กฎหมายเดิมมีแค่ระบบสัมปทาน แต่ในวันนี้พ.ร.บ.ปิโตรเลียม (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2560 มีผลบังคับใช้แล้ว กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติจะตัดสินใจเลือกระบบใด ภายใต้สถานการณ์ความขัดแย้ง เลือกระบบสัมปทาน, PSC หรือ ระบบจ้างบริการ
ข้อคิดเห็นจากนักวิชาการพลังงานและธุรกิจชั้นนำของเมืองไทย (จากงานเสวนาหลุมดำพลังงานไทย)
-----------------------------------------------------------------------
นายไกรฤทธิ์ นิลคูหา อดีตอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กล่าวว่า ช่วงที่มีการยกร่างพ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ. 2560 ตนไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องแต่หลังจากทราบว่ามีการเพิ่มเติม PSC กับรับจ้างผลิตเข้าไป ก็รู้สึกตกใจ ไปหากฎหมายปิโตรเลียมฉบับใหม่มาศึกษา พบว่าระบบสัมปทานเดิมยังอยู่ เพียงแต่มีการเพิ่มเติมระบบ PSC และรับจ้างบริการเข้าไป ซึ่งตนก็เห็นด้วยกับหลักการเพิ่มทางเลือกระบบบริหารจัดการปิโตรเลียม แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐบาลจะเลือกเดินทางไหน ไม่ว่าจะเป็นระบบสัมปทาน หรือ PSC สามารถออกแบบได้ เช่น หากเลือกระบบสัมปทาน รัฐก็ต้องได้ประโยชน์มากกว่า PSC หรือ ถ้าอยากได้ระบบ PSC ก็อาจจะกำหนดเงื่อนไขว่าจะเพิ่มผลประโยชน์ตอนแทนพิเศษอะไรบ้าง เป็นต้น ทั้งหมดขึ้นอยู่กับการออกแบบ กำหนดเงื่อนไขโหด ผู้รับสิทธิได้กำไรน้อย รัฐได้ผลตอบแทนดีกว่า ก็จะเลือกวิธีนั้น
ด้านนายเจน นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) ให้ความเห็นว่าเรื่องระบบบริการจ้างผลิตอย่างเพิ่งพูด หากเราดูความแตกต่างระหว่าง PSC กับสัมปทาน ตนหารือกับอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ หลังจากกฎหมายปิโตรเลียมฉบับใหม่มีผลบังคับใช้ ทำไมกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ไม่กำหนดเงื่อนไขให้ผู้สนใจเข้าประมูลสามารถเลือกได้ (choice) โดยผู้เข้าร่วมประมูลสามารถเสนอแบบรูปแบบไหนก็ได้ หรือจะเสนอ 2 ระบบก็ยิ่งดี เพื่อนำมาเปรียบเทียบกัน ถ้าเป็นระบบสัมปทานผู้ประมูลจะให้ผลตอบแทนกับรัฐอย่างไร ถ้าเป็นระบบ PSC จะให้ผลตอบแทนอย่างไร และแทนที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ หรือ กระทรวงพลังงาน หรือครม.จะเลือก อาจจะให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจว่าจะเลือกแบบใดที่เหมาะสม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความพร้อมด้วย คือระบบสัมปทาน เราพร้อม เพราะมันง่าย ส่วนระบบ PSC ก็เคยใช้ที่ JDA มาแล้ว ก็เปิดข้อมูลให้สาธารณชนได้รับรู้ไปเลย แต่ที่สำคัญภาคเอกชนเป็นห่วงเรื่องความต่อเนื่องของการจัดหาและผลิต ต้องเร่งดำเนินการ
