“การปฏิรูปพลังงาน” ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สะท้อนว่า ปัญหาสำคัญประการหนึ่งของแวดวงพลังงานไทยนั่นคือ การขาดความรู้ความเข้าใจข้อมูลพื้นฐานด้านพลังงาน จนนำไปสู่การเกิดความสับสนในข้อมูลและข้อเท็จจริงในธุรกิจพลังงาน
“ไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมข้อมูลฝ่ายที่เสนอการปฏิรูป จึงเชื่อว่าประเทศไทยมีปริมาณสำรองปิโตรเลียม ที่ประกอบไปด้วย น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ คอนเดนเสท ในปริมาณมหาศาล ถึงขั้นที่เรียกได้ว่าเป็น ซาอุฯ แห่งตะวันออกไกล...เรียกได้ว่ากว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของแผ่นดินไทยขุดไปตรงไหนก็เจอ”
ศ.ดร.บัณฑิต บอกว่า ทั้งที่ข้อมูลอย่างเป็นทางการจากกระทรวงพลังงานที่เปิดเผยมาโดยตลอด ยืนยันชัดว่า...สิ้นปี 2556 ประเทศไทยมีปริมาณสำรองปิโตรเลียมที่ยืนยันการค้นพบแล้ว (Proven Reserve) ไม่ได้มากมาย เรามี “ก๊าซ” แค่ประมาณ 9.04 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต ผลิตก๊าซได้วันละ 3,650 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ใช้ได้แค่ประมาณ 7 ปี...เรามี “คอนเดนเสท” 216 ล้านบาร์เรล ผลิตคอนเดนเสทได้วันละ 92,000 บาร์เรลต่อวัน ใช้ได้ 6 ปี
ส่วน “น้ำมันดิบ” เรามีปริมาณสำรองเพียง 232 ล้านบาร์เรล ผลิตน้ำมันดิบได้วันละ 148,500 บาร์เรลต่อวัน ถ้าใช้กันในปริมาณปัจจุบัน อีก 4 ปี ก็หมดแล้ว อีกประเด็นที่ถูกตั้งคำถามจากกลุ่มที่เสนอแนวคิดปฏิรูปพลังงาน นั่นคือ สัดส่วนผลประโยชน์ที่ประเทศชาติได้รับจากระบบสัมปทานปิโตรเลียมที่หลายฝ่ายเชื่อว่า...ให้ผลตอบแทนหรือผลประโยชน์แก่ประเทศชาติน้อย
ขณะที่อีกด้านหนึ่งเชื่อว่า พ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ.2514 แม้จะมีการแก้ไขมาแล้วอย่างต่อเนื่อง...ล่าสุดมีการปรับแก้อัตราค่าภาคหลวงในสมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี จากเดิม 12% มาเป็น 5-15% แต่มีการจัดเก็บโดยเฉลี่ยลดลงมาเหลือเพียง 7%
ผลที่เกิดขึ้น...ทำให้ถูกมองว่า ฝั่งผู้รับสัมปทานได้เปรียบอย่างมาก จนกลายเป็นประเด็นที่เครือข่ายกลุ่มรู้ทันทั้งหลายหยิบยกขึ้นมาเป็นข้อต่อสู้ว่า เนื้อแท้ของการปฏิรูปพลังงานเหตุที่ไม่เดินหน้าไปถึงไหน ก็เพราะมี “วาระซ่อนเร้น”...อะไรบางอย่าง
ขณะที่กระทรวงพลังงานได้ชี้แจงมาตลอด ระบบสัมปทานของบ้านเราในปัจจุบัน ที่เรียกว่า “ระบบ Thailand III” นั้นถูกปรับปรุงให้เหมาะสมตามสภาพความเหมาะสม เพื่อให้แหล่งปิโตรเลียมขนาดเล็กพัฒนาเชิงพาณิชย์ได้...ที่สำคัญ...ไม่ใช่ว่าผู้รับสัมปทานที่ต้องจ่ายค่าภาคหลวงแค่ 5–15% เท่านั้น ยังมีการจัดเก็บรายได้แผ่นดินอื่นๆในรูปของภาษีเงินได้ปิโตรเลียม 50% ของกำไรสุทธิ กับมีการเก็บผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษในอัตราก้าวหน้า 0–75% อีกด้วย
