วลีเด็ดทางเศรษฐศาสตร์ที่รองศาสตราจารย์ ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตหยิบเอาไปเขียนเป็นตำรับตาราเศรษฐศาสตร์แบบชาวบ้านๆ ไม่รู้กี่เวอร์ชั่นเข้าไปแล้ว แต่มันคือความจริงที่ประจักษ์ เมื่อมีคนได้ (Take) ยังไงก็ต้องมีคนเสีย (Pay/ Lost)
แม้แต่อากาศที่บริสุทธิ์เรายังต้องลงทุนลงแรงอนุรักษ์ รักษาสิ่งแวดล้อมถึงจะได้มา หรือหากต้องการให้คนเขารักใคร่จะมัวมานั่งอมยิ้มอยู่เฉยๆ มันคงได้อยู่หรอก เราต้องลงทุนลงแรงให้ความรักแก่เขาไปก่อนถึงจะได้รักตอบกลับมา เพราะงั้นอะไรก็ตามที่เราได้มาวันนี้เชื่อเหอะต้องมีที่มาที่ไปและต้องมีคนสูญเสีย (Lost) แน่
อย่างนโยบายประชานิยมลดแลกแจกแถมของรัฐบาลก่อนหน้าจะน้ำ-ไฟฟรี รถเมล์-รถไฟฟรี ตรึงราคาดีเซลหรือราคาก๊าซอะไรก็ตามแต่ สิ่งที่รัฐประเคนให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อย (Take) นั้นล้วนแต่ต้องมีคนจ่าย (Pay) ซึ่งก็คือเม็ดเงินภาษีของประชาชนคนไทยเอง แต่เพราะความที่เรามักเป็นผู้รับจึงไม่ค่อยรู้สึกว่าสิ่งที่รัฐบาลละเลงเม็ดเงินภาษีเหล่านี้ลงมาให้นั้น ที่จริงมันก็คือเม็ดเงินภาษีที่ประชาชนคนไทยเองนั่นแหล่ะคือ “ผู้จ่าย”
เช่นเดียวกับข้อเรียกร้องเครือข่ายปฏิรูปพลังงาน เครือข่ายเอ็นจีโออะไรทั้งหลายแหล่ที่ตีฆ้องร้องป่าวให้รัฐบาล และกระทรวงพลังงานพิจารณาทบทวนหรือยกเลิกการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบใหม่ รวมทั้งให้หยุดต่อสัญญาสัมปทานเดิมที่จะหมดอายุลง หากไม่เปลี่ยนมาเป็นระบบ PSC ที่กลุ่มตนต้องการ (ทั้งที่ไส้ในข้อเรียกร้องที่ว่าไม่เคยมีรายละเอียดอะไรเป็นรูปธรรม นอกจากยกตัวอย่างมาเลเซียใช้แล้วดี แต่ไม่เคยบอกว่าอินโดนีเซียใช้แล้วแย่ยังไง) ก่อนแนะให้รัฐหันไปซื้อจากต่างประเทศเข้ามาทั้งหมด เพื่อรักษาทรัพยากรใต้ดินเหล่านี้ไว้ให้ลูกหลาน!
ในเวทีเสวนาถาม-ตอบพลังงานล่าสุดที่ “พุทธะอิสระ” เป็นเจ้าภาพก็มีการหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาถกในที่ประชุม แต่ก็เจอลูกป่วนของตัวแทนเครือข่ายจับตาปฏิรูปพลังงาน จนทำเอาพุทธะอิสระงานเข้าจนต้องออกมาตัดพ้อต่อว่าแกนนำเครือข่ายเหล่านี้ที่ไม่ฟังอีร้าค่าอีรมอะไรทั้งสิ้น!
