แม้จะถูกค่อนแคะว่าเป็นรัฐบาลที่ได้อำนาจมาจากการยึดอำนาจ เป็นที่รังเกียจของนานาชาติจนทำให้สถานะของรัฐบาล คสช.ต้องบริหารประเทศภายใต้สภาวะที่ถูกกดดันรอบด้าน จนไม่อาจจะลดเกราะป้องกันตนเองอย่างกฎอัยการศึกลงได้
แต่หลากหลายนโยบายที่รัฐบาลผลักดันออกมา ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าไม่ได้สร้างความผิดหวังให้กับประชาชนคนไทยแต่อย่างใด อย่างการไล่ปราบปรามบรรดามาเฟียผู้มีอิทธิพล จัดระเบียบวินรถตู้มอเตอร์ไซด์หรือไล่ยึดที่ดินนายทุนรีสอร์ทกลับมาเป็นของหลวง ซึ่งหากเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งแล้ว เราคงไม่มีโอกาสได้เห็นการเดินหน้านโยบายเหล่านี้
ล่าสุดกับนโยบายปรับโครงสร้างราคาพลังงานให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงที่ นายณรงค์ชัย อัครเศรณี รมว.พลังงาน ประกาศจะให้เป็น “วาระแห่งชาติ” ที่กระทรวงพลังงานจะดำเนินการในระยะ 1 ปีข้างหน้านี้ โดยทยอยปรับโครงสร้างราคาพลังงานให้สะท้อนต้นทุน รวมถึงการปรับโครงสร้างภาษีต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลที่จะต้องปรับขึ้นเพื่อลดการบิดเบือนกลไกราคาตลาด
และโดยเฉพาะการลุย “หักดิบ” อนุมัติให้สัมปทานปิโตรเลียมรอบใหม่ รอบที่ 21 ที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เพิ่งไฟเขียวออกไป ทั้งนายกฯยังเตรียมบินไปเจรจาเพื่อหาทางพัฒนาแหล่งพลังงานบนพื้นที่ทับซ้อน “ไทย-กัมพูชา” เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานที่คาราคาซังกันมาเป็นทศวรรษ โดยไม่หวั่นเครือข่ายเอ็นจีโอจะลุกขึ้นมาฟ้อนเงี้ยว
ถือเป็นผลงาน “ชิ้นโบว์แดง” ที่กล่าวได้ว่า ยากจะเกิดขึ้นหากเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง เพราะคงไม่มีรัฐบาลใดกล้า “หักดิบ” ลุยกำถั่วกับเครือข่ายภาคประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มจับตาปฏิรูปพลังงานไทย กลุ่มขาหุ้นปฏิรูปพลังงานหรือเครือข่ายอะไรต่อมิอะไรที่ตั้งป้อมขัดขวางการเปิดหรือต่อสัมปทานปิโตรเลียมในทุกรูปแบบ
แม้แกนนำเครือข่ายเอ็นจีโอจะพยายามออกโรงเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนสัมปทานปิโตรเลียมในครั้งนี้ ถึงขั้นยื่นเรื่องต่อศาลเพื่อขอให้ระงับ แต่ทั้งนายณรงค์ชัย อัครเศรณี รมว.พลังงาน และพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและหัวหน้า คสช. ยังคงยืนยันที่จะเดินหน้านโยบายดังกล่าวโดยไม่หวั่นต่อคำขู่เข็ญใดๆ โดยนายณรงค์ชัย ได้กล่าวถึงประโยชน์ที่ประเทศจะได้รับจากการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมครั้งนี้ ไม่เพียงแต่ความมั่นคงด้านพลังงาน การสร้างหลักประกันให้กับนักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศเท่านั้น