ปัญหามีว่า...ในประเด็นนี้ ดูเหมือนว่าคนบางคน...บางกลุ่มจะตั้งใจที่จะไม่พูดถึง หรือพูดไม่หมด ประเด็นสำคัญมีอีกว่า...ระบบสัมปทานแบบนี้ ภาครัฐในฐานะเจ้าของทรัพยากรไม่ต้องลงทุนและไม่ต้องรับความเสี่ยง ผู้รับสัมปทานต้องลงทุนเองทั้งหมด หากไม่พบแหล่งพลังงานหรือพบแต่ผลิตไม่ได้ ไม่คุ้มที่จะลงทุนก็ต้องคืนพื้นที่ให้รัฐ แต่ถ้าพบและทำการผลิตก็ต้องเสียค่าภาคหลวงให้กับรัฐตามที่กฎหมายกำหนด
ศ.ดร.บัณฑิตเห็นว่าควรจะต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมถึงทางเลือกอื่นๆในการจัดเก็บรายได้จากการให้สัมปทาน รวมทั้งอัตราที่เหมาะสมว่าควรจะอยู่ที่เท่าใด ปฏิเสธไม่ได้ว่า...ปัญหาข้อมูลที่ไม่ตรงกัน ส่วนหนึ่งเป็นผลจาก การขาดการบริหารจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ แค่ข้อมูลจากแต่ละหน่วยงานในกระทรวงพลังงานก็แทบจะไม่ตรงกัน หรือข้อมูลบางจุด ก็ไม่ได้อัพเดตมานาน ไม่รวมถึงการแปลความหมายของข้อมูลที่ไม่ตรงกัน รวมไปถึงการอธิบายให้ประชาชนเข้าใจและเข้าถึงได้ง่าย
จะเห็นว่าที่ผ่านมา ปตท.จึงกลายเป็นเป้าใหญ่ ถึงขั้นมีข้อเรียกร้องให้ทวงคืน ปตท.กลับมาเป็นของรัฐหรือกลับมาอยู่ในสถานะรัฐวิสาหกิจเหมือนในอดีต เพราะความเชื่อที่ว่าองค์กรนี้ผูกขาดธุรกิจพลังงาน ทำให้น้ำมันราคาแพง...ทั้งที่สถานะ ปตท.ในปัจจุบันถือหุ้นโดยรัฐและกระทรวงการคลังเกิน 50% อยู่แล้ว “มองกันอย่างเป็นธรรม ต้องยอมรับว่า ข้อกล่าวหานี้ไม่ยุติธรรม” ศ.ดร.บัณฑิต ว่า “การกำหนดราคาน้ำมันมีกลไกตลาดและหน่วยงานรัฐเป็นผู้ดูแล เอาเข้าจริงในปี 2556 ที่ผ่านมา ทุกครั้งที่ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ปตท. ต้องทำหน้าที่เป็นกันชนในการชะลอการปรับราคาขายปลีกถึง 30 ครั้ง เรียกว่า...ขึ้นราคาช้ากว่าบริษัทอื่นเสมอ งานนี้มีตัวเลขสรุปออกมาว่า ปตท.ได้รับภาระ เข้าเนื้อไปกว่า 470 ล้านบาท”
สำหรับข้อหา “การผูกขาด” หากไปดูข้อมูลกันจริงๆ ปตท. เป็น บริษัทผู้ค้าน้ำมันรายหนึ่งจาก 41 รายในประเทศ และมีส่วนแบ่งการตลาดเพียง 37% ข้อมูล ความเห็น ความเชื่อ ที่ไม่ตรงกันในเรื่องการบริหารจัดการข้อมูลด้านพลังงาน บนเวทีวิชาการที่จัดโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคณาจารย์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้เสนอทางออกที่น่าสนใจเอาไว้ว่า “นักวิชาการต้องมีบทบาทในการเผยแพร่ นำเสนอข้อมูลที่ถูกต้องกับสาธารณะ โดยจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน”
คำถาม “รัฐพร้อมหรือไม่?...ที่จะเข้ามาสนับสนุนให้มีการศึกษาข้อมูลเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน และกลุ่มที่เสนอการปฏิรูปและนักทวงคืนทั้งหลาย พร้อมหรือไม่?...ที่จะรับฟังข้อมูลที่มาจากการศึกษาวิจัยอย่างเป็นระบบ” ไม่ใช่เพียงแค่เชื่อถือข้อมูลที่บอกต่อกันมา หรือตัดตอนข้อมูลมานำเสนอเพียงบางส่วน
