“บิ๊กตู่” ทุบโต๊ะ! ลุยเปิดสัมปทานรอบ 21 ขู่ห้ามมีม็อบ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
16 มกราคม 2558 16:29 น.
ASTVผู้จัดการ - “นายกฯ ประยุทธ์” ลั่นเดินหน้าลุยเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 แน่ ไม่สนเสียงโหวต สปช. อ้างเหตุเพื่อความมั่นคงทางพลังงานของชาติ ย้อนฝ่ายต้านอีก 6 ปีไม่มีน้ำมันใช้จะรับผิดชอบไหม ขอรายชื่อด้วย ขู่ห้ามปลุกระดม-ก่อม็อบ ระบุให้หาวิธีชี้แจงแทน
จากการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เมื่อวันที่ 13 ม.ค. ซึ่งที่ประชุมลงมติไม่เห็นชอบกับข้อเสนอของคณะกรรมาธิการปฏิรูปเสียงข้างมาก เรื่องการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 และรายงานเรื่อง การเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 และแนวทางการบริหารจัดการพลังงานปิโตรเลียมอย่างยั่งยืน โดยจำนวนผู้เข้าประชุม 230 คน มีผู้แสดงความไม่เห็นด้วย 130 คน งดออกเสียง 21 คน และเห็นด้วย 79 คน
ล่าสุดวันนี้ (16 ม.ค.) เมื่อเวลา 15.30 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงกรณี ที่ประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ไม่เห็นด้วยต่อข้อเสนอคณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน สปช.เสียงข้างมาก ให้เดินหน้าสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ว่า ตามกฎหมายกระทรวงพลังงานเป็นผู้ดูแลในการจัดหาแหล่งพลังงาน ซึ่งไม่ต้องขอตนด้วย เพราะเป็นหน้าที่ของกระทรวงพลังงานในการมีภารกิจดังกล่าว เมื่อมีการแจ้งให้ที่ประชุมรับทราบ ที่ประชุมก็ได้รับทราบ ตนได้บอกว่าให้ไปหารือในการชี้แจงทำความเข้าใจ เมื่อ สปช.ไม่เห็นด้วยก็ต้องไปดูข้อเสนอของคณะกรรมาธิการว่ามีวิธีการใดบ้างซึ่งกระทรวงพลังงานก็เดินหน้าไปตามอำนาจที่มีอยู่
“กระทรวงพลังงานเดินหน้าอยู่แล้ว ยังไงก็ต้องเดิน แต่ไม่ใช่เดินในวันนี้ พรุ่งนี้ เพราะจะมีการเปิดสัมปทานในเดือน ก.พ. ส่วนบางกลุ่มที่จะออกมาเรียกร้องยืนยันว่าออกมาไม่ได้ ไม่ให้ออก ไปหาเรื่องชี้แจง อยากหาเรื่องออกมาเดินขบวนกันอีก” พล.อ.ประยุทธ์กล่าว
เมื่อถามว่าในส่วนของรัฐบาลและกระทรวงพลังงานมีการพิจารณาในขั้นตอนการดำเนินการแล้วใช่หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า เขาพิจารณามาแล้วในขั้นตอนแรก รับทราบแล้วว่าจะไปเปิดสัมปทาน ได้มีการพิจารณาทั้งข้อดีและข้อเสีย และผลประโยชน์ เพื่อให้ที่ประชุมรับทราบ และเมื่อตนเห็นว่าหากมีปัญหามากนักก็ให้นำเข้าที่ประชุม สปช. ซึ่งจะมีเรื่องโครงสร้างพลังงาน ที่จะต้องปรับว่าในอนาคตจะทำอย่างไร เป็นการปรับให้เหมาะสม ตามสถานการณ์ข้อมูลข้อเท็จจริง และวันนี้ที่มีการพูดกันได้เอาข้อเท็จจริงมาพูดกันทั้งหมดแล้วหรือยัง จึงทำให้ไม่เข้าใจ
