ตามอ่านข่าวมาซักพักเรื่องเจ้าของร้านกาแฟโดนจับเรื่องลิขสิทธิในการเปิดเพลงบน Youtube
ก่อนหน้าที่จะมีข่าวดังกล่าว เคยจำได้ว่ามีคำพิษากษาศาลฏีกาไปแล้ว คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8220/2553
https://www.youtube.com/watch?v=AyD79GeaHN8
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง
พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31, 70 วรรคสอง
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยประกอบกิจการค้าขายอาหารตามสั่งและเครื่องดื่ม จำเลยเปิดแผ่นวีซีดีเพลง “กำลังใจที่เธอไม่รู้” อันเป็นลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย ซึ่งได้มีผู้ทำขึ้นหรือดัดแปลงขึ้นให้ลูกค้าในร้านอาหารของจำเลยฟัง ไม่ปรากฎว่าจำเลยเปิดเพลงเพื่อหากำไรโดยตรงจากการที่ให้ลูกค้าฟังเพลงโดยการเรียกเก็บค่าตอบแทนหรือเรียกเก็บเพิ่มรวมไปกับอาหารและเครื่องดื่มแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ประกอบมาตรา 70 วรรคสอง เพราะไม่ครบองค์ประกอบความผิดของบทมาตราดังกล่าว ซึ่งต้องเป็นการกระทำเพื่อหากำไรโดยตรงจากการละเมิดลิขสิทธิ์ แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยได้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง
ที่มาจาก
และเมื่อกรมทรัพสินทางออกตัวแรง
https://www.facebook.com/ipthailand/posts/1138806689499360:0
เท่ากับชี้แจงว่า คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8220/2553 เป็นการฏีกาเฉพาะคู่กรณีดังกล่าวในคดี
คำถามในทางกฏหมายนะครับ ว่าสามารถตีความในลักษณะนี้ได้หรือไม่?
ทีนี้เรามาดูค่าจัดเก็บลิขสิทธิบ้าง "รบกวนดูตาม Link"
https://www.ipthailand.go.th/images/A/020559_copy.pdf
จะเห็นว่า ในส่วนของ GMM
1. ส่วนใหญ่เป็นบริษัทตัวแทน
2. มีหมวดหมู่การจัดเก็บลิขสิทธิที่เรียกได้ว่าครอบคุม ในลักษณะการ เผยแพร่ ไม่ว่าจะเป็น Karaoke Cable TV Audio และอื่นๆ
3. ไม่ใช่เฉพาะร้านค้า แม้แต่ ร้านเครื่องไฟฟ้า, รถหรือเรือขนส่ง, รวมทั้ง Websiteที่เผยแพร่แค่เนื้อเพลงเป็นตัวอักษรด้วย, รวมทั้งนักดนตรีที่เอาเพลงไปร้องหรือแสดงด้วย (หมายถึง Cover ด้วยหรือเปล่า)
**** การเผยแพร่ผ่าน Youtube ไม่มีอยู่ในหมายเหตุ และการเปิดเพลงผ่าน Youtube ไม่ได้เข้าข่ายในการเผยแพร่ผ่าน Internet จึงไม่ทราบว่าอยู่ในหมวดไหน และค่าใช้จ่ายของค่าลิขสิทธิ์ที่เรียกจัดเก็บเป็นราคาเท่าไหร่ ซึ่งในที่นี้น่าจะตกอยู่ในหมวดร้านอาหาร 12,500/ปี/สาขา แบบเหมาจ่าย
### ที่มาของตัวแทนลิขสิทธิ
บางบริษัทใน List รายชื่อของ กรมทรัพสินทางปัญญา มีการระบุจำนวนเพลงที่ตนเองเป็นเจ้าของลิขสิทธิว่าเป็นเจ้าของอยู่จำนวนกี่เพลง
