แตกดังโพ๊ละ!!! สื่อใหญ่อย่างไทยรัฐ กระชากหน้ากาก NGO และ คปพ.
จาก สกู๊ปหน้า 1 ของ ไทยรัฐ เมื่อวันที่ 26 ธ.ค. 2559
เรื่อง "ความมั่นคงพลังงาน ประเทศชาติตัวประกัน"
กระทรวงพลังงาน ระบุว่า สิ้นปี 2558 “ประเทศไทย”...มีปริมาณสำรองปิโตรเลียมที่ค้นพบแล้วโดยมีปริมาณก๊าซธรรมชาติอยู่ที่ 7.3 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต...คาดว่า คาดว่าจะใช้ได้ประมาณ 5 ปี ปริมาณคอนเดนเสท (ก๊าซธรรมชาติเหลว) และน้ำมันดิบ 378 ล้านบาร์เรล ปริมาณพอๆกัน คาดว่า...ใช้ได้แค่ประมาณ 4 ปี ขณะที่เรามีปริมาณการบริโภคน้ำมันมากถึงวันละประมาณ 1 ล้านบาร์เรล ทำให้ต้องมีการนำเข้าน้ำมันดิบประมาณกว่าวันละ 850,000 บาร์เรล เพื่อให้เพียงพอต่อปริมาณการใช้ในประเทศ เมื่อย้อนกลับไปดูการจัดหาแหล่งพลังงานเพิ่มของประเทศยิ่งน่าตกใจ เพราะการเปิดให้สัมปทานรอบที่ 21 เพื่อสำรวจขุดเจาะปิโตรเลียมในบ้านเรานั้น...หยุด ชะงักมา 9 ปีแล้ว พูดง่ายๆว่าเปิดสัมปทานหาแหล่งก๊าซ แหล่งน้ำมันดิบใหม่ๆไม่ได้มานานแล้ว
ต้นตอของปัญหาส่วนหนึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าเกิดจากการประท้วงที่ไม่เลิกราและเปลี่ยนประเด็นไปข้างหน้าเรื่อยๆของเอ็นจีโอและนักการเมืองกลุ่มหนึ่ง ที่เรียกตัว
เองว่า “เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย” หรือ “คปพ.” ประเด็นล่าสุดที่เรียกร้องให้คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียม และร่างพ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่มี พล.อ.สกนธ์ สัจจานิตย์ เป็นประธานบรรจุลงไปในกฎหมายนั่นคือ ให้มีการตั้ง “บรรษัทพลังงาน แห่งชาติ” เพื่อเข้ามาควบคุมดูแลกิจการด้านปิโตรเลียมทั้งหมด แทนหน่วยงานราชการที่มีอยู่ นัยว่า...เพื่อให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการควบคุมดูแล
ฟังเผินๆน่าสนใจถ้าไม่ความแตกเสียก่อนเพราะข้อเสนอ คปพ.ที่ว่านี้ คณะกรรมการในบริษัทพลังงานแห่งชาติล็อกสเปกให้แต่ภาคประชาชน... เอ็นจีโอที่
เป็นพรรคพวกตัวเองทั้งนั้น ออกแนวชงเองกินเอง
ที่สำคัญโมเดลบรรษัทพลังงานแห่งชาติ ถูกพิสูจน์ชัดเจนว่าล้มเหลว ตัวอย่างเห็นชัดคือ ประเทศเวเนซุเอลา หนึ่งในสมาชิกองค์การประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้า ออก หรือโอเปก (OPEC)...และเป็นประเทศที่มีปริมาณสำรองน้ำมันดิบมากที่สุดในโลกถึง 297,600 ล้านบาร์เรล...เหลือผลิตได้ยาวนานถึง 310 ปี
เมื่อประธานาธิบดี ฮูโก ซาเวส เข้าสู่อำนาจได้เอาแนวคิด “บรรษัทพลังงานแห่งชาติ” มาใช้ พร้อมกับไล่ยึดกิจการปิโตรเลียมของภาคเอกชนมาบริหารเอง นำผล กำไรมาอุดหนุนราคาน้ำมันในประเทศให้ประชาชนใช้กันถูกๆ...เพียงลิตรละ 30-40 สตางค์ ในแนวทางประชาชนนิยมจน เศรษฐกิจประเทศล่มสลาย
จากประเทศผู้ส่งออกน้ำมันในปี 2556...เวเนซุเอลาต้องนำเข้าน้ำมันดิบเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ จากประเทศที่ร่ำรวยที่สุดในอเมริกาใต้ วันนี้ประชาชนใน
เวเนซุเอลาต้องเข้าคิวซื้ออาหาร ต้อง ต่อแถวเพื่อเติมน้ำมันที่ขายในราคาสากล
โมเดลบรรษัทพลังงานแห่งชาติ...ล่มสลาย แถมพ่วงมาด้วยข้อกล่าวหาการทุจริตมากมายของเอ็นจีโอที่เข้ามานั่งเก้าอี้บริหารในฐานะตัวแทนภาคประชาชน เหลียว มองสถานการณ์บ้านเราอาจไม่ไปไกลถึงจุดนั้น แต่เมื่อมีแนวโน้มจะไม่ได้ตามต้องการ ก็มีแรงส่งบางอย่างที่ยื้อกฎหมายสำคัญต่อความมั่นคงทางพลังงานไทย
อ่านข่าวต่อได้ที่:
http://www.thairath.co.th/content/820877
คิดว่าชาติ จะล่มจม แบบเวเนซุเอลา หรือไม่ ถ้าเอา NGO มาบริหารพลังงาน ??
