดับฌานขึ้นไปอันประกอบพร้อมด้วยความเห็นที่ถูกต้องนั่นเอง (สัมมาทิฎฐิเป็นประธานของมรรค ๘)
สัมมาสมาธิ สำนวนแบบที่ ๒
“สัมมาสมาธิ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก มีวิจาร มีปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่
๒. เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌานที่มีความผ่องใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่
๓. เพราะปีติจางคลายไป มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะอยู่และเสวยสุขด้วยกาย (นามกาย) บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายกล่าวสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’
๔. เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้วบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ”
ในสำนวนนี้ ท่านแสดงความหมายของ สัมมาสมาธิ ว่าเป็นสมาธิใน ฌาน ๔ (สังเกตได้จากองค์ธรรมในแต่ละประโยค) ซึ่งการแสดงความหมายของสมาธิในสำนวนคล้ายกันนี้ ยังมีพบในปัญจังคิกสูตร อีกแห่งหนึ่งด้วย จะเห็นว่าท่านไม่ได้กล่าวเลยไปถึงสมาธิขั้นอรูปฌาน
สัมมาสมาธิ สำนวนแบบที่ ๓
“ก็สมาธินทรีย์เป็นไฉน? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ยึดหน่วงนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต นี้เรียกว่า สมาธินทรีย์”
ถ้าตีความจากสำนวนนี้ ผู้วิจัยเข้าใจว่า สัมมาสมาธิยังหมายความรวมไปถึงสมาธิอันเกิดจากกำลังของวิปัสสนาด้วย เนื่องจากการยึดหน่วงนิพพานเป็นอารมณ์ย่อมเป็นงานในฝั่งของปัญญาเป็นหลัก อาจเป็นลักษณะของสัมมาสมาธิในผู้ปฏิบัติแนววิปัสสนายาน ซึ่งเมื่อเจริญวิปัสสนาถูกทางแล้วสัมมาสมาธิย่อมเกิดขึ้นเองจากการน้อมดิ่งไปในธรรม องค์มรรคทั้ง ๘ ข้อก็สมบูรณ์จนถึงขั้นบรรลุมรรคผลได้ โดยที่ไม่เคยได้ฌานมาก่อน
พระอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่าน ก็ได้ให้ความหมายของสัมมาสมาธิในทำนองเดียวกันนี้ เช่น
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต) สัมมาสมาธิ : ตั้งจิตมั่นชอบ, จิตมั่นชอบ คือสมาธิที่เจริญตามแนวของ ฌาน ๔ (พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์)
สัมมาสมาธิ : สมาธิที่ใช้ถูกทาง เพื่อจุดหมายในทางหลุดพ้น เป็นไปเพื่อปัญญาที่รู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง มิใช่เพื่อผลในทางสนองความอยากของตัวตน (พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย, หน้า ๘๑๕)
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส.
สัมมาสมาธิ : ตั้งใจไว้ชอบ คือเจริญฌานทั้ง ๔
จึงสรุปในเบื้องต้นได้ว่า ความหมายของสัมมาสมาธิที่ปรากฏในหลักฐานชั้นพระไตรปิฎกนั้น คือสมาธิที่ประกอบด้วยปัญญาและเป็นไปเพื่อความเจริญปัญญา ดังที่ท่านใช้สำนวนว่า จิตมั่นชอบ นั่นเอง
อ่านเพิ่ม
https://www.dhamma-sutta.com/2021/09/blog-post_17.html?m=1
ความหมายของ มิจฉาสมาธิ
จากหลักฐานในชั้นพระไตรปิฎก ในเบื้องต้นผู้เขียนบทความยังไม่พบคำอธิบาย มิจฉาสมาธิ ที่มีรายละเอียดโดดเด่น พบข้อความที่บรรยายกว้างๆ เช่น
“มิจฉาสมาธิ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน?
“ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่ซัดส่าย ความไม่ฟุ้งซ่าน ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ มิจฉาสมาธิ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่ามิจฉาสมาธิที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น”
ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถา ท่านได้ขยายความตอนหนึ่งว่า ชื่อว่ามิจฉาสมาธิ เพราะมีจิตตั้งมั่นอันไม่ประกอบด้วยความเห็นตรงตามความเป็นจริง อนึ่ง จิตอาจแน่วแน่เป็นเอกัคคตาได้แม้ในการกระทำที่เป็นอกุศล จึงจัดเป็นมิจฉาสมาธิ ยกตัวอย่าง เช่น คนที่มีจิตแน่วแน่ขณะเอาศัสตราฟาดฟันลงที่ร่างกายของสัตว์ไม่ให้ผิดพลาด หรือ ในเวลาตั้งใจลักขโมย เป็นต้น แสดงให้เห็นว่าเอกัคคตา หรือจิตที่เป็นสมาธิในระดับอุปจารสมาธิขึ้นไปนั้น ก็อาจเกิดขึ้นได้ในขณะที่จิตเป็นอกุศล อย่างไรก็ตามท่านกล่าวว่า เอกัคคตาในฝ่ายอกุศลเช่นนี้ มีกำลังน้อย อ่อนแอ ไม่เข้มแข็งทนทานเหมือนในฝ่ายกุศล (สงฺคณี.อ. ๒๔๓)
ความหมายของมิจฉาสมาธิตามสำนวนที่พระอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิได้แสดงไว้
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต) พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์.
มิจฉาสมาธิ : ตั้งใจผิด ได้แก่ จดจ่อ ปักใจ แน่วในกามราคะ ในพยาบาท เป็นต้น
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส.
มิจฉาสมาธิ : ตั้งจิตผิด ได้แก่ภาวนาสะกดใจในทางหาลาภ ในทางให้ร้ายผู้อื่น และในทางนำให้หลง
กล่าวในสำนวนอย่างง่ายๆว่า มิจฉาสมาธิ หมายถึง การมีจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ แต่มิได้เป็นไปเพื่อประโยชน์ในฐานะเป็นฐานของปัญญา หรือมิได้ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิ นั่นเอง
อ่านเพิ่ม
https://www.dhamma-sutta.com/2021/09/blog-post_17.html?m=1ช
จิงไหม? ไม่มี สัมมาสมาธิ จะไม่สามารถ ชะสังโยชน์ เป็นอริยะ หยุดเวียนว่ายตาย เกิด ได้?
ดังที่หลายท่านได้ทราบมาดีแล้วว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งปัญญา ถือปัญญาเป็นยอดแห่งธรรม ธรรมทั้งหลายย่อมเป็นของคล้อยตามปัญญา การปฏิบัติขัดเกลาทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นแนวทางใดมีจุดมุ่งหมายสูงสุดมาบรรจบที่เดียวกัน คือการทำให้เกิดปัญญารู้แจ้งตามความเป็นจริง
สมาธินั้น เมื่อมองตามหลักไตรสิกขา อันเป็นแม่แบบของการศึกษาปฏิบัติในภาพรวมของพุทธศาสนาแล้ว เป็นไตรสิกขาลำดับที่ ๒ ท่านจัดวางไว้ในตำแหน่งต่อจากศีลและก่อนปัญญา เนื่องจากสมาธิมีความสำคัญในฐานะเป็นฐานของปัญญา ทำให้ปัญญาเจริญได้ดี ความคิดไม่ฟุ้งซ่าน ซัดส่าย ช่วยให้คิดพิจารณาสิ่งที่ยากประสบผลสำเร็จได้ ทั้งยังมีประโยชน์เกื้อกูลอีกหลายประการ เช่น ช่วยส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิต ช่วยข่มกามราคะให้สงบลง เป็นทิฏฐธรรมสุขวิหาร (เพื่อความอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน) เป็นบาทของอภิญญา เป็นต้น
เมื่อตามหลักการแล้วสมาธิมีความสำคัญมากเช่นนี้ จึงควรที่จะทำความเข้าใจให้สมาธินั้นเป็น “สัมมาสมาธิ” และเกิดประโยชน์สมดังวัตถุประสงค์ที่ต้องการ อนึ่ง ขอบเขตของงานวิจัยนี้จะไม่รวมไปถึงวิธีการปฏิบัติสมาธิแบบต่างๆ เพราะมีรายละเอียดปลีกย่อยค่อนข้างมาก จะนำเสนอเฉพาะประเด็นความสำคัญและประโยชน์ของสมาธิ โดยยกเนื้อหาพระไตรปิฎกขึ้นมาพิจารณาเป็นหลัก