หากพิจารณาเงื่อนไขการให้สัมปทานที่กำลังจะมีขึ้น ซึ่งแม้จะยังคงนำเอาระบบการให้สัมปทาน หรือ “ไทยแลนด์ทรีพลัส” (Thailand III Plus) มาใช้ แต่ได้มีการปรับเพิ่มผลประโยชน์จากระบบไทยแลนด์ทรีเดิมที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2532 อาทิ การเก็บค่าภาคหลวงในอัตรา 5-15% จากรายได้การขายปิโตรเลียม เก็บเงินภาษีเงินได้ 50% จากกำไร การเรียกเก็บเงินผลตอบแทนพิเศษ หรือ Special Remuneratory Benefit (SRB) เมื่อมีกำไรหลังคืนทุนแล้ว หรือเมื่อราคาน้ำมันดิบอยู่ในระดับสูงตามหลักเกณฑ์ที่รัฐกำหนด การสนับสนุนเงินเพื่อการศึกษาและพัฒนาท้องถิ่น ไม่น้อยกว่าปีละ 2 ล้านบาท เสนอให้บริษัทไทยเข้าร่วมประกอบกิจการในอัตรา 5% และที่สำคัญต้องใช้สินค้าและบริการในประเทศของประเทศไทย เป็นอันดับแรก
นอกจากนี้ ภายใต้ระบบสัมปทานไทยแลนด์ทรีพลัส ยังจะจัดเก็บผลประโยชน์เพิ่มเติมถึง 2 ส่วนสำคัญ คือ การเรียกเก็บค่าธรรมเนียม หรือ Signature Bonus เมื่อมีการลงนามกับเอกชนที่ได้รับสัมปทาน แม้ว่าจะสำรวจพบปิโตรเลียมหรือไม่ และการเรียกเก็บผลประโยชน์เพิ่มเติม เมื่อเอกชนสามารถผลิตได้ตามเกณฑ์ที่รัฐกำหนด หรือ Production Bonus
เช่นเดียวกับปรารภของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและหัวหน้า คสช.ที่มีต่อแกนนำเครือข่ายอะไรต่อมิอะไรที่ออกโรงเรียกร้องให้รัฐต้องดำเนินการทบทวนสัมปทานปิโตรเลียมรอบใหม่ข้างต้น โดยยืนยันว่า การอนุมัติเปิดแปลงสัมปทานใหม่นั้นเป็นความจำเป็นที่กระทรวงพลังงานจะต้องเร่งดำเนินการ เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศ จะปล่อยให้ประเทศสุ่มเสี่ยงไม่ได้
“...กรณีนางสาวรสนา สมาชิก สปช.ออกมาเรียกร้องให้ปฏิรูปพลังงานก่อนแล้วค่อยเปิดสัมปทานปิโตรเลียมนั้น ผมคงไม่ต้องอธิบาย ท่านก็ไปปฏิรูปของท่านมา ผมพูดไปแล้วว่า ขอให้ไปปฏิรูปในกลุ่มของท่าน ท่านบอกว่าน้ำมันเรามี ก็ต้องหาคำตอบมาให้ได้ก่อนว่า มีจริงหรือไม่ ก็ต้องไปดูแล้วหาคำตอบมา ถ้ามีจริงก็ไปดูในเรื่องของโรง กลั่นจากนั้นก็ไม่ต้องซื้อน้ำมันจากต่างประเทศ ถามว่าทำได้จริงหรือเปล่า...
ถ้าถามด้วยเหตุและผลตามหลักวิทยาศาสตร์อย่างไรก็ต้องอนุมัติ ไม่เช่นนั้นจะขาดพลังงานใช้ในอีก 6-7 ปีข้างหน้า หากไม่เตรียมการตั้งแต่วันนี้ ถึงเวลาไม่มีก๊าซและน้ำมันใช้แล้วจะทำอย่างไร ที่ผ่านมาฝ่ายนางสาวรสนาพยายามจะพูดแล้วทะเลาะกันทุกที เพราะพูดแล้วไม่ฟังกัน แล้วจะให้ทำอย่างไร พูดกี่ครั้งก็เหมือนเดิม เรื่องเหล่านี้ต้องช่วยกันและเอาเหตุผลมาพูดคุยกัน....”
ไม่เพียงการปรับโครงสร้างพลังงาน การเปิดสัมปทานปิโตรเลียมระบบใหม่ที่กระทรวงพลังงานประกาศจะให้เป็น “วาระแห่งชาติ” ที่ต้องเร่งดำเนินการให้เห็นเป็นรูปธรรมในระยะ 1 ปีข้างหน้า รมต.พลังงานยังรุกคืบถึงขั้นจะเดินหน้าก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่ๆ เพิ่มขึ้นในประเทศไทย โดยประเทศไทยต้องมีข้อสรุปที่ชัดเจนในเรื่องโรงไฟฟ้าถ่านหินว่าจะสร้างกี่แห่ง ที่ใดบ้าง ภายในปี 58 นี้
เห็นความตั้งใจของ รมต.พลังงานแล้วก็อยากชูจั๊กแร้เชียร์ครับ เพราะที่ผ่านมานโยบายพลังงานในเรื่องเหล่านี้ไม่มีทางจะ “หักดิบ” ฝ่าปราการเหล็กของเครือข่ายเอ็นจีโอ เจ้าแม่เอ็นจีโอทั้งหลายออกมาได้แน่ หรือหากฝ่าปราการออกมาได้ก็หนีไม่พ้นถูกค่อนแคะว่าเต็มไปด้วยผลประโยชน์แอบแฝง
หากไม่ทำในรัฐบาล คสช.ชุดนี้ก็ไม่รู้จะฝากผีฝากไข้ไว้กับรัฐบาลชุดไหนแล้ว !!!