จาก สกู๊ปหน้า 1 ของ ไทยรัฐ เมื่อวันที่ 26 ธ.ค. 2559
เรื่อง "ความมั่นคงพลังงาน ประเทศชาติตัวประกัน"
กระทรวงพลังงาน ระบุว่า สิ้นปี 2558 “ประเทศไทย”...มีปริมาณสำรองปิโตรเลียมที่ค้นพบแล้วโดยมีปริมาณก๊าซธรรมชาติอยู่ที่ 7.3 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต...คาดว่า คาดว่าจะใช้ได้ประมาณ 5 ปี ปริมาณคอนเดนเสท (ก๊าซธรรมชาติเหลว) และน้ำมันดิบ 378 ล้านบาร์เรล ปริมาณพอๆกัน คาดว่า...ใช้ได้แค่ประมาณ 4 ปี ขณะที่เรามีปริมาณการบริโภคน้ำมันมากถึงวันละประมาณ 1 ล้านบาร์เรล ทำให้ต้องมีการนำเข้าน้ำมันดิบประมาณกว่าวันละ 850,000 บาร์เรล เพื่อให้เพียงพอต่อปริมาณการใช้ในประเทศ เมื่อย้อนกลับไปดูการจัดหาแหล่งพลังงานเพิ่มของประเทศยิ่งน่าตกใจ เพราะการเปิดให้สัมปทานรอบที่ 21 เพื่อสำรวจขุดเจาะปิโตรเลียมในบ้านเรานั้น...หยุด ชะงักมา 9 ปีแล้ว พูดง่ายๆว่าเปิดสัมปทานหาแหล่งก๊าซ แหล่งน้ำมันดิบใหม่ๆไม่ได้มานานแล้ว
ต้นตอของปัญหาส่วนหนึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าเกิดจากการประท้วงที่ไม่เลิกราและเปลี่ยนประเด็นไปข้างหน้าเรื่อยๆของเอ็นจีโอและนักการเมืองกลุ่มหนึ่ง ที่เรียกตัว
เองว่า “เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย” หรือ “คปพ.” ประเด็นล่าสุดที่เรียกร้องให้คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียม และร่างพ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่มี พล.อ.สกนธ์ สัจจานิตย์ เป็นประธานบรรจุลงไปในกฎหมายนั่นคือ ให้มีการตั้ง “บรรษัทพลังงาน แห่งชาติ” เพื่อเข้ามาควบคุมดูแลกิจการด้านปิโตรเลียมทั้งหมด แทนหน่วยงานราชการที่มีอยู่ นัยว่า...เพื่อให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการควบคุมดูแล
ฟังเผินๆน่าสนใจถ้าไม่ความแตกเสียก่อนเพราะข้อเสนอ คปพ.ที่ว่านี้ คณะกรรมการในบริษัทพลังงานแห่งชาติล็อกสเปกให้แต่ภาคประชาชน... เอ็นจีโอที่
เป็นพรรคพวกตัวเองทั้งนั้น ออกแนวชงเองกินเอง
ที่สำคัญโมเดลบรรษัทพลังงานแห่งชาติ ถูกพิสูจน์ชัดเจนว่าล้มเหลว ตัวอย่างเห็นชัดคือ ประเทศเวเนซุเอลา หนึ่งในสมาชิกองค์การประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้า ออก หรือโอเปก (OPEC)...และเป็นประเทศที่มีปริมาณสำรองน้ำมันดิบมากที่สุดในโลกถึง 297,600 ล้านบาร์เรล...เหลือผลิตได้ยาวนานถึง 310 ปี
เมื่อประธานาธิบดี ฮูโก ซาเวส เข้าสู่อำนาจได้เอาแนวคิด “บรรษัทพลังงานแห่งชาติ” มาใช้ พร้อมกับไล่ยึดกิจการปิโตรเลียมของภาคเอกชนมาบริหารเอง นำผล กำไรมาอุดหนุนราคาน้ำมันในประเทศให้ประชาชนใช้กันถูกๆ...เพียงลิตรละ 30-40 สตางค์ ในแนวทางประชาชนนิยมจน เศรษฐกิจประเทศล่มสลาย
จากประเทศผู้ส่งออกน้ำมันในปี 2556...เวเนซุเอลาต้องนำเข้าน้ำมันดิบเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ จากประเทศที่ร่ำรวยที่สุดในอเมริกาใต้ วันนี้ประชาชนใน
เวเนซุเอลาต้องเข้าคิวซื้ออาหาร ต้อง ต่อแถวเพื่อเติมน้ำมันที่ขายในราคาสากล
โมเดลบรรษัทพลังงานแห่งชาติ...ล่มสลาย แถมพ่วงมาด้วยข้อกล่าวหาการทุจริตมากมายของเอ็นจีโอที่เข้ามานั่งเก้าอี้บริหารในฐานะตัวแทนภาคประชาชน เหลียว มองสถานการณ์บ้านเราอาจไม่ไปไกลถึงจุดนั้น แต่เมื่อมีแนวโน้มจะไม่ได้ตามต้องการ ก็มีแรงส่งบางอย่างที่ยื้อกฎหมายสำคัญต่อความมั่นคงทางพลังงานไทย
อ่านข่าวต่อได้ที่: http://www.thairath.co.th/content/820877