ซึ่งที่มาที่ไป
ของการได้มาซึ่งลิขสิทธิ์นั้นเป็นอย่างไร ซ้ำซ้อนหรือไม่
คำถามนี้เกิดจาก มีหนึงในบริษัทที่อ้างเป็นจ้าของลิขสิทธิ
ถือลิขสิทธิเพลงสากลเป็นจำนวนมากกว่า 5 ล้าน เพลง ซึ่งเป็นข้อสังเกตุถึงที่มาที่ไป มิได้กล่าวหาแต่อย่างได และขัดกับ คลิปข้างต้นของกระทู้ที่กล่าวถึงเพลงสากลด้วย
เรื่องนี้จะมองเป็นเรื่องเล็กก็ได้ ถ้า
1. ผู้ประกอบการดนตรี รู้จักอะลุ้มอล่วย ดูสถานประกอบการว่าเค้ามีเจตนาหากินกับดนตรีของคุณทำให้คุณขาดรายได้ หรือเค้าใช้เป็นแครื่องมือเป็นแค่ส่วนประกอบในการดำเนินการธุรกิจของเค้าซึ่งจริงๆแล้วไม่ได้เป็นวัตุประสงค์หลักในการใช้เพลงมาทำมาหากิน
2. การเอื้อประโยชน์ในการร้องขอใช้ลิขสิทธิ์ สาขาต่างๆที่ทางธุรกิจบันเทิงจะขอใช้ได้
3. ลงมาจัดการเอง ไม่ใช่ให้บริษัทตัวแทนจัดการ มันจะกลายเป็นเรื่องเหมือนบริษัทรับทวงหนี้ธนาคารแบบที่เคยเป็นมาเมื่อก่อน
4. ความชัดเจน และ การเข้าถึงข้อมูล ของบริษัทตัวแทนต่างๆเช่นการ แจกแจงเพลง การค้นหา หรืออะไรก็ได้ที่แสดงให้เจ้าของธุรกิจทราบว่าเป็นลิขสิทธิของคุณ หรือ ขายลิขสิทธฺไปพร้อมตัวแทนจำหน่ายเสียเลย
------------
ถ้าจะมองเป็นการโปรโมทก็ได้นะ สำหรับเจ้าของลิขสิทธิ์เพลง
อีกทั้ง ถ้าคุณจัดเก็บลิขสิทธิ์ผ่าน Youtube จริง
ทางเจ้าของกิจการที่ซื้อลิขสิทธิมาจะขอค่าโฆษาที่ติดอยู่บนคลิป และ สะสมยอด View ไปแลกเป็นส่วนลดค่าลิขสิทธิ์ได้หรือไม่ ในเมื่อการเผยแพร่ผ่าน Youtube ก็เป็นหนึ่งช่องทางที่ก่อให้เกิดรายของผู้ประกอบการดนตรี
ลิขสิทธิเพลง เมื่อคำพิภาษากษาศาลฏีกา กลายเป็นเรื่องเฉพาะร้าน และตัวแทนลิขสิทธิ
ก่อนหน้าที่จะมีข่าวดังกล่าว เคยจำได้ว่ามีคำพิษากษาศาลฏีกาไปแล้ว คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8220/2553
https://www.youtube.com/watch?v=AyD79GeaHN8
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
และเมื่อกรมทรัพสินทางออกตัวแรง
https://www.facebook.com/ipthailand/posts/1138806689499360:0
เท่ากับชี้แจงว่า คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8220/2553 เป็นการฏีกาเฉพาะคู่กรณีดังกล่าวในคดี
คำถามในทางกฏหมายนะครับ ว่าสามารถตีความในลักษณะนี้ได้หรือไม่?