ทองแท้ไม่กลัวไฟ!
แต่หลากหลายนโยบายที่รัฐบาลผลักดันออกมา ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าไม่ได้สร้างความผิดหวังให้กับประชาชนคนไทยแต่อย่างใด อย่างการไล่ปราบปรามบรรดามาเฟียผู้มีอิทธิพล จัดระเบียบวินรถตู้มอเตอร์ไซด์หรือไล่ยึดที่ดินนายทุนรีสอร์ทกลับมาเป็นของหลวง ซึ่งหากเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งแล้ว เราคงไม่มีโอกาสได้เห็นการเดินหน้านโยบายเหล่านี้
ล่าสุดกับนโยบายปรับโครงสร้างราคาพลังงานให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงที่ นายณรงค์ชัย อัครเศรณี รมว.พลังงาน ประกาศจะให้เป็น “วาระแห่งชาติ” ที่กระทรวงพลังงานจะดำเนินการในระยะ 1 ปีข้างหน้านี้ โดยทยอยปรับโครงสร้างราคาพลังงานให้สะท้อนต้นทุน รวมถึงการปรับโครงสร้างภาษีต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลที่จะต้องปรับขึ้นเพื่อลดการบิดเบือนกลไกราคาตลาด
และโดยเฉพาะการลุย “หักดิบ” อนุมัติให้สัมปทานปิโตรเลียมรอบใหม่ รอบที่ 21 ที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เพิ่งไฟเขียวออกไป ทั้งนายกฯยังเตรียมบินไปเจรจาเพื่อหาทางพัฒนาแหล่งพลังงานบนพื้นที่ทับซ้อน “ไทย-กัมพูชา” เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานที่คาราคาซังกันมาเป็นทศวรรษ โดยไม่หวั่นเครือข่ายเอ็นจีโอจะลุกขึ้นมาฟ้อนเงี้ยว
ถือเป็นผลงาน “ชิ้นโบว์แดง” ที่กล่าวได้ว่า ยากจะเกิดขึ้นหากเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง เพราะคงไม่มีรัฐบาลใดกล้า “หักดิบ” ลุยกำถั่วกับเครือข่ายภาคประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มจับตาปฏิรูปพลังงานไทย กลุ่มขาหุ้นปฏิรูปพลังงานหรือเครือข่ายอะไรต่อมิอะไรที่ตั้งป้อมขัดขวางการเปิดหรือต่อสัมปทานปิโตรเลียมในทุกรูปแบบ
แม้แกนนำเครือข่ายเอ็นจีโอจะพยายามออกโรงเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนสัมปทานปิโตรเลียมในครั้งนี้ ถึงขั้นยื่นเรื่องต่อศาลเพื่อขอให้ระงับ แต่ทั้งนายณรงค์ชัย อัครเศรณี รมว.พลังงาน และพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและหัวหน้า คสช. ยังคงยืนยันที่จะเดินหน้านโยบายดังกล่าวโดยไม่หวั่นต่อคำขู่เข็ญใดๆ โดยนายณรงค์ชัย ได้กล่าวถึงประโยชน์ที่ประเทศจะได้รับจากการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมครั้งนี้ ไม่เพียงแต่ความมั่นคงด้านพลังงาน การสร้างหลักประกันให้กับนักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศเท่านั้น
หากพิจารณาเงื่อนไขการให้สัมปทานที่กำลังจะมีขึ้น ซึ่งแม้จะยังคงนำเอาระบบการให้สัมปทาน หรือ “ไทยแลนด์ทรีพลัส” (Thailand III Plus) มาใช้ แต่ได้มีการปรับเพิ่มผลประโยชน์จากระบบไทยแลนด์ทรีเดิมที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2532 อาทิ การเก็บค่าภาคหลวงในอัตรา 5-15% จากรายได้การขายปิโตรเลียม เก็บเงินภาษีเงินได้ 50% จากกำไร การเรียกเก็บเงินผลตอบแทนพิเศษ หรือ Special Remuneratory Benefit (SRB) เมื่อมีกำไรหลังคืนทุนแล้ว หรือเมื่อราคาน้ำมันดิบอยู่ในระดับสูงตามหลักเกณฑ์ที่รัฐกำหนด การสนับสนุนเงินเพื่อการศึกษาและพัฒนาท้องถิ่น ไม่น้อยกว่าปีละ 2 ล้านบาท เสนอให้บริษัทไทยเข้าร่วมประกอบกิจการในอัตรา 5% และที่สำคัญต้องใช้สินค้าและบริการในประเทศของประเทศไทย เป็นอันดับแรก