นอกจากนี้ผู้วิจัยเคยพบว่า ผู้ปฏิบัติธรรมบางท่าน มีความวิตกกังวลในการฝึกสมาธิ กล่าวคือ มีความเห็นว่า ผู้ฝึกสมาธิเมื่อสิ้นชีวิตต้องไปเกิดในอรูปภพเสียโอกาสฟังธรรม ไม่เป็นเหตุแห่งความดับทุกข์ จึงมีความเห็นในทำนองที่ไม่ปรารถนาจะฝึกสมาธิ ซึ่งเป็นความเห็นที่ไม่เอื้อต่อการเจริญขึ้นในกุศลธรรมของตัวผู้ปฏิบัติเอง ขัดแย้งกับแนวทางที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ ทั้งนี้ แม้ผู้ปฏิบัติแต่ละท่านจะมีความเหมาะสมที่จะฝึกฝนในแนวทางที่ต่างกันตามจริตของตน แต่ความเข้าใจที่ถูกต้องในภาพรวมของการปฏิบัติย่อมเป็นพื้นฐานอันสำคัญและพึงมี ดังพุทธพจน์ในมหาจัตตารีสกสูตรที่ท่านตรัสว่า สัมมาทิฏฐิ เป็นประธานขององค์มรรคทั้งหลายแต่ทว่าอย่างไรก็ตาม ประเด็นนี้แท้จริงแล้วมิใช่ว่าจะไม่มีมูลเหตุ ข้อมูลในชั้นพระไตรปิฎกเองก็มีเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องซึ่งน่าสนใจอยู่ไม่น้อย ดังมีพุทธพจน์ตอนหนึ่งตรัสว่า
“ฌานย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มีปัญญา ปัญญาก็ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มีฌาน ผู้มีทั้งฌานและปัญญานั่นแล จึงนับว่าอยู่ใกล้นิพพาน”
ความหมายของ สัมมาสมาธิ
สัมมาสมาธิ สำนวนแบบที่ ๑
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสมาธิของพระอริยะ อันมีเหตุ มีองค์ประกอบ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ เป็นไฉน? “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ประกอบแล้วด้วยองค์ ๗ เหล่านี้แลเรียกว่า สัมมาสมาธิของพระอริยะ”
ในสำนวนแบบที่ ๑ สัมมาสมาธิ หมายถึง ความที่จิตมีอารมณ์หนึ่งเดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ประกอบพร้อมด้วยมรรคมีองค์ ๘ กล่าวคือ สมาธิในระดับฌานขึ้นไปอันประกอบพร้อมด้วยความเห็นที่ถูกต้องนั่นเอง (สัมมาทิฎฐิเป็นประธานของมรรค ๘)
สัมมาสมาธิ สำนวนแบบที่ ๒
“สัมมาสมาธิ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก มีวิจาร มีปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่
๒. เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌานที่มีความผ่องใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่
๓. เพราะปีติจางคลายไป มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะอยู่และเสวยสุขด้วยกาย (นามกาย) บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายกล่าวสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’
๔. เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้วบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ”
ในสำนวนนี้ ท่านแสดงความหมายของ สัมมาสมาธิ ว่าเป็นสมาธิใน ฌาน ๔ (สังเกตได้จากองค์ธรรมในแต่ละประโยค) ซึ่งการแสดงความหมายของสมาธิในสำนวนคล้ายกันนี้ ยังมีพบในปัญจังคิกสูตร อีกแห่งหนึ่งด้วย จะเห็นว่าท่านไม่ได้กล่าวเลยไปถึงสมาธิขั้นอรูปฌาน
สัมมาสมาธิ สำนวนแบบที่ ๓
“ก็สมาธินทรีย์เป็นไฉน? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ยึดหน่วงนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต นี้เรียกว่า สมาธินทรีย์”
ถ้าตีความจากสำนวนนี้ ผู้วิจัยเข้าใจว่า สัมมาสมาธิยังหมายความรวมไปถึงสมาธิอันเกิดจากกำลังของวิปัสสนาด้วย เนื่องจากการยึดหน่วงนิพพานเป็นอารมณ์ย่อมเป็นงานในฝั่งของปัญญาเป็นหลัก อาจเป็นลักษณะของสัมมาสมาธิในผู้ปฏิบัติแนววิปัสสนายาน ซึ่งเมื่อเจริญวิปัสสนาถูกทางแล้วสัมมาสมาธิย่อมเกิดขึ้นเองจากการน้อมดิ่งไปในธรรม องค์มรรคทั้ง ๘ ข้อก็สมบูรณ์จนถึงขั้นบรรลุมรรคผลได้ โดยที่ไม่เคยได้ฌานมาก่อน
พระอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่าน ก็ได้ให้ความหมายของสัมมาสมาธิในทำนองเดียวกันนี้ เช่น
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต) สัมมาสมาธิ : ตั้งจิตมั่นชอบ, จิตมั่นชอบ คือสมาธิที่เจริญตามแนวของ ฌาน ๔ (พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์)
สัมมาสมาธิ : สมาธิที่ใช้ถูกทาง เพื่อจุดหมายในทางหลุดพ้น เป็นไปเพื่อปัญญาที่รู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง มิใช่เพื่อผลในทางสนองความอยากของตัวตน (พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย, หน้า ๘๑๕)
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส.