“แต่ที่ผมเป็นห่วง คือ ระบบ PSC มีการศึกษามาดีแค่ไหน ช่วงที่ผมยกร่างกฎหมายThailand III กว่าจะผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาใช้เวลาในการศึกษาวิเคราะห์ ปรับปรุงแก้ไข 3 ปี ผมไม่แน่ใจว่าระบบ PSC ที่บัญญัติไว้ในกฎหมายฉบับใหม่ในทางปฏิบัติจะเกิดปัญหาความขัดแย้งกับกฎหมายอื่น หรือไม่ ก็ยังไม่รู้ ส่วนข้อเสนอที่จะให้นำระบบ PSC มาใช้กับสัมปทานปิโตรเลียมที่กำลังจะสิ้นสุดเลย ผมค่อนข้างวิตกกังวล เพราะระบบ PSC มีรายละเอียดมาก มันไม่ง่ายเหมือนระบบสัมปทานที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กำหนดหลักเกณฑ์ออกมาแล้วทำได้เลย” นายไกรฤทธิ์ กล่าว
ส่วนกลุ่มที่เรียกร้องให้นำระบบ PSC มาใช้กับสัมปทานที่กำลังจะหมดอายุ นายไกรฤทธิ์ กล่าวว่า “ผมคิดว่าควรจะมีการเจรจา เพื่อทำความเข้าใจกัน ยกตัวอย่าง ผมเคยเข้าร่วมการเจรจาระหว่างไทยกับเวียดนาม เรื่องการแบ่งเขตแดนทางทะเล ต่างฝ่ายอยากจะได้พื้นที่มากๆ 60 : 40 เจรจาบนโต๊ะไม่จบ เพราะต่างฝ่ายต่างมีจุดยืนของตนเอง และสุดท้ายก็สามารถตกลงกันได้ เพราะนักธรณีวิทยาฝ่ายไทยและเวียดนาม 2 คน เคยเป็นเพื่อนกัน ได้รับมอบหมายให้ไปหารือกันจากนั้นต่างฝ่าย ต่างกลับไปอธิบายเหตุผลให้ฝ่ายตนเองเข้าใจ ในที่สุดเรื่องมันก็จบ”
อย่างไรก็ตาม นางอานิก อัมระนันทน์ จากกลุ่มปฎิรูปพลังงานเพื่อความยั่งยืน (ERS) กล่าวว่า ระบบแบ่งปันผลผลิตไม่มีความจำเป็น ประเทศไทยเคยนำมาใช้ในเขตพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทย-มาเลเซีย แต่ที่น่าสนใจ คือ สัดส่วนกำไรที่รัฐบาลได้รับจาก JDA ไม่ได้มากมายอย่างที่คิด ดังนั้น ข้อเรียกร้องให้นำระบบ PSC มาใช้แล้วรัฐจะได้รับส่วนแบ่งกำไรมากขึ้น หากใช้ระบบสัมปทานรัฐได้น้อย ประเด็นนี้ไม่เกี่ยวข้องกันเลย เพราะขึ้นอยู่กับศักยภาพของพื้นที่ และความอุดมสมบูรณ์ของปิโตรเลียม ยกตัวอย่าง ประเทศนอร์เวย์ใช้ระบบสัมปทาน แต่ด้วยความที่เขามีพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้รัฐได้รับผลตอนแทนสูงถึง 80% ส่วนประเทศนิคารากัวใช้ระบบ PSC แต่พื้นที่ไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์ รัฐบาลนิคารากัวจึงได้รับส่วนแบ่งแค่ 40% หากไปเรียก 80% ก็ไม่มีใครเข้ามาลงทุน สรุปว่าไม่จำเป็นและอันตราย เพราะเมื่อมีการแก้ไขกฎหมายออกมาแล้ว ตรงนี้ก็จะเป็นบทพิสูจน์ว่ามันอาจจะไม่เหมาะสม เป็นความเสี่ยงด้านประสิทธิภาพ และอาจมีปัญหาเรื่องธรรมาภิบาลมากกว่า
***รัฐบาลและกรมเชื้อเพลิงฯจะตัดสินใจใช้ระบบไหนก็เลือกเอาดีๆ อย่าเลือกเพราะถูกกดดันจากกลุ่มผู้ไม่หวังดี ที่ต้องการตั้ง NOC
แหล่งที่มา :
https://thaipublica.org/2017/07/thai-energy-loophole3/
ถ้าประเทศไทย ใช้ระบบแบ่งปันผลผลิตแล้ว เราจะได้กำไรมากกว่าระบบสัมปทาน จริงหรือ ???