ก็ยังดีที่ รมว.พลังงาน นายณรงค์ชัย อัครเศรณี ยังมีความหนักแน่นและยืนยันในภารกิจด้านการจัดหาแหล่งพลังงานที่รัฐบาล คสช.ต้องเดินหน้าทั้งในเรื่องของการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมใหม่รอบที่ 21 การพิจารณาต่อสัมปทานแหล่งปิโตรเลียมที่กำลังจะหมดอายุลง หรือการพัฒนาแหล่งพลังงานในพื้นที่ทับซ้อน
ขณะที่ประธานบอร์ด ปตท. นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ที่ถูกเครือข่ายสัพยอกบนเวทีปฏิรูปครั้งล่าสุดได้ให้ข้อคิดให้ทุกฝ่ายได้ตระหนักก่อนจะตามแห่ไปไม่รู้เหนือรู้ใต้ เพราะหากยกเลิกการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมทั้งหมดไปเพื่อแลกกับการเก็บทรัพยากรใต้ดินไว้ให้ลูกหลาน
แต่อย่างที่ตอกย้ำแต่ต้น “เมื่อมีคนได้ (Take) ก็ย่อมต้องมีคนจ่าย (Pay/Lost)” การล้มสัมปทานปิโตรเลียมดังกล่าวไม่เพียงจะทำให้รัฐสูญเสียรายได้ไปถึง 2 แสนล้านบาทต่อปี ไม่ว่าจะเป็นรายได้จากค่าภาคหลวง และภาษีต่างๆ ที่สำคัญ ยังต้องแลกด้วยการที่ประชาชนคนไทย จะต้องจ่ายค่าพลังงานที่ต้องนำเข้าแพงขึ้นกว่าที่ผลิตได้จากในประเทศเป็นเท่าตัว
ซึ่งสุดท้ายก็ต้องใช้งบประมาณแผ่นดินมาซื้อนำมัน ซื้อก๊าซผลาญเม็ดเงินออกไปต่างประเทศเพื่อนำเข้าพำลังงานมาใช้ และแน่นอนว่าเบื้องต้นทันทีทันใดจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนค่าไฟ เพราะเราใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้า ค่าไฟที่ตอนนี้หน่วยละ 3 บาท 91 สตางค์ หากต้องนำเข้าเชื้อเพลิงที่แพงกว่า ราคาค่าไฟบ้านเราจะทะยานขึ้นไปเป็นหน่วยละ 6 บาททันที
“นี่เป็นราคาที่ทุกคนต้องจ่าย ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ อย่างที่มวลชนที่เกณฑ์มาในเวทีเสวนาปฏิรูปพลังงานครั้งที่ 2 บอกว่าพร้อมจ่าย และไม่สนใจด้วยว่า หากต้นทุนค่าไฟฟ้าจะทำให้นักลงทุนหรือภาคอุตสาหกรรมย้ายฐานไปประเทศอื่นหรือไม่อย่างไร จะมีคนตกงานเท่าไร”
แต่สำหรับประชาชนคนไทยที่กำลังจะถูกลากเข้ามาแบกรับภาระเป็นตัวประกันนั้น คงจะไม่เออออห่อหมกด้วยแน่ อย่าลืมว่าในจำนวนคนที่ต้องแบกรับภาระหรือต้องตกงานนั้น อาจเป็นลูกๆ หลานของท่านที่ยกมือสนับสนุนให้เลิกสัมปทานและนำเข้าพลังงาน 100 เปอร์เซ็นต์ ที่ว่านี้
เพราะโลกนี้ไม่มีอะไรได้มาฟรี หากอยากสงวนทรัพยากรใต้ดินที่ไทยมีอยู่เอาไว้ให้ลูกหลานยอมที่จะถลุงเม็ดเงินไปหันนำเข้าจากต่างประเทศ เราก็คงต้องยอมจ่ายแพงแบกภาระหนี้กันทั้งประเทศครับ ขึ้นอยู่กับว่าจะยอมรับได้หรือไม่?
“There’s no free lunch....โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี”
แม้แต่อากาศที่บริสุทธิ์เรายังต้องลงทุนลงแรงอนุรักษ์ รักษาสิ่งแวดล้อมถึงจะได้มา หรือหากต้องการให้คนเขารักใคร่จะมัวมานั่งอมยิ้มอยู่เฉยๆ มันคงได้อยู่หรอก เราต้องลงทุนลงแรงให้ความรักแก่เขาไปก่อนถึงจะได้รักตอบกลับมา เพราะงั้นอะไรก็ตามที่เราได้มาวันนี้เชื่อเหอะต้องมีที่มาที่ไปและต้องมีคนสูญเสีย (Lost) แน่
อย่างนโยบายประชานิยมลดแลกแจกแถมของรัฐบาลก่อนหน้าจะน้ำ-ไฟฟรี รถเมล์-รถไฟฟรี ตรึงราคาดีเซลหรือราคาก๊าซอะไรก็ตามแต่ สิ่งที่รัฐประเคนให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อย (Take) นั้นล้วนแต่ต้องมีคนจ่าย (Pay) ซึ่งก็คือเม็ดเงินภาษีของประชาชนคนไทยเอง แต่เพราะความที่เรามักเป็นผู้รับจึงไม่ค่อยรู้สึกว่าสิ่งที่รัฐบาลละเลงเม็ดเงินภาษีเหล่านี้ลงมาให้นั้น ที่จริงมันก็คือเม็ดเงินภาษีที่ประชาชนคนไทยเองนั่นแหล่ะคือ “ผู้จ่าย”
เช่นเดียวกับข้อเรียกร้องเครือข่ายปฏิรูปพลังงาน เครือข่ายเอ็นจีโออะไรทั้งหลายแหล่ที่ตีฆ้องร้องป่าวให้รัฐบาล และกระทรวงพลังงานพิจารณาทบทวนหรือยกเลิกการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบใหม่ รวมทั้งให้หยุดต่อสัญญาสัมปทานเดิมที่จะหมดอายุลง หากไม่เปลี่ยนมาเป็นระบบ PSC ที่กลุ่มตนต้องการ (ทั้งที่ไส้ในข้อเรียกร้องที่ว่าไม่เคยมีรายละเอียดอะไรเป็นรูปธรรม นอกจากยกตัวอย่างมาเลเซียใช้แล้วดี แต่ไม่เคยบอกว่าอินโดนีเซียใช้แล้วแย่ยังไง) ก่อนแนะให้รัฐหันไปซื้อจากต่างประเทศเข้ามาทั้งหมด เพื่อรักษาทรัพยากรใต้ดินเหล่านี้ไว้ให้ลูกหลาน!