ทีนี้เรามาดูค่าจัดเก็บลิขสิทธิบ้าง "รบกวนดูตาม Link" https://www.ipthailand.go.th/images/A/020559_copy.pdf
จะเห็นว่า ในส่วนของ GMM
1. ส่วนใหญ่เป็นบริษัทตัวแทน
2. มีหมวดหมู่การจัดเก็บลิขสิทธิที่เรียกได้ว่าครอบคุม ในลักษณะการ เผยแพร่ ไม่ว่าจะเป็น Karaoke Cable TV Audio และอื่นๆ
3. ไม่ใช่เฉพาะร้านค้า แม้แต่ ร้านเครื่องไฟฟ้า, รถหรือเรือขนส่ง, รวมทั้ง Websiteที่เผยแพร่แค่เนื้อเพลงเป็นตัวอักษรด้วย, รวมทั้งนักดนตรีที่เอาเพลงไปร้องหรือแสดงด้วย (หมายถึง Cover ด้วยหรือเปล่า)
**** การเผยแพร่ผ่าน Youtube ไม่มีอยู่ในหมายเหตุ และการเปิดเพลงผ่าน Youtube ไม่ได้เข้าข่ายในการเผยแพร่ผ่าน Internet จึงไม่ทราบว่าอยู่ในหมวดไหน และค่าใช้จ่ายของค่าลิขสิทธิ์ที่เรียกจัดเก็บเป็นราคาเท่าไหร่ ซึ่งในที่นี้น่าจะตกอยู่ในหมวดร้านอาหาร 12,500/ปี/สาขา แบบเหมาจ่าย
### ที่มาของตัวแทนลิขสิทธิ
บางบริษัทใน List รายชื่อของ กรมทรัพสินทางปัญญา มีการระบุจำนวนเพลงที่ตนเองเป็นเจ้าของลิขสิทธิว่าเป็นเจ้าของอยู่จำนวนกี่เพลง
ซึ่งที่มาที่ไป ของการได้มาซึ่งลิขสิทธิ์นั้นเป็นอย่างไร ซ้ำซ้อนหรือไม่
คำถามนี้เกิดจาก มีหนึงในบริษัทที่อ้างเป็นจ้าของลิขสิทธิ ถือลิขสิทธิเพลงสากลเป็นจำนวนมากกว่า 5 ล้าน เพลง ซึ่งเป็นข้อสังเกตุถึงที่มาที่ไป มิได้กล่าวหาแต่อย่างได และขัดกับ คลิปข้างต้นของกระทู้ที่กล่าวถึงเพลงสากลด้วย
เรื่องนี้จะมองเป็นเรื่องเล็กก็ได้ ถ้า
1. ผู้ประกอบการดนตรี รู้จักอะลุ้มอล่วย ดูสถานประกอบการว่าเค้ามีเจตนาหากินกับดนตรีของคุณทำให้คุณขาดรายได้ หรือเค้าใช้เป็นแครื่องมือเป็นแค่ส่วนประกอบในการดำเนินการธุรกิจของเค้าซึ่งจริงๆแล้วไม่ได้เป็นวัตุประสงค์หลักในการใช้เพลงมาทำมาหากิน
2. การเอื้อประโยชน์ในการร้องขอใช้ลิขสิทธิ์ สาขาต่างๆที่ทางธุรกิจบันเทิงจะขอใช้ได้
3. ลงมาจัดการเอง ไม่ใช่ให้บริษัทตัวแทนจัดการ มันจะกลายเป็นเรื่องเหมือนบริษัทรับทวงหนี้ธนาคารแบบที่เคยเป็นมาเมื่อก่อน
4. ความชัดเจน และ การเข้าถึงข้อมูล ของบริษัทตัวแทนต่างๆเช่นการ แจกแจงเพลง การค้นหา หรืออะไรก็ได้ที่แสดงให้เจ้าของธุรกิจทราบว่าเป็นลิขสิทธิของคุณ หรือ ขายลิขสิทธฺไปพร้อมตัวแทนจำหน่ายเสียเลย
------------
ถ้าจะมองเป็นการโปรโมทก็ได้นะ สำหรับเจ้าของลิขสิทธิ์เพลง
อีกทั้ง ถ้าคุณจัดเก็บลิขสิทธิ์ผ่าน Youtube จริง ทางเจ้าของกิจการที่ซื้อลิขสิทธิมาจะขอค่าโฆษาที่ติดอยู่บนคลิป และ สะสมยอด View ไปแลกเป็นส่วนลดค่าลิขสิทธิ์ได้หรือไม่ ในเมื่อการเผยแพร่ผ่าน Youtube ก็เป็นหนึ่งช่องทางที่ก่อให้เกิดรายของผู้ประกอบการดนตรี