นอกจากนี้ ภายใต้ระบบสัมปทานไทยแลนด์ทรีพลัส ยังจะจัดเก็บผลประโยชน์เพิ่มเติมถึง 2 ส่วนสำคัญ คือ การเรียกเก็บค่าธรรมเนียม หรือ Signature Bonus เมื่อมีการลงนามกับเอกชนที่ได้รับสัมปทาน แม้ว่าจะสำรวจพบปิโตรเลียมหรือไม่ และการเรียกเก็บผลประโยชน์เพิ่มเติม เมื่อเอกชนสามารถผลิตได้ตามเกณฑ์ที่รัฐกำหนด หรือ Production Bonus
เช่นเดียวกับปรารภของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและหัวหน้า คสช.ที่มีต่อแกนนำเครือข่ายอะไรต่อมิอะไรที่ออกโรงเรียกร้องให้รัฐต้องดำเนินการทบทวนสัมปทานปิโตรเลียมรอบใหม่ข้างต้น โดยยืนยันว่า การอนุมัติเปิดแปลงสัมปทานใหม่นั้นเป็นความจำเป็นที่กระทรวงพลังงานจะต้องเร่งดำเนินการ เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศ จะปล่อยให้ประเทศสุ่มเสี่ยงไม่ได้
“...กรณีนางสาวรสนา สมาชิก สปช.ออกมาเรียกร้องให้ปฏิรูปพลังงานก่อนแล้วค่อยเปิดสัมปทานปิโตรเลียมนั้น ผมคงไม่ต้องอธิบาย ท่านก็ไปปฏิรูปของท่านมา ผมพูดไปแล้วว่า ขอให้ไปปฏิรูปในกลุ่มของท่าน ท่านบอกว่าน้ำมันเรามี ก็ต้องหาคำตอบมาให้ได้ก่อนว่า มีจริงหรือไม่ ก็ต้องไปดูแล้วหาคำตอบมา ถ้ามีจริงก็ไปดูในเรื่องของโรง กลั่นจากนั้นก็ไม่ต้องซื้อน้ำมันจากต่างประเทศ ถามว่าทำได้จริงหรือเปล่า...
ถ้าถามด้วยเหตุและผลตามหลักวิทยาศาสตร์อย่างไรก็ต้องอนุมัติ ไม่เช่นนั้นจะขาดพลังงานใช้ในอีก 6-7 ปีข้างหน้า หากไม่เตรียมการตั้งแต่วันนี้ ถึงเวลาไม่มีก๊าซและน้ำมันใช้แล้วจะทำอย่างไร ที่ผ่านมาฝ่ายนางสาวรสนาพยายามจะพูดแล้วทะเลาะกันทุกที เพราะพูดแล้วไม่ฟังกัน แล้วจะให้ทำอย่างไร พูดกี่ครั้งก็เหมือนเดิม เรื่องเหล่านี้ต้องช่วยกันและเอาเหตุผลมาพูดคุยกัน....”
ไม่เพียงการปรับโครงสร้างพลังงาน การเปิดสัมปทานปิโตรเลียมระบบใหม่ที่กระทรวงพลังงานประกาศจะให้เป็น “วาระแห่งชาติ” ที่ต้องเร่งดำเนินการให้เห็นเป็นรูปธรรมในระยะ 1 ปีข้างหน้า รมต.พลังงานยังรุกคืบถึงขั้นจะเดินหน้าก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่ๆ เพิ่มขึ้นในประเทศไทย โดยประเทศไทยต้องมีข้อสรุปที่ชัดเจนในเรื่องโรงไฟฟ้าถ่านหินว่าจะสร้างกี่แห่ง ที่ใดบ้าง ภายในปี 58 นี้
เห็นความตั้งใจของ รมต.พลังงานแล้วก็อยากชูจั๊กแร้เชียร์ครับ เพราะที่ผ่านมานโยบายพลังงานในเรื่องเหล่านี้ไม่มีทางจะ “หักดิบ” ฝ่าปราการเหล็กของเครือข่ายเอ็นจีโอ เจ้าแม่เอ็นจีโอทั้งหลายออกมาได้แน่ หรือหากฝ่าปราการออกมาได้ก็หนีไม่พ้นถูกค่อนแคะว่าเต็มไปด้วยผลประโยชน์แอบแฝง
หากไม่ทำในรัฐบาล คสช.ชุดนี้ก็ไม่รู้จะฝากผีฝากไข้ไว้กับรัฐบาลชุดไหนแล้ว !!!