ศ.ดร.บัณฑิตมองไกลเรื่องแก้ปัญหาการผูกขาด ใช่แค่เรื่องราคาน้ำมัน หรือองค์กรอย่าง ปตท. ที่ต้องสนใจคือ ความโปร่งใสในการบริหารงานด้านพลังงานของภาครัฐเอง การแทรกแซงจากภาคการเมืองในเรื่องการกำหนดนโยบายด้านพลังงาน ควรจะต้องมีการปรับเปลี่ยนองค์ประกอบ คณะกรรมการด้านนโยบายพลังงานทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (เรคกูเลเตอร์) ที่ดูแลเรื่องไฟฟ้า ให้มีสัดส่วนของนักวิชาการ องค์กรอิสระ และตัวแทนของภาคประชาชนเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เกิดการถ่วงดุลอำนาจ ความโปร่งใส สามารถตรวจสอบการทำงานได้มากขึ้น
หากจะปฏิรูปประเทศไทยด้านพลังงาน จะต้องมองทะลุทั้งโครงสร้าง...หากทวงคืนหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลได้ หน่วยงานที่ต้องทำตามนโยบายก็ไม่จำเป็นต้องสอดมือเข้าไปยุ่งเกี่ยว อย่าลืมว่า การที่ ปตท.อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ทำให้ถูกควบคุมด้วยระเบียบมากมาย ยากนักที่จะทำอะไรได้ตามใบสั่งจากนักการเมือง...ที่สำคัญ แต่ละปียังนำส่งรายได้เข้าภาครัฐ ทั้งในรูปแบบภาษี เงินปันผลจำนวนมหาศาล นอกจากนี้ ยังสร้างความมั่นคงด้านพลังงานจากการออกไปสำรวจหาแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติใน 10 ประเทศทั่วโลก
ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ ทิ้งท้ายว่า ไม่ว่าเราจะเข้าสู่ขั้นตอนการปฏิรูปพลังงานในรูปแบบใด นั่นคือการจัดการข้อมูลด้วย “การจัดตั้งศูนย์ข้อมูลพลังงานแห่งชาติ” เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพลังงานให้มีความเป็นเอกภาพ ครอบคลุมทุกด้าน และใช้เผยแพร่สู่ประชาชน เพื่อลดความสับสนและความขัดแย้ง “การปฏิรูปพลังงาน” ต้องเริ่มต้นจากข้อมูลที่ถูกต้อง
ที่มา :
http://www.thairath.co.th/column/pol/page1scoop/411118
ปฏิรูป! พลังงาน ต้องเริ่มจากข้อมูล
“ไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมข้อมูลฝ่ายที่เสนอการปฏิรูป จึงเชื่อว่าประเทศไทยมีปริมาณสำรองปิโตรเลียม ที่ประกอบไปด้วย น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ คอนเดนเสท ในปริมาณมหาศาล ถึงขั้นที่เรียกได้ว่าเป็น ซาอุฯ แห่งตะวันออกไกล...เรียกได้ว่ากว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของแผ่นดินไทยขุดไปตรงไหนก็เจอ”
ศ.ดร.บัณฑิต บอกว่า ทั้งที่ข้อมูลอย่างเป็นทางการจากกระทรวงพลังงานที่เปิดเผยมาโดยตลอด ยืนยันชัดว่า...สิ้นปี 2556 ประเทศไทยมีปริมาณสำรองปิโตรเลียมที่ยืนยันการค้นพบแล้ว (Proven Reserve) ไม่ได้มากมาย เรามี “ก๊าซ” แค่ประมาณ 9.04 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต ผลิตก๊าซได้วันละ 3,650 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ใช้ได้แค่ประมาณ 7 ปี...เรามี “คอนเดนเสท” 216 ล้านบาร์เรล ผลิตคอนเดนเสทได้วันละ 92,000 บาร์เรลต่อวัน ใช้ได้ 6 ปี
ส่วน “น้ำมันดิบ” เรามีปริมาณสำรองเพียง 232 ล้านบาร์เรล ผลิตน้ำมันดิบได้วันละ 148,500 บาร์เรลต่อวัน ถ้าใช้กันในปริมาณปัจจุบัน อีก 4 ปี ก็หมดแล้ว อีกประเด็นที่ถูกตั้งคำถามจากกลุ่มที่เสนอแนวคิดปฏิรูปพลังงาน นั่นคือ สัดส่วนผลประโยชน์ที่ประเทศชาติได้รับจากระบบสัมปทานปิโตรเลียมที่หลายฝ่ายเชื่อว่า...ให้ผลตอบแทนหรือผลประโยชน์แก่ประเทศชาติน้อย