ข้อคิดเห็นจากนักวิชาการพลังงานและธุรกิจชั้นนำของเมืองไทย (จากงานเสวนาหลุมดำพลังงานไทย)
-----------------------------------------------------------------------
นายไกรฤทธิ์ นิลคูหา อดีตอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กล่าวว่า ช่วงที่มีการยกร่างพ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ. 2560 ตนไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องแต่หลังจากทราบว่ามีการเพิ่มเติม PSC กับรับจ้างผลิตเข้าไป ก็รู้สึกตกใจ ไปหากฎหมายปิโตรเลียมฉบับใหม่มาศึกษา พบว่าระบบสัมปทานเดิมยังอยู่ เพียงแต่มีการเพิ่มเติมระบบ PSC และรับจ้างบริการเข้าไป ซึ่งตนก็เห็นด้วยกับหลักการเพิ่มทางเลือกระบบบริหารจัดการปิโตรเลียม แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐบาลจะเลือกเดินทางไหน ไม่ว่าจะเป็นระบบสัมปทาน หรือ PSC สามารถออกแบบได้ เช่น หากเลือกระบบสัมปทาน รัฐก็ต้องได้ประโยชน์มากกว่า PSC หรือ ถ้าอยากได้ระบบ PSC ก็อาจจะกำหนดเงื่อนไขว่าจะเพิ่มผลประโยชน์ตอนแทนพิเศษอะไรบ้าง เป็นต้น ทั้งหมดขึ้นอยู่กับการออกแบบ กำหนดเงื่อนไขโหด ผู้รับสิทธิได้กำไรน้อย รัฐได้ผลตอบแทนดีกว่า ก็จะเลือกวิธีนั้น
ด้านนายเจน นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) ให้ความเห็นว่าเรื่องระบบบริการจ้างผลิตอย่างเพิ่งพูด หากเราดูความแตกต่างระหว่าง PSC กับสัมปทาน ตนหารือกับอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ หลังจากกฎหมายปิโตรเลียมฉบับใหม่มีผลบังคับใช้ ทำไมกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ไม่กำหนดเงื่อนไขให้ผู้สนใจเข้าประมูลสามารถเลือกได้ (choice) โดยผู้เข้าร่วมประมูลสามารถเสนอแบบรูปแบบไหนก็ได้ หรือจะเสนอ 2 ระบบก็ยิ่งดี เพื่อนำมาเปรียบเทียบกัน ถ้าเป็นระบบสัมปทานผู้ประมูลจะให้ผลตอบแทนกับรัฐอย่างไร ถ้าเป็นระบบ PSC จะให้ผลตอบแทนอย่างไร และแทนที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ หรือ กระทรวงพลังงาน หรือครม.จะเลือก อาจจะให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจว่าจะเลือกแบบใดที่เหมาะสม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความพร้อมด้วย คือระบบสัมปทาน เราพร้อม เพราะมันง่าย ส่วนระบบ PSC ก็เคยใช้ที่ JDA มาแล้ว ก็เปิดข้อมูลให้สาธารณชนได้รับรู้ไปเลย แต่ที่สำคัญภาคเอกชนเป็นห่วงเรื่องความต่อเนื่องของการจัดหาและผลิต ต้องเร่งดำเนินการ