นายกฯ กล่าวว่า ความมั่นคงพลังงาน มีการเตรียมการสำรองหาพลังงานไว้ล่วงหน้า ซึ่งในการสำรวจต้องดูว่าคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่ โดยกระทรวงพลังงานได้ชี้แจงว่าหากมีการสำรวจแล้วเจอแหล่งพลังงาน รัฐบาลจะสามารถแก้ไข ปรับปรุงกฎระเบียบในเรื่องของค่าตอบแทน ซึ่งที่ประชุมได้รับทราบโดยไม่มีปัญหาแต่อย่างใด แต่วันนี้หากบอกว่างดการให้สัมปทาน แล้วใครจะสามารถตอบคำถามได้ว่ามีแหล่งพลังงานจริงหรือไม่ ซึ่งวันนี้มีแหล่งพลังงานอยู่ก็จริง แต่มีหลายบริษัทที่ทำอยู่ แต่ 29 แห่ง ตรงนี้กำลังจะหมดไปอีก 6 ปีข้างหน้า ดังนั้นต้องเตรียมการสำรอง
“เราตอบไม่ได้ว่าตอนนี้แหล่งพลังงานมีเยอะหรือน้อย แต่ทางธรณีวิทยาเขารู้หมดว่าข้างล่างเป็นอย่างไร เพราะเขาสำรวจด้วยดาวเทียม ว่าข้างล่างมีชั้นดินแบบไหนบ้าง ประเทศไทยเป็นคนละอย่างกับต่างประเทศ จำเป็นต้องดูให้ลึกซึ้ง จะฟังข้างใดข้างหนึ่งไม่ได้ และอย่าไปขัดแย้ง ต้องหาช่องทางในการพูดคุยที่เหมาะสม อย่าไปปลุกระดม” พล.อ.ประยุทธ์กล่าว
เมื่อถามว่าจะทำอย่างไรก็กลุ่มที่เคยออกมาร้องเรียนก่อนหน้านี้ นายกฯ กล่าวว่า ทุกกลุ่ม รวมถึงไม่ให้มีการจัดเวทีระดมความเห็นด้วย ไม่เอา ไปทำอย่างอื่น เรื่องนี้จบก็จบ หากไม่เห็นด้วยเมื่อมีการเสนอมา เราก็รับทราบ แต่กฎหมายเขียนว่าอย่างไร ก็ต้องว่ากันไปตามนั้น วันหน้าหากมีปัญหามา ไอ้พวกนี้ได้เข้ามารับผิดชอบด้วยหรือเปล่า ถ้ามาก็เขียนชื่อมา สมมติว่าทำสัมปทานนี้ไม่ได้ อีก 6 ปีข้างหน้า มันไม่มีน้ำมันขึ้นมา ไอ้คนพวกนี้รับผิดชอบไหม ถ้ามาก็มาเลยมาเซ็นสัญญากันไว้ และขออย่าไปขยายความขัดแย้ง แล้วรู้หรือไม่ว่าความมั่นคงทางพลังงานคืออะไร 1.ถ้าเขาปิดท่อแก๊สทั้งหมดรอบบ้านเราจะเอาแก๊สจากไหนทั้งหมดมาใช้ ถ้าอย่างนั้น ก็ไปเจาะในบ้านเอง 2.ถ้าเขาปิดสายไฟฟ้าจากต่างประเทศที่ซื้อมากี่เปอร์เซ็นต์จะทำอย่างไร บางคนบอกว่าไม่เห็นจำเป็น มีสตางค์ซะอย่าง ราคาน้ำมันก็ลดแล้วไปซื้อก็ได้ แต่ถ้าเขาไม่ขายจะทำอย่างไร อย่างเช่นวันนี้ที่ไม่มีการขายน้ำมันระหว่างประเทศใหญ่กับประเทศเล็กจึงทำให้เราได้อานิสงส์ตรงนี้ นั่นคือวิกฤตที่เขามีและเป็นโอกาสของเรา
พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า วันนี้เราต้องทำ โดยมองว่าทำอย่างไรถึงจะมีรายได้เข้ารัฐมากขึ้น ในรัฐบาลนี้ไม่มีการขึ้นภาษี มีแต่ลดแล้วจะเอาเงินจากส่วนไหนมาพัฒนาประเทศ เพราะภาษีก็ไม่สามารถเก็บได้ตามเป้า เพราะเราสร้างการรับรู้ที่ไม่ถูกต้อง เรื่องนี้ต้องทำให้คนรู้ว่าหากอยากได้สิ่งใดสิ่งหนึ่งต้องมีส่วนร่วม และรัฐบาลได้พยายามทำอย่างโปร่งใส ขณะนี้มีหลายๆ อย่างที่กำลังหมกไว้อยู่ เรากำลังจะรื้อฟื้นขึ้นมา
http://manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9580000006014
กลุ่มทวงคืนน้ำมันหน้าแหก!! ท่านผู้นำ ทุบโต๊ะ! ลุยเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 ขู่ห้ามมีม็อบ
“บิ๊กตู่” ทุบโต๊ะ! ลุยเปิดสัมปทานรอบ 21 ขู่ห้ามมีม็อบ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
16 มกราคม 2558 16:29 น.