ในเวทีเสวนาถาม-ตอบพลังงานล่าสุดที่ “พุทธะอิสระ” เป็นเจ้าภาพก็มีการหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาถกในที่ประชุม แต่ก็เจอลูกป่วนของตัวแทนเครือข่ายจับตาปฏิรูปพลังงาน จนทำเอาพุทธะอิสระงานเข้าจนต้องออกมาตัดพ้อต่อว่าแกนนำเครือข่ายเหล่านี้ที่ไม่ฟังอีร้าค่าอีรมอะไรทั้งสิ้น!
ก็ยังดีที่ รมว.พลังงาน นายณรงค์ชัย อัครเศรณี ยังมีความหนักแน่นและยืนยันในภารกิจด้านการจัดหาแหล่งพลังงานที่รัฐบาล คสช.ต้องเดินหน้าทั้งในเรื่องของการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมใหม่รอบที่ 21 การพิจารณาต่อสัมปทานแหล่งปิโตรเลียมที่กำลังจะหมดอายุลง หรือการพัฒนาแหล่งพลังงานในพื้นที่ทับซ้อน
ขณะที่ประธานบอร์ด ปตท. นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ที่ถูกเครือข่ายสัพยอกบนเวทีปฏิรูปครั้งล่าสุดได้ให้ข้อคิดให้ทุกฝ่ายได้ตระหนักก่อนจะตามแห่ไปไม่รู้เหนือรู้ใต้ เพราะหากยกเลิกการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมทั้งหมดไปเพื่อแลกกับการเก็บทรัพยากรใต้ดินไว้ให้ลูกหลาน
แต่อย่างที่ตอกย้ำแต่ต้น “เมื่อมีคนได้ (Take) ก็ย่อมต้องมีคนจ่าย (Pay/Lost)” การล้มสัมปทานปิโตรเลียมดังกล่าวไม่เพียงจะทำให้รัฐสูญเสียรายได้ไปถึง 2 แสนล้านบาทต่อปี ไม่ว่าจะเป็นรายได้จากค่าภาคหลวง และภาษีต่างๆ ที่สำคัญ ยังต้องแลกด้วยการที่ประชาชนคนไทย จะต้องจ่ายค่าพลังงานที่ต้องนำเข้าแพงขึ้นกว่าที่ผลิตได้จากในประเทศเป็นเท่าตัว
ซึ่งสุดท้ายก็ต้องใช้งบประมาณแผ่นดินมาซื้อนำมัน ซื้อก๊าซผลาญเม็ดเงินออกไปต่างประเทศเพื่อนำเข้าพำลังงานมาใช้ และแน่นอนว่าเบื้องต้นทันทีทันใดจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนค่าไฟ เพราะเราใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้า ค่าไฟที่ตอนนี้หน่วยละ 3 บาท 91 สตางค์ หากต้องนำเข้าเชื้อเพลิงที่แพงกว่า ราคาค่าไฟบ้านเราจะทะยานขึ้นไปเป็นหน่วยละ 6 บาททันที
“นี่เป็นราคาที่ทุกคนต้องจ่าย ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ อย่างที่มวลชนที่เกณฑ์มาในเวทีเสวนาปฏิรูปพลังงานครั้งที่ 2 บอกว่าพร้อมจ่าย และไม่สนใจด้วยว่า หากต้นทุนค่าไฟฟ้าจะทำให้นักลงทุนหรือภาคอุตสาหกรรมย้ายฐานไปประเทศอื่นหรือไม่อย่างไร จะมีคนตกงานเท่าไร”
แต่สำหรับประชาชนคนไทยที่กำลังจะถูกลากเข้ามาแบกรับภาระเป็นตัวประกันนั้น คงจะไม่เออออห่อหมกด้วยแน่ อย่าลืมว่าในจำนวนคนที่ต้องแบกรับภาระหรือต้องตกงานนั้น อาจเป็นลูกๆ หลานของท่านที่ยกมือสนับสนุนให้เลิกสัมปทานและนำเข้าพลังงาน 100 เปอร์เซ็นต์ ที่ว่านี้
เพราะโลกนี้ไม่มีอะไรได้มาฟรี หากอยากสงวนทรัพยากรใต้ดินที่ไทยมีอยู่เอาไว้ให้ลูกหลานยอมที่จะถลุงเม็ดเงินไปหันนำเข้าจากต่างประเทศ เราก็คงต้องยอมจ่ายแพงแบกภาระหนี้กันทั้งประเทศครับ ขึ้นอยู่กับว่าจะยอมรับได้หรือไม่?