สัมมาสมาธิ : ตั้งใจไว้ชอบ คือเจริญฌานทั้ง ๔
จึงสรุปในเบื้องต้นได้ว่า ความหมายของสัมมาสมาธิที่ปรากฏในหลักฐานชั้นพระไตรปิฎกนั้น คือสมาธิที่ประกอบด้วยปัญญาและเป็นไปเพื่อความเจริญปัญญา ดังที่ท่านใช้สำนวนว่า จิตมั่นชอบ นั่นเอง
อ่านเพิ่ม
https://www.dhamma-sutta.com/2021/09/blog-post_17.html?m=1
ความหมายของ มิจฉาสมาธิ
จากหลักฐานในชั้นพระไตรปิฎก ในเบื้องต้นผู้เขียนบทความยังไม่พบคำอธิบาย มิจฉาสมาธิ ที่มีรายละเอียดโดดเด่น พบข้อความที่บรรยายกว้างๆ เช่น
“มิจฉาสมาธิ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน?
“ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่ซัดส่าย ความไม่ฟุ้งซ่าน ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ มิจฉาสมาธิ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่ามิจฉาสมาธิที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น”
ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถา ท่านได้ขยายความตอนหนึ่งว่า ชื่อว่ามิจฉาสมาธิ เพราะมีจิตตั้งมั่นอันไม่ประกอบด้วยความเห็นตรงตามความเป็นจริง อนึ่ง จิตอาจแน่วแน่เป็นเอกัคคตาได้แม้ในการกระทำที่เป็นอกุศล จึงจัดเป็นมิจฉาสมาธิ ยกตัวอย่าง เช่น คนที่มีจิตแน่วแน่ขณะเอาศัสตราฟาดฟันลงที่ร่างกายของสัตว์ไม่ให้ผิดพลาด หรือ ในเวลาตั้งใจลักขโมย เป็นต้น แสดงให้เห็นว่าเอกัคคตา หรือจิตที่เป็นสมาธิในระดับอุปจารสมาธิขึ้นไปนั้น ก็อาจเกิดขึ้นได้ในขณะที่จิตเป็นอกุศล อย่างไรก็ตามท่านกล่าวว่า เอกัคคตาในฝ่ายอกุศลเช่นนี้ มีกำลังน้อย อ่อนแอ ไม่เข้มแข็งทนทานเหมือนในฝ่ายกุศล (สงฺคณี.อ. ๒๔๓)
ความหมายของมิจฉาสมาธิตามสำนวนที่พระอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิได้แสดงไว้
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต) พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์.
มิจฉาสมาธิ : ตั้งใจผิด ได้แก่ จดจ่อ ปักใจ แน่วในกามราคะ ในพยาบาท เป็นต้น
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส.
มิจฉาสมาธิ : ตั้งจิตผิด ได้แก่ภาวนาสะกดใจในทางหาลาภ ในทางให้ร้ายผู้อื่น และในทางนำให้หลง
กล่าวในสำนวนอย่างง่ายๆว่า มิจฉาสมาธิ หมายถึง การมีจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ แต่มิได้เป็นไปเพื่อประโยชน์ในฐานะเป็นฐานของปัญญา หรือมิได้ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิ นั่นเอง
อ่านเพิ่ม
https://www.dhamma-sutta.com/2021/09/blog-post_17.html?m=1ช