ASTVผู้จัดการ - “นายกฯ ประยุทธ์” ลั่นเดินหน้าลุยเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 แน่ ไม่สนเสียงโหวต สปช. อ้างเหตุเพื่อความมั่นคงทางพลังงานของชาติ ย้อนฝ่ายต้านอีก 6 ปีไม่มีน้ำมันใช้จะรับผิดชอบไหม ขอรายชื่อด้วย ขู่ห้ามปลุกระดม-ก่อม็อบ ระบุให้หาวิธีชี้แจงแทน
จากการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เมื่อวันที่ 13 ม.ค. ซึ่งที่ประชุมลงมติไม่เห็นชอบกับข้อเสนอของคณะกรรมาธิการปฏิรูปเสียงข้างมาก เรื่องการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 และรายงานเรื่อง การเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 และแนวทางการบริหารจัดการพลังงานปิโตรเลียมอย่างยั่งยืน โดยจำนวนผู้เข้าประชุม 230 คน มีผู้แสดงความไม่เห็นด้วย 130 คน งดออกเสียง 21 คน และเห็นด้วย 79 คน
ล่าสุดวันนี้ (16 ม.ค.) เมื่อเวลา 15.30 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงกรณี ที่ประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ไม่เห็นด้วยต่อข้อเสนอคณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน สปช.เสียงข้างมาก ให้เดินหน้าสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ว่า ตามกฎหมายกระทรวงพลังงานเป็นผู้ดูแลในการจัดหาแหล่งพลังงาน ซึ่งไม่ต้องขอตนด้วย เพราะเป็นหน้าที่ของกระทรวงพลังงานในการมีภารกิจดังกล่าว เมื่อมีการแจ้งให้ที่ประชุมรับทราบ ที่ประชุมก็ได้รับทราบ ตนได้บอกว่าให้ไปหารือในการชี้แจงทำความเข้าใจ เมื่อ สปช.ไม่เห็นด้วยก็ต้องไปดูข้อเสนอของคณะกรรมาธิการว่ามีวิธีการใดบ้างซึ่งกระทรวงพลังงานก็เดินหน้าไปตามอำนาจที่มีอยู่
“กระทรวงพลังงานเดินหน้าอยู่แล้ว ยังไงก็ต้องเดิน แต่ไม่ใช่เดินในวันนี้ พรุ่งนี้ เพราะจะมีการเปิดสัมปทานในเดือน ก.พ. ส่วนบางกลุ่มที่จะออกมาเรียกร้องยืนยันว่าออกมาไม่ได้ ไม่ให้ออก ไปหาเรื่องชี้แจง อยากหาเรื่องออกมาเดินขบวนกันอีก” พล.อ.ประยุทธ์กล่าว
เมื่อถามว่าในส่วนของรัฐบาลและกระทรวงพลังงานมีการพิจารณาในขั้นตอนการดำเนินการแล้วใช่หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า เขาพิจารณามาแล้วในขั้นตอนแรก รับทราบแล้วว่าจะไปเปิดสัมปทาน ได้มีการพิจารณาทั้งข้อดีและข้อเสีย และผลประโยชน์ เพื่อให้ที่ประชุมรับทราบ และเมื่อตนเห็นว่าหากมีปัญหามากนักก็ให้นำเข้าที่ประชุม สปช. ซึ่งจะมีเรื่องโครงสร้างพลังงาน ที่จะต้องปรับว่าในอนาคตจะทำอย่างไร เป็นการปรับให้เหมาะสม ตามสถานการณ์ข้อมูลข้อเท็จจริง และวันนี้ที่มีการพูดกันได้เอาข้อเท็จจริงมาพูดกันทั้งหมดแล้วหรือยัง จึงทำให้ไม่เข้าใจ
