เบื้องลึกครม. รัฐบาลหาช่องทางผลักดันการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา หรือ OCA หวังเป็นขุมทรัพย์พลังงานแห่งใหม่ ระยะยาวรองรับค่าไฟฟ้าราคาถูก ให้กับประชาชนในอนาคต
การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ครั้งล่าสุดมีมติเห็นชอบวาระจรครั้งแรกในรอบ 5 เดือน หลังจากกระทรวงพลังงาน เสนอมาตรการลดภาระค่าครองชีพด้านพลังงาน ให้ครม.เห็นชอบ เพื่อตรึงราคาค่าไฟฟ้า และตรึงราคาน้ำมันดีเซล ไว้เท่าเดิม โดยแหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล ยอมรับว่า นอกจากการแก้ปัญหาระยะสั้นแล้ว ครม.ยังคุยถึงแผนแก้ปัญหาระยะยาว ผ่านการเดินหน้าการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชา (overlapping claims areas – OCA)
แหล่งข่าวระบุว่า การหยิบยกพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชา ขึ้นมาหารือครั้งนี้ น่าจะช่วยแก้ปัญหาการมีแหล่งพลังงาน ของประเทศแหล่งใหม่ เพื่อช่วยดูแลราคาค่าพลังงานโดยเฉพาะต้นทุนค่าไฟฟ้าถูกลงมาได้กว่าปัจจุบัน เพราะขณะนี้รัฐบาลได้ตรึงราคาค่าไฟฟ้าเอาไว้ 4.18 บาทต่อหน่วย แต่หากมีขุมพลังงานแห่งใหม่ก็น่าจะช่วยให้ราคาค่าไฟฟ้าลดลงมาเหลือในระดับ 3 บาทกว่า ๆ ได้
โดยในวงประชุมครม. นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ยืนยันถึงความจำเป้นว่า รัฐบาลต้องเร่งเดินหน้าการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชา เพื่อนำก๊าซธรรมชาติ ขึ้นมาใช้ เป็นแหล่งพลังงานใหม่ที่จะสามารถใช้ได้ต่อเนื่องยาวนานกว่า 20 ปี
ทั้งนี้ที่ในประชุม ครม. ได้หารือถึงเรื่องนี้อย่างกว้างขวาง โดยกระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน กระทรวงการต่างประเทศ รวมทั้งหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจะร่วมกันหารือข้อสรุปเรื่องนี้ต่อไป
นายกฯ ยอมพลังงาน ชงวาระจร รอบ 5 เดือน ขอตรึงค่าไฟฟ้า-น้ำมันดีเซล
นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงมติครม.ภายหลังว่า ในที่ประชุมครม. หารือเรื่องของแหล่งพลังงานใหม่จริง โดยรัฐมนตรีส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่า อยากให้มีการพิจารณาขุมพลังงานมหาศาลที่อยู่ใกล้ประเทศเพื่อนบ้าน เพราะตราบใดที่แหล่งพลังงานในประเทศไม่เพียงพอ ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ไม่มีแหล่งพลังงานเป็นของตัวเอง การเปลี่ยนโครงสร้างราคาพลังงาน โดยกำหนดค่าไฟฟ้าให้ลงเหลือ 3 บาทต่อหน่วย จึงแทบเป็นไปไม่ได้
สำหรับการผลักดันเรื่องนี้ นายชัย ยอมรับว่า ต้องมีหลายกระทรวงเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงพลังงาน กระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้แจ้งข้อมูลตัวเลขที่น่าสนใจที่จะทำให้ต้นทุนค่าไฟลดลง และถือเป็นประโยชน์กับประชาชนต่อไปในอนาคต
“ปัจจุบันทรัพยากรยังมีอยู่มหาศาล โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติอย่างเดียว ก็ใช้ได้อีก 25 ปี หากทำได้ค่าไฟฟ้าจะเหลือ 3 บาทต้น ๆ ได้” โฆษกรัฐบาล ระบุ
สำหรับการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชา (overlapping claims areas – OCA) นั้น ที่ผ่านมายังไม่ได้มีความคืบหน้ามากนัก แม้ว่าในช่วง สมเด็จมหาบวรธิบดี ฮุน มาแนต นายกรัฐมนตรีราชอาณาจักรกัมพูชา ได้เดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาล (Official Visit) เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา ทั้งสองฝ่ายได้หารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นความร่วมมือที่สำคัญ
โดยทั้งสองฝ่ายต่างมองว่าสถานการณ์โลกปัจจุบันส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางพลังงานของทั้งไทยและกัมพูชา พร้อมตกลงที่จะกระชับความร่วมมือในด้านความมั่นคงด้านพลังงาน มีการตกลงที่จะหารือเพิ่มเติมเพื่อแสวงหาประโยชน์ร่วมกันจากทรัพยากรด้านพลังงานในพื้นที่ทับซ้อนกันระหว่างทั้งสองประเทศ (OCA)
แต่ล่าสุดกระทรวงการต่างประเทศ ยังไม่ได้มีการเดินหน้าเรื่องดังกล่าวอย่างชัดเจน แม้ว่าการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชา จะถูกกำหนดไว้เป็นนโยบายของรัฐบาล และมีการตั้งทีมเฉพาะกิจ (Joint Technical team for explorer) ขึ้นมาเพื่อหารือเรื่องนี้แล้ว
แหล่งที่มา :