ขณะที่อีกด้านหนึ่งเชื่อว่า พ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ.2514 แม้จะมีการแก้ไขมาแล้วอย่างต่อเนื่อง...ล่าสุดมีการปรับแก้อัตราค่าภาคหลวงในสมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี จากเดิม 12% มาเป็น 5-15% แต่มีการจัดเก็บโดยเฉลี่ยลดลงมาเหลือเพียง 7%
ผลที่เกิดขึ้น...ทำให้ถูกมองว่า ฝั่งผู้รับสัมปทานได้เปรียบอย่างมาก จนกลายเป็นประเด็นที่เครือข่ายกลุ่มรู้ทันทั้งหลายหยิบยกขึ้นมาเป็นข้อต่อสู้ว่า เนื้อแท้ของการปฏิรูปพลังงานเหตุที่ไม่เดินหน้าไปถึงไหน ก็เพราะมี “วาระซ่อนเร้น”...อะไรบางอย่าง
ขณะที่กระทรวงพลังงานได้ชี้แจงมาตลอด ระบบสัมปทานของบ้านเราในปัจจุบัน ที่เรียกว่า “ระบบ Thailand III” นั้นถูกปรับปรุงให้เหมาะสมตามสภาพความเหมาะสม เพื่อให้แหล่งปิโตรเลียมขนาดเล็กพัฒนาเชิงพาณิชย์ได้...ที่สำคัญ...ไม่ใช่ว่าผู้รับสัมปทานที่ต้องจ่ายค่าภาคหลวงแค่ 5–15% เท่านั้น ยังมีการจัดเก็บรายได้แผ่นดินอื่นๆในรูปของภาษีเงินได้ปิโตรเลียม 50% ของกำไรสุทธิ กับมีการเก็บผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษในอัตราก้าวหน้า 0–75% อีกด้วย
ปัญหามีว่า...ในประเด็นนี้ ดูเหมือนว่าคนบางคน...บางกลุ่มจะตั้งใจที่จะไม่พูดถึง หรือพูดไม่หมด ประเด็นสำคัญมีอีกว่า...ระบบสัมปทานแบบนี้ ภาครัฐในฐานะเจ้าของทรัพยากรไม่ต้องลงทุนและไม่ต้องรับความเสี่ยง ผู้รับสัมปทานต้องลงทุนเองทั้งหมด หากไม่พบแหล่งพลังงานหรือพบแต่ผลิตไม่ได้ ไม่คุ้มที่จะลงทุนก็ต้องคืนพื้นที่ให้รัฐ แต่ถ้าพบและทำการผลิตก็ต้องเสียค่าภาคหลวงให้กับรัฐตามที่กฎหมายกำหนด
ศ.ดร.บัณฑิตเห็นว่าควรจะต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมถึงทางเลือกอื่นๆในการจัดเก็บรายได้จากการให้สัมปทาน รวมทั้งอัตราที่เหมาะสมว่าควรจะอยู่ที่เท่าใด ปฏิเสธไม่ได้ว่า...ปัญหาข้อมูลที่ไม่ตรงกัน ส่วนหนึ่งเป็นผลจาก การขาดการบริหารจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ แค่ข้อมูลจากแต่ละหน่วยงานในกระทรวงพลังงานก็แทบจะไม่ตรงกัน หรือข้อมูลบางจุด ก็ไม่ได้อัพเดตมานาน ไม่รวมถึงการแปลความหมายของข้อมูลที่ไม่ตรงกัน รวมไปถึงการอธิบายให้ประชาชนเข้าใจและเข้าถึงได้ง่าย
จะเห็นว่าที่ผ่านมา ปตท.จึงกลายเป็นเป้าใหญ่ ถึงขั้นมีข้อเรียกร้องให้ทวงคืน ปตท.กลับมาเป็นของรัฐหรือกลับมาอยู่ในสถานะรัฐวิสาหกิจเหมือนในอดีต เพราะความเชื่อที่ว่าองค์กรนี้ผูกขาดธุรกิจพลังงาน ทำให้น้ำมันราคาแพง...ทั้งที่สถานะ ปตท.ในปัจจุบันถือหุ้นโดยรัฐและกระทรวงการคลังเกิน 50% อยู่แล้ว “มองกันอย่างเป็นธรรม ต้องยอมรับว่า ข้อกล่าวหานี้ไม่ยุติธรรม” ศ.ดร.บัณฑิต ว่า “การกำหนดราคาน้ำมันมีกลไกตลาดและหน่วยงานรัฐเป็นผู้ดูแล เอาเข้าจริงในปี 2556 ที่ผ่านมา ทุกครั้งที่ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ปตท. ต้องทำหน้าที่เป็นกันชนในการชะลอการปรับราคาขายปลีกถึง 30 ครั้ง เรียกว่า...ขึ้นราคาช้ากว่าบริษัทอื่นเสมอ งานนี้มีตัวเลขสรุปออกมาว่า ปตท.ได้รับภาระ เข้าเนื้อไปกว่า 470 ล้านบาท”