“แต่ที่ผมเป็นห่วง คือ ระบบ PSC มีการศึกษามาดีแค่ไหน ช่วงที่ผมยกร่างกฎหมายThailand III กว่าจะผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาใช้เวลาในการศึกษาวิเคราะห์ ปรับปรุงแก้ไข 3 ปี ผมไม่แน่ใจว่าระบบ PSC ที่บัญญัติไว้ในกฎหมายฉบับใหม่ในทางปฏิบัติจะเกิดปัญหาความขัดแย้งกับกฎหมายอื่น หรือไม่ ก็ยังไม่รู้ ส่วนข้อเสนอที่จะให้นำระบบ PSC มาใช้กับสัมปทานปิโตรเลียมที่กำลังจะสิ้นสุดเลย ผมค่อนข้างวิตกกังวล เพราะระบบ PSC มีรายละเอียดมาก มันไม่ง่ายเหมือนระบบสัมปทานที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กำหนดหลักเกณฑ์ออกมาแล้วทำได้เลย” นายไกรฤทธิ์ กล่าว
ส่วนกลุ่มที่เรียกร้องให้นำระบบ PSC มาใช้กับสัมปทานที่กำลังจะหมดอายุ นายไกรฤทธิ์ กล่าวว่า “ผมคิดว่าควรจะมีการเจรจา เพื่อทำความเข้าใจกัน ยกตัวอย่าง ผมเคยเข้าร่วมการเจรจาระหว่างไทยกับเวียดนาม เรื่องการแบ่งเขตแดนทางทะเล ต่างฝ่ายอยากจะได้พื้นที่มากๆ 60 : 40 เจรจาบนโต๊ะไม่จบ เพราะต่างฝ่ายต่างมีจุดยืนของตนเอง และสุดท้ายก็สามารถตกลงกันได้ เพราะนักธรณีวิทยาฝ่ายไทยและเวียดนาม 2 คน เคยเป็นเพื่อนกัน ได้รับมอบหมายให้ไปหารือกันจากนั้นต่างฝ่าย ต่างกลับไปอธิบายเหตุผลให้ฝ่ายตนเองเข้าใจ ในที่สุดเรื่องมันก็จบ”
อย่างไรก็ตาม นางอานิก อัมระนันทน์ จากกลุ่มปฎิรูปพลังงานเพื่อความยั่งยืน (ERS) กล่าวว่า ระบบแบ่งปันผลผลิตไม่มีความจำเป็น ประเทศไทยเคยนำมาใช้ในเขตพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทย-มาเลเซีย แต่ที่น่าสนใจ คือ สัดส่วนกำไรที่รัฐบาลได้รับจาก JDA ไม่ได้มากมายอย่างที่คิด ดังนั้น ข้อเรียกร้องให้นำระบบ PSC มาใช้แล้วรัฐจะได้รับส่วนแบ่งกำไรมากขึ้น หากใช้ระบบสัมปทานรัฐได้น้อย ประเด็นนี้ไม่เกี่ยวข้องกันเลย เพราะขึ้นอยู่กับศักยภาพของพื้นที่ และความอุดมสมบูรณ์ของปิโตรเลียม ยกตัวอย่าง ประเทศนอร์เวย์ใช้ระบบสัมปทาน แต่ด้วยความที่เขามีพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้รัฐได้รับผลตอนแทนสูงถึง 80% ส่วนประเทศนิคารากัวใช้ระบบ PSC แต่พื้นที่ไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์ รัฐบาลนิคารากัวจึงได้รับส่วนแบ่งแค่ 40% หากไปเรียก 80% ก็ไม่มีใครเข้ามาลงทุน สรุปว่าไม่จำเป็นและอันตราย เพราะเมื่อมีการแก้ไขกฎหมายออกมาแล้ว ตรงนี้ก็จะเป็นบทพิสูจน์ว่ามันอาจจะไม่เหมาะสม เป็นความเสี่ยงด้านประสิทธิภาพ และอาจมีปัญหาเรื่องธรรมาภิบาลมากกว่า
***รัฐบาลและกรมเชื้อเพลิงฯจะตัดสินใจใช้ระบบไหนก็เลือกเอาดีๆ อย่าเลือกเพราะถูกกดดันจากกลุ่มผู้ไม่หวังดี ที่ต้องการตั้ง NOC
แหล่งที่มา : https://thaipublica.org/2017/07/thai-energy-loophole3/