นายกฯ กล่าวว่า ความมั่นคงพลังงาน มีการเตรียมการสำรองหาพลังงานไว้ล่วงหน้า ซึ่งในการสำรวจต้องดูว่าคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่ โดยกระทรวงพลังงานได้ชี้แจงว่าหากมีการสำรวจแล้วเจอแหล่งพลังงาน รัฐบาลจะสามารถแก้ไข ปรับปรุงกฎระเบียบในเรื่องของค่าตอบแทน ซึ่งที่ประชุมได้รับทราบโดยไม่มีปัญหาแต่อย่างใด แต่วันนี้หากบอกว่างดการให้สัมปทาน แล้วใครจะสามารถตอบคำถามได้ว่ามีแหล่งพลังงานจริงหรือไม่ ซึ่งวันนี้มีแหล่งพลังงานอยู่ก็จริง แต่มีหลายบริษัทที่ทำอยู่ แต่ 29 แห่ง ตรงนี้กำลังจะหมดไปอีก 6 ปีข้างหน้า ดังนั้นต้องเตรียมการสำรอง
“เราตอบไม่ได้ว่าตอนนี้แหล่งพลังงานมีเยอะหรือน้อย แต่ทางธรณีวิทยาเขารู้หมดว่าข้างล่างเป็นอย่างไร เพราะเขาสำรวจด้วยดาวเทียม ว่าข้างล่างมีชั้นดินแบบไหนบ้าง ประเทศไทยเป็นคนละอย่างกับต่างประเทศ จำเป็นต้องดูให้ลึกซึ้ง จะฟังข้างใดข้างหนึ่งไม่ได้ และอย่าไปขัดแย้ง ต้องหาช่องทางในการพูดคุยที่เหมาะสม อย่าไปปลุกระดม” พล.อ.ประยุทธ์กล่าว
เมื่อถามว่าจะทำอย่างไรก็กลุ่มที่เคยออกมาร้องเรียนก่อนหน้านี้ นายกฯ กล่าวว่า ทุกกลุ่ม รวมถึงไม่ให้มีการจัดเวทีระดมความเห็นด้วย ไม่เอา ไปทำอย่างอื่น เรื่องนี้จบก็จบ หากไม่เห็นด้วยเมื่อมีการเสนอมา เราก็รับทราบ แต่กฎหมายเขียนว่าอย่างไร ก็ต้องว่ากันไปตามนั้น วันหน้าหากมีปัญหามา ไอ้พวกนี้ได้เข้ามารับผิดชอบด้วยหรือเปล่า ถ้ามาก็เขียนชื่อมา สมมติว่าทำสัมปทานนี้ไม่ได้ อีก 6 ปีข้างหน้า มันไม่มีน้ำมันขึ้นมา ไอ้คนพวกนี้รับผิดชอบไหม ถ้ามาก็มาเลยมาเซ็นสัญญากันไว้ และขออย่าไปขยายความขัดแย้ง แล้วรู้หรือไม่ว่าความมั่นคงทางพลังงานคืออะไร 1.ถ้าเขาปิดท่อแก๊สทั้งหมดรอบบ้านเราจะเอาแก๊สจากไหนทั้งหมดมาใช้ ถ้าอย่างนั้น ก็ไปเจาะในบ้านเอง 2.ถ้าเขาปิดสายไฟฟ้าจากต่างประเทศที่ซื้อมากี่เปอร์เซ็นต์จะทำอย่างไร บางคนบอกว่าไม่เห็นจำเป็น มีสตางค์ซะอย่าง ราคาน้ำมันก็ลดแล้วไปซื้อก็ได้ แต่ถ้าเขาไม่ขายจะทำอย่างไร อย่างเช่นวันนี้ที่ไม่มีการขายน้ำมันระหว่างประเทศใหญ่กับประเทศเล็กจึงทำให้เราได้อานิสงส์ตรงนี้ นั่นคือวิกฤตที่เขามีและเป็นโอกาสของเรา
พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า วันนี้เราต้องทำ โดยมองว่าทำอย่างไรถึงจะมีรายได้เข้ารัฐมากขึ้น ในรัฐบาลนี้ไม่มีการขึ้นภาษี มีแต่ลดแล้วจะเอาเงินจากส่วนไหนมาพัฒนาประเทศ เพราะภาษีก็ไม่สามารถเก็บได้ตามเป้า เพราะเราสร้างการรับรู้ที่ไม่ถูกต้อง เรื่องนี้ต้องทำให้คนรู้ว่าหากอยากได้สิ่งใดสิ่งหนึ่งต้องมีส่วนร่วม และรัฐบาลได้พยายามทำอย่างโปร่งใส ขณะนี้มีหลายๆ อย่างที่กำลังหมกไว้อยู่ เรากำลังจะรื้อฟื้นขึ้นมา
http://manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9580000006014