สำหรับข้อหา “การผูกขาด” หากไปดูข้อมูลกันจริงๆ ปตท. เป็น บริษัทผู้ค้าน้ำมันรายหนึ่งจาก 41 รายในประเทศ และมีส่วนแบ่งการตลาดเพียง 37% ข้อมูล ความเห็น ความเชื่อ ที่ไม่ตรงกันในเรื่องการบริหารจัดการข้อมูลด้านพลังงาน บนเวทีวิชาการที่จัดโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคณาจารย์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้เสนอทางออกที่น่าสนใจเอาไว้ว่า “นักวิชาการต้องมีบทบาทในการเผยแพร่ นำเสนอข้อมูลที่ถูกต้องกับสาธารณะ โดยจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน”
คำถาม “รัฐพร้อมหรือไม่?...ที่จะเข้ามาสนับสนุนให้มีการศึกษาข้อมูลเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน และกลุ่มที่เสนอการปฏิรูปและนักทวงคืนทั้งหลาย พร้อมหรือไม่?...ที่จะรับฟังข้อมูลที่มาจากการศึกษาวิจัยอย่างเป็นระบบ” ไม่ใช่เพียงแค่เชื่อถือข้อมูลที่บอกต่อกันมา หรือตัดตอนข้อมูลมานำเสนอเพียงบางส่วน
ศ.ดร.บัณฑิตมองไกลเรื่องแก้ปัญหาการผูกขาด ใช่แค่เรื่องราคาน้ำมัน หรือองค์กรอย่าง ปตท. ที่ต้องสนใจคือ ความโปร่งใสในการบริหารงานด้านพลังงานของภาครัฐเอง การแทรกแซงจากภาคการเมืองในเรื่องการกำหนดนโยบายด้านพลังงาน ควรจะต้องมีการปรับเปลี่ยนองค์ประกอบ คณะกรรมการด้านนโยบายพลังงานทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (เรคกูเลเตอร์) ที่ดูแลเรื่องไฟฟ้า ให้มีสัดส่วนของนักวิชาการ องค์กรอิสระ และตัวแทนของภาคประชาชนเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เกิดการถ่วงดุลอำนาจ ความโปร่งใส สามารถตรวจสอบการทำงานได้มากขึ้น
หากจะปฏิรูปประเทศไทยด้านพลังงาน จะต้องมองทะลุทั้งโครงสร้าง...หากทวงคืนหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลได้ หน่วยงานที่ต้องทำตามนโยบายก็ไม่จำเป็นต้องสอดมือเข้าไปยุ่งเกี่ยว อย่าลืมว่า การที่ ปตท.อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ทำให้ถูกควบคุมด้วยระเบียบมากมาย ยากนักที่จะทำอะไรได้ตามใบสั่งจากนักการเมือง...ที่สำคัญ แต่ละปียังนำส่งรายได้เข้าภาครัฐ ทั้งในรูปแบบภาษี เงินปันผลจำนวนมหาศาล นอกจากนี้ ยังสร้างความมั่นคงด้านพลังงานจากการออกไปสำรวจหาแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติใน 10 ประเทศทั่วโลก
ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ ทิ้งท้ายว่า ไม่ว่าเราจะเข้าสู่ขั้นตอนการปฏิรูปพลังงานในรูปแบบใด นั่นคือการจัดการข้อมูลด้วย “การจัดตั้งศูนย์ข้อมูลพลังงานแห่งชาติ” เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพลังงานให้มีความเป็นเอกภาพ ครอบคลุมทุกด้าน และใช้เผยแพร่สู่ประชาชน เพื่อลดความสับสนและความขัดแย้ง “การปฏิรูปพลังงาน” ต้องเริ่มต้นจากข้อมูลที่ถูกต้อง
ที่มา : http://www.thairath.co.th/column/pol/page1scoop/411118