ร่าง พรบ.ปิโตรเลียม และ พรบ.ภาษีปิโตรเลียม กับ อนาคตพลังงานของไทย

กระทู้สนทนา
หลักการยังคงเหมือนเดิมตั้งแต่ร่างใน ปี พ.ศ. 2514. จนถึงปัจจุบันปี 2559  คือ
1. ยังไม่รู้ว่า มันปิโตรเลียม เท่านั้น ประเทศไทย กระทรวงออกมาให้ความเห็นว่ามีน้อย. แม้แต่ในแหล่ง บงกช และ เอราวัณ ที่ผลิตมาตั้งแต่ปี 2524 ต่อสิทธิการผลิตมาแล้ว ในปี 2544 และกำลังจะถูกเจรจาให้สิทธิอีกครั้งตามความเห็นของกระทรวงในปี 2564 โดยให้มีสิทธิผลิตอีก 39ปี  ตั้งแต่ผลิตจนถึงปัจจุบันปีผลิตไปแล้ว ประมาณ 17-18 ล้านล้านลูกบาศ์กฟุต
2. ใช้สัดส่วนการแบ่งกำไรสุทธิ โดยหลักการแบ่งกำไรสุทธิคนละครึ่งระหว่างรัฐและผู้รับสิทธิผลิต มาตลอด มีการเพิ่มสัดส่วนนิดหน่อยเมื่อต่อสิทธิให้แต่ละครั้ง จึงเป็นการแบ่งให้รัฐ 50% และเพิ่มเป็น 55% ในการต่อสิทธิครั้งแรก
3. รมต. แถลงในการรับหลักการวาระแรกใน สภานิติบัญญัติ ว่า ระบบให้สิทธิแบบแบ่งปันผลผลิตที่จะไปเจรจากับผู้รับสิทธิรายเดิม คล้ายกับ ระบบสัมปทานที่ใช้มาตลอดจนถึงปัจจุบัน เพราะจะให้ส่วนแบ่งรัฐ ในระดับใกล้เคียงเดิม โดยไม่คำนึงถึงเงื่อนไขระบบแบ่งปันผลผลิตที่ใช้กันทั่วโลก ตัวอย่างเช่น มาเลเซีย มีเพิ่มเติมว่า
3.1 ถ้าสัดส่วนรายได้ต่อค่าใช้จ่ายสูง (ราคาน้ำมันสูง ถึง $160/barrel จากราคาฐานที่รับสิทธิในระดับ $26) รัฐจะได้รับส่วนของกำไรเพิ่มอีกราว 80%
3.2 ถ้าปริมาณผลิตเกิน 4ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต รัฐจะมีสิทธิ์เข้าร่วมหุ้น ราว 80%

จึงขอเรียกร้องให้ ถอนร่าง พรบ.ที่รับหลักการครั้งแรกออกมาก่อน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่