https://www.thansettakij.com/sustainable/energy/602441
รัฐบาลหาช่องดันพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา ขุมทรัพย์อุ้มค่าไฟฟ้าราคาถูก
การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ครั้งล่าสุดมีมติเห็นชอบวาระจรครั้งแรกในรอบ 5 เดือน หลังจากกระทรวงพลังงาน เสนอมาตรการลดภาระค่าครองชีพด้านพลังงาน ให้ครม.เห็นชอบ เพื่อตรึงราคาค่าไฟฟ้า และตรึงราคาน้ำมันดีเซล ไว้เท่าเดิม โดยแหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล ยอมรับว่า นอกจากการแก้ปัญหาระยะสั้นแล้ว ครม.ยังคุยถึงแผนแก้ปัญหาระยะยาว ผ่านการเดินหน้าการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชา (overlapping claims areas – OCA)
แหล่งข่าวระบุว่า การหยิบยกพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชา ขึ้นมาหารือครั้งนี้ น่าจะช่วยแก้ปัญหาการมีแหล่งพลังงาน ของประเทศแหล่งใหม่ เพื่อช่วยดูแลราคาค่าพลังงานโดยเฉพาะต้นทุนค่าไฟฟ้าถูกลงมาได้กว่าปัจจุบัน เพราะขณะนี้รัฐบาลได้ตรึงราคาค่าไฟฟ้าเอาไว้ 4.18 บาทต่อหน่วย แต่หากมีขุมพลังงานแห่งใหม่ก็น่าจะช่วยให้ราคาค่าไฟฟ้าลดลงมาเหลือในระดับ 3 บาทกว่า ๆ ได้
โดยในวงประชุมครม. นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ยืนยันถึงความจำเป้นว่า รัฐบาลต้องเร่งเดินหน้าการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชา เพื่อนำก๊าซธรรมชาติ ขึ้นมาใช้ เป็นแหล่งพลังงานใหม่ที่จะสามารถใช้ได้ต่อเนื่องยาวนานกว่า 20 ปี
ทั้งนี้ที่ในประชุม ครม. ได้หารือถึงเรื่องนี้อย่างกว้างขวาง โดยกระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน กระทรวงการต่างประเทศ รวมทั้งหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจะร่วมกันหารือข้อสรุปเรื่องนี้ต่อไป
นายกฯ ยอมพลังงาน ชงวาระจร รอบ 5 เดือน ขอตรึงค่าไฟฟ้า-น้ำมันดีเซล
นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงมติครม.ภายหลังว่า ในที่ประชุมครม. หารือเรื่องของแหล่งพลังงานใหม่จริง โดยรัฐมนตรีส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่า อยากให้มีการพิจารณาขุมพลังงานมหาศาลที่อยู่ใกล้ประเทศเพื่อนบ้าน เพราะตราบใดที่แหล่งพลังงานในประเทศไม่เพียงพอ ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ไม่มีแหล่งพลังงานเป็นของตัวเอง การเปลี่ยนโครงสร้างราคาพลังงาน โดยกำหนดค่าไฟฟ้าให้ลงเหลือ 3 บาทต่อหน่วย จึงแทบเป็นไปไม่ได้
สำหรับการผลักดันเรื่องนี้ นายชัย ยอมรับว่า ต้องมีหลายกระทรวงเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงพลังงาน กระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้แจ้งข้อมูลตัวเลขที่น่าสนใจที่จะทำให้ต้นทุนค่าไฟลดลง และถือเป็นประโยชน์กับประชาชนต่อไปในอนาคต
“ปัจจุบันทรัพยากรยังมีอยู่มหาศาล โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติอย่างเดียว ก็ใช้ได้อีก 25 ปี หากทำได้ค่าไฟฟ้าจะเหลือ 3 บาทต้น ๆ ได้” โฆษกรัฐบาล ระบุ
สำหรับการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชา (overlapping claims areas – OCA) นั้น ที่ผ่านมายังไม่ได้มีความคืบหน้ามากนัก แม้ว่าในช่วง สมเด็จมหาบวรธิบดี ฮุน มาแนต นายกรัฐมนตรีราชอาณาจักรกัมพูชา ได้เดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาล (Official Visit) เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา ทั้งสองฝ่ายได้หารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นความร่วมมือที่สำคัญ
โดยทั้งสองฝ่ายต่างมองว่าสถานการณ์โลกปัจจุบันส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางพลังงานของทั้งไทยและกัมพูชา พร้อมตกลงที่จะกระชับความร่วมมือในด้านความมั่นคงด้านพลังงาน มีการตกลงที่จะหารือเพิ่มเติมเพื่อแสวงหาประโยชน์ร่วมกันจากทรัพยากรด้านพลังงานในพื้นที่ทับซ้อนกันระหว่างทั้งสองประเทศ (OCA)
แต่ล่าสุดกระทรวงการต่างประเทศ ยังไม่ได้มีการเดินหน้าเรื่องดังกล่าวอย่างชัดเจน แม้ว่าการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชา จะถูกกำหนดไว้เป็นนโยบายของรัฐบาล และมีการตั้งทีมเฉพาะกิจ (Joint Technical team for explorer) ขึ้นมาเพื่อหารือเรื่องนี้แล้ว
แหล่งที่มา : https://www.thansettakij.com/sustainable/energy/602441