“พลังงาน” เผยเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล “ไทย-กัมพูชา” ไม่คืบ จี้ “ครม.” ตั้งคณะทำงานเจรจาดึงทรัพยากรใต้ทะเลมาใช้ประโยชน์โดยเร็ว “กรมเชื้อเพลิง” ย้ำ พร้อมสนับสนุนการเจรจารัฐบาล น.ส.แพทองธาร ชินวัตร ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาที่จะขับเคลื่อนนโยบายเจรจาประเด็นพื้นที่ทับซ้อนกับกัมพูชา (OCA) เพื่อลดต้นทุนด้านพลังงาน และล่าสุดได้มีการพบกันระหว่าง น.ส.แพทองธาร กับ ฮุน มาแนต นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียนที่ประเทศลาว เมื่อวันที่ 9 ต.ค.2567
สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่ารัฐบาลไทยจะเริ่มการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชาอีกครั้ง เพื่อสำรวจแหล่งน้ำมันและก๊าซนอกชายฝั่งที่คาดว่าจะมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 3 แสนล้านดอลลาร์ (กว่า 10 ล้านล้านบาท) ซึ่งทั้ง 2 ประเทศ มีข้อพิพาทกันมาตั้งแต่ทศวรรษ 1970
น.ส.แพทองธาร กล่าวว่า การสำรวจร่วมกันเป็นหนึ่งใน 10 เป้าหมายเร่งด่วนสูงสุดของรัฐบาล เพราะไทยต้องการเพิ่มปริมาณพลังงานสำรองที่กำลังลดลง รวมถึงควบคุมเรื่องค่าไฟ และการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศที่พุ่งสูงขึ้น
ทั้งนี้ การเจรจาของรัฐบาลชุดปัจจุบันเป็นการดำเนินการต่อเนื่องจากรัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน ที่ได้มีการหารือกับนายกรัฐมนตรีกัมพูชาในช่วงต้นปี 2567 เพื่อแสดงเจตจำนงในการเริ่มเจรจาพื้นที่ทับซ้อน
สำหรับการเจรจาดังกล่าวจะหาข้อสรุปการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลขนาด 26,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งคาดว่าพื้นที่นี้จะมี ก๊าซธรรมชาติ 10 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต และน้ำมันดิบ 300 ล้านบาร์เรล
ทางด้านเพ็ญ โบนา โฆษกรัฐบาลกัมพูชา ออกแถลงการณ์ต่อรายงานข่าวนี้ว่า กัมพูชายังคงมุ่งมั่นที่จะหารือประเด็นนี้กับไทย “หากรัฐบาลใหม่ของไทยพร้อม เราก็ยินดีที่จะดำเนินการเจรจาต่อไป”
เจรจาพื้นที่ทับซ้อน “นโยบายเร่งด่วน”
แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล กล่าวว่า รัฐบาลโดยพรรคเพื่อไทยมีสัมพันธ์ที่ดีกับกัมพูชาจึงวางนโยบายด้านพลังงานเป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล เพราะต้องการเพิ่มปริมาณสำรองที่กำลังลดลง และควบคุมราคาไฟฟ้า และค่าใช้จ่ายในการนำเข้าเชื้อเพลิงที่พุ่งสูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้เร่งรัดให้นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ร่วมหาข้อยุติดังกล่าว ซึ่งตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา หลังจากนายพีระพันธุ์ เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ยอมรับว่าการเจรจาเพื่อหาข้อยุติร่วมกันยังเป็นปัญหาที่คาราคาซังมาเป็นเวลานาน เพราะการทำงานจะต้องมีผู้เกี่ยวข้องหลายภาคส่วน
แหล่งข่าว กล่าวว่า กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงพลังงานได้เตรียมข้อมูลให้รัฐบาลเพื่อใช้ในการเจรจา โดยเมื่อผู้นำเปิดการเจรจาไปแล้วจะต้องมาลงรายละเอียดที่จะนำไปสู่การใช้ประโยชน์ในพื้นที่ทับซ้อนร่วมกัน
Link :
https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1148688?aoj=
“ ไทย - กัมพูชา ” เปิดเจรจาพื้นที่ทับซ้อนรอบใหม่ เดิมพันแหล่งปิโตรเลียมอ่าวไทย
สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่ารัฐบาลไทยจะเริ่มการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชาอีกครั้ง เพื่อสำรวจแหล่งน้ำมันและก๊าซนอกชายฝั่งที่คาดว่าจะมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 3 แสนล้านดอลลาร์ (กว่า 10 ล้านล้านบาท) ซึ่งทั้ง 2 ประเทศ มีข้อพิพาทกันมาตั้งแต่ทศวรรษ 1970
น.ส.แพทองธาร กล่าวว่า การสำรวจร่วมกันเป็นหนึ่งใน 10 เป้าหมายเร่งด่วนสูงสุดของรัฐบาล เพราะไทยต้องการเพิ่มปริมาณพลังงานสำรองที่กำลังลดลง รวมถึงควบคุมเรื่องค่าไฟ และการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศที่พุ่งสูงขึ้น
ทั้งนี้ การเจรจาของรัฐบาลชุดปัจจุบันเป็นการดำเนินการต่อเนื่องจากรัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน ที่ได้มีการหารือกับนายกรัฐมนตรีกัมพูชาในช่วงต้นปี 2567 เพื่อแสดงเจตจำนงในการเริ่มเจรจาพื้นที่ทับซ้อน
สำหรับการเจรจาดังกล่าวจะหาข้อสรุปการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลขนาด 26,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งคาดว่าพื้นที่นี้จะมี ก๊าซธรรมชาติ 10 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต และน้ำมันดิบ 300 ล้านบาร์เรล
ทางด้านเพ็ญ โบนา โฆษกรัฐบาลกัมพูชา ออกแถลงการณ์ต่อรายงานข่าวนี้ว่า กัมพูชายังคงมุ่งมั่นที่จะหารือประเด็นนี้กับไทย “หากรัฐบาลใหม่ของไทยพร้อม เราก็ยินดีที่จะดำเนินการเจรจาต่อไป”
เจรจาพื้นที่ทับซ้อน “นโยบายเร่งด่วน”
แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล กล่าวว่า รัฐบาลโดยพรรคเพื่อไทยมีสัมพันธ์ที่ดีกับกัมพูชาจึงวางนโยบายด้านพลังงานเป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล เพราะต้องการเพิ่มปริมาณสำรองที่กำลังลดลง และควบคุมราคาไฟฟ้า และค่าใช้จ่ายในการนำเข้าเชื้อเพลิงที่พุ่งสูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้เร่งรัดให้นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ร่วมหาข้อยุติดังกล่าว ซึ่งตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา หลังจากนายพีระพันธุ์ เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ยอมรับว่าการเจรจาเพื่อหาข้อยุติร่วมกันยังเป็นปัญหาที่คาราคาซังมาเป็นเวลานาน เพราะการทำงานจะต้องมีผู้เกี่ยวข้องหลายภาคส่วน
แหล่งข่าว กล่าวว่า กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงพลังงานได้เตรียมข้อมูลให้รัฐบาลเพื่อใช้ในการเจรจา โดยเมื่อผู้นำเปิดการเจรจาไปแล้วจะต้องมาลงรายละเอียดที่จะนำไปสู่การใช้ประโยชน์ในพื้นที่ทับซ้อนร่วมกัน
Link : https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1148688?aoj=